ภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย 20 รายการในตลาดลักเซมเบอร์กช่วงไตรมาสแรกปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 22, 2008 16:13 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก ขอรายงานภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย 20 รายการ ในตลาดลักเซมเบอร์ก  ช่วงไตรมาสแรก (มกราคม — มีนาคม) 2551 ดังนี้
1. การค้าระหว่างประเทศ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2550
1.1 มูลค่าการค้ารวม 14,285.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.61 (ช่วงเดียวกันปี 2550 มูลค่า 12,250.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
1.2 การส่งออกมูลค่า 6,506.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.14
ประเทศที่ส่งออกไปมาก 5 อันดับแรกได้แก่ เยอรมนี (มีอัตราส่วนร้อยละ 20.82 ของมูลค่าการส่งออกรวม) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 16.65) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 10.71) อิตาลี (ร้อยละ 7.52) อังกฤษ (ร้อยละ 6.36) ไทย (ร้อยละ 0.03 อันดับ 64)
ประเทศในทวีปเอเชียที่ลักเซมเบอร์กส่งออก 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน (ร้อยละ 0.89 อันดับ 18) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 0.21 อันดับ 34) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 0.2 อันดับ 36) มาเลเซีย (ร้อยละ 0.17 อันดับ 38) ฮ่องกง (ร้อยละ 0.11 อันดับ 42) สิงคโปร์ (ร้อยละ 0.09 อันดับ 44) ไต้หวัน (ร้อยละ 0.07 อันดับ 49) เวียดนาม (ร้อยละ 0.07 อันดับ 50) อินเดีย (ร้อยละ 0.06 อันดับ 53) กัมพูชา (ร้อยละ 0.03 อันดับ 62)
1.3 การนำเข้ามูลค่า 7,778.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.38
ประเทศแหล่งนำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ เบลเยี่ยม (มีอัตราส่วน ร้อยละ 26.98 ของมูลค่าการค้ารวม) เยอรมนี (ร้อยละ 21.84) จีน (ร้อยละ 20.79) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 9.94) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 4.74) ไทย (ร้อยละ 0.06 อันดับ 37)
ประเทศในทวีปเอเชียที่ลักเซมเบอร์กนำเข้า 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน (ร้อยละ 20.79 อันดับ 3) ฮ่องกง (ร้อยละ 0.42 อันดับ 19) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 0.39 อันดับ 20) ไต้หวัน (ร้อยละ 0.16 อันดับ 26) มาเลเซีย (ร้อยละ 0.12 อันดับ 28) อินเดีย (ร้อยละ 0.08 อันดับ 31) สิงคโปร์ (ร้อยละ 0.07 อันดับ 35) ไทย (ร้อยละ 0.06 อันดับ 37) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 0.02 อันดับ 41) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 0.01 อันดับ 53)
หมายเหตุ : ลักเซมเบอร์กเป็นประเทศ landlocked การนำเข้าส่วนใหญ่ผ่านประเทศใกล้เคียง (เช่น เยอรมนี เบลเยี่ยม และฝรั่งเศส) จึงมีมูลค่าการนำเข้าโดยตรงน้อย
1.4 ดุลการค้า ลักเซมเบอร์กขาดดุลการค้า —1,271.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขาดดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 สรุปภาพรวมได้ดังตารางที่ 1 :
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
การค้า ม.ค. — มี.ค. ปี อัตราเปลี่ยนแปลง (+/-%)
2550 2551
การค้ารวม 12,250.13 14,285.87 16.61
การส่งออก 5,507.99 6,506.95 18.14
การนำเข้า 6,742.14 7,778.92 15.38
ดุลการค้า -1,234.15 -1,271.97 -3.06
2. การค้าลักเซมเบอร์ก — ไทย ในช่วงมกราคม — มีนาคม 2551 มีมูลค่ารวม 6.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ 48.05) สรุปได้ดังตารางที่ 2:
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
การค้า ม.ค. — มี.ค. ปี อัตราเปลี่ยนแปลง (+/-%)
2550 2551
การค้ารวม 12.34 6.41 -48.05
การส่งออก 0.80 1.70 111.26
การนำเข้า 11.54 4.71 -59.17
ดุลการค้า -10.74 -3.01 -71.97
ข้อสังเกต : ประเทศในทวีปเอเชียที่ลักเซมเบอร์กนำเข้า
1) ลดลง เช่น ฮ่องกง (ร้อยละ —24.2) ญี่ปุ่น (ร้อยละ —15.53) ไต้หวัน (ร้อยละ —46.94) มาเลเซีย (ร้อยละ —16.88) อินเดีย (ร้อยละ —46.92) ไทย (ร้อยละ —59.17)
2) เพิ่มขึ้น เช่น จีน (ร้อยละ 22.47) สิงคโปร์ (ร้อยละ 21.04)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก
Upload Date : กรกฎาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

แท็ก สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ