สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของอินโดนีเซีย ปี 2551 (ม.ค.-มีค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 23, 2008 15:32 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของอินโดนีเซีย-โลก
2550 2551 %
(ม.ค.-มีค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 41,175.10 63,473.58 54.16
การนำเข้า 15,593.25 29,727.57 90.64
การส่งออก 25,581.85 33,746.01 31.91
ดุลการค้า 9,988.61 4,018.44 -59.77
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของอินโดนีเซีย-ไทย
2550 2551 %
(ม.ค.-มีค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 1,590.23 2,421.33 52.26
การนำเข้า 881.52 1,563.45 77.36
การส่งออก 708.70 857.88 21.05
ดุลการค้า -172.82 -705.56 308.26
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มีค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 29,727.57 100.00 90.64
1. สิงคโปร์ 5,345.89 17.98 131.39
2. ญี่ปุ่น 3,493.44 11.75 145.13
3. จีน 3,285.18 11.05 82.73
4. มาเลเซีย 1,979.62 6.66 49.75
5. สหรัฐฯ 1,682.60 5.66 60.98
6. ไทย 1,563.45 5.26 77.36
อื่น ๆ 12,377.40 41.64 81.72
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มีค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 29,727.57 100.00 90.64
1. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 791.83 2.66 364.41
2. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือ เหล็กกล้า 646.61 2.18 165.45
3. ข้าวสาลีและเมสลิน 556.46 1.87 118.83
4. เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ 420.83 1.42 231.62
5. แผงวงจรไฟฟ้า 381.19 1.28 807.19
อื่น ๆ 26,930.65 90.59 76.67
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียนำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มีค)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 1,563.45 100.00 77.36
1. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 179.36 11.47 239.72
2. รถยนต์ยานยนต์ 174.40 11.15 141.42
3. น้ำตาลจากอ้อยและหัวบีต 86.56 5.54 -23.64
4. รถบรรทุกเล็ก 75.22 4.81 294.06
5. ส่วนประกอบเครื่องยนต์ 46.68 2.99 16.99
อื่น ๆ 1,001.23 64.04 37.41
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มีค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 33,746.01 100.00 31.91
1. ญี่ปุ่น 6,648.95 19.70 31.72
2. จีน 3,223.06 9.55 44.48
3. สิงคโปร์ 3,108.39 9.21 32.69
4. สหรัฐฯ 3,052.54 9.05 12.83
5. เกาหลีใต้ 2,804.92 8.31 58.69
9. ไทย 857.88 2.54 21.05
อื่น ๆ 14,050.27 41.64 30.35
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มีค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 33,746.01 100.00 31.91
1. ถ่านหิน 1,910.09 5.66 22.46
2. ยางธรรมชาติ 1,501.38 4.45 47.32
3. สินแร่และหัวแร่ทองแดง 753.43 2.23 -44.83
4. ผลิตภัณฑ์นิเกิล 637.07 1.89 221.08
5. น้ำมันปาล์มน้ำมันมะพร้าว 610.37 1.81 167.86
อื่น ๆ 28,333.68 83.96 21.87
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มีค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 857.88 100.00 21.05
1. ถ่านหิน 124.51 14.51 132.83
2. ทองแดงบริสุทธิ์ 76.02 8.86 67.88
3. น้ำมัน 50.06 5.84 -56.74
4. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 49.42 5.76 40.15
5. ลวดทองแดง 30.32 3.53 10.78
อื่น ๆ 527.55 61.49 1.03
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของอินโดนีเซีย ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า ข้าวสาลีและเมลิน เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ แผงวงจรไฟฟ้า
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของอินโดนีเซีย ได้แก่ ถ่านหิน ยางธรรมชาติ สินแร่และหัวแร่ทองแดง ผลิตภัณฑ์นิเกิล น้ำมันปาล์ม
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่อินโดนีเซียนำเข้า ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย และ สหรัฐฯ ปัจจุบันอินโดนีเซียนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 สัดส่วนร้อยละ 5.26 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 9 ของอินโดนีเซีย สัดส่วนร้อยละ 2.54
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดอินโดนีเซีย ได้แก่
- ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (HS.8708) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 791.825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 364.41 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 22.65 มูลค่า 179.358 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 239.72 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 59.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 567.22 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่นและ ฟิลิปปินส์
- รถยนต์และยานยนต์ (HS.8703) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 317.336 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขิ้นร้อยละ 126.48 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วน ร้อยละ 54.96 มูลค่า 174.399 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 141.42 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
- น้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือหัวบีต (HS.1701) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 103.963 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 56.95 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 83.26 มูลค่า 86.557 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.64 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินเดีย และเกาหลีใต้
- รถบรรทุกเล็ก (HS.8704) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 289.319 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 119.76 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 26.00 มูลค่า 75.219 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 294.07 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 48.66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 173.61 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สวีเดน และอินเดีย
- ส่วนประกอบเครื่องยนต์ (HS.8409) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 181.091 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.97 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 25.78 มูลค่า 46.680 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.99 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 49.21 เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.86 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและสหรัฐ
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอินโดนีเซีย 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 18 รายการ เช่น
1.) ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (HS.8708) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 791.825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 364.41 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 22.65 มูลค่า 179.358 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 239.72
2.) รถยนต์และยานยนต์ (HS.8703) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 317.336 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขิ้นร้อยละ 126.48 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วน ร้อยละ 54.96 มูลค่า 174.399 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 141.42
3.) รถบรรทุกเล็ก (HS.8704) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 289.319 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 119.76 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 26.00 มูลค่า 75.219 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 294.07
4.) ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยานยนต์/รถจักรยาน (HS.8714) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 200.171 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 371.19 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 19.38 มูลค่า 38.785 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 290.59
5.) ส่วนประกอบที่ใช้กับเครื่องเครื่องยนต์ (HS.8431) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 252.419 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.81 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 5.02 มูลค่า 12.670 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 452.00
เป็นผลมาจากปัจจุบันค่ายรถยนต์รายใหญ่ของโลกเกือบทุกแห่งเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย เพราะไทยมีความพร้อมทั้งด้านที่ตั้ง สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพจำนวนมาก ซึ่งการลงทุนอย่างต่อเนื่องของค่ายรถยนต์ระดับโลกอื่นๆ ในประเทศไทยนั้น นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่ทำให้ประเทศไทยในการก้าวไปสู่การเป็นดีทรอยต์ ออฟเอเชีย
ในขณะที่ตลาดรถยนต์ในอาเซียน กำลังเติบโตรวดเร็วมากและมีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยตลาดที่เติบโตมากที่สุด คืออินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ตลาดอาเซียนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากจีน อินเดีย และญี่ปุ่น
6.) เครื่องปรับอากาศ (HS.8415) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 46.65 มูลค่า 34.334 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.43
เป็นผลมาจากอินโดนีเซีย เป็นตลาดสำคัญที่ไทยส่งออกเป็นอันดับ 7 และสินค้าส่วนใหญ่ของไทยได้ผ่านมาตรฐาน RoHS ประกอบกับผลจากภาวะอากาศที่แปรปรวนทั่วโลก ทำให้มีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น
7.) หัวหอม กระเทียม (HS.0703) อินโดนีเซียนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 28.95 มูลค่า 23.376 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.81
จะเห็นได้ว่าสินค้าที่มีศักยภาพหลายรายการในสินค้าเกษตรมีการส่งออกไปอินโดนีเซีย มูลค่าเพิ่มมากกว่าร้อยละ 80 อันเป็นผลเนื่องมาจากอินโดนีเซียผลิตอาหารในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการภายในและประกอบกับหลายเดือนที่ผ่านมาอินโดนีเซียประสบปัญหาภัยธรรมชาติในหลายด้าน เช่น น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด ฝนตกหนัก ทำให้อาหารที่จำเป็นในการบริโภคเกิดการขาดแคลน
8.) เครื่องซักผ้า อบผ้า (HS.8450) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 56.38 มูลค่า 15.555 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.36
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอินโดนีเซีย 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 1 รายการ คือ
1.) น้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือหัวบีต (HS. 1701) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 103.963 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 56.95 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 83.26 มูลค่า 86.557 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.64
ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คืออินเดีย และเกาหลีใต้
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
1.นโยบายและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และหลากหลายทั้งทรัพยากรทางทะเล น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุต่างๆ ประกอบกับมีแรงงานจำนวนมากและค่าจ้างแรงงานยังค่อนข้างต่ำอีกทั้งยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรกว่า 230 ล้านคนมากเป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียมีดังนี้
1. นโยบายส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 อินโดนีเซียได้ออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ที่บังคับใช้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เน้นสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับนักลงทุนท้องถิ่นและกำหนดให้ Indonesia Invastment Coordination Board (BKPM) ทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนและออกใบอนุญาตให้แก่นักลงทุนต่างชาติในลักษณะ One-Stop Service ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาอนุมัติการลงทุนจาก 90 วันเหลือเพียง 30 วัน ยกเว้นการลงทุนในกิจการเหมืองแร่ พลังงาน การเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และประมงจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานหรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ยังขยายเวลาการให้สิทธิในการใช้ที่ดินจากเดิมสูงสุด 60 ปี เป็น 95 ปี (ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ดิน)
2. กิจการที่ห้ามชาวต่างชาติลงทุน มีจำนวน 25 ธุรกิจ อาทิการตัดไม้ บริการด้านการกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามธุรกิจดังกล่าวมีสัดส่วนเพียงไม่ถึง 1% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมดในอินโดนีเซีย
3. กิจการที่รัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- กิจการที่ส่งเสริมการลงทุนในทุกพื้นที่ประเทศจำนวน 15 สาขา อาทิ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยางและผลิตภัณฑ์ ยานยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และเวชภัณฑ์ เป็นต้น
- กิจการที่ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ที่กำหนดจำนวน 7 สาขา อาทิ กิจการผลิตภัณฑ์สัตว์นำบรรจุกระป๋องบนพื้นที่เกาะสุลาเวสีมาลุกุ ปาปัว อีเรียนจายาตะวันตก กิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกในพื้นที่นอกเกาะชวา เป็นต้น เพื่อกระจายการลงทุนและพัฒนาเศรษบกิจในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งยังมีการลงทุนไม่นานนัก
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนในกิจการที่รัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ รวมถึงกิจการอื่นๆ ในสัดส่วนเงินทุนมากกว่า 49% ได้อาทิ การผลิตกระแสไฟฟ้า รับเหมาก่อสร้าง บริหารทางการแพทย์ ประกันภัยอย่างไรก็ตาม บางกิจการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม อาทิ อุตสาหกรรมประมงและการแปรรูปกำหนดให้ต้องร่วมทุนกับชาวอินโดนีเซียเท่านั้น
4.สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในกิจการที่รัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ
- สามารถนำเงินลงทุนในสัดส่วน 5% มาหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 6 ปี
- สามารถหักลดหย่อนค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ได้เพิ่มขึ้น โดยใช้สูตรในการคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ตาม "Regulation of the Minister of Finance Number: 16/PMK03/2007" ของอินโดนีเซีย
- ลด/ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าทุน อุปกรณ์และเครื่องจักร รวมถึงวัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิต/จัดหาได้ภายในประเทศ รวมทั้งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งในโรงงานจากอัตราปกติ 10% ทั้งนี้ ไม่รวมอะไหล่ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าว
นโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลอินโดนีเซียที่มีความชัดเจนขึ้นส่งผลให้ในปี 2550 มูลค่าลงทุนทางตรงจากต่างประเทศที่แท้จริง (Actual FDI) ในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นถึง 71% เป็น 10,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2545 สำหรับกิจการที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียมากได้แก่ ธุรกิจขนส่ง คลังสินค้า อุตสหากรรมยา และเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
2. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับตลาดอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่น่าสนใจและมีศักยภาพด้วยจำนวนประชากรกว่า 230 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากจีน อินเดีย และสหรัฐฯ ขณะที่ประชากรที่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกทั้งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในกลุ่มอาเชียน วัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่สูงราว 433,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2550 ซึ่งในปีที่เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวสูงสุดในรอบ 11 ปีถึง 6.3% ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่สินค้าไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของชาวอินโดนีเซีย ทำให้อินโดนีเซียเป็นตลาดส่งออกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับตลาดอินโดนีเซีย มีดังนี้
1. พฤติกรรมการจับจ่ายซื้อหาสินค้า แบ่งตามระดับรายได้ของผู้บริโภคได้ดังนี้
กลุ่มผู้มีรายได้ค่อนข้างสูง-สูงมาก มีประมาณ 10% ของประชากรทั้งประเทศ เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง นิยมใช้สินค้านำเข้าคุณภาพดีจากต่างประเทศและตราสินค้าเป็นที่รู้จัก ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวและซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคกล่มนี้ โดยเฉพาะอาหารและผลไม้ไทยทั้งข้าวหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่างๆ ทุเรียน และมะม่วงเขียวเสวย ผู้บริโภคกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่ไทยมีโอกาสขยายตลาดสินค้าระดับบนได้เพิ่มขึ้น
กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-น้อย เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอินโดนีเซีย ผู้บริโภคกลุ่มนี้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงปัจจุบัยด้านราคาเป็นหลัก จึงทำให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโคที่มีราคาย่อมเยาและจำเป็นต่อชีวิตประจำวันเป็นลำดับแรกอย่างไรก็ตาม ประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ซึ่งคิดเป็น 55% ของจำนวนประชากรในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มผู้ซื้อที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นคนรุ่นใหม่ที่ค่อนข้างเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติจึงมีรสนิยมการบริโภคสมัยใหม่อีกทั้งพฤตกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าเร็วกว่าวัยอื่นๆ โดยสินค้าไทยที่น่าจะมีโอกาสขยายตลาดในกลุ่มนี้ อาทิ รถจักรยานยนต์ เครื่องสำอางค์ เครื่องหอม และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
2. รสนิยม ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารรสจัดที่มีส่วนประกอบของเครื่องเทศหลากหลายชนิด และมีกลิ่นค่อนข้างแรงอาหารบางชนิดมีลักษณะใกล้เคียงกับอาหารไทย เช่น น้ำพริก และแกง กะทิ แต่มักใช้เนื้อวัว ไก่ ปลา หรือไข่ต้มประกอบอาหารแทนเนื้อหมูและจะเพิ่มส่วนผสมของเครื่องเทศลงไปมากกว่าเพื่อให้มีกลิ่นและรสเครื่องเทศเข้มข้น นอกจากนี้ยังชื่นชอบทุเรียนโดยนิยมรับประทานทั้งแบบสดหรือนำไปทำไอศกรีมทุเรียน ทั้งนี้ ประชากรอินโดนีเซียเกือบ 90% เป็นชาวมุสลิม ดังนั้น ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องอื่มที่จะนำเข้าไปจำหน่ายในอินโดนีเซียควรได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์อาหารฮาลาลและแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดบนฉลากสินค้า
3. ช่องทางการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าให้ความสำคัญกับราคาเป็นหลัก การจัด รายการส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย (In-store Promotion) ร่วมกับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ อาทิ การลดราคา การสาธิตและแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ จะได้รับความสนใจมาก นอกจากนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปลักษณ์ที่โด่ดเด่นและสะดุดตา ทันสมัย และสะดวกต่อการใช้งานถือเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ที่สามารถสื่อสารภาพลักษณ์ของสินค้าไปยังกลุ่มผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ขณะที่การโฆษณาเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีอิทธิพลไม่น้อยต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของชาวอินโดนีเซียแต่มีต้นทุนค่อนข้างสูง ผู้ส่งออกจึงควรเลือกใช้ช่องทางประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับสินค้า
ทั้งนี้ การที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าไทยนับเป็นข้อได้เปรียบเทียบของสินค้าไทยเมื่อต้องแข่งขันด้านราคากับสินค้าของคู่แข่งเช่น เวียดนามและจีน โดยหากผู้ส่งออกไทยกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจนและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเข้าใจถึงพฤติกรรมการบริโภคและรสนิยมของชาวอินโดนีเซียก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดสินค้าในอินโดนีเซียมากยิ่งขึ้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ