วิเคราะห์อุตสาหกรรมภาคการผลิตอิหร่าน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 1, 2008 12:04 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          อิหร่านมีรายได้หลักจากการขายน้ำมันดิบ ซึ่งทางรัฐบาลได้นำเงินดังกล่าวมาใช้หมุนเวียนภายในประเทศเพื่อการพัฒนาภาคเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรม และอุดหนุนกิจการต่างๆ  ทั้งนี้ ปัญหาที่นักลงทุนและนักธุรกิจชาวอิหร่านประสบอยู่ในปัจจุบันคือ อัตราภาษีศุลกากรสินค้านำเข้า ที่สูง การลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้วย ปัญหาเงินเฟ้อสูงขึ้น ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ผันผวน และปัญหาคว่ำบาตรทางค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ปัญหาต่างๆ ส่งผลให้นักธุรกิจชาวอิหร่านไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบประเภทสารเคมีจากต่างประเทศ และจำเป็นต้องเลิกสัญญา ผู้นำเข้าอิหร่านจึงจำต้องเสียจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อซื้อวัตถุดิบผ่านพ่อค้าคนกลางต่างชาติในราคาที่สูงลิบ ส่งผลกระทบต่อการอัตราการเติบโตและการพัฒนาอุตสาหกรรมของอิหร่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ผลจากการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ ยังทำให้ธนาคารต่างประเทศไม่เชื่อใจและไม่รับรองเอกสารธุรกรรมต่างๆ ที่ออกจากธนาคารของอิหร่าน รวมทั้งการที่นักธุรกิจไม่สามารถเปิดบัญชี L/C เพื่อนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ เช่น ไทย จีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ 
อัตราการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ในช่วงปี 1959 จนถึงช่วงปลายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 3 ของประเทศอิหร่านปี 2005 จะเห็นว่าช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 2 แห่งอิหร่าน (1994-1999) การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 1992 การเติบโตทางอุตสาหกรรมกลับคงที่ และระดับการขยายตัวลดลงติดต่อกันในปี 1993 ซึ่งคิดเป็นอัตราความขยายตัวลดลงในอัตราส่วนร้อยละ 5 อย่างไรก็ตาม ความเติบโตทางภาคอุตสาหกรรมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (1994-1999)ขยายตัวเฉลี่ยคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 16.4
ขณะที่ในช่วงปีของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (2000-2005) การขยายตัวของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น แต่ในปี 2005 เป็นต้นมา การเติบโตกลับมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อ
เป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (2006-2011) กำหนดให้ภาคอุตสาหกรรมอิหร่านจะมีการเติบโตเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 11.2 โดยในปี 2005 มีการเติบโตร้อยละ 6.8 ในปี 2006 อัตราส่วนร้อยละ 8 และช่วง 9 เดือนของปีที่ผ่านมามีการเติบโตคิดเป็นร้อยละ 11.7
ทั้งนี้ การอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกของอิหร่านเป็นตัวแปรที่สำคัญในการวิเคราะห์สภาพอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งในช่วงปี 1991 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรมของประเทศอิหร่านขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี1997 มูลค่าการส่งออกสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมมากกว่ามูลค่าการส่งออกของสินค้าในหมวดเกษตรกรรม ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมในช่วงปีของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (2000-2005) เพิ่มขึ้นในอัตราส่วนร้อยละ 64 ชองมูลค่าการส่งออกสินค้านอกเหนือจากน้ำมันดิบของประเทศ (non-oil exports)
ในปี 2005 อิหร่านสามารถส่งออกสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมคิดเป็นมูลค่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2006 อิหร่านส่งออกเป็นมูลค่า 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนร้อยละ 16 ขณะที่ในปีที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าอาทิเช่น ผ้า เครื่องแต่งกาย หนังเทียม พลาสติก ไม้และโลหะธรรมดา มีแนวโน้มลดลง
จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความหลากหลายในการผลิต การเพิ่มปริมาณการผลิต เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันด้านการส่งออกในขณะที่ค่าใช้จ่ายตั้งแต่การผลิตและการส่งออกที่อยู่ในระดับสูง ในขณะที่ สินค้าที่ไม่มีเครื่องหมายทางการค้าเป็นข้อเสียเปรียบในการส่งออกสินค้าภาคอุตสาหกรรมของประเทศอิหร่าน นอกจากนี้ อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศอิหร่านคงที่ในขณะที่อัตราค่าใช้จ่ายในการผลิตและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นทุกปีและความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตอุตสาหกรรมภายในประเทศในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากสินค้าอิหร่านที่เงื่อนไขด้านการผลิตเดียวกันเมื่อเทียบกับสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศจะมีราคาต้นทุนในการผลิตสูงกว่า
ภาวะอุตสาหกรรม
ปัจจุบันอิหร่านมีโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทั่วประเทศประมาณ 74,700 โรงงาน มีแรงงานจำนวน 1,855,000 คน
การลงทุน
การลงทุนจากต่างประเทศด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในปี 2004 คิดเป็นมูลค่ารวม 1.522 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2006 มีการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างประเทศทั้งสิ้น 11.857 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายงานจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน
Upload Date : กรกฎาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ