สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย — สหรัฐ ปี 2551 (ม.ค-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 5, 2008 12:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Washington D.C.
พื้นที่ : 9,161,923 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : English
ประชากร : 299.4 ล้านคน (2006)
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 33.72 บาท (28/7/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 2.1 1.5
Consumer price inflation (av; %) 2.9 2.1
Federal government budget balance (% of GDP) -1.2 -1.7
Current-account balance (% of GDP) -5.4 -4.8
US$ 3-month commercial paper rate (av; %) 5.0 4.4
Exchange rate ฅ:US$ (av) 117.5 105.0
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐฯ
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 9,870.84 100.00 6.65
สินค้าเกษตรกรรม 895.21 9.07 26.90
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 914.36 9.26 16.57
สินค้าอุตสาหกรรม 7,824.37 79.27 5.10
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 236.91 2.40 41.47
สินค้าอื่นๆ 0.00 0.00 -100.00
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐฯ
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 5,621.00 100.00 27.31
สินค้าเชื้อเพลิง 144.81 2.58 41.49
สินค้าทุน 1,954.66 34.77 33.77
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 2,863.03 50.93 26.13
สินค้าบริโภค 602.36 10.72 38.83
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 46.51 0.83 12.53
สินค้าอื่นๆ 9.62 0.17 -90.95
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐฯ
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 13,670.11 15,491.84 13.33
การนำเข้า 4,415.04 5,621.00 27.31
การส่งออก 9,255.07 9,870.84 6.65
ดุลการค้า 4,840.02 4,249.85 -12.19
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 5,621 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.31 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า: สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 5,621.00 100.00 27.31
1. แผงวงจรไฟฟ้า 607.30 10.80 -14.14
2. เคมีภัณฑ์ 546.13 9.72 37.03
3. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 524.47 9.33 30.29
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 480.17 8.54 19.42
5. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 421.16 7.49 243.69
อื่น ๆ 3,041.78 54.11 27.70
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 9,870.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.65 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 9,870.84 100.00 6.65
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 1,761.27 17.84 7.54
2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 683.11 6.92 -5.41
3. อัญมณีและเครื่องประดับ 516.50 5.23 26.68
4. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 482.57 4.89 16.48
5. ผลิตภัณฑ์ยาง 459.87 4.66 8.69
อื่น ๆ 5,967.53 60.46 5.62
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐฯ ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ :
สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 1,761.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.54 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในรอบปีที่ผ่านมาการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันไทยได้กลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จากการเข้ามาของนักลงทุนรายใหญ่ทั้ง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนประกอบประเภทฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีบทบาททั้งทางด้านการผลิตและการส่งออกมากที่สุดในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้
เสื้อผ้าสำเร็จรูป :
สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 683.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 5.41 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังจะมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากประเทศผู้ผลิตสินค้าเครื่องนุ่งห่มสำคัญอย่างจีน ได้ลดการส่งออกจนทำให้การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของจีนลดลง 5 % เนื่องจากรัฐบาลจีนได้ปรับขึ้นค่าแรงงาน 20 % เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น แต่ไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้ ซึ่งส่วนหนึ่งได้ลดการส่งออกเพื่อขยายฐานการบริโภคในประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ส่งผลให้ออร์เดอร์จากสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่นถูกผลักมาที่ไทยแทน
อัญมณีและเครื่องประดับ :
สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 516.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.68 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป :
สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 482.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.48 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนจากคำตัดสินขององค์การการค้าโลกที่ให้ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยชนะคดีที่ฟ้องสหรัฐฯกรณีการคำนวณภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่ไม่เป็นธรรมและการวางซี-บอนด์ซึ่งถือเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ส่งผลดีต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยสถานภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในตลาดสหรัฐฯจะดีขึ้น เนื่องจากคาดการณ์ว่าอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่จะประกาศโดยใช้วิธีการคำนวณใหม่จะมีอัตราที่ต่ำลง ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยมีแนวโน้มลดลง ส่วนการยกเลิกการเก็บซี-บอนด์นั้นเป็นการลดภาระของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้ง ทำให้เงินทุนหมุนเวียนในกิจการของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยดีขึ้น
ผลิตภัณฑ์ยาง:
สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยโดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 459.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จากการที่กระแสโลกร้อนหรือโกลบอล วอร์มมิ่ง ทำให้ผู้ใช้ยางหรือประเทศผู้นำเข้ายาง ชะลอลดการใช้ยางสังเคราะห์ลง เพราะการผลิตยางสังเคราะห์มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากขึ้น กระแสจึงตีกลับไปหายางธรรมชาติ ซึ่งไทยเป็นผู้ผลิตอันดับต้น ๆ ของโลก ผู้นำเข้าหลายรายในหลายประเทศ จึงมุ่งมาที่ประเทศไทย โดยประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างสหรัฐฯได้ประสานงานผ่านกระทรวงต่างประเทศ ในการส่งเจ้าหน้าที่จากสมาคมผู้ผลิตยางมาเจรจากับผู้ผลิตยางของไทย เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผลิตยางรถยนต์ป้อนให้กับค่ายรถยนต์รายใหญ่ในสหรัฐฯ ซึ่งไทยเป็นผู้ผลิตที่ได้คุณภาพมาตรฐานชั้นนำของโลก
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหรัฐฯ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 5 รายการ เช่น
1.) ยางพารา : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 311.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.12 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
2.) ข้าว : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 203.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 98.95 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
3.) น้ำมันดิบ: สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 235.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.06 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
4.) เลนซ์ : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 108.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.31 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหรัฐฯ 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลงมี 9 รายการ เช่น
1.) อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 683.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 5.41 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
2.) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 348.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 5.17 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
3.) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 128.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 3.14 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
4.) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 237.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 5.13 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
5.) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 119.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 24.58 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
1.) ผลิตภัณฑ์กุ้งปี 51: ผลกระทบจากองค์การการค้าโลกตัดสินให้ไทยชนะคดีสหรัฐฯ
จากกรณีที่องค์กรอุทธรณ์ภายใต้องค์การการค้าโลกประกาศคำตัดสินให้ไทยชนะคดีที่ฟ้องสหรัฐฯ กรณีการส่งออกกุ้งแช่แข็งไปสหรัฐฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการคำนวณอัตราการเรียกเก็บภาษีอากรและการวางพันธบัตรประกันหรือซี-บอนด์ตามกฎการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD) ซึ่งผลก็คือ สหรัฐฯจะต้องปรับวิธีการคำนวณอัตราการเรียกเก็บภาษีอากรการนำเข้าผลิตภัณฑ์กุ้งจากไทยใหม่ ยกเลิกการเก็บซี-บอนด์ และต้องจ่ายคืนหลักประกันซี-บอนด์ให้กับผู้ส่งออกไทยที่จ่ายไปแล้วตั้งแต่ปี 2547-2550 เป็นมูลค่ากว่า 1.2 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้คาดว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังตลาดสหรัฐฯในช่วงไตรมาสสี่ของปี 2551 จะมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากสถานภาพการแข่งขันของไทยจะดีขึ้นหลังจากที่ในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยเสียเปรียบประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามและจีน ซึ่งสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดหรือภาษีเอดีต่ำกว่าไทย และเอกวาดอร์ซึ่งชนะคดีที่ฟ้องสหรัฐฯให้เปลี่ยนวิธีการคำนวณอัตราภาษีเอดีใหม่
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ไทยชนะสหรัฐฯทั้งในกรณีการคำนวณอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่ไม่เป็นธรรม และการวางซี-บอนด์ค้ำประกันการส่งออก ดังนั้นไทยจึงมีความได้เปรียบประเทศคู่แข่งขันอื่นๆที่ไม่ต้องมีภาระในการวางซี-บอนด์ ยกเว้นอินเดียซึ่งก็ชนะคดีเช่นเดียวกับไทย อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยยังคงต้องรอประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดในรอบสุดท้ายที่คาดว่าจะประกาศประมาณเดือนกันยายนนี้ก่อน ซึ่งจะเป็นข้อสรุปถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของผลิตภัณฑ์กุ้งไทยในตลาดสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม เมื่อไทยชนะคดีในการฟ้องร้องการเรียกเก็บซี-บอนด์นั้นถือว่าเป็นการเรียกเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบประเทศคู่แข่งขันอย่างจีนและเวียดนาม ซึ่งทั้งสองประเทศยังต้องวางพันธบัตรค้ำประกันการส่งออกอยู่ในขณะนี้
คำตัดสินขององค์การการค้าโลกที่ทำให้สหรัฐฯต้องเปลี่ยนวิธีการคำนวณอัตราการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและยกเลิกการเรียกเก็บซี-บอนด์นั้นจะส่งผลทำให้สถานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์กุ้งไทยในสหรัฐฯมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551ผลดีที่เกิดขึ้นกับตลาดสหรัฐฯจะส่งผลดีต่อเนื่องมายังอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศ ซึ่งนอกจากผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งแล้ว ธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์ด้วย คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ธุรกิจอาหารกุ้ง เพาะเลี้ยงลูกกุ้ง ธุรกิจห้องเย็น ธุรกิจเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ผู้เลี้ยงกุ้งใช้ในฟาร์มเพาะเลี้ยง กล่าวคือ จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและโรงเพาะฟักลูกกุ้งในประเทศที่มีอยู่ประมาณ 33,411 ราย รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งกระจายอยู่ในจังหวัดชายทะเล เช่น โรงงานน้ำแข็งเพื่อการประมง 207 โรงงาน ห้องเย็น 182 แห่ง โรงงานอาหารทะเลกระป๋อง 49 โรงงาน ตลอดจนโรงงานแปรรูปต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทั้งรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกุ้งของไทยต้องจับตาการเปลี่ยนแปลงมาตรการของตลาดสหรัฐฯต่อไป โดยเฉพาะการประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดอัตราใหม่ ทั้งนี้เพื่อการประกาศให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาอย่างทันท่วงที
แม้ว่าไทยน่าจะได้รับผลดีจากคำตัดสินขององค์การการค้าโลกดังกล่าว แต่บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่าปี 2551 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้ง ไปยังตลาดสหรัฐฯจะมีมูลค่า 1,170 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2550 แล้วลดลงร้อยละ 5.4 หลังจากที่ในช่วงครึ่งแรกขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 เนื่องจากการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งกระป๋องชะลอตัวลงอย่างมาก ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งเหล่านี้ของไทยในตลาดสหรัฐฯเสียเปรียบคู่แข่งหลายด้าน กล่าวคือ ประเทศคู่แข่งได้เปรียบไทยในเรื่องภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดหรือภาษีเอดีที่ในปัจจุบันไทยถูกเรียกเก็บในอัตราที่สูงกว่า โดยเวียดนาม จีน และอินเดียถูกเก็บภาษีร้อยละ 0-1.0 และอินโดนีเซียไม่ถูกเรียกเก็บภาษีเอดี ในขณะที่ไทยเสียภาษีเอดีเฉลี่ยร้อยละ 4.24 รวมทั้งยังเสียเปรียบเวียดนามและอินเดียในเรื่องค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่ากว่าเมื่อเทียบระหว่างเงินดองกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินรูปีกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทำให้สินค้าผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งในสายตาของประเทศผู้นำเข้าในสหรัฐฯ
บทสรุป
คำตัดสินขององค์การการค้าโลกที่ให้ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยชนะคดีที่ฟ้องสหรัฐฯกรณีการคำนวณภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่ไม่เป็นธรรมและการวางซี-บอนด์ซึ่งถือเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ส่งผลดีต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยสถานภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในตลาดสหรัฐฯจะดีขึ้น เนื่องจากคาดการณ์ว่าอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่จะประกาศโดยใช้วิธีการคำนวณใหม่จะมีอัตราที่ต่ำลง ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยมีแนวโน้มลดลง ส่วนการยกเลิกการเก็บซี-บอนด์นั้นเป็นการลดภาระของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้ง ทำให้เงินทุนหมุนเวียนในกิจการของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยคงต้องรอประเมินความสามารถในการแข่งขันที่ชัดเจนเมื่อสหรัฐฯประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์กุ้งไทย โดยต้องนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันสำคัญอย่างจีนและเวียดนามที่บางบริษัทถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่ร้อยละ 0 แต่ยังต้องวางซี-บอนด์อยู่ นอกจากนี้ คู่แข่งที่ไทยยังต้องจับตามองคือ อินโดนีเซีย ซึ่งไม่ถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด และอินเดียซึ่งชนะคดีฟ้องร้องสหรัฐฯเช่นเดียวกับไทย ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังตลาดสหรัฐฯในปี 2551 คาดว่ายังคงปรับลดร้อยละ 5.4 ต่อเนื่องจากที่ในปี 2550 ที่มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังตลาดสหรัฐฯปรับลดร้อยละ 7.0 เนื่องจากอานิสงส์ของคำตัดสินที่คาดว่าจะกระตุ้นยอดส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งนั้นยังคงต้องรอประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดใหม่ ซึ่งคาดว่าอาจจะส่งผลดีต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งประมาณไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
2.) สหรัฐฯไม่ตัดGSP สินค้าไทย 11รายการ
สหรัฐฯ ได้ประกาศผลการทบทวนโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ประจำปี 2550 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2551 แล้ว โดยมีสินค้าไทยที่ได้รับการผ่อนผันไม่ถูกตัดสิทธิ (เดอ มินิมิสเวฟเวอร์ คือการมีส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐฯเกิน 50% หรือมีมูลค่าที่สหรัฐฯนำเข้ารวมในสินค้าเดียวกันจากทั่วโลกไม่เกิน 18.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งสิ้น 11 รายการ ตามคำร้องที่กรมการค้าต่างประเทศยื่นขอเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2551 ส่งผลให้สินค้าดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ซึ่งหากไม่ได้จีเอสพีจะต้องเสียภาษีนำเข้า ซึ่งหากไม่ได้จีเอสพีจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติระหว่าง 3-14%
สำหรับทั้ง 11 รายการ ได้แก่ ดอกกล้วยไม้สด ทุเรียนสด มะละกอแห้ง มะขามแห้ง ผลไม้ประเภทส้มอื่นๆ มะละกอแปรรูปหนังกระบือ สร้อยคอทองคำ ทองแดงบริสุทธิ์ โทรทัศน์สีจอกว้างกว่า 34.29 ซม.แต่ไม่เกิน 35.56 ซม. และโทรทัศน์สีแบบโปรเจกชัน ซึ่งในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ รวมประมาณ 42.51 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้ประกาศให้สิทธิเพิ่มเติมในสินค้าไทยอีก 3 รายการ ได้แก่ อะลูมิเนียมไม่เจือ อะลูมิเนียมเจือ และโพรไฟล์กลวง
ส่วนคำร้องของกรมการค้าต่างประเทศที่ขอยกเว้นเพดานการส่งออก (ซีเอ็นแอลเวฟเวอร์ หรือการยกเว้นเพดานการส่งออก สำหรับสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ์เพราะมีแนวโน้มมูลค่าส่งออกจะเกินเพดานที่กำหนดหรือเกิน 130 ล้านเหรียญ และมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯเกิน 50%) 3 รายการ คือ ทีวีสี ลิ้นจี่ และลำไยกระป๋อง และถุงพลาสติกนั้นสหรัฐฯไม่รับพิจารณา โดยอ้างว่า สินค้าไทยไม่เข้าเกณฑ์การพิจารณา ส่วนคำร้องที่ขอการรับการคืนสิทธิ์หลังถูกตัดสิทธิ์ไปแล้ว(รีดีซิกเนชัน) 4 รายการ คือ ธัญพืช ลิ้นจี่และลำไยกระป๋อง กระเบื้องปูพื้นและผนังและเม็ดพลาสติกนั้น ในปีนี้ สหรัฐฯไม่ได้คืนสิทธิ์ตามคำขอดังกล่าวให้กับประเทศใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงไทยด้วย
นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้ออกประกาศผลการจัดสรรปริมาณนำเข้าเหล็ก และเหล็กกล้าที่จะออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิ์ในการยกเว้นภาษีศุลกากรตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(เจเทปา) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 โดยในกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนจัดสรรให้กับนิติบุคคลที่ประกอบกิจการค้าเหล็กและเหล็กกล้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั่วไป 300,788 ตัน กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กอื่นเป็นม้วนรีดร้อนจัดสรรให้โรงงานผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 93,250 ตัน และกลุ่มผลิตภัณฑ์ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กอื่นเป็นม้วนรีดร้อน จัดสรรให้โรงงานผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์หรือชิ้นส่วน 153,500
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ