สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย — จีน ปี 2551 (ม.ค-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 30, 2008 16:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป :
เมืองหลวง : Beijing
พื้นที่ : 9,561,000 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : Mainly Putonghua or Standard Chinese
ประชากร : 1.3 พันล้านคน (end-2005)
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 เรนมินบิ = 4.86 บาท (29/07/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 11.40 10.10
Consumer price inflation (%; av) 4.80 3.80
Budget balance (% of GDP) 0.20 0.10
Current-account balance (% of GDP) 11.30 11.00
Commercial bank prime rate (%; year-end) 7.60 8.10
Exchange rate Rmb:US$ (av) 7.61 7.08
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับจีน
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 8,359.90 100.00 27.44
สินค้าเกษตรกรรม 1,326.66 15.87 21.25
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 119.23 1.43 -8.73
สินค้าอุตสาหกรรม 5,771.89 69.04 23.45
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,142.11 13.66 77.29
สินค้าอื่นๆ 0.01 0.0 -99.97
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับจีน
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 9,977.88 100.00 30.77
สินค้าเชื้อเพลิง 125.19 1.25 111.05
สินค้าทุน 3,884.74 38.93 28.65
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 3,923.66 39.32 25.37
สินค้าบริโภค 1,897.67 19.02 44.04
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 145.58 1.46 52.47
สินค้าอื่นๆ 1.04 0.01 -87.43
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - จีน
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 14,489.71 18,337.78 29.23
การส่งออก 6,559.87 8,359.90 27.44
การนำเข้า 7,629.84 9,977.88 30.77
ดุลการค้า -1,069.97 -1,617.98 51.22
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดจีน เป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 9,977.88 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.77 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 9,977.88 100.00 30.77
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 1,385.52 13.89 22.69
2. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 1,174.80 11.77 18.12
3. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 953.54 9.56 52.93
4. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 770.82 7.73 38.07
5. เคมีภัณฑ์ 709.18 7.11 49.26
อื่น ๆ 4,984.02 49.95 29.49
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดจีน เป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 8,359.90 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.44 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 8,359.90 100.00 27.44
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 2,413.97 28.88 56.63
2. ยางพารา 914.63 10.94 51.02
3. เม็ดพลาสติก 614.08 7.35 37.15
4. น้ำมันสำเร็จรูป 602.08 7.20 77.62
5. น้ำมันดิบ 477.04 5.71 117.10
อื่น ๆ 3,338.11 39.93 -2.01
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีน ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ :
จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 2,413.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.63 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในรอบปีที่ผ่านมาการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันไทยได้กลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จากการเข้ามาของนักลงทุนรายใหญ่ทั้ง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนประกอบประเภทฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีบทบาททั้งทางด้านการผลิตและการส่งออกมากที่สุดในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้
ยางพารา :
จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 914.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.02 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ปัจจุบันไทยยังคงมีปริมาณการผลิตยางเป็นอันดับหนึ่งของโลก และประเทศที่มีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นประเทศผู้ใช้ยาง คือจีนและอินเดีย เนื่องจากการเติบโตของุตสาหกรรมรถยนต์ในทั้งสองประเทศมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจีนจะเป็นประเทศผู้ใช้ยางที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในช่วงระยะ 15 ปีต่อจากนี้
เม็ดพลาสติก :
จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 614.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.15 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
น้ำมันสำเร็จรูป :
จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 602.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.62 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
น้ำมันดิบ :
จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยโดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 477.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 117.10 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีน 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 14 รายการ เช่น
1.) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 129.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.57 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
2.) เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 86.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.81 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
3.) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 70.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.04 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
4.) ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 68.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.21 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตผลไม้เมืองร้อนที่สำคัญของโลก เช่น ทุเรียน ลำไย ลองกอง มะม่วง มังคุด และกล้วยหอม ได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าคุณภาพดี ได้ปรับกระบวนการผลิตที่ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐานโลก และตระหนักถึงพฤติกรรมการบริโภคของตลาดโลก ทำให้สามารถส่งออกได้ทั้งผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป คาดว่าปีนี้ไทยจะสามารถส่งออกผลไม้ได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ขณะเดียวกันได้เตรียมขยายตลาดหลักในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย ลาว และกัมพูชา เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีน 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง มี 5 รายการ เช่น
1.) เคมีภัณฑ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 413.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 35.36 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
2.) แผงวงจรไฟฟ้า : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 384.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 2.82 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
3.) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-มิย.) มีมูลค่า 175.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 41.42 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
1.) การปรับนโยบายการค้าและมาตรการต่างๆ ของจีน
แม้จีนจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนได้สร้างความกังวลให้กับรัฐบาลจีน ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงพยายามที่จะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและมาตรการในสาขาต่างๆ ของจีน
รัฐบาลจีนได้ตัดสินใจเลือกใช้นโยบายทางการเงินเพื่อชะลอสถานการณ์ดังกล่าว เช่น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย การตั้งเงินสำรองของธนาคารสูงขึ้น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (เพิ่มถึง 7 ครั้งในช่วง 2 ปี) อย่างไรก็ดี การเจริญเติบโตของจีนเป็นผลมาจากการขยายตัวด้านการส่งออกและการลงทุนมากกว่าการบริโภคในประเทศ โดยการขยายตัวด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาช่องว่างระหว่างประชาชนเมืองกับชนบท ซึ่งรัฐบาลได้พยายามใช้นโยบายต่างๆ เพื่อการชะลอการส่งออกและส่งเสริมการบริโภคภายในให้มากขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาความไม่สมดุลต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเพิ่มจำนวนสินค้าที่มีภาษีส่งออก การยกเลิกการคืนภาษี VAT ในสินค้าประมาณ 2,800 รายการ ให้กับผู้ส่งออก การห้ามการส่งออกและลดการส่งออกสินค้าที่ใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติสูง เป็นต้น
ในรายงานการทบทวนนโยบายการค้าของจีนยังได้กล่าวถึงมาตรการด้านภาษีและมิใช่ภาษีของจีน กล่าวคือในปี 2550 อัตราภาษีที่จีนเก็บจากสมาชิก WTO (MFN) เฉลี่ยของจีนอยู่ที่ร้อยละ 9.7 โดยอัตราภาษีที่เรียกเก็บจริง (applied MFN tariff) สำหรับสินค้าเกษตรอยู่ที่ร้อยละ 15.3 สินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 8.8 และอัตราภาษีเฉลี่ยภายใต้ความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ อยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-9 ทั้งนี้ จีนได้ยกเลิกมาตรการโควตาภาษี (TRQ) สำหรับสินค้าน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และน้ำมันเรฟซีส ตั้งแต่ปี 2549 คงเหลือสินค้าที่มี TRQ เพียง 8 รายการเท่านั้น
สำหรับมาตรการที่มิใช่ภาษี จีนได้ลดจำนวนรายการสินค้าที่ต้องมีการขอใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ (automatic import licensing) ให้น้อยลง แต่นโยบายในเรื่อง SPS ยังมีความซับซ้อนและมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ ส่วนในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ กฎหมายอนุญาตให้รัฐสามารถซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในต่างประเทศได้ในบางกรณีแต่ในทางปฏิบัติแล้วรัฐซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในต่างประเทศอยู่เสมอ
หลังจากที่จีนให้ความสำคัญกับภาคการผลิตซึ่งเน้นการใช้เครื่องจักรมาโดยตลอด รัฐบาลจีนได้เริ่มให้ความสนใจกับภาคบริการที่ใช้ปัจจัยแรงงานมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างงานให้กับประชาชนในชนบทเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาภาคการเงินนับเป็นสาขาที่มีความก้าวหน้ามากกว่าภาคอื่นๆ แต่ระบบธนาคารยังมีการพัฒนาน้อยและไม่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมารัฐบาลอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติสามารถทำธุรกรรมที่เป็นสกุลเงินหยวนกับคนจีนได้โดยไม่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ แต่ข้อกำหนดต่างๆ ที่ใช้กับธนาคารต่างชาติยังเป็นไปอย่างเข้มงวดสำหรับการเปิดเสรีภาคบริการยังเป็นไปอย่างเชื่องช้าส่งผลให้ภาคบริการส่วนใหญ่ยังอยู่ในการควบคุมของรัฐ
ภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีรายได้คิดเป็นร้อยละ 13.4 ของ GDP และจ้างงานสูงถึงร้อยละ 40 ของแรงงานจีนทั้งหมด ได้มีการเปลี่ยนนโยบายเป็นการให้การสนับสนุนมากขึ้น โดยในปี 2549 จีนได้ยกเลิกภาษีเกษตรกรรม (ภาษีที่เก็บจากรายได้ของเกษตรกร) และจัดให้มีการสนับสนุนทางการเงินมากขึ้น และเนื่องจากแรงงานในภาคเกษตรของจีนสร้างผลผลิตได้เพียง 1 ใน 5 ของผลผลิตทั้งประเทศแต่มีแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้รายได้ของประชากรในชนบทแตกต่างจากประชาชนเมืองเป็นอย่างมากดังนั้นแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ฉบับที่ 11 ของจีน (ปี 2549-2553) จึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิต การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการสร้างเทคโนโลยี และการให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างจริงจังมากขึ้น
จะเห็นว่าการออกนโยบายต่างๆ เพื่อชะลอการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนดังกล่าว เป็นไปเพื่อการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และเป็นการลดแรงต้านจากการที่สินค้าจีนได้บุกตลาดไปทั่วโลกด้วยราคาที่ถูกกล่าว โดยหันมาเน้นตลาดบริโภคภายในประเทศ ลดการส่งออก และเพิ่มการนำเข้า เนื่องจากค่าเงินหยวนได้เริ่มแข็งค่าขึ้นทำให้ราคาสินค้าจีนเริ่มแพงขึ้น ภาวะการณ์เช่นนี้น่าจะเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะได้ส่งออกสินค้าไปตลาดจีนได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ใช้สิทธิภายใต้ FTA อาเซียน - จีน ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาสินค้าจีนที่เริ่มสูงขึ้นจะทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดประเทศที่สาม
2.) ชี้ช่องทุนไทยลุยตลาดจีนใต้
ความเป็นไปที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (ไทย พม่า ลาว จีนตอนใต้) ที่เริ่มกลายเป็นพื้นที่การค้า-การลงทุนใหม่ ที่เปิดขึ้นหลังการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ที่เดินหน้าผลักดันเต็มที่ภายใต้นโยบาย “ตงหมง” เปิดเส้นทางออกสู่ทะเลให้แก่ 5 มณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หรือที่เรียกว่า “ซีหนาน” มีมณฑลหยุนหนัน(ยูนนาน) เป็นศูนย์กลางหลัก เพื่อพัฒนาพื้นที่ชายแดนแถบนี้ให้เทียบเท่ากับชายฝั่งทะเลตะวันออก
นอกจากจะทุ่มงบประมาณพัฒนาเส้นทางคมนาคมทุกช่องทางจนเกือบเสร็จสมบูรณ์ 100%แล้วล่าสุด จีน ได้ร่วมลงนามกับมาเลเซีย เพื่อใช้มาเลเซียเป็นศูนย์กลาง(HUB )สำหรับขนส่งสินค้าเข้า-ออก ซึ่งแน่นอนว่า จะทำให้ไทย กลายเป็นทางผ่านสินค้าเท่านั้น
ภายใต้นโยบายตงหมงของ จีน มีการผ่อนปรนเงื่อนไขค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับช่องทางการค้า อื่น ๆ ของจีน แต่ตลอดระยะที่ผ่านมาการผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยเข้ายึดกุมตลาดในย่านนี้ โดยเฉพาะตลาดจีนตอนใต้ ซึ่งในเขต 5 มณฑลที่เรียกว่าซีหนานนั้น เป็นตลาดที่มีผู้บริโภคมากกว่า 300 ล้านคน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย พยายามที่จะให้เอกชนไทยใช้หลักกวนซี่ หรืออาศัยความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเข้าทำตลาดในจีน ปล่อยให้สินค้าออกทางชายแดนภาคเหนือ เข้าไปสวมสิทธิ์เป็นสินค้าพม่า — ลาว ที่ได้สิทธิ์สินค้าชายแดนเข้าไปขายในจีน โดยที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า หรือทำให้เป็นสินค้าลอดรัฐ เพื่อหนีนโยบายเข้มงวดการค้า การลงทุนจากต่างชาติของ จีน
ขณะที่ FTA ไทย-จีน มีผลบังคับใช้ พืช ผัก ผลไม้ จีนนำเข้าไทยภายใต้ภาษี 0% แต่สินค้าเกษตรไทย แม้นำเข้าจีนเสียภาษี 0% แต่ต้องเจอ VAT แต่ละมณฑลอยู่ รวมถึง Non Tariff Barrier อีกหลากหลายกรณี เช่น นโยบาย One License For One Product ที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตค้าส่ง ใบอนุญาตค้าปลีก / กฎระเบียบการนำเข้า ทั้งการตรวจโรคพืช — มาตรฐานความปลอดภัยสินค้า ใบแสดงถิ่นกำเนิด / มาตรฐานสินค้าที่แตกต่างกัน (องค์การอาหารและยา หรือ อย. ,เครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.) เป็นต้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ