1. การบริโภคผลไม้ในไต้หวัน
ชาวไต้หวันมีความนิยมบริโภคผลไม้ จะเห็นได้ว่ามีร้านจำหน่ายผลไม้โดยเฉพาะจำนวนมากตั้งอยู่ตามท้องถนนทั่วไป ในปี 2007 ชาวไต้หวันบริโภคผลไม้ประมาณคนละ 115 กิโลกรัม ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นผลไม้ที่ผลิตในประเทศ
เนื่องจากไต้หวันสามารถผลิตผลไม้ได้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศดังนั้น รัฐบาลจึงดำเนินมาตรการกีกกันด้วยการตั้งกำแพงภาษีสูง และมีความเข้มงวดด้านสุขอนามัยในการนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศ มีผลทำให้ไต้หวันผลไม้นำเข้ามีสัดส่วนประมาณ 12 % ของผลไม้ที่ผลิตในประเทศ (สถิติปี 2007)
ในด้านพฤติกรรมในการบริโภคนั้น ชาวไต้หวันนิยมบริโภคผลไม้สดมากกว่าผลไม้กระป๋องหรือแปรรูป เนื่องจากไต้หวันมีผลผลิตสดออกสู่ตลาดทั้งปี โดยในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันตรุษจีน สาร์ทจีน วันไหว้พระจันทร์ ประชาชนใช้ผลไม้ในการเซ่นไหว้ จึงมีความต้องการบริโภคผลไม้มากกว่าปกติ
2. ภาวะการผลิตและการส่งออก
ในปี 2007 ไต้หวันผลิตผลไม้ได้ 2.66 ล้านตัน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ใกล้เคียงกับปี 2006 ผลไม้ที่ไต้หวันมีการเพาะปลูกมากได้แก่ กล้วย สับปะรด ส้ม ส้มโอ มะนาว มะม่วง หมาก ฝรั่ง ชมพู่ องุ่น โลควอท (Loquots ปี่แป้ หรือ ผีผา) สาลี่ ท้อ พลับ พลัม บ๊วย ลิ้นจี่ มะเฟือง แอ็บเปิ้ล มะละกอ พุทรา น้อยหน่า มะพร้าว
ไต้หวันมีการเพาะปลูกผลไม้ทั้งประเภทผลไม้เมืองร้อนและเมืองหนาว ซึ่งมีการปรับปรุงพันธุ์ต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ และมีการส่งออกมากขึ้น ในปี 2007 ส่งออกมูลค่า 44.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.37 ผลไม้ที่ไต้หวันมีศักยภาพในการส่งออกได้แก่ กล้วยหอม มะม่วง สาลี่ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ สหรัฐฯ สิงคโปร์ แคนาดา จีน
3. ภาวะการนำเข้า
ในปี 2007 ไต้หวันนำเข้าผลไม้สดมูลค่า 389.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2006 เล็กน้อยคือ ร้อยละ 1.7 ตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ชิลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ จีน ไทย เกาหลีใต้ เวียตนาม อิหร่าน แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย
ผลไม้ที่ไต้หวันมีการนำเข้ามากส่วนใหญ่เป็นผลไม้เมืองหนาว ได้แก่ แอ็บเปิ้ล สาลี่ กีวี่ เชอรี่ ส้ม ฯลฯ
3.1 การนำเข้าจากไทย
ในปี 2007 ไต้หวันนำเข้าผลไม้จากไทยมูลค่า 14.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2006 ร้อยละ 18.21 ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับ ร้อยละ 3.80
สำหรับในปี 2008 (มกราคม — พฤษภาคม) ไต้หวันนำเข้าจากไทย 9.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2007 ร้อยละ 18.05
ผลไม้ที่มีการนำเข้าได้แก่ ทุเรียน มะพร้าว ลำไยแห้ง หมากสด มูลค่าการนำเข้าในปี 2007 ปรากฏดังนี้
- ทุเรียน 11.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 ลดลง ร้อยละ 21.83 ไทยครองส่วนแบ่งการตลาด 100 %
- ลำไยแห้ง 0.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 193.94 ไทยครองส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 57 เวียตนามคือคู่แข่งสำคัญมีส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 43
- มะพร้าว 2.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 ลดลง ร้อยละ 18.12 ไทยครองส่วนแบ่งการตลาด 100%
- หมากสด 0.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 ลดลง ร้อยละ 153 ไทยครองส่วนแบ่งการตลาด 100%
3.2 กฎระเบียบและอัตราภาษี
1) การนำเข้าผลไม้เข้ามายังไต้หวันจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางการกักกันพืชและผลิตภัณฑ์พืชก่อนนำเข้ามายังไต้หวัน (Quarantine Requirements for Importing Plants and Plant Product to the Republic of China) ในข้อกำหนดดังกล่าวมีการระบุ ชนิด ประเภท และส่วนต่าง ๆ ของผลิตผลเกษตร ที่นำเข้าไม่ได้ และ นำเข้าได้โดยมีเงื่อนไข
ปัจุบันผลไม้ส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรายการที่นำเข้าไม่ได้เนื่องจากเป็นพาหะของศัตรูพืช สำหรับผลไม้ไทยที่มีการนำเข้าได้แก่ ทุเรียน มะพร้าว ลำไยแห้ง หมากสด
ทั้งนี้การนำเข้าหมากสดมีการกำหนดระเบียบเฉพาะเรียกว่า Quarantine Requirements for the Importation of fresh fruits of Areca catechu from Thailand ซึ่งมีหลักเกณฑ์โดยสรุปคือ โรงงานบรรจุหมากที่จะทำการส่งออกต้องติดตั้งอุปกรณ์รมยาโดยผ่านการตรวจสอบจากกรมวิชาการเกษตรของไทยและเสนอให้ทางการไต้หวันรับรอง และจะต้องทำการรมผลหมากด้วยสารเมธิลโบรไมด์ เพื่อทำลายแมลงศัตรูพืชก่อนส่งไปไต้หวัน ในกระบวนการดังกล่าวฝ่ายไทยจะต้องเชิญเจ้าหน้าที่ไต้หวันตรวจสอบโรงงานและมาประจำการในประเทศไทยเพื่อตรวจสอบขั้นตอนการรมยาด้วย ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
2) ไต้หวันมีการกำหนดโควต้าและระยะเวลาในการนำเข้าผลไม้บางชนิดภายใต้การเจรจาในองค์การการค้าโลก (WTO) สินค้าไทยที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดนี้คือ
- มะพร้าว ไต้หวันกำหนดโควต้ารวมสำหรับทุกประเทศ ปีละ 8,000 เมตริกตัน
- ลำไยแห้ง ไต้หวันกำหนดโควต้ารวมสำหรับทุกประเทศ ปีละ 330 เมตริกตัน
- หมากสด ไต้หวันกำหนดโควต้ารวมสำหรับทุกประเทศ ปีละ 8,000 เมตริกตัน กำหนดให้นำเข้าระหว่างวันที่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 30 เมษายน ของแต่ละปี
โดยในช่วงปลายปี กรมการบริหารด้านศุลกากร กระทรวงการคลังของไต้หวัน(Department of Customs administration, Ministry of Finance) จะประกาศโควต้าการนำเข้าสินค้า ระยะเวลาในการจัดสรรโควต้าประจำปี ผู้นำเข้าจะต้องยื่นขอจัดสรรโควต้า ซึ่งจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมและเงินมัดจำให้แก่ทางการไต้หวันและนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนด
3) เอกสารประกอบการในเข้าผลไม้จากไทยในพิธีศุลกากรของไต้หวัน
- Invoice
- Bill of lading
- Packing List
- Phytosanitary
4) อัตราภาษีศุลกากร
ไต้หวันกำหนดภาษีนำเข้าผลไม้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 20-30 % แต่การนำเข้าสินค้านอกโควต้าจะมีอัตราภาษีเกินกว่า 100% อัตราภาษีนำเข้าผลไม้บางส่วนปรากฏดังนี้
ตารางที่ 1 อัตราภาษีศุลกากรผลไม้นำเข้าในไต้หวัน
รายการ พิกัดศุลกากร อัตราภาษี
ทุเรียน HS 0810.60.00.00.7 17 %
มะพร้าว HS 9812.00.00.00
(โควตาปีละ 8000 ตัน) NT.$ 0.9/KG หรือ 15% เก็บตามที่สูงกว่า
HS 0801.19.00.00.0 (นอกโควต้า) 120 %
ลำไยแห้ง HS 9820.00.00.00
(โควต้าปีละ 330 ตัน) 15 %
HS 0813.40.10.00.7 (นอกโควต้า) NT$ 88/KG
หมาก HS 1913.00.00.00.9
(โควต้าปีละ 8000 ตัน) 17.5 %
HS 0802.90.30.00.5 (นอกโควต้า) NT.$ 810/KG
4. การตลาด
4.1 ช่องทางการจัดจำหน่าย
การจำหน่ายผลไม้สดนำเข้าในไต้หวัน มีช่องทางการกระจายสินค้าปกติ 3 ทอด ดังนี้คือ ผู้นำเข้า --> ผู้ค้าส่ง --> ผู้ค้าปลีก ทั้งนี้ ผู้นำเข้าจะจัดซื้อจากสวนผลไม้หรือจากโรงงานคัดบรรจุในประเทศไทยโดยตรง จากนั้นจะจำหน่ายต่อให้แก่ผู้ค้าส่งที่มักจะรวมตัวอยู่ตามตลาดค้าส่ง และผู้ค้าปลีกซึ่งเป็นร้านผลไม้หรือแผงผลไม้จะรับสินค้าต่อจากผู้ค้าส่งอีกทอดหนึ่ง
สำหรับสินค้าที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต จะมีช่องทางการกระจายสินค้าเพียง 1 — 2 ทอด กล่าวคือห้างค้าปลีกจะนำเข้าโดยตรง หรือ ใช้ระบบให้ผู้นำเข้านำสินค้ามาฝากขาย
4.2 ราคา รูปแบบ คุณภาพ รสนิยม
- ทุเรียน
ชาวไต้หวันนิยมบริโภคทุเรียนหมอนทองมากที่สุด แต่ยังคงมีทุเรียนพันธุ์อื่น ๆ วางจำหน่ายด้วย ภาวะราคาในปี 2551 ทุเรียนหมอนทองในไฮเปอร์มาร์เก็ตราคา กิโลกรัมละ 55-80 บาท แต่ราคาในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำจะจำหน่ายทุเรียนหมอนทองเกรดดี ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120 บาท
มะพร้าว
ราคาขายปลีกมะพร้าวปอกเปลือกในไฮเปอร์มาร์เก็ต ส่วนใหญ่ราคาประมาณ 3 ลูก 100 เหรียญไต้หวัน (ลูกละ 500 กรัม) ในช่วงเดือนกรกฎาคม ห้าง RT-Mart จัดกิจกรรมลดราคาเหลือ ลูกละ 18 เหรียญไต้หวัน (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญไต้หวัน = 1.10 บาทโดยประมาณ)
- ลำไยแห้ง
ชาวไต้หวันนิยมรับประทานลำไยแห้งที่ไม่ปอกเปลือกและเชื่อว่าลำไยแห้งเป็นอาหารบำรุงสุขภาพในช่วงฤดูหนาว อย่างไรสำหรับลำไยแห้งปอกเปลือกนั้น นิยมนำมาต้มเป็นน้ำลำไย หรือปรุงอาหารอื่น ๆ เช่นปาเป่าโจว (ธัญพืชหลายชนิดต้มรวมกัน) ราคาขายปลีกลำไยแห้งประมาณกิโลกรัมละ 200 — 300 เหรียญไต้หวัน แล้วแต่ชนิดประเภทและช่วงเวลา
ราคาลำไยแห้ง ณ ถิ่นผลิต ซึ่งชาวสวนขายให้แก่ผู้ค้าส่งทอดที่ 1 โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ 110 — 120 เหรียญไต้หวัน ในช่วงที่ผลผลิตน้อยหรือขาดแคลน (เดือน มีนาคม) ราคาอาจจะสูงถึง 200 เหรียญไต้หวัน
- หมาก
ชาวไต้หวันนิยมบริโภคหมากอ่อนขนาดเล็ก ราคาขายปลีกหมากสดที่ห่อใบพลูทาปูนขาวและปูนแดง ลูกละ 1.5 — 2 เหรียญไต้หวัน ในช่วงผลผลิตขาดแคลนราคาอาจจะสูงถึงลูกละ 10 เหรียญไต้หวัน
สำหรับราคาขายส่งที่สวนหมาก ในช่วงปกติ ราคาชั่งละ(600 กรัม) 180 - 200 เหรียญไต้หวัน ในช่วงผลผลิตขาดแคลน (เดือน กุมภาพันธ์ — มิถุนายน) ราคาอาจสูงถึง ชั่งละ 650 เหรียญไต้หวัน
ตาราง 2 แสดงราคาขายส่งเฉลี่ยผลไม้นำเข้าที่ตลาดกลางเมืองต่าง ๆ ทั่วไต้หวัน
หน่วย : เหรียญไต้หวัน / กิโลกรัม
ปี เดือน ทุเรียน มะพร้าว มะพร้าวปอกเปลือก
2006 ม.ค.-ธ.ค. 33.4 21.2 33.2
2007 ม.ค.-ธ.ค. 35.6 22.2 24.1
2008 ม.ค.—ธ.ค. - - -
ม.ค. 39.2 25.6 26.3
ก.พ. 46.9 27.2 -
มี.ค. 41.4 21.0 49.2
เม.ย. 40.6 19.1 -
พ.ค. 37.1 21.3 -
มิ.ย. 38.4 - -
ก.ค. 38.0 23.4 -
ที่มา Agriculture and food Agency, Council of Agriculture, Taiwan
http://amis.afa.gov.tw/
4.3 โอกาสสินค้าของไทย
ไต้หวันนำเข้าผลไม้เมืองร้อนจากไทยมากที่สุด เนื่องจากผลไม้ของไทยมีคุณภาพรสชาติดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอาคเนย์ ดังจะเห็นได้ว่าไทยมีส่วนแบ่งการตลาดผลไม้ที่มีการนำเข้าทั้ง 4 ชนิดในระดับสูง โดยทุเรียนมีส่วนแบ่งทางการตลาด 100 %
4.4 ประเทศคู่แข่ง
การส่งออกผลไม้เขตร้อนของไทย 4 ชนิด คือ ทุเรียน มะพร้าว ลำไยแห้ง และหมากของไทยไปยังไต้หวันกล่าวได้ว่าไทยครองตลาดส่วนใหญ่ได้ทั้งหมด เนื่องจากคุณภาพและรสชาติดีกว่าประเทศอื่น ๆ ยกเว้นลำไยแห้งเท่านั้นที่เวียตนามอาจแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
4.5 ปัญหาอุปสรรค
1) ไต้หวันกำหนดระเบียบการนำเข้าที่มีความเข้มงวดสูง ทำให้ผลไม้ที่มีศักยภาพอีกหลายชนิดของไทยได้แก่ส้มโอ มังคุด เงาะ มะม่วง ไม่สามารถขยายตลาดเข้ามายังไต้หวัน เนื่องจากไต้หวันอ้างว่าผลไม้เหล่านี้เป็นพาหะศัตรูพืช
2) ไต้หวันสร้างข้อจำกัดในการนำเข้าหมากสดของไทยมากขึ้น ด้วยการประกาศระยะเวลานำเข้าสั้นลง จากที่แต่เดิมเคยอนุญาตให้นำเข้าได้ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม ร่นระยะเวลาสั้นลงคือ 1 กุมภาพันธ์ — 30 เมษายน ของแต่ละปี
3) การส่งออกมะพร้าวของไทยไปยังไต้หวันเคยถูกตรวจพบมีสารกันบูดปนเปื้อนทุเรียนมีหนอนเจาะเมล็ด และสื่อมวลชนของไต้หวันมีการเผยแพร่ข่าวอย่างกว้างขวางและทำให้ภาพลักษณ์ผลไม้ไทยเกิดความเสียหาย
4) ในตอนต้นฤดูเกษตรกรตัดทุเรียนอ่อนขาย ทำให้ผู้นำเข้าในไต้หวันขาดความเชื่อถือ และกดราคานำเข้าจนกลายเป็นปัญหาพิพาทระหว่างกัน
5) ในช่วงฤดูส่งออกผลไม้มีปัญหาตู้คอนเทนเน่อร์ขาดแคลนและค่าระวางขนส่งสูง ในการแก้ไขปัญหามาตรการทางการค้าของไต้หวันข้างต้นนั้น สำนักงานฯ ได้ประสานงานกับกรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานมาตรฐานการเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมวิชาการเกษตร เพื่อเจรจาและเสนอข้อมูลทางวิชาการเพื่อให้ฝ่ายไต้หวันยอมรับและเปิดตลาดผลไม้อื่น ๆ ของไทยมากขึ้น
5. ข้อมูลอื่น ๆ
ถึงแม้ผู้บริโภคไต้หวันมีความรู้จักและคุ้นเคยกับผลไม้ไทยอยู่แล้ว แต่การประชาสัมพันธ์และกระตุ้นผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งนี้ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ตในไต้หวัน นิยมจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าทุเรียนซึ่งถือเป็นสินค้ายอดนิยมในช่วงเดือนเมษายน — มิถุนายน ที่ผ่านมานั้นสำนักงานฯ เคยจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าอาหารซึ่งรวมทั้งผลไม้ไทยร่วมกับห้างฯ ต่าง ๆ อาทิเช่น Wellcome Supermarket, SOGO, Shin Kong Mitsukoshi, Carrefour
สำหรับผู้ส่งออกไทยที่ต้องการขยายตลาดส่งออกผลไม้ไปยังไต้หวัน สามารถติดต่อผู้นำเข้าผลไม้ไต้หวันได้ตามรายชื่อดังแนบ
รายงานโดย : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)
โทร. 886-2-2723 1800 โทรสาร. 886-2-2723 1821
E-mail: thaicom.taipei@msa.hinet.net
ที่มา: http://www.depthai.go.th
ชาวไต้หวันมีความนิยมบริโภคผลไม้ จะเห็นได้ว่ามีร้านจำหน่ายผลไม้โดยเฉพาะจำนวนมากตั้งอยู่ตามท้องถนนทั่วไป ในปี 2007 ชาวไต้หวันบริโภคผลไม้ประมาณคนละ 115 กิโลกรัม ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นผลไม้ที่ผลิตในประเทศ
เนื่องจากไต้หวันสามารถผลิตผลไม้ได้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศดังนั้น รัฐบาลจึงดำเนินมาตรการกีกกันด้วยการตั้งกำแพงภาษีสูง และมีความเข้มงวดด้านสุขอนามัยในการนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศ มีผลทำให้ไต้หวันผลไม้นำเข้ามีสัดส่วนประมาณ 12 % ของผลไม้ที่ผลิตในประเทศ (สถิติปี 2007)
ในด้านพฤติกรรมในการบริโภคนั้น ชาวไต้หวันนิยมบริโภคผลไม้สดมากกว่าผลไม้กระป๋องหรือแปรรูป เนื่องจากไต้หวันมีผลผลิตสดออกสู่ตลาดทั้งปี โดยในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันตรุษจีน สาร์ทจีน วันไหว้พระจันทร์ ประชาชนใช้ผลไม้ในการเซ่นไหว้ จึงมีความต้องการบริโภคผลไม้มากกว่าปกติ
2. ภาวะการผลิตและการส่งออก
ในปี 2007 ไต้หวันผลิตผลไม้ได้ 2.66 ล้านตัน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ใกล้เคียงกับปี 2006 ผลไม้ที่ไต้หวันมีการเพาะปลูกมากได้แก่ กล้วย สับปะรด ส้ม ส้มโอ มะนาว มะม่วง หมาก ฝรั่ง ชมพู่ องุ่น โลควอท (Loquots ปี่แป้ หรือ ผีผา) สาลี่ ท้อ พลับ พลัม บ๊วย ลิ้นจี่ มะเฟือง แอ็บเปิ้ล มะละกอ พุทรา น้อยหน่า มะพร้าว
ไต้หวันมีการเพาะปลูกผลไม้ทั้งประเภทผลไม้เมืองร้อนและเมืองหนาว ซึ่งมีการปรับปรุงพันธุ์ต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ และมีการส่งออกมากขึ้น ในปี 2007 ส่งออกมูลค่า 44.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.37 ผลไม้ที่ไต้หวันมีศักยภาพในการส่งออกได้แก่ กล้วยหอม มะม่วง สาลี่ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ สหรัฐฯ สิงคโปร์ แคนาดา จีน
3. ภาวะการนำเข้า
ในปี 2007 ไต้หวันนำเข้าผลไม้สดมูลค่า 389.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2006 เล็กน้อยคือ ร้อยละ 1.7 ตลาดนำเข้าที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ชิลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ จีน ไทย เกาหลีใต้ เวียตนาม อิหร่าน แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย
ผลไม้ที่ไต้หวันมีการนำเข้ามากส่วนใหญ่เป็นผลไม้เมืองหนาว ได้แก่ แอ็บเปิ้ล สาลี่ กีวี่ เชอรี่ ส้ม ฯลฯ
3.1 การนำเข้าจากไทย
ในปี 2007 ไต้หวันนำเข้าผลไม้จากไทยมูลค่า 14.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2006 ร้อยละ 18.21 ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับ ร้อยละ 3.80
สำหรับในปี 2008 (มกราคม — พฤษภาคม) ไต้หวันนำเข้าจากไทย 9.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2007 ร้อยละ 18.05
ผลไม้ที่มีการนำเข้าได้แก่ ทุเรียน มะพร้าว ลำไยแห้ง หมากสด มูลค่าการนำเข้าในปี 2007 ปรากฏดังนี้
- ทุเรียน 11.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 ลดลง ร้อยละ 21.83 ไทยครองส่วนแบ่งการตลาด 100 %
- ลำไยแห้ง 0.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 193.94 ไทยครองส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 57 เวียตนามคือคู่แข่งสำคัญมีส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 43
- มะพร้าว 2.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 ลดลง ร้อยละ 18.12 ไทยครองส่วนแบ่งการตลาด 100%
- หมากสด 0.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2006 ลดลง ร้อยละ 153 ไทยครองส่วนแบ่งการตลาด 100%
3.2 กฎระเบียบและอัตราภาษี
1) การนำเข้าผลไม้เข้ามายังไต้หวันจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางการกักกันพืชและผลิตภัณฑ์พืชก่อนนำเข้ามายังไต้หวัน (Quarantine Requirements for Importing Plants and Plant Product to the Republic of China) ในข้อกำหนดดังกล่าวมีการระบุ ชนิด ประเภท และส่วนต่าง ๆ ของผลิตผลเกษตร ที่นำเข้าไม่ได้ และ นำเข้าได้โดยมีเงื่อนไข
ปัจุบันผลไม้ส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรายการที่นำเข้าไม่ได้เนื่องจากเป็นพาหะของศัตรูพืช สำหรับผลไม้ไทยที่มีการนำเข้าได้แก่ ทุเรียน มะพร้าว ลำไยแห้ง หมากสด
ทั้งนี้การนำเข้าหมากสดมีการกำหนดระเบียบเฉพาะเรียกว่า Quarantine Requirements for the Importation of fresh fruits of Areca catechu from Thailand ซึ่งมีหลักเกณฑ์โดยสรุปคือ โรงงานบรรจุหมากที่จะทำการส่งออกต้องติดตั้งอุปกรณ์รมยาโดยผ่านการตรวจสอบจากกรมวิชาการเกษตรของไทยและเสนอให้ทางการไต้หวันรับรอง และจะต้องทำการรมผลหมากด้วยสารเมธิลโบรไมด์ เพื่อทำลายแมลงศัตรูพืชก่อนส่งไปไต้หวัน ในกระบวนการดังกล่าวฝ่ายไทยจะต้องเชิญเจ้าหน้าที่ไต้หวันตรวจสอบโรงงานและมาประจำการในประเทศไทยเพื่อตรวจสอบขั้นตอนการรมยาด้วย ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
2) ไต้หวันมีการกำหนดโควต้าและระยะเวลาในการนำเข้าผลไม้บางชนิดภายใต้การเจรจาในองค์การการค้าโลก (WTO) สินค้าไทยที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดนี้คือ
- มะพร้าว ไต้หวันกำหนดโควต้ารวมสำหรับทุกประเทศ ปีละ 8,000 เมตริกตัน
- ลำไยแห้ง ไต้หวันกำหนดโควต้ารวมสำหรับทุกประเทศ ปีละ 330 เมตริกตัน
- หมากสด ไต้หวันกำหนดโควต้ารวมสำหรับทุกประเทศ ปีละ 8,000 เมตริกตัน กำหนดให้นำเข้าระหว่างวันที่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 30 เมษายน ของแต่ละปี
โดยในช่วงปลายปี กรมการบริหารด้านศุลกากร กระทรวงการคลังของไต้หวัน(Department of Customs administration, Ministry of Finance) จะประกาศโควต้าการนำเข้าสินค้า ระยะเวลาในการจัดสรรโควต้าประจำปี ผู้นำเข้าจะต้องยื่นขอจัดสรรโควต้า ซึ่งจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมและเงินมัดจำให้แก่ทางการไต้หวันและนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนด
3) เอกสารประกอบการในเข้าผลไม้จากไทยในพิธีศุลกากรของไต้หวัน
- Invoice
- Bill of lading
- Packing List
- Phytosanitary
4) อัตราภาษีศุลกากร
ไต้หวันกำหนดภาษีนำเข้าผลไม้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 20-30 % แต่การนำเข้าสินค้านอกโควต้าจะมีอัตราภาษีเกินกว่า 100% อัตราภาษีนำเข้าผลไม้บางส่วนปรากฏดังนี้
ตารางที่ 1 อัตราภาษีศุลกากรผลไม้นำเข้าในไต้หวัน
รายการ พิกัดศุลกากร อัตราภาษี
ทุเรียน HS 0810.60.00.00.7 17 %
มะพร้าว HS 9812.00.00.00
(โควตาปีละ 8000 ตัน) NT.$ 0.9/KG หรือ 15% เก็บตามที่สูงกว่า
HS 0801.19.00.00.0 (นอกโควต้า) 120 %
ลำไยแห้ง HS 9820.00.00.00
(โควต้าปีละ 330 ตัน) 15 %
HS 0813.40.10.00.7 (นอกโควต้า) NT$ 88/KG
หมาก HS 1913.00.00.00.9
(โควต้าปีละ 8000 ตัน) 17.5 %
HS 0802.90.30.00.5 (นอกโควต้า) NT.$ 810/KG
4. การตลาด
4.1 ช่องทางการจัดจำหน่าย
การจำหน่ายผลไม้สดนำเข้าในไต้หวัน มีช่องทางการกระจายสินค้าปกติ 3 ทอด ดังนี้คือ ผู้นำเข้า --> ผู้ค้าส่ง --> ผู้ค้าปลีก ทั้งนี้ ผู้นำเข้าจะจัดซื้อจากสวนผลไม้หรือจากโรงงานคัดบรรจุในประเทศไทยโดยตรง จากนั้นจะจำหน่ายต่อให้แก่ผู้ค้าส่งที่มักจะรวมตัวอยู่ตามตลาดค้าส่ง และผู้ค้าปลีกซึ่งเป็นร้านผลไม้หรือแผงผลไม้จะรับสินค้าต่อจากผู้ค้าส่งอีกทอดหนึ่ง
สำหรับสินค้าที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต จะมีช่องทางการกระจายสินค้าเพียง 1 — 2 ทอด กล่าวคือห้างค้าปลีกจะนำเข้าโดยตรง หรือ ใช้ระบบให้ผู้นำเข้านำสินค้ามาฝากขาย
4.2 ราคา รูปแบบ คุณภาพ รสนิยม
- ทุเรียน
ชาวไต้หวันนิยมบริโภคทุเรียนหมอนทองมากที่สุด แต่ยังคงมีทุเรียนพันธุ์อื่น ๆ วางจำหน่ายด้วย ภาวะราคาในปี 2551 ทุเรียนหมอนทองในไฮเปอร์มาร์เก็ตราคา กิโลกรัมละ 55-80 บาท แต่ราคาในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำจะจำหน่ายทุเรียนหมอนทองเกรดดี ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120 บาท
มะพร้าว
ราคาขายปลีกมะพร้าวปอกเปลือกในไฮเปอร์มาร์เก็ต ส่วนใหญ่ราคาประมาณ 3 ลูก 100 เหรียญไต้หวัน (ลูกละ 500 กรัม) ในช่วงเดือนกรกฎาคม ห้าง RT-Mart จัดกิจกรรมลดราคาเหลือ ลูกละ 18 เหรียญไต้หวัน (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญไต้หวัน = 1.10 บาทโดยประมาณ)
- ลำไยแห้ง
ชาวไต้หวันนิยมรับประทานลำไยแห้งที่ไม่ปอกเปลือกและเชื่อว่าลำไยแห้งเป็นอาหารบำรุงสุขภาพในช่วงฤดูหนาว อย่างไรสำหรับลำไยแห้งปอกเปลือกนั้น นิยมนำมาต้มเป็นน้ำลำไย หรือปรุงอาหารอื่น ๆ เช่นปาเป่าโจว (ธัญพืชหลายชนิดต้มรวมกัน) ราคาขายปลีกลำไยแห้งประมาณกิโลกรัมละ 200 — 300 เหรียญไต้หวัน แล้วแต่ชนิดประเภทและช่วงเวลา
ราคาลำไยแห้ง ณ ถิ่นผลิต ซึ่งชาวสวนขายให้แก่ผู้ค้าส่งทอดที่ 1 โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ 110 — 120 เหรียญไต้หวัน ในช่วงที่ผลผลิตน้อยหรือขาดแคลน (เดือน มีนาคม) ราคาอาจจะสูงถึง 200 เหรียญไต้หวัน
- หมาก
ชาวไต้หวันนิยมบริโภคหมากอ่อนขนาดเล็ก ราคาขายปลีกหมากสดที่ห่อใบพลูทาปูนขาวและปูนแดง ลูกละ 1.5 — 2 เหรียญไต้หวัน ในช่วงผลผลิตขาดแคลนราคาอาจจะสูงถึงลูกละ 10 เหรียญไต้หวัน
สำหรับราคาขายส่งที่สวนหมาก ในช่วงปกติ ราคาชั่งละ(600 กรัม) 180 - 200 เหรียญไต้หวัน ในช่วงผลผลิตขาดแคลน (เดือน กุมภาพันธ์ — มิถุนายน) ราคาอาจสูงถึง ชั่งละ 650 เหรียญไต้หวัน
ตาราง 2 แสดงราคาขายส่งเฉลี่ยผลไม้นำเข้าที่ตลาดกลางเมืองต่าง ๆ ทั่วไต้หวัน
หน่วย : เหรียญไต้หวัน / กิโลกรัม
ปี เดือน ทุเรียน มะพร้าว มะพร้าวปอกเปลือก
2006 ม.ค.-ธ.ค. 33.4 21.2 33.2
2007 ม.ค.-ธ.ค. 35.6 22.2 24.1
2008 ม.ค.—ธ.ค. - - -
ม.ค. 39.2 25.6 26.3
ก.พ. 46.9 27.2 -
มี.ค. 41.4 21.0 49.2
เม.ย. 40.6 19.1 -
พ.ค. 37.1 21.3 -
มิ.ย. 38.4 - -
ก.ค. 38.0 23.4 -
ที่มา Agriculture and food Agency, Council of Agriculture, Taiwan
http://amis.afa.gov.tw/
4.3 โอกาสสินค้าของไทย
ไต้หวันนำเข้าผลไม้เมืองร้อนจากไทยมากที่สุด เนื่องจากผลไม้ของไทยมีคุณภาพรสชาติดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอาคเนย์ ดังจะเห็นได้ว่าไทยมีส่วนแบ่งการตลาดผลไม้ที่มีการนำเข้าทั้ง 4 ชนิดในระดับสูง โดยทุเรียนมีส่วนแบ่งทางการตลาด 100 %
4.4 ประเทศคู่แข่ง
การส่งออกผลไม้เขตร้อนของไทย 4 ชนิด คือ ทุเรียน มะพร้าว ลำไยแห้ง และหมากของไทยไปยังไต้หวันกล่าวได้ว่าไทยครองตลาดส่วนใหญ่ได้ทั้งหมด เนื่องจากคุณภาพและรสชาติดีกว่าประเทศอื่น ๆ ยกเว้นลำไยแห้งเท่านั้นที่เวียตนามอาจแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
4.5 ปัญหาอุปสรรค
1) ไต้หวันกำหนดระเบียบการนำเข้าที่มีความเข้มงวดสูง ทำให้ผลไม้ที่มีศักยภาพอีกหลายชนิดของไทยได้แก่ส้มโอ มังคุด เงาะ มะม่วง ไม่สามารถขยายตลาดเข้ามายังไต้หวัน เนื่องจากไต้หวันอ้างว่าผลไม้เหล่านี้เป็นพาหะศัตรูพืช
2) ไต้หวันสร้างข้อจำกัดในการนำเข้าหมากสดของไทยมากขึ้น ด้วยการประกาศระยะเวลานำเข้าสั้นลง จากที่แต่เดิมเคยอนุญาตให้นำเข้าได้ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 31 พฤษภาคม ร่นระยะเวลาสั้นลงคือ 1 กุมภาพันธ์ — 30 เมษายน ของแต่ละปี
3) การส่งออกมะพร้าวของไทยไปยังไต้หวันเคยถูกตรวจพบมีสารกันบูดปนเปื้อนทุเรียนมีหนอนเจาะเมล็ด และสื่อมวลชนของไต้หวันมีการเผยแพร่ข่าวอย่างกว้างขวางและทำให้ภาพลักษณ์ผลไม้ไทยเกิดความเสียหาย
4) ในตอนต้นฤดูเกษตรกรตัดทุเรียนอ่อนขาย ทำให้ผู้นำเข้าในไต้หวันขาดความเชื่อถือ และกดราคานำเข้าจนกลายเป็นปัญหาพิพาทระหว่างกัน
5) ในช่วงฤดูส่งออกผลไม้มีปัญหาตู้คอนเทนเน่อร์ขาดแคลนและค่าระวางขนส่งสูง ในการแก้ไขปัญหามาตรการทางการค้าของไต้หวันข้างต้นนั้น สำนักงานฯ ได้ประสานงานกับกรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานมาตรฐานการเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมวิชาการเกษตร เพื่อเจรจาและเสนอข้อมูลทางวิชาการเพื่อให้ฝ่ายไต้หวันยอมรับและเปิดตลาดผลไม้อื่น ๆ ของไทยมากขึ้น
5. ข้อมูลอื่น ๆ
ถึงแม้ผู้บริโภคไต้หวันมีความรู้จักและคุ้นเคยกับผลไม้ไทยอยู่แล้ว แต่การประชาสัมพันธ์และกระตุ้นผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งนี้ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ตในไต้หวัน นิยมจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าทุเรียนซึ่งถือเป็นสินค้ายอดนิยมในช่วงเดือนเมษายน — มิถุนายน ที่ผ่านมานั้นสำนักงานฯ เคยจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าอาหารซึ่งรวมทั้งผลไม้ไทยร่วมกับห้างฯ ต่าง ๆ อาทิเช่น Wellcome Supermarket, SOGO, Shin Kong Mitsukoshi, Carrefour
สำหรับผู้ส่งออกไทยที่ต้องการขยายตลาดส่งออกผลไม้ไปยังไต้หวัน สามารถติดต่อผู้นำเข้าผลไม้ไต้หวันได้ตามรายชื่อดังแนบ
รายงานโดย : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)
โทร. 886-2-2723 1800 โทรสาร. 886-2-2723 1821
E-mail: thaicom.taipei@msa.hinet.net
ที่มา: http://www.depthai.go.th