กฎระเบียบทั่วไปการปิดฉลากสินค้าประเภทอาหาร ประเทศแคนาดา

ข่าวเศรษฐกิจ Saturday August 16, 2008 15:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

คำจำกัดความของสินค้า
อาหารที่บรรจุเสร็จ (Prepackaged product) หมายถึงสินค้าที่ได้รับการบรรจุในบรรจุภัณฑ์สำเร็จสำหรับขายปลีก หมายรวมถึงสินค้าที่บรรจุเสร็จแล้วขายไปยังผู้บริโภค โดยไม่ต้องเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่
ฉลาก (Labelling) หมายรวมถึงประวัติสินค้า คำ หรือเครื่องหมายที่ติดไปกับฉลาก ตราประทับ หรือเป็นเอกสารแนบไปกับสินค้าอาหารหรือยา
ระเบียบการปิดฉลากโดยทั่วไป
ข้อมูลทุกอย่างที่ระบุอยู่ในฉลาก ต้องเป็นข้อมูลจริง และไม่นำไปสู่ความเข้าใจผิด และต้องระบุข้อความอ่านง่าย และเข้าใจได้ชัดเจน และสะดุดตา (แนะนำว่าอักษรควรมีขนาดความสูงอย่างน้อย 1.6 มิลลิเมตร และเป็นตัวพิมพ์เล็ก วัดจากตัว “o”) ในบางกรณี เช่นฉลากแจ้งคุณค่าทางโภชนาการและวันหมดอายุ อาจระบุในบรรทัดสุดท้ายของฉลาก
สินค้าอาหารต้องมีฉลาก ยกเว้น ลูกอม หมากฝรั่ง ที่ขายปลีก และผลไม้สด ผักสด ที่ห่อโดยกระดาษหรือพลาสติกห่ออาหารที่เมื่อห่อแล้วมีขนาดเล็กกว่า ครึ่งนิ้ว หรือ 12.7 มิลลิเมตร รวมทั้งอาหารที่ได้รับการยกบริการจากพนักงาน แม้จะมีบรรจุภัณฑ์มาก่อนก็ตาม
ภาษาทางการที่ใช้บนฉลาก มี 2 ภาษา คือภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ ฉลากต้องมีภาษาทางการทั้ง 2 ภาษา ยกเว้นในกรณีข้อความที่เป็นชื่อผู้ผลิต ผู้บรรจุหีบห่อ อาจใช้เพียงภาษาอังกฤษ หรือฝรั่งเศส ภาษาใดภาษาหนึ่งได้ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง / สินค้าท้องถิ่นที่ขายในท้องถิ่นให้ใช้เพียงภาษาทางการภาษาเดียว ซึ่งขึ้นอยู่กับ ท้องถิ่นนั้นใช้ภาษาใดมากกว่า (ภาษาที่ใช้น้อยกว่ามีไม่ถึง10% ของชาวท้องถิ่น) / สินค้าที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสินค้าทดลองตลาด / และสินค้าพิเศษ ที่ได้รับการกำหนดจาก ระเบียบว่าด้วยอาหารและยา
ในมณฑลควิเบค สินค้าที่อยู่ในตลาด ต้องมีภาษาฝรั่งเศสตามรูปแบบภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในมณฑลควิเบค บนฉลากด้วย ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายแห่งมณฑลควิเบค ซึ่งข้อกำหนดบนฉลากที่ต้องมีในการทำตลาดที่ควิเบคนี้ สามารถขอได้จาก
Centre quebecois dinspection des aliments et de sante animale
200 Chemin Sainte-Foy
Quebec, Quebec G1R 4X6
Tel.: (418) 380-2120 and 1-800-463-5023
Fax: (418) 380-2169
email: dga@mapaq.gouv.qc.ca
หรือสามารถเข้าไปหาได้จากเว็บไซต์ l'Office de la langue fran?aise: http://www.olf.gouv.qc.ca/
ชื่อเรียกสินค้า
คำจำกัดความของชื่อเรียกสินค้าคือ ชื่อเรียกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยองค์การอาหารและยา เช่น น้ำส้มคั้นจากหัวน้ำส้มเข้มข้น หรือทำ จากแป้งสาลี 60% (ในแคนาดามีผู้บริโภคแพ้แป้งสาลีกันมาก)หรือนมช็อคโกแลต หรือชื่อเรียกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยหน่วยงานรัฐบาลเช่น ผักรวม อาหารเช้าไส้กรอก หรือชื่อที่เรียกขานกันทั่วไปเช่น น้ำส้ม คุ๊กกี้วนิลา เค็กช็อคโกแลต เป็นต้น เมื่อใช้ชื่อสินค้าตามที่กำหนดโดยหน่วยงานข้างต้น ต้องได้มาตรฐานสินค้าอาหารที่กำหนดขึ้นตามกฎของหน่วยงานนั้นๆ
ชื่อเรียกสินค้าต้อง
- อยู่ในตำแหน่งหลักของฉลาก ในภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ด้วยขนาดความสูงอย่างน้อย 1.6 มิลลิเมตรวัดจากอักษรตัวพิมพ์เล็ก ตัว “o”
- ชื่อเรียกสินค้า ต้องไม่นำพาให้เข้าใจผิดในสินค้า
- ต้องไม่รวมคำที่ทำให้เกิดความไม่แน่ใจ
- ต้องไม่ชี้นำแหล่งที่มาของสินค้าที่ไม่ถูกต้อง
- ต้องไม่คล้าย เสียงพ้องกับชื่ออาหารที่ใช้แทนกัน
การใช้อักษรย่อ
การใช้อักษรย่อต้องไม่ตบตาหรือหลอกลวง โดยทั่วไป กฎองค์การอาหารและยา และกฎการบรรจุภัณฑ์และฉลากเพื่อผู้บริโภค ไม่อนุญาตให้ใช้อักษรย่อกับข้อความสำคัญ ยกเว้นมีการกำหนดเป็นอย่างอื่นในระเบียบอื่นๆ
น้ำหนักสุทธิ
ในแต่ละหีบห่อของอาหารบรรจุเสร็จ ต้องระบุน้ำหนักสุทธิ ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้
- อาหารที่ขายในร้านอาหาร เครื่องขายอาหารอัตโนมัติ หรือร้านอาหารเคลื่อนที่
- อาหารที่ขายในขนาดเฉพาะจานในภัตตาคาร สายการบิน
- อาหารบางประเภทที่มีกฎธรรมชาติของสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้องเช่น ไก่งวง เนื้อที่หั่นขายเป็นชิ้นๆ เป็นต้น หรือสินค้าที่ผู้ผลิตขายให้ผู้ขายปลีกซึ่งผู้ขายปลีกเป็นผู้รับผิดชอบในการแจ้งน้ำหนักสุทธิบนฉลากก่อนขายปลีกให้ผู้บริโภค
ขนาดอักษรระบุน้ำหนักสุทธิบนฉลาก ต้องมีขนาด สูง 1.6 มิลลิเมตร วัดจากอักษร “o” ตัวพิมพ์เล็กยกเว้นตัวเลข ให้เป็นอักษรหนา และมีขนาดตามตารางข้างล่าง
ตารางกำหนดขนาดตัวเลข บนฉลาก
> means greater than
<_means less than or equal to
Area of Principal Display Surface Minimum Type Height of Numerals
square centimetres square inches millimetres inches
<_32 <_5 1.6 1/16
> 32 to 258 > 5 to 40 3.2 1/8
> 258 to 645 > 40 to 100 6.4 1/4
> 645 to 2580 > 100 to 400 9.5 3/8
> 2580 > 400 12.7 1/2
น้ำหนักสุทธิต้องแสดงในระบบมาตราวัดเมตริก ในตำแหน่งสำคัญของฉลาก ในภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ เครื่องหมายหรือตัวย่อบอกมาตราวัดให้ถือว่ามีความหมายเป็น 2 ภาษาทางการได้และไม่ควรตามด้วยวรรคตอน
g - for grams
kg - for kilograms
ml, mL or - for millilitres
l, L or - for litres
น้ำหนักสุทธิต้องเป็นน้ำหนักที่ไม่มีน้ำหนักส่วนย่อย เช่น
453.59 ให้ระบุเป็น 454
85.6 ให้ระบุเป็น 86
6.43 ให้ระบุเป็น 6.4
ระบะมาตราวัดของแคนาดา (Ounce)
แม้ว่าระบบมาตราวัดแคนาดา (เดิมชื่อระบบอิมพีเรียล) ไม่จำเป็นต้องระบุบนฉลาก แต่อนุญาตให้ใช้ได้ควบคู่กับหน่วยมาตราวัดเมตริก หากต้องการใช้ควบคู่กัน ให้แสดงมาตราวัดเมตริกก่อนและตามด้วยมาตราวัดแคนาดา โดยไม่มีข้อความอื่นมาขั้นกลาง
ระบบมาตราวัดแคนาดา Fluid ounces และ Ounces ไม่สามารถใช้แทนกันได้ ตัวอย่างเช่น น้ำหนักของเหลวเช่น น้ำผลไม้ ต้องระบุเป็นน้ำหนักของเหลว (Fluid ounces) เสมอ ใช้เพียง Ounce คำเดียวไม่ได้
ระบบมาตราวัดน้ำหนักของเหลวแคนาดากับมาตราวัดอเมริกา (เฉพาะ Ounce)
มาตราวัดอเมริกาสามารถนำมาใช้บนฉลากได้ ซึ่งระบบมาตราวัดน้ำหนักของเหลวที่บรรจุของอเมริกา จะหนักกว่าระบบของแคนาดา และไม่จำเป็นต้องระบุว่าเป็นมาตราวัดของอเมริกาบนฉลาก 1 fl oz U.S. = 1.041 fl oz Canadian = 29.574 ml
ส่วนมาตราวัดอื่นๆ ของอเมริกาที่ไม่ใช่ Ounce จะมีขนาดเบากว่ามาตราวัดของแคนาดา และต้องระบุบนฉลากว่าเป็นมาตราวัดน้ำหนักของอเมริกา
ชื่อและที่อยู่
ชื่อและที่อยู่ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในสินค้าอาหารบรรจุเสร็จนั้น ต้องแสดงให้ชัดเจนบนส่วนใดส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ ยกเว้นส่วนที่วางราบไปกับพื้น และขนาดความสูงอักษรต้องไม่เล็กว่า 1.6 มิลิเมตร ตัวพิมพ์เล็ก โดยวัดจากอักษร “o” เป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส ที่อยู่ต้องชัดเจนพอเพียงสำหรับการส่งไปรษณีย์ไปถึง ในระยะเวลาที่เหมาะสม
สินค้าที่ขายไปยังผู้บริโภค และได้รับการบรรจุภัณฑ์นอกประเทศแคนาดา ฉลากต้องระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้จัดจำหน่ายของในแคนาดา โดยใช้ว่า "imported by/importe par" หรือ "imported for/importe pour"
รายการแสดงชื่อวัตถุดิบ
สินค้าที่ใช้วัตถุดิบหลายชนิด ต้องระบุวัตถุดิบบนฉลาก ยกเว้น
- อาหารที่บรรจุแบบยกหีบ (ยกเว้นถั่วประเภทต่างๆ เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่บรรจุโดยผู้ค้าปลีก ซึ่งมีส่วนผสมของเกลือฟอสเฟสและ/หรือน้ำ ต้องมีรายชื่อวัตถุดิบ)
- อาหารที่บรรจุเพื่อบริการในภัตตาคารและสายการบิน ร่วมกับของว่างอื่นๆ เช่น กาแฟ ครีมผสมกาแฟ ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
- สินค้าที่ประกอบและเตรียมในฐานทัพหรือครัวส่วนตัว หรือครัวเล็กๆ ที่มีรูปแบบเหมือนครัวในฐานทัพ และขายในห้องอาหารเคลื่อนที่ หรือเครื่องขายอาหารอัตโนมัติ
- อาหารเนื้อสัตว์ ไก่ปรุงสุก อาหารที่มาจากกาก/เศษเหลือของเนื้อไก่ (poultry meat byproducts) อาหารปิ้ง ย่าง ต้มที่ขายปลีกทั่วไป
โดยทั่วไป ส่วนผสมและวัตถุดิบต้องระบุบนฉลากไล่เรียงตามน้ำหนักของแต่ละส่วนผสมที่มา รวมกันเป็นอาหารนั้นๆ ยกเว้นเครื่องเทศ และสมุนไพร (ยกเว้นเกลือ ต้องระบุน้ำหนักของเกลือที่ผสมด้วย)และสารแต่งกลิ่นธรรมชาติและกลิ่นที่เกิดตามธรรมชาติ ในอาหารนั้นๆ รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุ ที่แสดงบนฉลากในตอนท้ายของรายการส่วนผสมและวัตถุดิบได้ และต้องแสดงในภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ เว้นแต่จะมีกฎเป็นอย่างอื่นในระเบียบว่าด้วยอาหารและยา
ชื่อส่วนผสมและวัตถุดิบที่ใช้เรียกทั่วไป
- ชื่อส่วนผสมและวัตถุดิบบนฉลากต้องใช้ชื่อที่เรียกขานกันทั่วไป
- อาหารบางจำพวก อาจใช้ชื่อเรียกตามหมวดหมู่ที่ผู้ค้นพบจัดไว้ได้
- เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเลือกอาหารที่ปลอดภัยรับประทาน Canadian Food Inspection Agency (CFIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบอาหารของรัฐสนับสนุนให้ผู้ผลิตแสดงชื่อวัตถุดิบและส่วนผสมที่ใช้เรียกทั่วไป
- เมื่อมีส่วนผสมของวิตามิน แร่ธาตุ และสารปรุงแต่งอาหาร และสารแต่งกลิ่น ในอาหารนั้นๆ ต้องแสดงชื่อที่เป็นชื่อทั่วไปของส่วนผสมนั้นๆ เช่น วิตามิน A หรือ ยีสต์ เป็นต้น
การแสดงรายการส่วนประกอบของส่วนผสมและวัตถุดิบ
สามารถแสดงได้ 2 แบบ
- แสดงในวงเล็บ ตามชื่อส่วนผสมและวัตถุดิบ หรือ
- แสดงไล่เรียงลำดับตามน้ำหนักเมื่อปรุงแล้วจนเป็นอาหารนั้น แทนการระบุชื่อวัตถุดิบอหาหารหลายๆ อย่าง เมื่อถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนผสมในอาหารอื่นๆ ต่อ ไม่จำเป็นต้องระบุส่วนประกอบของวัตถุดิบที่นำมาประกอบเป็นอาหารที่นำไปประกอบเป็นอาหารอื่น ต่อ
ส่วนผสมและวัตถุดิบที่อาจทำให้แพ้
เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่ทำให้ร่างการเกิดอาการแพ้หรือวัตถุดิบ CFIA ระบุให้สินค้าตามรายการต่อไปนี้ ต้องระบุส่วนผสม วัตถุดิบ และ ส่วนประกอบของส่วนผสมหรือวัตถุดิบ แม้จะมีข้อยกเว้นข้างต้นก็ตาม
- อาหารประเภทถั่ว
- ถั่วที่ลักษณะเป็นต้นถั่ว อัลมอนด์ ถั่วบราซิล เม็กมะม่วง ฮาเซลนัท แมคคาเดเมียนัท พีคาน ไพน์นัท พิททาชิโอ และวอลนัท
- เม็ดงา
- นม
- ไข่
- ปลา อาหารทะเลที่มีเปลือกแข็ง เช่น ปู กุ้งล็อบสเตอร์ กุ้ง กั้งหิน และประเภทมีเกราะห่อหุ้ม เช่น หอยแครง หอยแมงภู่ หอยนางรม หอยพัด เป็นต้น
- ถั่วเหลือง
- แป้งสาลี
- สารซัลไฟท์ (Sulphite)
การระบุชื่อ สารที่ใส่เพื่อส่งผลทางเทคโนโลยีผลิตอาหาร
หมายถึงสาร/ตัวเร่งเพื่อส่งผลทางเทคโนโลยีในการผลิตอาหาร ใช้เติมลงในระหว่างผลิตอาหาร แต่ไม่รวมถึงสารปรุงแต่งอาหาร
สารต่างๆ ที่ระบุในตารางข้างล่าง คือรายการสารที่ใส่เติมเพื่อให้เกิดผลทางเทคโนโลยี ที่ไม่อยู่ในหมวดของวัตถุดิบอาหาร แต่ไม่จำเป็นต้องแสดงบนฉลาก
การปิดฉลากสินค้าอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นวัตถุดิบ
ระเบียบ CFIA การนำเข้าสินค้าอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นวัตถุดิบ เป็นไปตามปัจจัยในการพิจารณาดังนี้
- การรับรองของประเทศผู้ส่งออกในระบบการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและเนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหาร โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศผู้ส่งออกเพื่อการส่งออกไปประเทศแคนาดา
- เอกสารรับรองการส่งออกที่รับรองเนื้อสัตว์ว่ามีคุณสมบัติสำหรับส่งออกไปประเทศแคนาดา
- สามารถตรวจสอบ ติดตามที่ไป ที่มาของสินค้า และเนื้อสัตว์ที่ใช้ได้
- ผ่านโปรแกรมการตรวจสอบสินค้านำเข้า
สินค้าอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ/วัตถุดิบต้องมีเอกสารรับรองจาก Official Meat Inspection Certificate (OMIC) สำหรับการส่งออกมายังแคนาดา OMIC เอกสารรับรองนี้ ออกให้เป็นกรณีและเป็นรายๆ ไป มีข้อมูลชัดเจนของประเทศต้นทาง และตัวเลขบนเอกสารรับรองจะไม่นำมาใช้อีกภายในระยะ 12 เดือน OMIC เป็นเอกสารหลักที่ CFIA จะตรวจสอบและเป็นหลักฐานยืนยันว่าอาหารเนื้อสัตว์ที่นำเข้าไปยังแคนาดานี้ เข้าตามกฎของกฎหมายแคนาดา
OMIC ระบุประเทศต้นทางของเนื้อสัตว์ที่ใช้ วิธีการฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ และต้องมีรายละเอียดของเนื้อสัตว์ชนิดนั้นประกอบ รวมทั้งทะเบียนหมายเลขสัตว์ที่ฆ่ามาผลิตอาหาร นอกจากนี้ต้องระบุผู้ส่งออกและนำเข้าให้ชัดเจน ผู้นำเข้าไม่ว่าเป็นชื่อบุคคลหรือชื่อบริษัท และต้องมีที่อยู่ในแคนาดาข้อมูลเพิ่มเติม หาได้จาก
This link outlines the basic labelling requirements:
http://www.inspection.gc.ca/english/fssa/labeti/guide/ch2e.shtml
This link discuss the requirements of the Nutrition Facts Table:
http://www.inspection.gc.ca/english/fssa/labeti/nutrikit/sectce.shtml
This link outlines the rules that must be followed within the Nutrition
Facts Table:
http://www.inspection.gc.ca/english/fssa/labeti/guide/ch6e.shtml
This link outlines the major food allergens that must be declared
prominently on all labels:
http://www.inspection.gc.ca/english/fssa/invenq/inform/20070925e.shtml
This link outlines Labelling Advertising/Declarations/Claims:
http://www.inspection.gc.ca/english/fssa/labeti/guide/ch3e.shtml
To ensure that the correct type and size Nutritional Facts Table is chosen
use the following link:
http://www.inspection.gc.ca/english/fssa/labeti/nutrikit/sectke.shtml#k3
This link outlines importation involving meat:
http://www.inspection.gc.ca/english/anima/meavia/mmopmmhv/chap10/table10e.shtml
For the complete labelling guide refer to:
http://www.inspection.gc.ca/english/fssa/labeti/guide/toce.shtml
ที่มา: http://www.depthai.go.th

แท็ก ฉลาก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ