1. ภาพรวมการลงทุน
1.1 รัฐบาลอิตาลีให้การสนับสนุนนักลงทุนต่างประเทศ โดยการให้สิทธิพิเศษที่เอื้อต่อการลงทุนมากมาย เนื่องจากอิตาลีเองเป็นตลาดใหญ่ มีกำลังซื้อสูง มีระบบ logistic ที่ก้าวหน้าทันสมัยและมีแรงงานที่มีประสิทธิภาพ
1.2 ข้อมูล ณ สิ้นปี 2549 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในอิตาลีมูลค่าสะสมรวม 31,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มจากปี2548 จำนวน16,000ล้านดอลล่าร์สหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 93
1.3 ประเทศที่มาลงทุนในอิตาลีเป็นประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปกว่าร้อยละ 60 โดย 5 อันดับแรกได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สเปน สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
1.4 ประเภทธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรม (55%) การค้าส่ง (15%) บริการ ICT (12%) บริการธุรกิจเฉพาะทาง (6%) logistic (4%)
1.5 การลงทุนสูงสุดอยู่ที่แคว้น lombadia (มีมิลานเป็นเมืองหลวง) ซึ่งถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของอิตาลี โดยมีการลงทุนจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 44 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด รองลงมาคือแคว้น Veneto ด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนัก
1.6 การลงทุนของไทยในอิตาลีมีน้อยมาก จากการสอบถามข้อมูลจากหอการค้าอิตาลีปรากฏว่าการลงทุนไทยมีไม่ถึงร้อยละ 1 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดในอิตาลี
2. นโยบายการลงทุน
2.1 กฎหมายส่งเสริมการลงทุนของอิตาลีจะถูกรวบรวมไว้เป็น 4 หัวข้อหลักคือ Civil Code, The Code of Civil Procedure, The Criminal Code และ the Code of Criminal Procedure นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ ได้แก่
- the Banking Act / the Bankruptcy Act
- Trade Mark Act
- Patent Act
- Copyright Act
- Arti trust Act
2.2 อุตสาหกรรมสำคัญที่มีการลงทุนในอิตาลี
- ธุรกิจการบิน (Aerospace) อิตาลีเป็นผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์และเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักที่เกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศมีมูลค่าการค้าต่อปีถึง 10,000 ล้านยูโร
- ชิ้นส่วนยานยนต์ (Autocomponents)
- อุตสาหกรรมเคมี
- เครื่องจักร
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
- วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (life science)
- logistic
- นาโนเทคโนโลยี
- การท่องเที่ยว
3. หน่วยงานที่ดูแลการลงทุน
3.1 กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 Mediocredito Centrale (Credit Institution)
3.3 Sviluppo Italy (Italy’s National agency for enterprise creation and inward investment development)
3.4 กระทรวงศึกษา (Ministry of Education) ทั้งนี้หน่วยงานทั้งหมดจะทำหน้าที่ร่วมกันในการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน
4. สิทธิประโยชน์การลงทุน
4.1 สิทธิพิเศษที่ให้จะมาจากหลายแหล่ง ทั้งจากสหภาพยุโรป รัฐบาลอิตาลีและองค์กรท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาของผู้ประกอบการเกิดธุรกิจใหม่ๆ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจที่ดำเนินอยู่แล้วหรือเพิ่งเกิดใหม่
4.2 การลงทุนที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิพิเศษ
- การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร(Law 266/97)
- การก่อสร้างโรงงาน/ ฐานการผลิตใหม่ๆ (Law 488/1992)
- การให้สิทธิพิเศษสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นผู้หญิง (Law 215/92)
- การลงทุนและการจ้างงานใหม่
- การลงทุนในธุรกิจเฉพาะในรูปแบบต่างๆ
- การพัฒนาท้องถิ่น
4.3 หลักเกณฑ์ในการให้สิทธิพิเศษ
- สำหรับการจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่ที่มี GDPต่ำกว่าGDPเฉลี่ยของประเทศ (ร้อยละ75 เป็นแคว้นที่อยู่ทางใต้ ได้แก่Campania,Puglia,Basilicata,Calabria,Sardegnia และMolise)
- สำหรับการจัดตั้งธุรกิจในเขตที่มีอัตราการว่างงานสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศ
4.4 รูปแบบของการให้สิทธิพิเศษ
- การให้เงินช่วยเหลือเป็นร้อยละของค่าใช้จ่ายในการก่อตั้งธุรกิจ
- การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำทั้งระยะสั้น/ระยะยาว
- การลดหย่อนภาษีรายได้
สำนักงานการค้าต่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th