ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Tokyo
พื้นที่ : 377,899 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : Japanese
ประชากร : 127.8 ล้านคน (October 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน : 100 เยน = 30.7559 บาท (7/08/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 1.90 1.40
Consumer price inflation (av; %) 0.00 0.40
Budget balance (% of GDP) -2.60 -2.40
Current-account balance (% of GDP) 4.90 4.60
Commercial banks' prime rate (year-end; %) 1.80 2.10
Exchange rate ฅ:US$ (av) 117.40 105.00
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 9,878.79 100.00 12.96
สินค้าเกษตรกรรม 1,372.43 13.89 28.83
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 806.53 8.16 23.40
สินค้าอุตสาหกรรม 7,106.35 71.94 7.99
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 593.37 6.01 79.95
สินค้าอื่นๆ 0.12 0.00 -99.90
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 16,480.24 100.00 23.10
สินค้าเชื้อเพลิง 55.99 0.34 -6.10
สินค้าทุน 6,247.14 37.91 24.47
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 7,900.74 47.94 24.00
สินค้าบริโภค 759.82 4.61 15.47
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 1,514.12 9.19 22.33
สินค้าอื่นๆ 2.44 0.01 -94.18
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ญี่ปุ่น
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 22,132.91 26,359.03 19.09
การนำเข้า 13,387.44 16,480.24 23.10
การส่งออก 8,745.47 9,878.79 12.96
ดุลการค้า -4,641.94 -6,601.44 42.21
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 16,480.24 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.10 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 16,480.24 100.00 23.10
1. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 3,195.93 19.39 25.21
2. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 2,312.24 14.03 31.14
3. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 1,586.13 9.62 23.49
4. เคมีภัณฑ์ 1,437.80 8.72 33.28
5. แผงวงจรไฟฟ้า 1,386.90 8.42 -1.56
อื่น ๆ 6,561.23 39.81 23.80
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 9,878.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.96 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 9,878.79 100.00 12.96
1. แผงวงจรไฟฟ้า 552.19 5.59 -10.06
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 551.03 5.58 -1.02
3. ยางพารา 476.31 4.82 21.34
4. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ 383.27 3.88 2.64
5. น้ำมันสำเร็จรูป 333.41 3.38 744.63
อื่น ๆ 7,582.59 76.76 12.01
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2551 (มค.-มิย.) ได้แก่
แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 10.06 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 1.02 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ปัจจุบันไทยได้กลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จากการเข้ามาของนักลงทุนรายใหญ่ทั้ง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ยางพารา : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-13.27%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.29 31.14 21.34 ตามลำดับปัจจุบันไทยยังคงมีปริมาณการผลิตยางเป็นอันดับหนึ่งของโลกและประเทศที่มีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นประเทศผู้ใช้ยาง คือ จีนและอินเดีย
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.64 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนทิศทางการพัฒนาและปรับตัวภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียนกับคู่เจรจาใหม่ว่า เป้าหมายของไทยยังชัดเจนว่าต้องการเป็นดีทรอยส์ออฟแห่งเอเชีย (Detroit of Asia) เหมือนเดิมถึงแม้จะมีการเปิดการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นก็ตาม แต่ข้อตกลง JTEPA ไทย-ญี่ปุ่น ยังเป็นจุดดึงดูดนักลงทุนส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นอยู่ แม้ญี่ปุ่นจะมองภาพรวมว่าจะใช้อาเซียนเป็นฐานการผลิตใหญ่ก็ตาม
น้ำมันสำเร็จรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-59%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 126.90 314.17 744.63 ตามลำดับ
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2551 (มค.-มิย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 25 มีรวม 9 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ
ล้านเหรียญสหรัฐ %
5. น้ำมันสำเร็จรูป 333.41 744.63 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี"51
6. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 267.75 25.70 การส่งออกไก่แปรรูปของไทยขยายตัว
อย่างมาก เป็นผลจากปัจจัยเอื้อจาก
8. ไก่แปรรูป 256.29 63.34 ความต้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของตลาด
11. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 233.89 26.41 หลัก คือสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น โดย
13. ผลิตภัณฑ์เซรามิค 221.79 51.62 จีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออก
14. ผลิตภัณฑ์ยาง 212.35 58.63 ไก่แปรรูปของไทยประสบปัญหาด้าน
17.เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า 170.00 62.19 ภาพลักษณ์ด้านสุขอนามัย รวมทั้งการ
ตรวจพบยาตกค้างในผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้นำ
21.เม็ดพลาสติก 155.48 41.51 เข้าหันมานำเข้าไก่แปรรูปจากไทยแทน
23.เนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง 144.22 79.63
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 7 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
1. แผงวงจรไฟฟ้า 552.19 -10.06
2.เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 551.03 -1.02
7.เลนซ์ 258.46 -3.92
10.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนฯ 236.16 -15.61
19.เครื่องปรับอากาศฯ 159.42 -4.67
20.เครื่องรับวิยุโทรทัศน์ฯ 155.89 -10.72
25.เตาอบไมโครเวฟฯ 126.86 -10.89
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2551 แม้ว่าจะยังคงขยายตัว แต่ก็จะเป็นไปอย่างช้าๆ ค่าครองชีพและราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน เชื่อว่าผู้บริโภคจะระมัดระวังการใช้จ่ายยิ่งขึ้นเพราะขาดความมั่นใจต่อเศรษฐกิจและรายได้แท้จริงที่ลดลง การแข่งขันของตลาดจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคของใช้ในครัวเรือน การปิดสลากปลอมและให้ข้อมูลเท็จของผู้ผลิตอาหารในญี่ปุ่นที่ปรากฎเป็นข่าวต่อเนื่องตลอดปี 2550 ทำให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในคำโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ สินค้าที่จะครองตลาดและประสบความสำเร็จจึงต้องเน้นที่มาตรฐาน การให้ข้อมูลสินค้าที่ครบถ้วน และสร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพ นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ประกอบการค้าส่ง ค้าปลีกและห้างสรรพสินค้าอาจจะนำระบบ Traceability ในขบวนการผลิตและตรวจสอบมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความเชื่อถือให้แก่สินค้าที่จำหน่าย ผู้ผลิตและส่งออกไทยที่ต้องการขยายตลาดไปยังญี่ปุ่นจึงต้องศึกษาข้อมูลอย่างใกล้ชิด และปรับยุทธ์วิธีให้เหมาะสม เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันที่สูงขึ้น การสร้างแบรนด์ของตัวเองจะมีความสำคัญยิ่งขึ้น
หลังจากข้อตกลงเจเทป้ามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ตัวเลขการส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นประมาณ 12.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่การลงทุนในไทยของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย เจเทป้าทำให้ญี่ปุ่นเกิดความตื่นตัวในการนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น หากมองในแง่การค้าแล้วสินค้าที่ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีนำเข้าให้แก่ไทยภายใต้ข้อตกลงเจเทป้านั้น มีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากไทยเพิ่มมากขึ้นทุกประเภท โดยสินค้าเหล่านี้ประกอบไปด้วยอาหารบางรายการ ไม้ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม สารเคมีและเคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์พลาสติค อัญมณีและเครื่องประดับ ขณะที่เรื่องของความร่วมมือนั้นเห็นได้ชัดเจนจากการที่ญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประจวบกับทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีนโยบายหันมาส่งเสริมการแปรรูปผลิตสินค้าทางการเกษตรซึ่งญี่ปุ่นเองต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากต่างประเทศทั้งอาหารแปรรูป ผัก ผลไม้ทั้งแบบสดและแบบแช่เย็นเพราะไม่สามารถผลิตเองในประเทศได้เพียงพอ จึงเข้ามาลงทุนตรงนี้ในไทยเพิ่มมากขึ้น นอกจากเรื่องคุณภาพคือผู้บริโภคในญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการหันมาบริโภคอาหารสดมากยิ่งขึ้น จึงอยากจะเน้นว่าหากผู้ผลิตของไทยมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารให้เหมือนของสด นอกจากจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวผลิตภัณฑ์แล้วจะยังเป็นการเพิ่มโอกาสและลู่ทางของสินค้าประเภทอาหารของไทยในญี่ปุ่นอีกด้วย
รัฐบาลญี่ปุ่นและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูปของญี่ปุ่น แสดงความเชื่อมั่นต่อคุณภาพข้าวไทยว่าปราศจากสารตกค้าง และการดัดแปลงพันธุกรรม เตรียมเปิดประมูลลอตใหญ่ประจำปีปลายเดือนกรกฎาคม พร้อมมั่นใจประเทศไทยจะส่งมอบข้าวได้ตามปริมาณที่ต้องการ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงความสำเร็จหลังนำคณะภาคเอกชนและผู้ส่งออกข้าวไทยเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อเจรจาขยายตลาดและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของทั้ง สองฝ่าย ระหว่างวันที่ 15-20 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาว่า คณะผู้แทนไทยได้เข้าพบหน่วยงานภาครัฐได้แก่ Food Policy Bureau (สำนักงานนโยบายด้านอาหาร) ภายใต้กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ของญี่ปุ่น และภาคเอกชนของญี่ปุ่น ได้แก่ สหกรณ์ผู้ผลิตมิโซของญี่ปุ่น สหกรณ์ผู้ค้าส่งและผู้แปรรูป/กระจายข้าว สมาคมผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวที่ทำจากข้าว บริษัทเอกชนญี่ปุ่นผู้นำเข้าข้าวไทย รวมทั้งหน่วยงาน Overseas Merchandise Inspection ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบคุณภาพข้าวที่ส่งออกมาจากประเทศไทย ขณะที่ทางฝ่ายญี่ปุ่นแจ้งว่า ภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นมีความต้องการนำเข้าข้าวจากไทยมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวเหนียว และขณะนี้เป็นโอกาสของผู้ส่งออกข้าวไทยที่จะส่งออกข้าวไปยังญี่ปุ่นมากขึ้น เนื่องจากแหล่งนำเข้าเดิมจากจีนได้จำกัดการส่งออก ประกอบกับญี่ปุ่นได้ห้ามการนำเข้าข้าวจากเวียดนามตั้งแต่ปี 2550 เนื่องจากตรวจพบมีปัญหาในเรื่องสารตกค้าง ส่วนข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นข้าวที่นำเข้ามาเพื่อเก็บไว้ในสต๊อก อย่างไรก็ตามทางญี่ปุ่นได้ขอให้ผู้ส่งออกข้าวไทย มีความระมัดระวังในเรื่องคุณภาพข้าวให้มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะเรื่องสิ่งปลอมปน สำหรับข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคญี่ปุ่น โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้ร่วมมือกับสำนักงานพาณิชย์ฯ กรุงโตเกียว ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยในประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง
Upload Date : สิงหาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th