ภาวะข้าวในเบลเยี่ยมและแนวโน้มการค้าข้าวของโลก(ปี 2551-2561)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 20, 2008 15:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          เบลเยี่ยมนำเข้าข้าวเปลือกมาสีและส่งออกต่อ (Re-export) โดยมีผู้ประกอบการโรงสีข้าว 2 รายใหญ่ได้แก่ Mars และ Boost ในภาพรวมเบลเยี่ยมนำเข้าเมล็ดจากสเปน อิตาลี และฝรั่งเศส ข้าวบัสมาติจากอินเดียและปากีสถาน ข้าวหอมจากไทย และเป็นผู้ส่งข้าวขาวรายใหญ่อันดับ 5 ในสภาพยุโรป (European Union หรือ EU)
การบริโภค/การใช้ การบริโภคข้าวของเบลเยี่ยมอยู่ในระดับเล็กถึงกลาง ในช่วงปี 2549-2550 ใช้ข้าวเปลือกมากเป็นอันดับ 10 ใน EU และการสีข้าวสำหรับรับประทานเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ปริมาณ 38,000 ตันในปี 2550 ในขณะที่ปี 2549 ภาคอุตสาหกรรมใช้ข้าวกล้อง (Brown rice) ปริมาณ 164,000 ตัน โดยเน้นข้าวคุณภาพดี สำหรับความต้องการข้าวเกษตรอินทรีย์/ข้าวออร์กานิก (Organic rice) ของเบลเยี่ยมมีปริมาณมากกว่าที่ผลิตได้ จึงต้องนำเข้าจากประเทศสมาชิก EU อื่นๆ เช่น เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และสเปน
สัดส่วนตลาด ข้าวที่วางจำหน่ายภายใต้เครื่องหมาย Bosto และ Uncle Ben's ครองตลาดตามลำดับ
แนวโน้ม
- ในกลุ่มชาว EU ผู้บริโภคเบลเยี่ยมเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญมากต่ออาหารคุณภาพสูง วัฒนธรรม เบลเยี่ยมเน้น Fine Cuisine และในช่วงหลังนิยมอาหารสุขภาพมากขึ้นด้วยปัจจุบันผู้บริโภคนิยมอาหารจานสะดวก (Convenience Foods) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากง่ายและรวดเร็ว เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่พ่อแม่ออกไปทำงานนอกบ้าน และมีคนที่อาศัยเดี่ยวมากขึ้น (increasingly single population)
- ยังม่โอกาสสำหรับสินค้าอาหารพร้อมรับประทาน (Ready-to-eat) เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อหาและบริโภค
- ผู้บริโภคเบลเยี่ยมเต็มใจที่จะซื้อหาสินค้าที่มีราคาสูงเพื่อปรับภาพลักษณ์ของตน (to improve their self-image) หรือรับประทานอาหารสุขภาพมากขึ้น
การค้าปลีกสินค้า Organic ในปี 2544 "Bio Square" ที่กรุงบรัสเซลส์เป็น "organic supermarket" แห่งแรกของเบลเยี่ยมจำหน่ายเฉพาะสินค้าอาหารออร์กานิก ซึ่งดำเนินการภายใต้เครือซุปเปอร์มาร์เก็ต Delhaize หลังจากนั้นกลุ่ม Colruyt เปิด Biological Supermarket "Bioplanet" ปัจจุบันในประเทศกลุ่มเบเนลักซ์มีการค้าสินค้าออร์กานิกคิดเป็นส่วนแบ่งตลาดรวมประมาณร้อยละ 5
การนำเข้า ในปี 2549 เบลเยี่ยมนำเข้าข้าวรวม 176.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่นำเข้ามาสีแล้วส่งออกต่อ (Re-export) ในช่วงปี 2545-2549 เบลเยี่ยมนำเข้าข้าวเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี การนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนามีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28 โดยในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี
ประเทศกำลังพัฒนาแหล่งสำคัญที่เบลเยี่ยมนำเข้าได้แก่อินเดีย และไทย
ภาวะการนำเข้าในช่วงปี 2545-2549:
- ข้าวกล้อง (Brown rice) จากประเทศกำลังพัฒนามีส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 24 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7/ปี และการนำเข้าจากประเทศสมาชิก EU ปีละร้อยละ 71 เฉลี่ยลดลงร้อยละ -1
- ข้าวขาว (Milled rice) ในปี 2549 นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนามีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 18/ปี ส่วนประเทศสมาชิก EU มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 65 และ นำเข้าเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 9/ปี
- ข้าวหัก (Broken rice) ในปี 2549 นำเข้าประเทศกำลังพัฒนามีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 55 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13/ปี ส่วนประกอบสมาชิก EU มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 45 และนำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7/ปี
การนำเข้าข้าวไทย เบลเยี่ยมนำเข้าทั้งเพื่อบริโภคภายใน (โดยชาวเบลเยี่ยม เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ อาฟริกันที่อาศัยอยู่) และเพื่อส่งออกต่อ (Re-export)
การส่งออก ในภาพรวมเบลเยี่ยมส่งออกข้าวไปประเทศสมาชิก EU มากเนอันดับ 2 รองจากสเปนโดยในปี 2549 ส่งออกมูลค่า 184.09 ล้านเหรียญฯ ปริมาณ 143,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว ประมาณร้อยละ 85 ของข้าวขาวส่งงไปฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ รองลงมาเป็นข้าวกล้องส่งออกประมาณร้อยละ 9 ของการส่งออกข้าวรวม
ช่องทางการค้า ในภาพรวมข้าวที่นำเข้าประมาณร้อยละ 70 จากประเทศที่สาม (ประเทศที่มิใช่สมาชิก EU) ซึ่งนำเข้าโดยโรงสีและจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายของตนเอง และผู้นำเข้าเป็นผู้แทนซุปเปอร์มาร์เก็ตนำเข้าภายใต้เครื่องหมายของลูกค้า (Private lables) บริษัทกระจายข้าวที่สำคัญในเบลเยี่ยมเช่น Boost Nutrition, Mars, Schepens
กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก (สคต.) กรมส่งเสริมการส่งออกได้อนุมัติให้ สคต.จัดกิจกรรมส่งออกสินค้าอาหารอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2550-2551 มีกิจกรรมรวม 7 โครงการ และ 6 โครงการหรือร้อยละ 85.7 เกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งออกหรือสินค้าอาหาร เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ผัก ผลไม้ เครื่องปรุงรส
คาดการณ์ภาวะข้าวในตลาดโลก (ปี 2551-2561)
ในภาพรวมทั้งคณะกรรมาธิการยุโรป และกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ตรงกันว่า โอกาสที่ราคาอาหารจะกลับไปอยู่ในระดับก่อนวิกฤติอาหารค่อนข้างยาก FAPRI และ CECD คาดว่าแม้ว่าปัจจัยดังต่อไปนี้อยู่ในภาวะปกติเช่น สภาพอากาศ ประมาณการผลิต ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ก็จะมีปัจจัยอื่นมาจำกัดมิให้การผลิตมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการเช่น พื้นที่เพาะปลูก น้ำ การคิดค้นเทคโนโลยี การลงทุน และ USDA คาดว่าราคาข้าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5-3.0 ต่อปี
สืบเนื่องจากการใช้มาตาการจำกัด/ควบคุมของประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่เพื่อป้องกันภาวะขาดแคลนภายในประเทศ เช่น เวียดนาม อินเดียและจีน การเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกชะลอตัว แม้ว่าในประเทศที่มีภาะเศรษฐกิจขยายตัวเช่น จีน บราซิล ประชาชนจะบริโภคข้าวน้อยลงและปรับเปลี่ยนไปบริโภคอาหารตะวันตกมากขึ้น (เช่น ขนมปัง)
ส่วนแบ่งตลาดโลกในช่วงปี 2551-2561 ยังคงเป็นการค้าข้าวเมล็ดยาวประมาณร้อยละ 75 ข้าวเมล็ดกลางและสั้นประมาณร้อยละ 12 ข้าวหอมประมาณร้อยละ 12 และข้าวเหนียวร้อยละ 1
USDA คาดการณ์ราคาข้าวโลก:
ปี 2551-2552 ราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจากปี 2550/2551
ปี 2552-2553 ราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2.2-2.5 / ปี และถึงปริมาณ 37.4 ล้านตันในปี 2560-2561 การค้าจะมีปริมาณร้อยละ 8 ของการผลิตในช่วงดังกล่าว โดยจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในประเทศ/ภูมิภาคจะมีปริมาณร้อยละ 8 ของการผลิตในช่วงดังกล่าว โดยจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในประเทศ/ภูมิภาคดังต่อไปนี้เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ตะวันออกกลาง อาฟริกาบริเวณ Sub-Saharan ซึ่งมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 70 ของการนำเข้าทั้งโลก เนื่องจากมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น
ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 4 ประเทศในเอเชียยังคงได้แก่ ไทย เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน รวมมีการส่งออกประมาณร้อยละ 75 ของการส่งออกข้าวโลก โดยมีไทยและเวียดนามครองส่วนแบ่งเกินครึ่งการส่งออกของไทยจะครองส่วนแบ่งร้อยละ 47 ปริมาณกว่า 13 ล้านตัน และเวียดนามครองส่วนแบ่งร้อยละ 30 ปริมาณประมาณ 6.5 ล้านตัน
สหรัฐฯ จะมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 11 (ในอัตราส่วนการส่องออกรวมของโลก) คาดว่าหลังปี 2552 สหรัฐฯ จะเป็นผูส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ปริมาณ 3.75 ล้านตันในปี 2560-2561 หรือสูงขึ้นร้อยละ 10 เพิ่มจากปี 2550-2551 และในปี 2556-2557 จะมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 โดยยังคงครองส่งออกไปยังประเทศในทวีปอเมริกาอื่นๆ เช่น เม็กซิโก และแถบลาตินอเมริกาซึ่งนิยมนำเข้าข้าวเปลือก (Rough rice) เชื่อช่วยโรงสีข้าวในประเทศให้ประกอบการได้
ออสเตรเลีย จะขยายการส่งออกในช่วง 10 ปีต่อไป คาว่าในช่วงปี 2560-2561 จะส่งออกปริมาณ 4 หมื่นตัน ลดลงจากจากที่เคยส่งออก 2 แสนตันในปี 2549/2550
อียิปต์ และ EU ก็ส่งออกข้าวเช่นกัน คาดว่าการส่งออกของอียิปต์จะลดลงในช่วง 10 ปีข้างหน้าเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น และปัญหาการเพิ่มขึ้นพื้นที่ปลูกข้าว อย่างไรก็ตามอียิปต์เป็นประเทศที่มีผลผลิตข้าวสูงที่สุดในโลก (Egypt's yields are already the highhest in the world) คาดว่าการส่งออกข้าวของ EU ในช่วงปี 2551/2552 และ 2560/2561 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีราคาสูง โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศอดีตอาณานิคม เช่น อาฟริกา ตะวันออกกลาง โดยส่งออกข้าวคุณภาพสูง "Arborio rice" ของอิตาลีไปยังประเทศที่มีฐานะดี
ผลกระทบในระดับโลก
1) ประเทศกำลังพัฒนาที่นำเข้าสินค้าอาหาร
- อาจได้รับผลกระทบคละกันทั้นในระยะสั้นและระยะยาว มีการประท้วงหรือเดินขบวนในประเทศแถบลาตินอเมริกา อาฟริกา และเอเซียแสดงให้เห็นผลกระทบที่รุนแรงต่อประเทศยากจน
- ประเทศฯ ที่นำเข้าข้าวประสบวิกฤติหนักเช่น ประเทศไทยในอาฟริการ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน โดยในประเทศฯ ที่พึ่งพาโครงการช่วยเหลือด้านอาหารและนำเข้าพลังงานจะได้รับผลกระทบรุนแรงยิ่งขึ้น FAO คาดว่าราคาธัญหารสำหรับประเทศยานจนจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 56 ในช่วงปี 2550/2551 (ต่อจากที่เพิ่มร้อยละ 37 ในช่วงปี 2549/2550)
- ประเทศฯ ที่นำเข้าจะได้รับกระทบมาก อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มประชากรที่ยากจนจะถูกกระทบอย่างรุนแรง เช่น กลุ่มกรรมกร โดยเฉลี่ยกลุ่มดังกล่าวจะซื้ออาหารประมาณร้อยละ 50-60 ของรายได้ทั้งหมด (ร้อยละ 10 สำหรับพลังงาน) World Bank ประเมินสถานการณ์เบื้องต้นว่า จะมีผลให้ประชากรโลกประมาณ 100 ล้านคนยากจนลง
2) ประเทศที่ส่งออกสินค้าอาหาร
- ในภาพรวมของโลกประเทศที่ส่งออกอาหารจะได้เปรียบ ได้ผลดีมีรายได้เพิ่มจากการค้าที่ขยายตัว เช่น สหรัฐฯ (ข้าวสาลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง) อาร์เจนติน่า (ข้าวสาลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง) บราซิล (ข้าวโพลเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง) แคนาดา (ข้าวสาลี repeseed) ปารากวัย (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง) อุรุกวัย (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง) รัสเซีย (ข้าวสาลี) ไทย (ข้าว มันสำปะหลัง) เวียดนาม (ข้าว) ออสเตรเลีย (ข้าว) มีประมาณ 20 ประเทศประกาศการจำกัดการส่งออกเพื่อรักษาระดับราคาในประเทศให้ต่ำเช่น อาร์เจนตินา อียิปต์ อินเดีย ปากีสถาน กัมพูชา และ ยูเครน
- สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ส่งออกสินค้าอาหาร ในระยะกลางและระยะยาวจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อาจเป็นผลให้ลงทุนมากขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิต การพัฒนาด้านโครงสร้าง อัตราค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจบั่นทอนความกระตือรือร้นที่จะลงทุน เพิ่มผลผลิตและรายได้ เช่น มาตรการแทรกแซงต่างๆ ของรัฐบาลในประเทศผู้ส่งออกฯ ประสิทธิภาพขอองค์กรที่เกี่ยวข้อง (เช่น การผลิต) การขาดข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย อำนาจของคนกลางในช่วงโซ่อาหาร (intermediaries in the agri-food chain) ความลำบากในการหาเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สินเชื่อ ดังนั้น รัฐบาลในประเทศเหล่านี้ต้องเร่งปรับปรุงนโยบายและการดำเนินการที่ยั่งยืนเพื่อให้ภาคเกษตรของประเทศมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
การดำเนินการรองรับของ EU เช่น
- การบรรเทาผลกระทบด้านราคาอาหารในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ติดตามอัตราราคาอย่างใกล้ชิดทั้งภายในและนอก EU การปรับนโยบาย Common Agricultural Policy (CAP) ตั้งหน่วยเฉพาะกิจตรวจสอบการประกอบการในช่วงโซ่อาหาร (food supply chain) รวมทั้งด้านการค้าปลีกและการกระจายสินค้า คาดว่าจะเสนอรายงานได้ในช่วงปลายปี 2551
- ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในระยะยาว เช่น นโยบายที่กำหนดให้ใช้ Biofuel ร้อยละ 10 ในปี 2563 จะมีผลต่อราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นและใช้พื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น โดยจะพยายามเลี่ยงการใช้พืชอาหาร เน้นการใช้พืชที่ให้พลังงาน การ Recycled น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ เศษของเหลือใช้จากอุตสาหกรรม ฯลฯ ส่งเสริมการผลิต Biofuel อย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติ เช่น สหรัฐฯ บราซิล อินเดีย จีน ฯลฯ โดยภายใน EU คณะกรรมาธิการยุโรป จะยังคงนโยบายเกี่ยวกับสินค้าอาหาร GMO ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอาหารสัตว์ (จะอนุญาตให้นำเข้าและจะจำหน่ายเฉพาะรายการ) รวมทั้งเสนอระเบียบ Renewable Enegry Directive และจะผลักดันให้มีการรับรองหลักเกณฑ์ที่ใกล้เคียงในเวทีต่างๆ ของโลกด้วย
- ให้ความสำคัญวิกฤติฯ ในระดับนานาชาติ เช่น ส่งเสริมนโยบายการค้าให้การเจรจารอบโดฮา (DDA) ประสบผลโดยเร็ว ให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ประเทศยากจน
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก
Upload Date : สิงหาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ