ภาวะข้าวในเนเธอร์แลนด์และแนวโน้มการค้าข้าวของโลก(ปี 2551-2561)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 26, 2008 16:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          เนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปลูกข้าวได้เอง ส่วนใหญ่นำเข้าจากอิตาลี สเปน กิยาน่า อินเดีย ไทย และสหรัฐอเมริกา เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (European Unino หรือ EU) ในช่วงปี 2543-2547 มีตลาดขนาดกลาง ใช้ข้าวรวมประมาณ 108,000 ตัน ในปี 2549 เนเธอร์แลนด์นำเข้าข้าวมากเป็นอันดับ 5 ของ EU มูลค่า 131.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้าวประเภทที่นำเข้าส่วนใหญ่ตามลำดับได้แก่ ข้าวกล้อง (Brown rice) ข้าวสีแล้ว/ข้าวขาว (Milled rice) ข้าวหัก (Broken rice) 
แหล่งสำคัญที่เนเธอร์แลนด์นำเข้ามากเป็นข้าวจากประเทศกำลังพัฒนา (ได้แก่ กิยาน่า อินเดีย และไทย) คิดเป็นร้อยละ 56 ของการนำเข้าข้าวรวม ในช่วงปี 2546-2549 นำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยนำเข้ามาเพื่อสีในโรงสีข้าว อุตสาหกรรมแปรรูป บรรจุภัณฑ์ และกระจายส่งต่อไปผู้ค้าปลีกหรือส่งออกต่อไป (Re-export) ยังประเทศอื่นทั้งภายใน EU และประเทศใกล้เคียง สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปนิยมใช้รำข้าวและข้าวหัก (Rice bran, Broken rice)
ในภาพรวมประเทศสมาชิก EU รายใหญ่ที่ผลิตข้าวเช่น อิตาลี สเปน แต่ผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการจึงต้องนำเข้าจากประเทศที่สาม (ประเทศที่มิใช่สมาชิก EU) ซึ่งถูกจำกัดโดยระบบโควตาตามที่คณะกรรมการธิการยุโรป (European Comminssion) กำหนดเป็นรายปี สำหรับประเทศที่สาม (ประเทศที่มิใช่สมาชิก EU) เช่น ไทย สหรัฐฯ อินเดีย ออสเตรเลีย กิยาน่า
การบริโภค/การใช้ ข้อมูล FAO แจ้งว่าในช่วงปี 2543-2547 เนเธอร์แลนด์บริโภค/ใช้ข้าวเปลือก (Paddy rice) มากเป็นอันดับ 9 ใน EU ข้าวขาวที่จำหน่ายในเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ภายใต้เครื่องหมายการค้า Lassie ของบริษัท Sara Lee Holding มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 50 สำหรับ pre-cooked rice (แม้ว่าชาวดัชท์บริโภคข้าวประมาณ 3 กิโลกรัม/คน/ปี) และมีอัตราต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของการบริโภคใน EU) แต่ CBI คาดว่าแนวโน้มการบริโภค/ใช้ข่าวจะเพิ่มขึ้น เนื่งอจากปัจจุบันมีการแนะนำข้าวรายการใหม่ ๆ เช่น ข้าวสำเร็จ (Instant rice) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค การที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน กานำเสนอสินค้ารายการใหม่ที่สะดวกต่อการปรุง รวมทั้งอุปนิสัยชาวดัชท์ที่นิยมฉลองสินค้าใหม่ๆ เป็นผลให้ตลาดข้าวขยายตัวตั้งแต่ทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา
สัดส่วนตลาด ส่วนใหญ่ซุปเปอร์มาร์เก็ต (ทั้งซุปเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่นและที่จำหน่ายสินค้าอาหารเอเชีย) เป็นแหล่งจำนห่วยข้าว รองลงมาได้แก่ร้านจำหน่ายสินค้าอาหารอินโดนีเซีย (เรียกว่า “Toko”) ชาวอินโดนีเซียเป็นกลุ่มแรกที่แนะนำให้ชาวดัชท์รู้จักบริโภคข้าว
แนวโน้ม
- ปัจจุบันผู้บริโภคอาหารจานสะดวก (Convenience Foods) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากง่ายและรวดเร็ว เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่พ่อแม่ออกำปทำงานนอกบ้าน และมีคนที่อาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้นหรือเติบโตในเนเธอร์แลนด์ก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซ้อหาและบริโภค จากเดิมที่นิยมซื้อปริมาณมากเป็นถุงบรรจุขนาดใหญ่ และซื้อเฉพาะสินค้าเครื่องหมายนั้นๆ หันไปซื้อหาในร้านค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าหลากหลาย (Grocery multiples) และจำหน่ายข้าวขนาดบรรจุย่อมลงมาเช่น 1 กิโลกรัม หรือ 500 กรัม
- ภาวะความเจริญทางเศรษฐกิจและมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมองหาสินค้าแปลกใหม่ (Exotic) ซึ่งผู้ประกอบการ (ผู้ผลิต ผู้นำเข้า) ต้องพยายามสรรหาสินค้ารายการใหม่ๆ เพื่อนำเสนอต่อผู้บริโภค รวมทั้งการส้างความแตกต่าง (Differentiation) จากคู่แข่งการค้าปลีก ซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นผู้จำหน่ายปลีกหลักมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 90 โดยมีรายใหญ่ 3 ราย ได้แก่ Ahold, Super de Boer และ Schuitema ที่เหลือจะเป็นร้ายค้าปลีกประเภทสะดวกซื้อ ร้านดั้งเดิม/ร้านย่อย (Traditional stores) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซุปเปอร์มาร์เก็ตประเภท Discount store เช่น Koop Consult, Aldi และ Lidl มีส่วนแบ่งการจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าอาหารสุขภาพ (Health & Nutrition store) ซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าพิเศษเฉพาะกลุ่มหรือที่มีรายได้สูง
การค้าปลีกสินค้าเกษตรอินทรีย์/ออร์กานิก ภูมิภาคยุโรปเหนือ (โดยเฉพาะเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และเยอรมนี) เป็นแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารออร์กานิก โดยนำเข้าส่วนใหญ่ผ่านท่าเรือเมือง Rotterdam (ในเนเธอร์แลนด์) เมืองท่า Antwerp (ในเบลเยี่ยม) เมืองท่า Hamburg (ในเยอรมนี) เพื่อบริโภคภายในและส่งต่อไปยังประเทศสมาชิก EU และประเทศใกล้เคียง ในเนเธอร์แลนด์มีจำหน่ายในร้านอาหารสุขภาพ (Natural/health store) มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 38 ของสินค้าอาหารที่จำหน่ายรวม ซุปเปอร์มาร์เก็ตายังคงมีส่วนแบ่งการจำหน่ายสูงร้อยละ 50 นอกจากนั้นเป็นของผู้ประกอบการ Catering ฟาร์ม ตลาด ส่วนการจำหน่ายทาง Internet แม้ว่าจะมีส่วนแบ่งน้อยแต่ก็มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สินค้า ข้าวออร์กานิก ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัจจุบันผู้บริโภคดัชท์ให้ความสนใจสุขภาพมากขึ้น (More health-conscious) จึงให้ความสำคัญและใส่ใจในอาหารที่จะรับประทานรวมทั้งความใหม่สดมากขึ้น ตลาดสินค้าอาหารสุขภาพ/ธรรมชาติ (Natural food) เป็นตลาดที่ที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว ผู้ค้าสินค้าออร์กานิกรายใหญ่สามารถขยายเป้าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในช่วงปี 2548-2549 คาดว่าในปี 2553 การจำหน่ายสินค้าออร์กานิกของซุปเปอร์มาร์เก็ตจะมีมูลค่าประมาณร้อยละ 2.4 ของมูลค่าการจำหน่ายรวม เพิ่มจากร้อยละ 0.6 ในปี 2544
แม้ว่าราคาผู้บริโภคของเนเธอร์แลนด์ (Netherlands’ consumer price) จะมีความสำคัญมาก แต่ประเด็นอื่นๆ ก็มีความสำคัญเพิ่มขึ้นด้วยเช่น สินค้าสุขภาพ รสชาติดี มีคุณต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (healthy products, a good taste that feature social and environmental benefits) ตัวอย่างได้แก่ ข้าวบัสมาติคุณภาพสูงที่ผ่านการรับรองว่าเป็นสินค้าออร์กานิก
ทั้งนี้ ข้อดีข้อของข้าว คือไม่มีสารที่ทำให้แพ้ (Allergic) จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่โรคภูมิแพ้ และเป็นส่วนผสมในอาหารเด็กและอาหารผู้ป่วยอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ
ราคาค้าปลีกข้าวในภาพรวม เดือนสิงหาคม 2551 :
ข้าวบัสมาติและข้าวหอม ขนาด 1 กิโลกรัมราคา 4.86 เหรียญฯ (3.17 ยูโร)
ขนาด 20 กิโลกรัมราคา 41.34-47.48 เหรียญฯ (26.95-30.95 ยูโร)
(ราคาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 47)
ข้าวหัก ขนาด 20 กิโลกรัมราคา 27.53 เหรียญฯ (17.95 ยูโร)
ข้าวขาว (จากสุรินัม) ขนาด 20 กิโลกรัมราคา 32.21-36.74 เหรียญฯ (21.00-23.95 ยูโร)
การนำเข้า การนำเข้าข้าวตามกลุ่มได้แก่ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวขาว ข้าวหัก โดยในปี 2549 นำเข้าปริมาณ 249,400 ตัน มูลค่า 131.7 ล้านเหรียญฯ ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3/ปี รายการที่นำเข้ามากตามมูลค่าได้แก่ ข้าวกล้องมูลค่า 64.5 ล้านเหรียญฯ (ปริมาณ 126,600 ตัน) ข้าวขาว (ข้าวสีแล้ว) มูลค่า 42.6 ล้านเหรียญฯ (ปริมาณ 531,000 ตัน) ข้าวหักมูลค่า 22.7 ล้านเหรียญฯ (ปริมาณ 59,500 ตัน) ข้าวเปลือกมูลค่า 1.8 ล้านเหรียญฯ (ปริมาณ 10,200 ตัน)
ภาวะการนำเข้าในช่วงปี 2545-2549:-
- ข้าวกล้อง (Brown rice) จากประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นปีละประมาณร้อยละ 10 ซึ่งมีผลให้การนำเข้าจากประเทศสมาชิก EU ลดลงปีละร้อยละ 15 แสดงให้เห็นว่าส่วนแบ่งตลาดของประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการนำเข้าจากกิยาน่า อินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 และ 28 ต่อปีตามลำดับ แต่การนำเข้าจากปากีสถานและสุรินัมลดลง
- ข้าวขาว (Milled rice) ในปี 2549 เนเธอร์แลนด์นำเข้ามูลค่า 42.64 ล้านเหรียญฯ ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 31 สูงกว่าประเทศสมาชิก EU เฉลี่ยประมาณร้อยละ 17 (จากอิตาลีและเบลเยี่ยมลดลงร้อยละ 22 และ 25/ปี ตามลำดับ) ในภาพรวมการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ต่อปี การนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นปีละประมาณร้อยละ 10 ในช่วงปี 2545-2549 อินเดียเป็นผู้ส่งออกที่มีอัตราการส่งออกเพิ่มสูงมากที่สุดประมาณร้อยละ 300 (3 เท่า) / ปี
- ข้าวหัก (Broken rice) ในปี 2549 ร้อยละ 38 ที่เนเธอร์แลนด์นำเข้ามาจากประเทศกำลังพัฒนาแต่ในช่วงปี 2545-2549 มีการอัตราการนำเข้าลดลงร้อยละ 10/ปี เนื่องจากลดการนำเข้าจากไทย (ร้อยละ 22/ปี) โดยหันไปนำเข้าเพิ่มจากอียิปต์ (ร้อยละ 37/ปี) บราซิล (ร้อยละ 81/ปี) อินเดีย (ร้อยละ 339/ปี) ปากีสถาน (ร้อยละ 209/ปี)
การส่งออก ในปี 2549 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 4 ของ EU คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 8 มูลค่า 95.5 ล้านเหรียญฯ ปริมาณ 115,900 ตัน ในช่วงปี 2545-2549 การส่งออกลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6/ปี รายการที่ส่งออกสำคัญได้แก่ ข้าวขาว (มูลค่า 64.4 ล้านเหรียญ) ข้าวหัก (มูลค่า 26.0 ล้านเหรียญ) โดยส่งไปเยอรมนี อังกฤษ และฝรั่งเศส
ช่องทางการค้า ในภาพรวมข้าวที่ใช้ใน EU นำเข้าจากประเทศที่สาม (ประเทศที่มิใช่สมาชิก EU) ซึ่งมีทั้งที่ส่งสินค้าภายใต้เครื่องหมายของตนเอง และเป็นผู้แทนซุปเปอร์มาร์เก็ตนำเข้าภายใต้เครื่องหมายของลูกค้า (Private labels) บริษัทกระจายข้าวที่สำคัญในนเธอร์แลนด์ เช่น Van Sillevoldt Rijst, Lassie Rice Mills, Alesie, Tradin Organic, Sara Lee, Do-it Dutch Organic International Trade, Doend Food Ingredients และงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องเช่น Biofach และ European Fine Food Fair (EFFF)
โอกาสและความเสี่ยง เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการค้าสินค้าโภคภัณฑ์เกษตร รวมทั้งสินค้าออร์กานิก ซึ่งปริมาณสินค้าไม่เพียงพอที่จะสนองความต้องการ ทั้งเป็นโอกาสของประเทศกำลังพัฒนาที่จะส่งออกข้าวทั้งข้าวทั่วๆ ไปและข้าวออร์กานิก
ผู้บริโภคดัชท์นิยมลองสินค้าใหม่ ๆ (เช่น ready-to-eat, fast-cooking rice และ new ethic dishes) และถูกเรียกว่า “early adopters” เห็นได้จากสินค้าอาหารนานาชนิดที่มีจำหน่ายในประเทศ
กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก (สคต.) กรมส่งเสริมการส่งออกได้อนุมัติให้ สคต. จัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2550-2551 มีกิจกรรมรวม 7 โครงการ และ 6 โครงการหรือร้อยละ 85.7 เกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหาร เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ผัก ผลไม้ เครื่องปรุงรส
คาดการณ์ภาวะข้าวในตลาดโลก (ปี 2551-2561)
ในภาพรวมรทั้งคณะกรรมาธิการยุโรป และกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ตรงกันว่า โอกาสที่ราคาอาหารจะกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤติอาหารค่อนข้างยาก FAPRI และ OECD คาดว่าแม้ปัจจัยดังต่อไปนี้อยู่ในภาวะปกติเช่น สภาพอากาส ประมาณการผลิต ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ก็จะมีปัจจัยอื่นมาจำกัดมิให้การผลิตมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการเช่น พื้นที่เพาะปลูก น้ำ การคิดค้นเทคโนโลยี การลงทุน และ USDA คาดว่าราคาข้าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5-3.0 ต่อปี สืบเนื่องจากการใช้มาตรการจำกัด/ควบคุมของประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่เพื่อป้องกันภาวะขาดแคลนภายในประเทศ เช่น เวียดนาม ไทย อินเดีย และจีน การเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกชะลอตัว แม้ว่าในประเทศไทยที่มีภาวะเศรษฐกิจขยายตัวเช่น จีน บราซิล ประชาชนจะบริโภคข้าวน้อยลงและปรับเปลี่ยนไปบริโภคอาหารตะวันตกมากขึ้น (เช่น ขนมปัง)
ส่วนแบ่งตลาดโลกในช่วงปี 2551-2561 ยังคงเป็นการค้าข้าวเมล็ดยาวประมาณร้อยละ 75 ข้าวเมล็ดกลาง และสั้นประมาณร้อยละ 12 ข้าวหอมประมาณร้อยละ 12 และข้าวเหนียวร้อยละ 1
USDA คาดการณ์ราคาข้าวโลก:
ปี 2551-2552 ราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจากปี 2550/2551
ปี 2552-2553 ราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2.2-2.5 / ปี และถึงปริมาณ 37.4 ล้านต้นในปี 2560-2561 การค้าจะมีปริมาณประมาณร้อยละ 8 ของการผลิตในช่วงดังกล่าว โดยจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในประเทศ/ภูมิภาคดังต่อไปนี้เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ตะวันออกกลาง อาฟริกาบริเวณ Sub-Saharan ซึ่งมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 70 ของการนำเข้าทั้งโลก เนื่องจากมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น
ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 5 ประเทศในเอเชียยังคงได้แก่ไทย เวียดนาม อินเดียว ปากีสถาน จีน รวมมีการส่งออกประมาณร้อยละ 75 ของการส่งออกข้าวโลก โดยมีไทย และเวียดนามครองส่วนแบ่งครึ่งปการส่งออกของไทยจะครองส่วนแบ่งร้อยละ 47 ปริมาณกว่า 13 ล้านตัน และเวียดนามครองส่วนแบ่งร้อยละ 30 ปริมาณประมาณ 6.5 ล้านตัน
สหรัฐฯ จะมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 11 (ในอัตราส่วนการส่งออกรวมของโลก) คาดว่าหลังปี 2552 สหรัฐฯ จะเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ปริมาณ 3.75 ล้านตันในปี 2560-2561 หรือสูงขึ้นร้อยละ 10 เพิ่มจากปี 2550-2551 และในปี 2556-2557 จะมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.3 โดยยังคงครองการส่งออกไปยังประเทศในทวีปอเมริกาอื่นๆ เช่น เม็กซิโก และแถบลาตินอเมริกาซึ่งนิยมนำเข้าข้าวเปลือก (Rough rice) เพื่อช่วยโรงสีข้าวในประเทศให้มีการประกอบการ
ออสเตรเลีย จะขยายการส่งออกในช่วง 10 ปีต่อไป คาดว่าในช่วงปี 2560-2561 จะส่งออกปริมาณ 4 หมื่นตันลดลงจากจากที่เคยส่งออก 2 แสนตันในปี 2549/2550
อียิปต์ และ EU ก็ส่งออกข้าวเช่นกัน คาดว่าการส่งออกของอียิปต์จะลดลงในช่วง 10 ปีข้างหน้าเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น และปัญหาการเพิ่มขึ้น และปัญหาการเพิ่มขึ้นพื้นที่ปลูกข้าว อย่างไรก็ตามอียิปต์เป็นประเทศที่มีผลผลิตข้าวสูงที่สุดในโลก (Egypt’s yields are a already the highest in the world) คาดว่าการส่งออกข้าวของ EU ในช่วงปี 2551/2552 และ 2560/2561 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีราคาสูง โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศติดอาณานิคมเช่นกัน อาฟริกา ตะวันออกกลาง โดยส่งออกข้าวคุณภาพสูง “Arborio rice” ของอิตาลีไปยังประเทศที่มีฐานะดี
ผลกระทบในระดับโลก
1) ประเทศกำลังพัฒนาที่นำเข้าสินค้าอาหาร
- อาจได้รับผลกระทบคละกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีการประท้วงหรือเดินขบวนในประเทศแถบลาติน อเมริกา อาฟริกา และเอเซียแสดงให้เห็นผลกระทบที่รุนแรงต่อประเทศยากจน
- ประเทศฯ ที่นำเข้าข้าวประสบวิกฤติหนักเช่น ประเทศในอาฟริกา ฟิลิปปินสื อินโดนีเซีย จีน โดยในประเทศฯ ที่พี่งพาโครงการช่วยเหลือด้านอาหารและนำเข้าพลังงานจะได้รับผลกระทบรุนแรงยิ่งขึ้น FAO คาดว่าราคาธัญหารสำหรับประเทศยากจนจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 56 ในช่วงปี 2550/2551 (ต่อจากที่เพิ่มร้อยละ 37 ในช่วงปี 2549/2550)
- ประเทศฯ ที่นำเข้าจะได้รับผลกระทบมาก อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มประชากรที่ยากจนจะถูกกระทบอย่างรุนแรง เช่น กลุ่มกรรมกร โดยเฉลี่ยกลุ่มดังกล่าวจะซื้อหาอาหารประมาณร้อยละ 50-60 ของรายได้ทั้งหมด (ร้อยละ 10 สำหรับพลังงาน) World Bank ประเมินสถานการณ์เบื้องต้นว่าจะมีผลให้ประชากรโลกประมาณ 100 ล้านคนยานจนลง
2) ประเทศที่ส่งออกสินค้าอาหาร
- ในภาพรวมของโลกประเทศที่ส่งออกอาหารจะได้เปรียบ ได้ผลดีมีรายได้เพิ่มจากการค้าที่ขยายตัว เช่น สหรัฐฯ (ข้าวสาลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง) อาร์เจนติน่า (ข้าวสาลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง) บราซิล (ข้าวโพดเสี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง) แคนาดา (ข้าวสาลี regerseed) ปารากวัย (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง) อุรุกวัย (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวถั่วเหลือง) รัสเซีย (ข้าวสาลี) ไทย (ข้าว มันสำปะหลัง) เวียดนาม (ข้าว) ออสเตรเลีย (ข้าว) มีประมาณ 20 ประเทศประกาศการจำกัดการส่งออกเพื่อรักษาราคาในประเทศให้ต่ำเช่น อาร์เจนติน่า อียิปต์ อินเดีย ปากีสถาน กัมพูชา และยูเครน
- สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ส่งออกสินค้าอาหาร ในระยะกลางระยะยาวจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่งขึ้น อาจเป็นผลให้ลงทุนมากขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิต การพัฒนาด้านโครงสร้าง อัตราค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจบั่นทอนความกระตือรือร้นที่จะลงทุน เพิ่มผลผลิตและรายได้เช่น มาตรการแทรกแซงต่างๆ ของรัฐบาลในประเทศผู้ส่งออกฯ ประสิทธิภาพขององค์กรที่เกี่ยวข้อง (เช่น การผลิต) การขาดข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย อำนาจของคนกลางในช่วงโซ่อาหาร (intermediaries in the agri-food chain) ความลำบากในการหาเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สินเชื่อ ดังนั้น รัฐบาลในประเทศเหล่านี้ต้องเร่งปรับปรุงนโยบายและการดำเนินการที่ยั่งยืนเพื่อให้ภาคเกษตรของประเทศมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
การดำเนินการรองรับของ EU เช่น
- การบรรเทาผลกระทบด้านราคาอาหารในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ติดตามอัตราราคาอย่างใกล้ชิดทั้งภายในและนอก EU การปรับนโยบาย Common Agricutural Policy (CAP) ตั้งหน่วยเฉพาะกิจตรวจสอบการประกอบการในช่วงโซ่อาหาร (food supply chain) รวมทั้งด้านการค้าปลีกและการกระจายสินค้า คาวว่าจะเสนอรายงานได้ในช่วงปลายปี 2551
- ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในระยะยาว เช่น นโยบายที่กำหนดให้ใช้ Biofuel ร้อยละ 10 ในปี 2563 จะมีผลต่อราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นและใช้พื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น โดยจะพยายามเลี่ยงการใช้พืชอาหาร เน้นการใช้พืนที่ให้พลังงาน การ Recycled น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ เศษของเหลือใช้จากอุตสาหกรรม ฯลฯ ส่งเสริมการผลิต Biofuel อย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติเช่น สหรัฐฯ บราซิล อินเดียว จีน ฯลฯ โดยภายใน EU คณะกรรมาธิการยุโรปจะยังคงนโยบายเกี่ยวกับสินค้าอาหาร GMO ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอาหารสัตว์ (จะอนุญาตให้นำเข้าและจะจำหน่ายเฉพาะรายการ) รวมทั้งเสนอระเบียบ Renewable Energy Directive และจะผลักดันให้มีการรับรองหลักเกณฑ์ที่ใกล้เคียงในเวทีต่างๆ ของโลกด้วย
- ให้ความสำคัญวิกฤติฯ ในระดับนานาชาติ เช่น ส่งเสริมนโยบายการค้าให้การเจรจารอบโดฮา (DDA) ประสบผลโดยเร็ว ให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ประเทศยากจน
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก
Upload Date : สิงหาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ