ภาวะการค้าไทย—เบลเยี่ยม 7 เดือนแรก (มกราคม—กรกฎาคม) ปี 2551 และการแข่งขันของสินค้าไทยบางรายการ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 1, 2008 15:27 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          เบลเยี่ยมเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์  ซึ่งอยู่ในเขตดูแลของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก   รวมทั้งเป็น Gateway สำคัญแห่งหนึ่งที่นำเข้าและกระจายสินค้าไทยไปสู่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 
ในรายงานนี้เป็นการรายงานข้อมูลการค้าช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม—กรกฎาคม) ปี 2551 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนส่วนที่ 1 เกี่ยวกับการค้าไทย—เบลเยี่ยม และส่วนที่ 2 เป็นภาวะการแข่งขันของสินค้าไทยบางรายการในตลาดเบลเยี่ยมไตรมาสแรก ปี 2551
1. ภาวะการค้าไทย — เบลเยี่ยมในช่วง7 เดือน (มกราคม — กรกฎาคม) ปี 2551 ในภาพรวมเบลเยี่ยมนำเข้าสินค้าไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.1 มูลค่าการค้ารวม 1,561.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +11.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 (มูลค่า 1,173.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
1) การส่งออกของไทย - ในช่วงดังกล่าวมีมูลค่า 1,006.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +1.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 (มูลค่า 995.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นับเป็นประเทศสมาชิกฯ ที่นำเข้าจากไทยสูง 1 ใน 6 ประเทศตามลำดับ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม
2) การนำเข้าของไทย - ไทยนำเข้าสินค้าจากเบลเยี่ยมมูลค่า 555.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +36.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 (มูลค่า 408.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
3) ดุลการค้า — ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับเบลเยี่ยม มูลค่า 451.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) ไทยได้ดุลการค้าลดลงร้อยละ —23.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2550(มูลค่า 587.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ตารางที่ 1 : มูลค่าการค้าและดุลการค้าระหว่างไทย-เบลเยี่ยม ในช่วง 7 เดือน (มกราคม-กรกฎาคม) ปี 2551
(มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
2550 2551 %
(ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.) เพิ่ม/ลด
การค้ารวม 1,403.7 1,561.2 11.22
ไทยส่งออก 995.6 1,006.1 1.05
ไทยนำเข้า 408.1 555.1 36.04
ดุลการค้า 587.5 451.0 -23.20
1.2 เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกไทย —สหภาพยุโรป การส่งออกไปเบลเยี่ยมมีส่วนแบ่งร้อยละ 7.49 ของการส่งออกรวมของไทยไปสหภาพยุโรป
ตารางที่ 2 : เปรียบเทียบการส่งออกไทย — สหภาพยุโรป (7 ประเทศแรกที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด)ในช่วงดังกล่าว
ประเทศ มูลค่า(ล้าน USD) ส่วนแบ่ง (%)
สหภาพยุโรป 13,431.2 100.00
เนเธอร์แลนด์ 2,424.0 18.04
อังกฤษ 2,155.5 16.04
เยอรมนี 1,796.6 13.37
อิตาลี 1,229.5 9.15
ฝรั่งเศส 1,093.9 8.14
เบลเยี่ยม 1,006.1 7.49
สเปน 850.9 6.33
1.3 เป้าหมายการส่งออกของไทยในปี 2551 ตามตารางที่ 3
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ประเทศ การส่งออกจริง เป้าหมายการส่งออก อัตราการ การส่งออก 6 เดือน อัตราการ
ปี 2550 ปี 2551 ขยายตัว(%) ม.ค.-ก.ค. 2551 ขยายตัว (%)
เบลเยี่ยม 1,662.20 1,712.06 3 1,006.1 +58.76[1
]
อัตราการขยายตัว เมื่อเทียบ
1) ไตรมาสแรกปี 2551 กับช่วงเดียวกันปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.05
2) เป้าหมายปี 2551 ตั้งเป้าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 3 นับว่าการค้าไทย—เบลเยี่ยม ขยายตัวสูงกว่า เป้าหมายทั้งปี
3) เป้าหมายที่กำหนดไว้ตาม 2) มีอัตราขยายตัวร้อยละ 58.76
รายการสินค้า 10 อันดับแรก
1) ภาพรวมสินค้าที่ไทยส่งออกไปเบลเยี่ยม - ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ตารางที่ 4 : รายการสินค้าที่ไทยส่งออกไปเบลเยี่ยม 10 อันดับแรกในช่วง 7 เดือน
(มกราคม-กรกฎาคม) ปี 2551
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า อัตรา
(ม.ค.-ก.ค. 2551) การขยายตัว
(ล้าน USD) (%)
1 อัญมณีและเครื่องประดับ 171.9 7.01
2 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 85.0 13.10
3 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 72.5 21.88
4 ผลิตภัณฑ์ยาง 71.3 20.02
5 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 54.6 52.96
6 รองเท้าและชิ้นส่วน 47.6 -21.69
7 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 47.3 -13.02
8 กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 32.8 28.99
9 ข้าว 32.0 83.23
10 เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 30.4 -2.71
สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก
เพิ่มขึ้น - 10 อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (ร้อยละ 7.01) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (ร้อยละ 13.10) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 21.88) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 20.02) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 52.96) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (ร้อยละ 28.99) ข้าว ร้อยละ 83.23) เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น (ร้อยละ 27.60) ผลิตภัณฑ์พลาสติก (ร้อยละ 58.36)และผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ (ร้อยละ 6.55)
ลดลง - 10 อันดับแรก ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ —21.69) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ(ร้อยละ —13.02) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูปและส่วนประกอบ (ร้อยละ —2.71) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ —54.85) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ —32.85) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —32.39) ยางพารา (ร้อยละ —10.87) เม็ดพลาสติก (ร้อยละ —69.01) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ —0.97)เครื่องวิดิโอ เครื่องเสียงและส่วนประกอบ (ร้อยละ —20.33)
ตารางที่ 5 : รายการสินค้า 3 หมวดสำคัญที่ไทยส่งออก 5 อันดับแรก
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า(ม.ค-ก.ค. 51) อัตราการ
(ล้าน USD) ขยายตัว(%)
1 หมวดสินค้าแร่ธาตุและสินค้าเกษตร
ข้าว 31.9 83.23
ยางพารา 15.1 -10.87
กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 9.7 -0.97
ใบยาสูบ 8.2 92.98
ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง 2.2 29.90
2 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
ผลิตภัณฑ์ยาง 71.2 20.02
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 7.6 -24.38
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 5.6 92.78
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 5.4 -5.15
ไก่แปรรูป 4.31 78.44
3 หมวดสินค้าอุตสาหกรรม
อัญมณีและเครื่องประดับ 171.8 7.01
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 85.0 13.10
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 72.5 21.88
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 54.6 52.96
รองเท้าและชิ้นส่วน 47.5 -21.69
รายการสินค้าแร่ธาตุและเกษตรที่ส่งออก
เพิ่มขึ้น - เช่น ข้าว (ร้อยละ 83.23) ใบยาสูบ (ร้อยละ 92.98) ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ 29.90) เป็ดสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ 266.06) ดีบุก (ร้อยละ 4,473.41)
ลดลง - เช่น ยางพารา (ร้อยละ —10.87) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ —0.97) เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ —24.68) ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ —24.06) ปลาหมึกสด แช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ —30.31)
รายการสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งออก
เพิ่มขึ้น - เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 20.02) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 92.78) ไก่แปรรูป(ร้อยละ 78.44) ผักกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 34.09) อาหารสัตว์เลี้ยง (ร้อยละ 25.71)
ลดลง - เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ —24.38) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (ร้อยละ —5.15) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ —58.53) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ (ร้อยละ —11.91) ซุปและอาหารปรุงแต่ง (ร้อยละ —53.74)
รายการสินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งออก
เพิ่มขึ้น - เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (ร้อยละ 7.01) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (ร้อยละ 13.10) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 21.88) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 52.96) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (ร้อยละ 28.99)
ลดลง - เช่น รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ —21.69) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —13.02) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูปและส่วนประกอบ (ร้อยละ —2.71) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ —54.85) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ —32.85)
สินค้ารายการสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเบลเยี่ยม — ในช่วง 7 เดือน (มกราคม—กรกฎาคม) ปี 2551 มูลค่ารวม 555.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +36.04 เมื่อเทียบกับการนำเข้าในช่วงเดียวกัน ปี 2550 (มูลค่า 408.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม
ตารางที่ 6 : รายการสินค้าที่ไทยนำเข้าจากบลเยี่ยม 10 อันดับแรกในช่วง 7 เดือน
(มกราคม-กรกฎาคม) ปี 2551
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า อัตรา
(ม.ค.-ก.ค. 2551) การขยายตัว
(ล้าน USD) (%)
1 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 184.9 37.80
2 เคมีภัณฑ์ 149.1 125.20
3 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 37.1 -9.96
4 พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 31.2 93.13
5 ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม 24.9 -13.21
6 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 22.7 -40.33
7 ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก 20.1 13.68
8 ยุทธปัจจัย 8.0 26,241.59
9 ผลิตภัณฑ์โลหะ 7.7 158.76
10 แผงวงจรไฟฟ้า 6.5 205.84
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก
Upload Date : สิงหาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ