ภาพรวมเศรษฐกิจฮ่องกงปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 3, 2008 15:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมของฮ่องกง
ดัชนีชี้วัด 2549 2550 2551 คาดการณ์
Population Domestic Products(Million) 6.81 6.86 6.93 6.99 a
GDP($US Billion) 177.30 189.20 207.20 220.7-222.7 b
Real GDP Growth(%) 7.10 7.00 6.40 +5.8 c
GDP per Capital(US$) 26,000 27,600 29,900 31,500-31,800 b
อัตราเงินเฟ้อ(inflation)(%) 1.00 2.00 2.00 6.30
อัตราการว่างงาน(Unemployment Rate) (%) 5.60 4.80 4.00 3.20 e
แหล่งที่มา : Hong Kong Trade Development Council
- เศรษฐกิจโดยรวมของฮ่องกงปี 2551 มีความเข้มแข็ง แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาภายนอก อาทิ ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพของสหรัฐฯ(subprime) โดยมี GDP ในครึ่งปีแรกของปี 2551 เท่ากับ 5.8%
- สถานการณ์เงินเฟ้อ ขยับขึ้น ในปี 25 ราคาสินค้าบริโภค(Consumer prices) เพิ่มขึ้น 2% และ 5.3% ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2551
- การจ้างงาน อัตราการว่างจ้างงานในปี 2550 ลดลง 4.0% และ 3.2 ช่วง 3 เดือนสุดท้ายถึงกรกฎาคม 2551
- การจ้างงานของร้านค้าปลีกสูงขึ้น ในปี 2550 12.8% และ 15.9% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551
- การส่งออกโดยรวมในปี 2550 เติบโต 9.2% และ 9.4% เมื่อเปรียบกับปีที่ผ่านมาในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551
- ตัวเลขนักท่องเที่ยวเดินทางมายังฮ่องกงในปี 2550 จำนวน 28.2 ล้านคน และในปี 2551 (ม.ค.-ก.ค.) จำนวน 16.9 ล้านคน คิดเป็น 9.1% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา
- ตลาดหลักทรัพย์ ในฮ่องกงยังคงซบเซาเนื่องมาจากผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพของสหรัฐฯ ที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกตกลงอย่างต่อเนื่อง
ตัวเลขภาคการค้า
2549 2550 2551(ม.ค.-ก.ค.)
US$ billion Growth US$ billion Growth US$ billion Growth
Total Export 315.5 9.4 344.6 9.2 207.2 9.5
Domestic Export 17.2 -1.1 14.0 -18.9 7.0 -9.3
Re-Export 298.3 10.0 330.6 10.8 200.2 10.2
Imports 333.3 11.6 367.7 10.3 225.0 11.1
Total Trade 648.8 10.5 712.2 9.8 432.2 10.3
Trade Balance -17.8 N/A -23.1 N/A -17.8 N/A
ตัวเลขภาคบริการ
2549 2550 2551(ม.ค.-ก.ค.)
US$ billion Growth US$ billion Growth US$ billion Growth
Export 72.4 14.1 83.6 15.4 42.9 12.8
Imports 36.9 9.0 41.2 11.7 21.4 11.7
Total Trade 109.4 12.3 124.8 14.1 64.3 12.4
Trade Balance 35.5 N/A 42.3 N/A 21.5 N/A
สถานะด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน
- ฮ่องกงมีเสรีภาพด้านเศรษฐกิจของโลก
- มีภาคบริการมากที่สุดในโลก(ภาคบริการคิดเป็นจำนวน 90% ของ GDP
- เป็นศูนย์กลางเงินตราต่างประเทศใหญ่อันดับสองของโลก
- การถือเงินตราต่างประเทศใหญ่เป็นอันดับเก้า
- การลงทุนจากต่างประเทศในฮ่องกงโดยสุทธิ(Foreign direct investment(FDI) ใหญ่อันดับ 2 ของเอเชีย
- ผู้รับต่างประเทศที่มีการลงทุนในฮ่องกงโดยสุทธิ(Foreign direct investment(FDI)ใหญ่อันดับ 2 ของเอเชีย
ฮ่องกงนับเป็นเศรษฐกิจที่มีการค้าขายมากเป็นอันดับที่ 13 ของโลก (13th largest trading economy) โดยมีมูลค่าการค้ารวมในปี 2551(ม.ค.-ก.ค.) จำนวน 432,199 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเดียวกัน
การส่งออก ช่วงปี 2550 ฮ่องกงมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 9.2% ยอดการส่งออกมูลค่า 344.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2551 (ม.ค.—ก.ค.) มีมูลค่า 207.2 อัตราการขยายตัว 9.5% ประเทศที่ฮ่องกงส่งออกมากที่สุด จีน, สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วน 49%, 13% และ 12% และ 4% ตามลำดับ
การนำเข้า ช่วงปี 2551(ม.ค.-ก.ค.) ฮ่องกงมีการนำเข้ามูลค่า225 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.1% ปี 2550 มูลค่า 367.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ อัตราขยายตัว 10.3% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551
การขาดดุล ปี 2551(ม.ค. —ก.ค. ) มูลค่า 17.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 7.9% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้า เมื่อเปรียบกับปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้า 23.1 พันล้านเหรียญฯ หรือ 6.3%
ความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่
- ฮ่องกงเป็นที่เก็บสินค้าที่สำคัญของจีน
- ฮ่องกงมีการลงทุนในจีนมากที่สุด
- ศูนย์กลางการลงทุนนอกฝั่งที่สำคัญของจีน
- จีนถือฮ่องกงเป็นแหล่งการลงทุนภายนอกใหญ่อันดับสอง
ในช่วงเดือนกรกฏาคม 2551 การลงทุนของสาธารณรัฐประชาชนจีนในฮ่องกง ได้แก่ สถาบันการเงิน 6 ธนาคารและตัวเทนบริษัท 8 บริษัท ธนาคารใหญ่ๆ ได้แก่ Bank of China, Industrial and Commercial Bank of China, Agricultural Bank of China and China Construction Bank ที่มีสาขาดำเนินธุรกิจธนาคารในฮ่องกง และมีตัวแทนสำนักงานของธนาคารจากจีน ได้แก่ Shenzhen Development Bank, China Everbright Bank and Shanghai Pudong Development Bank
ฮ่องกงยังเป็นศูนย์รวมแหล่งการลงทุนสำหรับบริษัทจีน โดยในปี 2550 มีจำนวน 439 บริษัทตั้งอยู่ในฮ่องกง ประกอบด้วย H-Share, red-chip และบริษัทเอกชน คิดเป็นการลงทุนยอดรวมมูลค่า 1,544 พันเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 58%
ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ
- ฮ่องกงได้รับความนิยมในการที่มีสำนักงานตัวแทนและสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างชาติมาจัดตั้ง
- เป็นผู้นำด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในเขตเอเชียแปซิฟิก
- มีธุรกิจการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
- เป็นท่าเรือใหญ่อันดับ 3 ของโลก
- เป็นศูนย์กลางการลงทุนร่วมทุนใหญ่ที่สุดในเอเชีย
- ตลาด Stock Market ใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียและใหญ่อันดับ 8 ของโลก
- ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราใหญ่ที่สุดในเอเชีย และอันดับ 6 ของโลก
เศรษฐกิจฮ่องกงปี 2551
1. ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพของสหรัฐฯ (subprime) ที่ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซบเซา ประกอบกับการที่จีนมีนโยบายลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายลดการสนับสนุนทางด้านภาษี การส่งออก และการใช้นโยบายให้ธนาคารเพิ่มการสำรองเงินมากขึ้น จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของฮ่องกงในปี 2551 โดยคาดว่า เศรษฐกิจของฮ่องกงจะมีอัตราการเจริญเติบโตคงที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 และมีอัตราการส่งออกลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.7 และอัตราการนำเข้าร้อยละ 8.3
2. อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการส่งออกของฮ่องกงจะลดลง แต่ปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจแทนการส่งออกคือ ความต้องการภายในประเทศ (domestic demand) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคภาคเอกชน (private consumption) ที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขี้น โดยคาดว่า จะมีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 นอกจากนี้ การใช้จ่ายในด้านการลงทุนก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ด้วยเช่นกัน
3. ภาวะเงินเฟ้อของฮ่องกงในปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 มีแนวโน้มว่าจะขยายไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ที่คาดว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เนื่องมาจากราคาอาหารและอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตและธนาคารพาณิชย์ในฮ่องกงอาจจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยตามนั้น เป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยจริงติดลบ(negative real interest rate) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ซึ่งจะทำให้ความต้องการกู้เงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นอีก
การคาดการณ์ภาวะการส่งออกของฮ่องกงวิเคราะห์ตามประเภทของสินค้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
- ในไตรมาศแรกการส่งออกขยายตัว 12% เนื่องจากความนิยมของสินค้าดิจิตอลในตลาดต่างประเทศมีมากขึ้น โดยในปี 2551 และ 2552 ยอดการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยคาดว่าจะมีปริมาณที่เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
เสื้อผ้า
- การส่งออกเสื้อผ้าลดลง 3%ในช่วงไตรมาศแรก แต่ยอดส่งออกไปยังสหรัฐและEUเพิ่มขึ้น 70% ของปริมาณการส่งออก จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ทำให้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องมาจากปัจัยยอื่นๆด้วย เช่นการตั้งกำแพงภาษีของสินค้าประเภทเสื้อผ้า สิ่งทอที่ผลิตในจีนเพื่อส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐ
ของเล่น
- การส่งออกของเล่นในฮ่องกงขยายตัว 20% ในไตรมาสแรกของปี 2551 โดยเฉพาะประเภทวีดิโอเกม ของเล่นอิเล็คทรอนิกส์ ในขณะเดียวกันตุ๊กตา ตัวต่อ ของเล่นล้อเลื่อนมีความซบเซาต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ในการส่งออกไปยุโรปจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากความแข็งของค่าเงิน เมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐและญี่ปุ่น ทั้งนี้ตลาดใหนประเทศจีนและในภูมิภาคอาเซียนยังคงเป็นตลาดที่ยังคงดำเนินไปได้ดี
นาฬิกา
- ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้น 16% ในไตรมาสแรกของปี 2551 โดยส่งไปยังตลาดหลักไม่ว่าจะเป็น ยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐ แต่มีแนวโน้มว่าการส่งออกจะลดลงเนื่องจากความต้องการของตลาดโลกมีปริมาณลดลง
อัญมณี
- มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องประดับและอัญมณีสูงถึง 27% ในไตรมาศแรกอันเนื่องมาจากราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นเช่นทองคำ เงิน และ เพชร เมื่อดูที่ปริมาณการสงออกลดลง 6% เนื่องจากความต้องการของตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐลดน้อยลง
การค้าระหว่างไทย-ฮ่องกง
มูลค่า ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551(ม.ค.-ก.ค.)
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
มูลค่าการนำเข้า 1,540.62 1,441.19 1,137.72
มูลค่าการส่งออก 7,166.74 8,580.73 6,009.48
มูลค่าการค้าโดยรวม 8,707.35 10,021.92 7,147.20
มูลค่าการขาดดุลการค้า 5,626.12 7,139.54 4,871.76
ในปี 2550 ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 10 ตลาดส่งออกลำดับที่ 14 และตลาดนำเข้าลำดับที่ 8 ของฮ่องกง ในขณะที่ ฮ่องกงเป็นคู่ค้าลำดับที่ 6 และเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 6 ของไทย โดยไทยส่งสินค้าออกไปฮ่องกงมากกว่านำเข้า สินค้า 5 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปฮ่องกง(ปี 2551 ม.ค.-ก.ค.) ได้แก่ (1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มูลค่า 1,140.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2) อัญมณีและเครื่องประดับ มูลค่า 907.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (3) แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่า 722.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (4) หนังสือและสิ่งพิมพ์ มูลค่า 663.2 ล้านเหรียญฯ และ (5) เม็ดพลาสติก มูลค่า 414.4 ล้านเหรียญฯ และสินค้าที่ไทยนำเข้าจากฮ่องกง 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ มูลค่า 412.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ มูลค่า 149.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (3) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มูลค่า 93.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (4) ผ้าผืน มูลค่า 61.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ (5 สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ มูลค่า 44.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
การลงทุน — จากสถิติของ BOI ปี 2551 ฮ่องกงมีการลงทุนในไทยเป็นอันดับที่ 24 โดยมีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจนถึงปัจจุบัน(2008 Jan-July) 5,861 ราย ในปี 2550 ฮ่องกงมีการลงทุน 5,861 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่ ฮ่องกงนิยมเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมเคมีและกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ทางเกษตร และเครื่องไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ตามลำดับ
ผลกระทบ โอกาส และลู่ทางของไทย
1. หากฮ่องกงมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัยทางด้านอาหารและกฎระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมสารตกค้างในผักและผลไม้ อาจทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยต้องเพิ่มความเข้มงวดในการออก health certificate ตลอดจนตรวจสอบคุณภาพสินค้าอย่างละเอียดก่อนที่จะส่งไปยังฮ่องกง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา และการเรียกคืนสินค้า ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาพพจน์สินค้าของไทย(รายงาน สกญ.ฯ โดยโทรเลขที่ HKG49/2551 ลว. 30 ม.ค. 51) นอกจากนี้ หากรัฐบาลฮ่องกงบังคับใช้กฎระเบียบ/กฎหมายฉลาก
สินค้ากับสินค้านำเข้าทุกประเภทในอนาคต จะก่อให้เกิดผลกระทบกับสินค้าส่งออกของไทยที่ได้มีการบรรจุหีบห่อก่อนส่งออกไปฮ่องกง เนื่องจากสินค้าทุกชิ้นจะต้องมีการแสดงรายละเอียดคุณค่าทางโภชนาการอย่างไรก็ตาม ผู้แทนทางการทูต(ในฮ่องกง) ของประเทศที่จะได้รับผลกระทบกำลังเจรจาต่อรองกับรัฐบาลฮ่องกงเพื่อผ่อนปรนกฎระเบียบดังกล่าว
2. ภายใต้ความตกลง CEPA ไทยมีโอกาสที่ดีในการลงทุนโดยการเป็นหุ้นส่วนกับฮ่องกง ในการผลิตสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงจากจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าอัญมณี และนาฬิกาข้อมือ ส่วนการค้าบริการ การแสวงประโยชน์ของไทยจาก CEPA ระหว่างจีนกับฮ่องกงน่าจะกระทำได้โดยการเข้าไปร่วมทุนกับนิติบุคคลในฮ่องกงที่เข้าข่ายสาขาที่น่าสนใจสำหรับไทย ได้แก่ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและภัตตาคาร ซึ่ง CEPA ได้ให้สิทธิแก่ฮ่องกงในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในจีนอย่างยืดหยุ่น
ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ของไทยต่อฮ่องกง
- ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย ในปี 2551(ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่าการส่งออก 6,009.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนร้อยละ 5.77 และ มีอัตราการส่งออกขยายตัวมากกว่า ร้อยละ 40.12
- มูลค่าการค้ารวมของฮ่องกง 712,247 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 9.8 มีจีนเป็นคู่ค้าหลักในอัตราร้อยละ 47.5
- มูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของฮ่องกงจะถูก Re-export ไปประเทศที่ 3 กว่าร้อยละ 85 โดยส่งออกต่อไปจีน (ร้อยละ 49) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 12) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 4.4) ไต้หวัน (ร้อยละ 1.9) และสิงค์โปร์ (ร้อยละ 2)
แผนเร่งด่วนระยะสั้น
- การส่งออกเจาะตลาดเชิงรุกโดยใช้ฮ่องกงเป็นประตูการค้าเข้าสู่จีนและออกจากจีน เนื่องจากการ Re-export ออกไปสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลง แต่การค้ากับจีนยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่อง ดังนั้น ควรใช้จีนเป็นตลาดรองรับกับมูลค่าการส่งออกที่หายไปของสหรัฐฯ เจาะกลุ่มผู้ซื้อที่เป็น Regional Buying Office ของฮ่องกง ที่มีเครือข่ายในจีนและประเทศอื่นๆ
- สนับสนุนให้ผู้ส่งออกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าสำหรับสินค้าหลักของไทยในฮ่องกงและมาเก๊าเพิ่มขึ้น ซึ่งมีโอกาสได้พบผู้นำเข้า (Buyer) ที่มีศักยภาพและมีอำนาจสั่งซื้อทันที
- ผู้ส่งออกสินค้าและสินค้าบริการควรใช้โอกาสการขยายตัวของมาเก๊าที่กำลังมีการก่อสร้าง โรงแรมและคาสิโนขนาดใหญ่หลายแห่ง เจาะตลาดสินค้าอุปโภคบริโภครวมถึงสินค้าบริการจากจำนวนนักท่องเที่ยวกว่าปีละ 22 ล้านคน
แผนระยะกลางและระยะยาว
- รักษาจำนวนและเพิ่มการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่มีศักยภาพในฮ่องกงและมาเก๊า
- เพิ่มการร่วมลงทุนกับคู่ค้ารายใหญ่(Mainstream) ที่มีเครือข่าย(Networking) ในจีนให้กับนักธุรกิจ/ผู้ส่งออกไทย
- เพิ่มจำนวนร้านอาหารไทยและธุรกิจสปาในภาคบริการ รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมและส่งเสริมการขาย(Instore Promotion) ให้ต่อเนื่องเพื่อรักษาและเพิ่มมูลค่าการส่งออก
- แก้ปัญหาและปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าไม่ให้กระทบมูลค่าการส่งออกของไทย
- สำรวจตลาด จัดทำรายงานความเคลื่อนไหวตลาด ข้อมูลประกอบ กฎระเบียบและพิธีการศุลกากร เผยแพร่กับภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายการส่งออก
ประมาณการณ์การส่งออกไทยมายังฮ่องกง ในปี 2551 คาดว่ามี มูลค่า 9,439 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และคาดการณ์ในปี 2552 การส่งออกไทยมาฮ่องกงขยายตัว 10% มูลค่ารวม 10,383 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าสินค้าส่งออกหลัก สินค้าส่งออกหลัก สินค้าอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อัญมณีเครื่องประดับ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ ไฟฟ้า ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก หนังอัด เคมีภัณฑ์ เลนส์ เหล็ก และผลไม้ โดยสินค้าที่มีศักยภาพของไทย ได้แก่ ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ ผลไม้สด ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง กุ้ง ไข่ไก่
แผนงาน/โครงการ ปี 2552
Code Description Duration Location
457 Hong Kong Electronic Fair, Hong Kong 13 Oct 08-16 Oct 08 Hong Kong Convention and Exhibition Centre.
756 Mega Show Part I, Hong Kong, 20 Oct 08-23 Oct 08 HKCEC, Hong Kong
301 Cosmoprof Asia, Hong Kong 12 Nov 08—14 Nov 08 HKCEC, Hong Kong.
760 Hong Kong Toys & Games Fair 7 Jan 09—10 Jan 09 HKCEC, Hong Kong.
761 Hong Kong Int’l Stationery Fair 7 Jan 09—10 Jan 09 HKCEC, Hong Kong.
347 APLF(Part I—Fashion Access),Hong Kong 31 Mar 09— 2 Apr 09 HKCEC, Hong Kong.
Instore Promotion
778 โครงการเทศกาลไทยร่วมกับห้าง Jusco 1 May 09—30 May 09 Hong Kong.
และ City Super
การจัดคณะผู้แทนการค้าระดับสูงไปเจรจา
การค้าในต่างประเทศ
50 - คณะผู้แทนการค้าระดับสูงเดินทางเยือน 1 Jul 09—31 Aug 09 China Hong Kong.
ภูมิภาคจีน(3 คณะ)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง
Upload Date : กรกฎาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ