กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
Operation of Restaurant Business Regulation of the Governor of Province of Capital and Special Region of Jakarta No.20/2006 dated February 16,2006
สรุปสาระสำคัญของกฎระเบียบ
มาตรา 2
ทุนของร้านอาหารเป็นได้ดังนี้
1. บุคคลชาวอินโดนีเซียเป็นเจ้าของทุนทั้งหมด
2. เป็นการร่วมทุนระหว่างบุคคลชาวอินโดนีเซียและชาวต่างชาติ
3. บุคคลต่างชาติเป็นเจ้าของทุนทั้งหมด
มาตรา 3
รูปแบบของธุรกิจร้านอาหารที่สามารถดำเนินการได้ ตามความหมายของมาตรา 2 เป็นดังนี้
2. หากเป็นการร่วมทุนระหว่างบุคคลชาวอินโดนีเซียและชาวต่างชาติ ธุรกิจร้านอาหารจะต้องอยู่ในรูปของบริษัทจำกัดความรับผิด (limited liability company)
3. หากบุคคลต่างชาติเป็นเจ้าของทุนทั้งหมด ธุรกิจร้านอาหารจะต้องอยู่ในรูปของบริษัทจำกัดความรับผิด (limited liability company) ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 4
1. ธุรกิจร้านอาหารจะต้องดำเนินการอยู่ในอาคารที่ได้รับการอนุญาตสำหรับอาคารแล้ว (IMB) และจะต้องอยู่ในย่านธุรกิจ สำนักงาน หรือร้านค้า (shop house) หรือสำนักงานที่เป็นบ้าน (home office)
2. อาคารในวรรค 1 ต้องประกอบด้วย ครัว หรือ ห้องเก็บอาหาร ห้องทานข้าว ห้องควบคุม/บริหาร และห้องสุขา
มาตรา 6 (แรงงาน)
1. ทุกร้านอาหารจะต้องให้ความสำคัญในการจ้างงานกับชาวอินโดนีเซียก่อน (prioritise)
2. พนักงานตามวรรค 1 จะต้องมีทักษะแรงงานตามชนิดและระดับของงานที่กำหนดโดย Tourism Agency เกี่ยวกับมาตรฐานฝีมือแรงงาน
3. ร้านอาหารอาจจ้างงานชาวต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตทำงาน (work permit) จากกระทรวงแรงงานและหรือตัวแทนแรงงาน (Labour Agency)
มาตรา 7 (ระยะเวลาดำเนินการ)
ธุรกิจร้านอาหารอาจดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยต้องเป็นไปตามชั่วโมงการจ้างงานตามกฎหมายแรงงาน
มาตรา 8 (การจัดกลุ่มร้านอาหาร)
1. การจัดกลุ่มหรือชั้นของร้านอาหารจะพิจารณาจากมูลค่าการลงทุน หรือเครือข่ายธุรกิจ หรือเครือข่ายการตลาด หรือศักยภาพในการบริการผู้มาเยือน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกและสินค้าของร้าน
2. การจัดกลุ่มร้านอาหารตามวรรค 1 รวมถึง
a. Class A ซึ่งมี
1) มูลค่าการลงทุนทั้งหมดเกินกว่า 1,500 ล้านรูเปีย หรือ
2) ธุรกิจแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ หรือ
3) เครือข่ายการตลาดระหว่างประเทศ หรือ
4) มีศักยภาพรับลูกค้าเท่ากับหรือมากกว่า 51 ที่นั่ง หรือ
5) มีสิ่งอำนวยความสะดวกกับสินค้าและบริการมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป
b. Class B ซึ่งมี
1) มูลค่าการลงทุนทั้งหมดอยู่ระหว่าง 500 ล้านรูเปียถึง 1,500 ล้านรูเปีย หรือ
2) ธุรกิจแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ หรือ
3) เครือจ่ายการตลาดระหว่างประเทศ หรือ
4) มีศักยภาพรับลูกค้าตั้งแต่ 21 — 50 ที่นั่ง หรือ
5) มีสิ่งอำนวยความสะดวกกับสินค้าและบริการมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป
c. Class B ซึ่งมี
1) มูลค่าการลงทุนทั้งหมดต่ำกว่า 500 ล้านรูเปีย หรือ
2) ไม่ใช่เครือข่ายธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ
3) เป็นธุรกิจเดี่ยว (Single business entity) หรือ
4) มีศักยภาพในการรับลูกค้า 20 ที่นั่ง
มาตรา 10 (หน้าที่)
1. ธุรกิจร้านอาหารจะต้อง
a. ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องอนามัยและสุขอนามัย
b. ปฏิบัติตามบทบัญญัติความตกลงแรงงาน ความปลอดภัยและสุขภาพ รวมทั้งประกันสังคมให้แก่พนักงานตามกฎหมายแรงงาน
c. พัฒนาคุณภาพพนังงานอย่างต่อเนื่อง
d. รับประกันและรับผิดชอบต่อความมั่นคง ปลอดภัย ความเป็นระเบียบและความสะดวกสบายของลูกค้า
e. รักษาความสะอาด สวยงาม และสุขลักษณะของสถานประกอบธุรกิจ และพัฒนาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
f. ประสานความกลมกลืนกับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ
g. ป้องกันผลกระทบทางสังคมที่เป็นอันตรายต่อสังคม
h. ให้โอกาสแก่พนักงานในการประกอบศาสนกิจตามศาสนาที่เขานับถือ
i. ชำระค่าภาษีร้านอาหารตามกฎหมาย
j. ทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ
2. ร้านอาหารจะต้องจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอิสลาม จะต้องได้รับเครื่องหมายรับรองตรา Halal โดยหน่วยงานผู้มีอำนาจ และเครื่องหมาย Halal จะต้องติดไว้ในที่ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นได้
3. ผู้ประกอบกิจการร้านอาหารจะต้องได้รับใบอนุญาตด้านสุขลักษณะจากหน่วยงานผู้มีอำนาจ และจะต้องติดไว้ในที่ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นได้
มาตรา 11
ร้านอาหารจะต้องไม่
a. ใช้สถานที่ในร้านอาหารทำบ่อนพนัน กระทำการผิดศีลธรรม จำหน่ายยาเสพติด ทำผิดกฎหมายอาชญากรรม หรือละเมิดกฎหมาย
b. จ้างพนักงานต่ำกว่าอายุที่กฎหมายกำหนด
c. จ้างพนักงานต่างประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาต
d. ใช้สถานที่ในร้านอาหารประกอบการอย่างอื่นที่ไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
e. ให้ลูกค้าทำผิดกฎหมายในร้านอาหาร
มาตรา 14 (ใบอนุญาตประกอบธุรกิจร้านอาหาร)
1. ธุรกิจร้านอาหารจะต้องได้รับ ITUP จาก Head of Tourism Agency
2. ITUP จะต้องมีอายุตลอดช่วงเวลาที่ประกอบธุรกิจ
3. ในการขอรับใบอนุญาติ ITUP เจ้าของธุรกิจร้านอาหารหรือผู้แทนที่รับผิดชอบจะต้องยื่นใบสมัครต่อ Head of Tourism Agency หรือ Head of the Tourism Sub Agency พร้อมกับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่กำหนด
มาตรา 16
1. ITUP จะต้องลงทะเบียนต่ออายุทุกปี
มาตรา 19
1. ISUP จะถูกเพิกถอนหากผู้ได้รับใบอนุญาตกระทำการละเมิดในรูปแบบของ
a. โอนสิทธิใน ISUP ให้แก่บุคคลอื่น และ/หรือ
b. ใช้ ISUP ผิดไปจากที่กำหนดไว้
c. มีภาษีร้านอาหารค้างในปีนี้หรือปีก่อนหน้าในจำนวนที่สูง
มาตรา 21
1. เจ้าของธุรกิจร้านอาหารจะต้องยื่นรายงานประจำปี (ม.ค. — ธ.ค.) เป็นลายลักษณ์อักษร ภายในเดือนเมษายนของปีถัดไป โดยยื่นแก่ Head of Tourism Agency หรือ Head of Tourism Sub Agency
2. รายงาน (Operational report) คือสิ่งที่ใช้ประเมินผลโดย Tourism Agency หรือ Tourism Sub Agency
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา
ที่มา: http://www.depthai.go.th