สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สิงคโปร์ ปี 2551 (ม.ค-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 4, 2008 16:34 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Singapore
พื้นที่ : 682.3 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : English
ประชากร : 3.6 ล้านคน (mid-2006)
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์ สิงคโปร์ = 23.862 บาท (02/09/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 7.70 4.80
Consumer price inflation (av; %) 1.80 2.40
Budget balance (% of GDP) 0.30 0.10
Current-account balance (% of GDP) 24.50 21.20
Commercial banks' prime rate (av; %) 5.30 5.50
Exchange rate D:US$ (av) 1.51 1.46
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสิงค์โปร์
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 4,956.16 100.00 24.28
สินค้าเกษตรกรรม 220.66 4.45 56.90
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 111.68 2.25 6.78
สินค้าอุตสาหกรรม 3,369.84 67.99 14.11
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,253.91 25.30 69.15
สินค้าอื่นๆ 0.06 0.00 -99.87
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสิงค์โปร์
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 3,606.15 100.00 21.31
สินค้าเชื้อเพลิง 363.31 10.08 -8.07
สินค้าทุน 963.75 26.75 16.94
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 2,024.39 56.18 32.11
สินค้าบริโภค 242.71 6.74 22.10
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 8.89 0.25 -4.47
สินค้าอื่นๆ 0.10 0.00 -99.03
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สิงค์โปร์
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 6,958.16 8,559.30 23.01
การนำเข้า 2,970.25 3,603.15 21.31
การส่งออก 3,987.90 4,956.16 24.28
ดุลการค้า 1,017.65 1,353.01 32.95
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดสิงค์โปร์ เป็นอันดับที่ 6 มูลค่า 3,603.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.31 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 3,603.15 100.00 21.31
1. เคมีภัณฑ์ 675.04 18.73 18.39
2. แผงวงจรไฟฟ้า 428.22 11.88 25.44
3. สื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง 382.98 10.63 60.13
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 337.29 9.36 6.90
5. น้ำมันสำเร็จรูป 313.88 8.71 2.42
อื่น ๆ 161.07 4.47 27.93
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดสิงค์โปร์ เป็นอันดับที่ 6 มูลค่า 4,956.16 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.28 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 4,956.16 100.00 24.28
1. น้ำมันสำเร็จรูป 956.90 19.31 74.92
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 562.81 11.36 -9.85
3. เครื่องจักรกลและส่วนฯ 394.94 7.97 122.44
4. แผงวงจรไฟฟ้า 324.16 6.54 -13.37
5. ส่วนประกอบอากาศยานฯ 247.62 5.00 -28.82
อื่น ๆ 1,066.84 21.53 29.43
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสิงค์โปร์ ปี 2551 (มค.-มิย.) ได้แก่
น้ำมันสำเร็จรูป :
สิงค์โปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-22.32%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.82, 39.28, 74.92 ตามลำดับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ :
สิงค์โปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 และ 2551 (มค.-มิย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (-26.08 และ -9.85 ) ในขณะที่ปี 2548 2549 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.28, 2.66 ตามลำดับ
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบฯ :
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี 38.2, 30.98, 526.54, 122.44 ตามลำดับ
แผงวงจรไฟฟ้า :
สิงค์โปร์ เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 13.37 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ส่วนประกอบอากาศยานฯ :
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2551 (มค.-มิย.) เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-28.82% ) ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.59, 18.58, 26.73
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสิงค์โปร์ ปี 2551 (มค.-มิย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 30 มีรวม 10 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า %
ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการขยายตัว
1. น้ำมันสำเร็จรูป 956.90 74.92
3.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 394.94 122.44
7. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 175.58 84.75
10. เครื่องปรับอากาศฯ 102.66 44.26
11. ข้าว 101.56 102.65
13. อัญมณีและเครื่องประดับ 67.85 147.89
18. ผลิตภัณฑ์ยาง 43.54 31.23
21. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 29.82 33.45
23. เครื่องทำสำเนา 27.93 36.51
24. แก้วและกระจก 26.99 40.81
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสิงค์โปร์ ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 5 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 562.81 -9.85
4.แผงวงจรไฟฟ้า 324.16 -13.37
5. ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์ฯ 247.62 -28.82
8.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 125.58 -0.24
15.เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ฯ 57.15 -19.77
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
ยอดการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ในเดือนก.ค. 2551 ตกลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี เนื่องจากบริษัทยาและปิโตรเคมีได้ลดผลผลิตลง ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมากขึ้น โดยภาคการผลิตซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ ตกลง 21.9% จากระดับปีที่แล้ว หลังจากที่ขยายตัวขึ้น 2.4% เมื่อเดือนมิ.ย. แนวโน้มการขยายตัวย่ำแย่ลง เนื่องจากการส่งออกที่ซบเซา และการผลิตก็เช่นกัน การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่สุดของเอเชียกำลังส่งผลกระทบต่อการขยายตัวในภูมิภาค ขณะที่ยอดสั่งซื้อยา เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอื่นๆอ่อนตัวลง ซึ่งเดือนนี้สิงคโปร์ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการส่งออกปีนี้ลง เนื่องจากสินค้าและบริการต่างๆอ่อนตัวลง
ผู้ประกอบการ SME ไทยประสบปัญหาหนักหลังผลิตภัณฑ์บิสกิต ในตลาดสิงคโปร์ถูกผู้ผลิตขนมบิสกิตรายใหญ่ จากอเมริกา ยุโรป ย้ายฐานมาทำการผลิตในประเทศมาเลเซีย จีน และอินโดนีเซีย เพื่อลดต้นทุนด้านการผลิต และขนส่งป้อนสินค้าเข้าตลาดสิงคโปร์และประเทศใกล้เคียง โดยภาพลักษณ์ตราสินค้าผู้ผลิตเอเชียถูกผู้บริโภคสิงคโปร์มองด้อยคุณภาพ ทำให้การเข้าสู่ตลาดสิงคโปร์ของผู้ประกอบการรายใหม่ทำได้ยาก ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรพัฒนาสินค้าสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ปรับปรุงแพ็กเกจจิ้งให้ทันสมัย สะดวกต่อการบริโภคปรับปรุงภาพลักษณ์สินค้าสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและความปลอดภัย
ปีนี้นับเป็นโอกาสของเกษตรกรชาวสวนลำใย ที่ราคาขายสูงกว่าปีก่อนกว่าเท่าตัว อยู่ที่กิโลกรัมละกว่า 30 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตลำใยในประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามมีจำนวนน้อยผลพลอยได้จึงตกมายังประเทศไทย ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าผลผลิตลำใยอาจล้นตลาด สุดท้ายจะนำไปสู่ปัญหาราคาลำใยที่ลดต่ำลงอีกครั้ง ดังนั้น จึงมีความร่วมมือทั้งจากรัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยการหาตลาดใหม่ ซึ่งสำนักงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตร ม.แม้โจ้ ร่วมมือกับสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน(GTZ) มองไปยังประเทศอินเดียและจีน โดยตลาดอินเดียเป็นตลาดใหญ่และมีโอกาสเป็นตลาดใหม่ของลำใยไทย เพราะชาวอินเดียนิยมผลไม้ที่มีรสหวาน ขณะที่จีนเชื่อว่า ลำใยเป็นดวงตามังกร ทานแล้วเป็นมงคล นอกจากนี้ยังมีตลาดอินโดนีเซีย ยุโรปอีกด้วย อีกตลาดหนึ่งที่มีทิศทางสดใสไม่แพ้กันคือ สิงคโปร์ ให้ความสนใจในลำใยอินทรีย์ (ปลอดสารเคมี) และแปรรูปในผลิตภัณฑ์ ลำใยอบแห้ง ซึ่งจะเป็นทางรอดของชาวสวนลำใย เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างมั่นคงและสูงกว่าราคาลำใยทั่วไปกว่าเท่าตัว
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ