สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย — สหราชอาณาจักร ปี 2551 (ม.ค-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 4, 2008 11:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : London
พื้นที่ : 244,100 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : English
ประชากร : 60.6 ล้านคน (2006)
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 GBP = 67.18 บาท (22/07/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 3.0 1.7
Consumer price inflation (av, %; EU harmonised 2.3 3.4
measure)
Current-account balance (% of GDP) -4.2 -4.1
Exchange rate US$: (av) 2.0 1.96
Exchange rate :E (av) 0.68 0.79
Exchange rate US$:E (av) 1.37 1.55
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหราชอาณาจักร
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 1,825.78 100.00 6.38
สินค้าเกษตรกรรม 290.44 15.91 47.56
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 153.53 8.41 12.56
สินค้าอุตสาหกรรม 1,311.89 71.85 -1.58
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 69.92 3.83 1,678.06
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหราชอาณาจักร
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 700.84 100.00 26.48
สินค้าเชื้อเพลิง 1.09 0.18 41.79
สินค้าทุน 260.63 39.60 34.69
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 269.17 35.82 17.97
สินค้าบริโภค 134.26 20.88 37.82
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 24.09 3.51 29.15
สินค้าอื่นๆ 11.59 0.02 -98.81
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหราชอาณาจักร
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 2,417.20 2,712.19 12.20
การนำเข้า 1,716.36 1,825.78 6.38
การส่งออก 700.84 886.41 26.48
ดุลการค้า 1,015.52 939.37 -7.50
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดสหราชอาณาจักร เป็นอันดับที่ 24 มูลค่า 886.41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.48 สัดส่วนร้อยละ 1 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 886.41 100.00 26.48
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 102.38 19.25 102.38
เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา 62.54 8.47 62.54
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1,000.09 7.26 1,000.09
เคมีภัณฑ์ 55.91 6.63 55.91
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 71.09 4.93 71.09
อื่น ๆ 473.83 53.46 -5.47
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดสหราชอาณาจักร เป็นอันดับที่ 11 มูลค่า 1,825.78 .ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.38 สัดส่วนร้อยละ 2.09 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,825.78 100 6.38
ไก่แปรรูป 200.26 10.97 51.8
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 154.94 8.49 -25.86
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 117.28 6.42 -27.63
อัญมณีและเครื่องประดับ 115.53 6.33 35.96
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 82.43 4.51 -1.9
อื่น ๆ 1,155.34 63.28 10.62
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหราชอาณาจักร ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) ได้แก่
ไก่แปรรูป : สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 โดยมีมูลค่าและสัดส่วน
การส่งออกโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2549 ทั้งนี้เนื่องจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่ง
สำคัญในการส่งออกไก่แปรรูปของไทย ประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์
สุขอนามัยและการตรวจพบสารตกค้างในผลิตภัณฑ์
รถยนต์และอุปกรณ์ฯ :
ส่งออกไปตลาดสหราชอาณาจักรเป็นอันดับที่ 9 โดยปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย) มีอัตราการขยายตัวลดลง 25.86 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ :
มูลค่าการส่งออกตั้งแต่ปี 2547 — 2549 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กลับมีอัตราการขยายตัวลดลงในปี 25550 และคาดว่าจะลดลงอีกในปี 2551 ซึ่งในขณะนี้มุลค่าการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปีมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 27.63 เมื่อเทียบกับช่องเดียวกันของปีที่แล้ว
อัญมณีและเครื่องประดับ :
การส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 จนถึง
ปัจจุบัน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว %
ล้านเหรียญสหรัฐ
เพชร 0.14 126.18
พลอย 5.34 5.37
ไข่มุก 0.30 102.44
เครื่องประดับแท้ 102.23 34.24
เครื่องประดับอัญมณีเทียม 3.07 34.06
อัญมณีสังเคราะห์ 0.09 859.36
= อัตราการขยายตัวสูงกว่า 100%
เสื้อผ้าสำเร็จรูป :
สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปอันดับ 3 ของไทยรองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น (4.69%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 15.80 6.45 และ 1.90 ตามลำดับ
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 50 รวม 6 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ
ล้านเหรียญสหรัฐ % ในช่วงครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มว่าไทยจะส่งออก
1. ไก่แปรรูป 200.26 51.80 ไก่แปรรูปไปตลาดสหภาพยุโรปเต็มตาม
8. น้ำมันสำเร็จรูป 69.87 3,942.90 โควตา และต้องเสียภาษีในอัตรานอกโควตา
9. เครื่องจักรกลฯ 59.80 57.04 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูงมาก ดังนั้น มีแนวโน้มว่าในช่วง
11. รถจักรยานยนต์ฯ 52.89 81.31 ครึ่งหลังปี"52 การส่งออกไก่แปรรูปไปยังตลาด
16. ข้าว 31.37 131.24 สหภาพยุโรปจะชะลอตัว
22. เลนส์ 19.33 54.80
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 9 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
2. รถยนต์ อุปกรณ์ ฯ 154.94 -25.86
3. เครื่องคอมพิวเตอร์ 117.28 -27.63
5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 82.43 -1.90
13.รถจักรยานยนต์ฯ 36.02 -0.38
17.รองเท้า ชิ้นส่วนฯ 27.86 -26.8
18.เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ 27.66 -20.16
20.เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารฯ 24.27 -2.98
21.เหล็ก เหล็กกล้า 21.76 -17.96
25.ไม้และผลิตภัณฑ์ 17.40 -10.70
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตสินเชื่อในสหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2550 เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนได้รับผลกระทบ ไม่เว้นแม้กระทั่งสหราชอาณาจักร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะถดถอยค่อนข้างชัดเจนจากปัญหารุมเร้าหลายด้าน โดยจะเห็นได้จากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาภาคอสังหาริมทรัพย์ส่อแววชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ตลาดการเงินขาดสภาพคล่องและเกิดปัญหาสินเชื่อตึงตัว และเป็นที่หลีกเลี่ยงมิได้ว่า เมื่อเกิดปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์จึงส่งผลกระทบต่อตลาดเงิน ซึ่งปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อตลาดเงินเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคด้วย นั่นคือ ปัญหาเริ่มลุกลามไปถึงภาคครัวเรือนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ เนื่องจากการใช้จ่ายของประชาชนมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติทีเดียว ด้วยเหตุนี้ ข้อพึงระวังในการส่งออกสินค้าไทย คือผู้ประกอบการไทยควรจับตามองเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิด เนื่องจากประเทศดังกล่าวเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยในสหภาพยุโรปรองจากเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรต้องเผชิญกับภาวะถดถอยดังเช่นหลายฝ่ายคาดการณ์ ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อรุมเร้า มีความเป็นไปได้สูงที่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนจะเพิ่มความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงความต้องการนำเข้าสินค้าที่จะชะลอลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องเตรียมปรับกลยุทธ์ในการส่งออกเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว
สินค้าไทยที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงในลำดับต้นๆ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องตกแต่งบ้าน ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องใช้ในครัวเรือน ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 ของไทย รองจากญี่ปุ่นและสหรัฐฯ
นอกจากนี้ กลุ่มสินค้าอุปโภค โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย คาดว่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากการที่ผู้บริโภคมีรายได้เท่าเดิมท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ย่อมส่งผลให้ความมั่งคั่งของผู้บริโภคลดลงและกระทบต่อความต้องการจับจ่ายใช้สอยในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันหากสถานการณ์เศรษฐกิจ
เลวร้ายลงกว่าเดิมก็อาจส่งผลกระทบไม่เว้นแม้กระทั่งการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าจำเป็น เช่น อาหาร ทั้งอาหารสำเร็จรูปและวัตถุดิบเพื่อใช้ประกอบอาหาร โดยเฉพาะเพื่อรองรับความต้องการของร้านอาหารไทยในสหราชอาณาจักร ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเกือบ 1,700 ร้าน รวมถึงร้านค้า/ซูเปอร์มาร์เก็ตที่จำหน่ายอาหารไทยอีกมากพอสมควร ดังนั้น หากผู้บริโภคชาวอังกฤษมีแนวโน้มลดการใช้จ่ายเนื่องจากประสบปัญหาทางการเงิน ย่อมส่งผลต่อการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ รวมถึงสินค้าไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เหตุที่ผู้นำเข้าสินค้าไทยในตลาดสหราชอาณาจักร ซึ่งเคยหันไปซื้อสินค้าราคาถูกจากประเทศคู่แข่งของไทย หวนกลับมาประทับใจสินค้าของไทยเหมือนเดิม นั้น เป็นเพราะ สินค้าไทยมีคุณภาพดีกว่า และผู้ส่งออกไทยมีความเป็นมืออาชีพ ส่งมอบงานตรงเวลา อย่างไรก็ตาม แม้กรณีนี้
จะพิสูจน์ถึงคุณภาพที่ดีของสินค้าไทย แต่ผู้ส่งออกไทยคงต้องพัฒนาคุณภาพและรูปแบบอย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะผู้บริโภคชาวอังกฤษต้องการสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอาหาร แฟชั่น อัญมณี หรืออื่นๆ และอีกสิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้สำหรับนักธุรกิจที่สนใจตลาดสหราชอาณาจักร นั่น คือ ความซื่อสัตย์ และการตรงต่อเวลา ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของผู้ส่งออกไทยที่ผู้นำเข้าในสหราชอาณาจักรยอมรับ
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ