สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย — ฮ่องกง ปี 2551 (ม.ค-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 4, 2008 12:13 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
พื้นที่ : 1,098 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : English & Chinese (Mainly Cantonese)
ประชากร : 6,921,700 คน (mid 2007)
อัตราแลกเปลี่ยน : HKD 1 : 4.37 บาท (19/08/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 6.4 4.4
Consumer price inflation (av; %) 2.0 5.4
Budget balance (% of GDP) 6.7 2.7
Current-account balance (% of GDP) 13.5 8.6
Commercial banks' prime rate (av; %) 7.6 5.6
Exchange rate HK$:US$ (av) 7.8 7.8
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับฮ่องกง
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 5,102.72 100.00 39.87
สินค้าเกษตรกรรม 246.61 4.83 23.69
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 72.09 1.41 16.09
สินค้าอุตสาหกรรม 4,663.05 91.38 43.24
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 120.98 2.37 6,704.45
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.00 -100.00
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับฮ่องกง
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 953.40 100.00 38.51
สินค้าเชื้อเพลิง 0.40 0.04 253.37
สินค้าทุน 250.02 26.22 43.26
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 587.57 61.63 46.41
สินค้าบริโภค 113.42 11.90 4.95
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 2.00 0.21 -40.26
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -99.79
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ฮ่องกง
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 4,336.48 6,056.12 39.66
การนำเข้า 688.31 953.40 38.51
การส่งออก 3,648.17 51,102.72 39.87
ดุลการค้า 2,959.86 4,149.32 40.19
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดฮ่องกง มูลค่า 953.40 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.51 สัดส่วนร้อยละ 1.08 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 953.40 100.00 38.51
เครื่องเพชรพลอย อัญมณีฯ 351.86 36.91 231.85
เครื่องจักรไฟฟ้าฯ 125.22 13.13 66.15
เครื่องคอมพิวเตอร์ 79.26 8.31 20.79
ผ้าผืน 50.91 5.34 -8.57
เครื่องจักรกลฯ 32.53 3.41 38.66
อื่น ๆ 33.56 3.52 -9.97
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดฮ่องกง เป็นอันดับที่ 5 มูลค่า 5,102.72 .ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.87 สัดส่วนร้อยละ 5.85 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 5,102.72 100.00 39.87
เครื่องคอมฯ 952.93 18.68 36.95
อัญมณีและเครื่องประดับ 758.36 14.86 279.85
แผงวงจรไฟฟ้า 619.29 12.14 14.15
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 569.51 11.16 375.00
เม็ดพลาสติก 355.86 6.97 4.22
อื่น ๆ 638.05 12.50 -11.53
4. ข้อสังเกต
4.1 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฮ่องกง ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่า ร้อยละ 100 รวม 2 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
2. อัญมณีและเครื่องประดับ 758.36 279.85
7. น้ำมันสำเร็จรูป 118.98 51,555.18
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฮ่องกง ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 7 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
10. เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ฯ 81.64 -20.42
11.หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก 61.48 -24.31
12.มอเตอร์และเครื่องกำเนิด ไฟฟ้า 60.34 -3.59
15.เคมีภัณฑ์ 51.32 -2.43
16.เลนซ์ 50.52 -7.89
20.เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 39.59 -17.13
24.เครื่องทำสำเนา 34.83 -11.45
4.3 ข้อมูลเพิ่มเติม
ปัจจุบันเศรษฐกิจของฮ่องกงยังต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศอยู่ค่อนข้างมาก ด้วยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงถึงร้อยละ 340 ของจีดีพี สินค้านำเข้าและส่งออกของฮ่องกงไม่น้อยกว่าร้อย 30 เป็นสินค้า ที่ค้าระหว่างจีนและประเทศที่สาม โดยอาศัยฮ่องกงเป็นช่องทางผ่านด่านสินค้า อย่างไรก็ตาม ในปี 2551 เศรษฐกิจฮ่องกงยังคงเผชิญกับความเสี่ยงนานัปการจากปัจจัยภายนอก เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฮ่องกง ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพของสหรัฐ ปัญหาความผันผวนของตลาดหุ้น และการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ รวมถึงการที่รัฐบาลจีนมีการดำเนินนโยบายให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศลดการปล่อยสินเชื่อเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจของฮ่องกง ซึ่งปัจจัยด้านลบเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยไปฮ่องกงในปี 2551 และการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงอีกด้วย
ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้นเป็นปัจจัยที่กดดันอุปสงค์การส่งออกสินค้าจากจีนไปยังฮ่องกง ประกอบกับ ภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและบรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นที่ซบเซายังเป็นปัจจัยที่ฉุดรั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภค เป็นเหตุให้เศรษฐกิจฮ่องกงมีแนวโน้มชะลอตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี เนื่องจากการส่งออกและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลง โดยภาครัฐบาลคาดการณ์ว่าปี 2551 เศรษฐกิจฮ่องกงอาจชะลอตัวลงมาอยู่ระหว่าง 4-5% จากระดับ 6.4%
ฮ่องกงปรับโฉมตัวเองอีกครั้ง โดยการลงทุนติดตั้งฮอตสปอตไว-ไฟ ทั่วทั้งเกาะ เพื่อเสริมจุดเด่นให้แก่ตนเอง ซึ่งสำนักข่าวชินหัวรายงานว่า หลังจากรัฐบาล The Hong Kong Special Administrative Region (HKSAR) อนุมัติโครงการติดตั้งฮอตสปอต ไว-ไฟ ทั่วทั้งเมืองของฮ่องกงและเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง อินเทอร์เน็ตไร้สายได้ฟรี เพื่อเป็นกลวิธีสร้างความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกของฮ่องกงให้มีภาพที่ชัดเจนขึ้น และเป็นหนึ่งในภารกิจหลัก ภายใต้กลยุทธ์ "2008 Digital 21 Strategy" เพื่อสร้างฮ่องกงเป็นอาณาจักรแห่งโลกไร้สาย โดยอนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายได้ฟรีโดยเฉพาะตามหน่วยงานของราชการกว่า 30 แห่งภายในฮ่องกง และมีแผนที่จะกระจายจุดฮอตสปอตประมาณ 2,000 จุด ให้ครอบคลุม 350 สถานที่ของภาครัฐ ตามเขตพื้นที่ต่างๆ ของฮ่องกงให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 2009 ทั้งตามห้องสมุด หน่วยงานราชการ ศูนย์จัดหางาน หน่วยบริการสอบถามข้อมูล ศูนย์กีฬา ศูนย์วัฒนธรรม และนันทนาการสวนสาธารณะและศูนย์คอมมิวนิตี้ต่างๆ
รัฐบาลฮ่องกงให้เหตุผลว่า ปัจจุบันการดำรงชีวิตของมนุษย์เกี่ยวพันกับข้อมูล ข่าวสารและเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยสร้างเศรษฐกิจและส่งเสริมขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้แก่ฮ่องกง เทคโนโลยีเคลื่อนที่แบบ ไร้สายจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นเสาหลักของอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการบริการด้านการเงินซึ่งมีการเติบโตปีละ 60% ดังนั้นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารจะต้องขยายตัวลงสู่ผู้ใช้งานระดับแมสมากขึ้นเพื่อพัฒนาบริการให้มีคุณภาพ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจะส่งผลต่อสาธารณชน ภาครัฐบาล หน่วยงานธุรกิจ อุตสาหกรรมไอซีที และเศรษฐกิจของฮ่องกงในภาพรวมทั้งหมด เพราะประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระ สามารถศึกษาหาความรู้ พักผ่อน เข้าถึงการบริการของภาครัฐได้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตาม รวมถึงองค์กรธุรกิจสามารถขยายขอบเขตการให้บริการบนแพลตฟอร์มแบบไร้สายมากขึ้นเพื่อเข้าถึงหรือติดต่อลูกค้าได้ และเพื่อพัฒนาไปสู่จุดหมายการเป็น "ฮับ" ของโลกไร้สาย รัฐบาลฮ่องกงมีแผนที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองในฮ่องกง โดยอาศัยเครือข่ายไร้สายที่สร้างขึ้นให้เป็นประโยชน์
ปัจจุบันเทคโนโลยีในฮ่องกงที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี RFID, เทคโนโลยีแสดงตำแหน่ง เช่น จีพีเอส เทคโนโลยีไร้สายและเคลื่อนที่ และ 3G, ไว-ไฟ และไว-แมกซ์ กำลังถูกพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนในฮ่องกง เช่น กรมการขนส่งของฮ่องกง มีโปรเจ็กต์เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านการขนส่ง โดยอาศัยเทคโนโลยี เครือข่ายไร้สาย เช่น 3G จีพีเอส LBS (location vase service) เพื่อสร้างความสะดวกสบายแก่นักเดินทาง เช่น สามารถตรวจตราสภาพจราจร กำหนดแผนการเดินทาง เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา หรือการท่องเที่ยวที่อาศัยระบบการขนส่งทางสาธารณะ โดยระบบจะค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดตาม ระยะทางและต้นทุนที่คุ้มค่าให้แก่ผู้โดยสาร นอกจากนี้รัฐบาลจะส่งเสริมและพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนไว-ไฟที่สอดคล้องกับ ชีวิตประจำวันของผู้โดยสารให้มีมากขึ้น เช่น โครงการ "City of Hong Kong" ที่มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นผู้เล่นในอุตสาหกรรมไอทีให้เข้ามาพัฒนาแอปพลิเคชั่นและคอนเทนต์ผ่านระบบไว-ไฟ รวมถึงสิ้นปี2551 หน่วยงานด้านโทรคมนาคมของฮ่องกงได้ประกาศแผนที่จะเปิดความถี่ broadband wireless access (BWA) เพื่อเสนอบริการบรอดแบนด์ไร้สายในตลาดให้มีมากขึ้นซึ่งจะช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกการพัฒนาชีวิตบนโลกไร้สายได้ในฮ่องกง
เอเชียนวอลสตรีทเจอร์นัล รายงานว่า ฮ่องกงเตรียมพร้อมเปิดตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า เป็นไปได้เร็วที่สุดช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 ใช้ชื่อว่าตลาด “HKMEx” (Hong Kong Mercantile Exchange) โดยสัญญาที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นจะเป็นสัญญาเพื่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงมายังแผ่นดินใหญ่ ซึ่งนอกจากการแลกเปลี่ยนซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าแล้ว ฮ่องกงยังหวังขยายการเปิดตลาดซื้อขายล่วงหน้าสู่สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นๆ อีก อาทิ ถั่วเหลือง และสินแร่เหล็ก เป็นต้น โดยฮ่องกงตั้งเป้าพัฒนาตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า เพื่อให้คนเอเชียได้ซื้อน้ำมันในราคาที่สมเหตุสมผลและสอดคล้องกับเงื่อนไขของตนเอง เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศต่างๆ ในเอเชียซื้อขายน้ำมันโดยใช้ราคาอ้างอิงจากตลาดในภูมิภาคอื่น ทำให้เอเชียต้องนำเข้าน้ำมันในราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ ทั้งนี้ฮ่องกงได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการเงินของโลก แต่ในช่วงที่ผ่านมากลับเผชิญหน้ากับความท้าทายที่สูงขึ้นจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเริ่มดึงดูดบริษัทตะวันตกแห่เข้าไปลงทุนเพิ่มมากขึ้น
ตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าฮ่องกงแห่งใหม่นั้น คาดว่าจะดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนและบริษัทจากตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้าขนาดใหญ่ในนิวยอร์กและที่อื่นๆ พร้อมทั้งพัฒนาบริการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์หลังเวลาทำการที่มีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ