สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - แอฟริกาใต้ ปี 2551 (ม.ค-ก.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 11, 2008 15:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
พื้นที่ : 1,219,090 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : English & African
ประชากร : 47.9 ล้าน คน (mid 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน : R 7.18 : US$ 1 (2007)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 5.10 3.20
Consumer price inflation (av; %) 6.50 10.30
Budget balance (% of GDP) 0.60 0.40
Current-account balance (% of GDP) -7.30 -8.00
Exchange rate R:US$ (av) 7.05 7.84
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับแอฟริกาใต้
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 986.30 100.00 46.97
สินค้าเกษตรกรรม 213.15 21.61 165.00
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 65.29 6.62 139.87
สินค้าอุตสาหกรรม 676.53 68.59 20.41
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 31.33 3.18 3,402.50
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับแอฟริกาใต้
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 371.45 100.00 9.34
สินค้าเชื้อเพลิง 1.17 0.32 33.73
สินค้าทุน 9.56 2.57 58.07
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 342.25 92.14 7.54
สินค้าบริโภค 9.20 2.48 -20.62
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 6.14 1.65 153.63
สินค้าอื่นๆ 3.14 0.84 512.66
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - แอฟริกาใต้
2550 2551 D/%
(ม.ค.-กค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 1,010.78 1,357.75 34.33
การนำเข้า 339.71 371.45 9.34
การส่งออก 671.08 986.30 46.97
ดุลการค้า 331.37 614.85 85.55
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดแอฟริกาใต้ เป็นอันดับที่ 35 มูลค่า 371.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.34 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 371.45 100.00 9.34
1. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 134.34 36.17 -24.80
2. สินแร่โลหะอื่น ๆ 99.61 26.82 154.54
3. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี 39.89 10.74 42.01
4.เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 28.85 7.77 -8.51
5.เคมีภัณฑ์ 25.88 6.97 -1.05
อื่น ๆ 23.83 6.42 37.03
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดแอฟริกาใต้ เป็นอันดับที่ 24 มูลค่า 986.30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.97 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 986.30 100.00 46.97
1. รถยนต์ อุปกรณ์ฯ 195.94 19.87 -0.56
2. ข้าว 189.44 19.21 202.12
3. อาหารทะเลกระป๋อง 51.70 5.24 158.69
4. เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ 47.04 4.77 41.68
5. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ 46.09 4.67 50.13
อื่น ๆ 281.28 28.52 38.78
4. ข้อสังเกต
4.1 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดแอฟริกาใต้ ปี 2551 (ม.ค.-ก.ค.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 100 รวม 3 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
2. ข้าว 189.44 202.12
3. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 51.70 158.69
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฮ่องกง ปี 2551 (ม.ค.-ก.ค.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 2 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
2. ข้าว 189.44 202.12
3. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 51.70 158.69
4.3 ข้อมูลเพิ่มเติม
แม้แอฟริกาใต้จะเป็นตลาดที่มีจำนวนประชากรเพียง 45 ล้านคน แต่ด้วยพื้นที่ประเทศที่มีขนาดใหญ่กว่าไทยถึง 2.5 เท่า และร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งแร่สำคัญๆ เช่น ทองคำ เพชร จนได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ผลิตทองคำรายใหญ่สุดของโลก และแหล่งแพลตตินั่มมากเป็นอันดับสองของโลก วัตถุดิบเหล่านี้จึงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมาก บวกกับความต้องการในการบริโภคสินค้าของคนในประเทศที่กำลังขยายสูง โดยเฉพาะกลุ่ม คนชั้นกลางผิวดำ(black middle class) ที่มีกำลังซื้อสูง ทำให้นักลงทุนต่างชาติจากหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในเอเชีย ให้ความสนใจ ไหลเข้าไปแข่งขันกับลงทุน โดยปัจจุบันจึงมีนักลงทุนจากเอเชีย หลายกลุ่มรุกเข้าไปลงทุนยึดหัวหาดในอาฟริกาใต้แซงหน้าไทย เช่น ตาต้ากรุ๊ปจากอินเดียเข้าไปลงทุนทั้งโรงงานผลิตรถยนต์ และโรงงานผลิตเหล็ก ขณะที่จีนเข้าไปกอบโกยและยึดครองธุรกิจ ตั้งแต่สถาบันการเงิน ไปจนถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนการลงทุนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) เช่น มาเลเซีย อาทิ กลุ่ม ปิโตรนาส เข้าไปตั้งสถานีบริการน้ำมัน และสัมปทานสร้างสนามบินรูปแบบเทิร์นคีย์ ส่วนเวียดนามก็กำลังรุกเข้าไปตั้งเทรดดิ้งเฟิร์มและดิสตริบิวชั่นด้านการค้า
แอฟริกาใต้เป็นประเทศน่าลงทุนอันดับที่ 28 ของโลก จากปัจจัยเอื้อด้านเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศที่กำลังเติบโต ขณะที่แต่ละพื้นที่ของประเทศทั้ง 9 มณรัฐ ได้แก่ ควาซูลู-นาทาล นอร์ธเทิร์นเคป, นอร์ธเทิร์นโพรวินซ์, นอร์ธ-เวสต์, อีสเทิร์นเคป, พูมาลังก้า, ฟรีสเตท, เวสเทิร์นเคป และ กัวเต็ง ต่างก็แข่งขันกันดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ(เอฟดีไอ)เข้าไป
อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนตร์ ท่องเที่ยว ก่อสร้าง เกษตรแปรรูป สิ่งทอ และโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่คาดหวังสร้างความสำเร็จในอนาคตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเรือธงที่รัฐบาลคาดหวังช่วยผลักดันเศรษฐกิจขยายตัว ช่วยสร้างงานและลดปัญหาความยากจน
อุตสาหกรรมยานยนต์ในแอฟริกาใต้ ซึ่งครอบคลุมทั้งการผลิต จัดจำหน่าย บริการหลังการขายและอะไหล่ ตัวเลขในปี 2549 มีสัดส่วนเฉลี่ยที่ 87% ของการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคแอฟริกาโดยรวม และเมื่อเทียบกับตลาดโลกแล้วยังมีสัดส่วนเพียง 0.8% เท่านั้น แต่ที่น่าสนใจอุตสาหกรรมยานยนต์นี้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศหรือมีกำลังการผลิตเฉลี่ยที่ 28% ของภาคการผลิตโดยรวมทั้งประเทศ มีการจ้างงาน 300,000 คน และสร้างรายได้ให้กับประเทศ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 7.5% ของจีดีพี(ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ)
ปัจจุบันแอฟริกาใต้มีรถยนต์จำหน่ายอยู่ทั่วประเทศรวม 36 แบรนด์ เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ที่มีประมาณ 20 แบรนด์ โดยรัฐบาลมุ่งส่งเสริมการพัฒนาฐานผลิตใน 3 มลรัฐหลักๆ คือ
มลรัฐกัวเต็ง(Gauteng) เป็นฐานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์(OEM) ให้กับค่ายรถบีเอ็มดับบลิว นิสสัน เฟียต ฟอร์ดและตาต้า มีสัดส่วนประมาณ 50% ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ มลรัฐอีสเทิร์นเคป(Eastern Cape) แหล่งใหญ่คือ พอร์ต อลิซาเบธ เป็นฐานผลิตของค่ายรถ เจเนอรัล มอเตอร์(จีเอ็ม) โฟลค์สวาเก้น และเครื่องยนต์สำหรับฟอร์ต ส่วนที่อีสต์ ลอนดอน เป็นฐานผลิตของค่ายเดมเลอร์ไครสเล่อร์ สัดส่วนประมาณ 30% ของการผลิตรวม และมลรัฐควาซูลู-นาทาล (KwaZulu-Natal) เป็นฐานผลิตค่ายโตโยต้า คิดเป็นสัดส่วน 15% นอกจากนี้ยังมีฐานผลิตที่กระจายอยู่ใน มลรัฐ นอร์ธ-เวสต์ และ เวสต์เทิร์นเคป บางส่วน รัฐบาลตั้งเป้าขยายฐานการผลิตยานยนต์ จาก 650,000 คัน ในปี 2549 เป็น 1 ล้านคันในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้น 57.7% ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก(ดูตารางประกอบ) โดยวางยุทธศาสตร์ขยายเพิ่มฐานผลิตของค่ายรถต่างๆ ขยายฐานซัพพลายเออร์ระดับโลกด้วยการร่วมทุน การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนต่ำ เทียบกับออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และบราซิล ขณะเดียวกันก็พยายามลดการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ พร้อมกันนี้รัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์(Automotive Industry Development Centre: AIDC) เพื่อประสานงานกับภาคธุรกิจ ทั้งผู้ผลิตรถยนต์ ซัพพลายเออร์ ไปจนถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมไปถึงการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร การพัฒนาซัพพลายเออร์ และซัพพลายเชน
เป้าหมายหลักๆเพื่อสร้างขีดความสามารถของ บุคลากร ธุรกิจ และอุตสาหกรรม ก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลก พร้อมๆไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น น้ำ ไฟ ระบบสื่อสาร ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน และระบบโลจิสติกส์ ที่มุ่งเน้นมาตรฐานระดับโลกแต่ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำ สำหรับการตั้งโรงงานและการขนถ่ายที่เชื่อมโยงทั้งการขนส่งทางเรือและทางอากาศ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งซึ่งในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแอฟริกาใต้ขยายตัวจาก 5 ล้านคนเป็น 8 ล้านคนและสร้างรายได้เพิ่มจาก 5% เป็น 8% ของจีดีพีประเทศ จึงคาดหวังเปิดโอกาสด้านการลงทุนโรงแรม การท่องเที่ยวแบบผจญภัย การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และรูปแบบอื่นๆ เข้าไปลงทุน ตลอดจนภาคการเกษตรที่รัฐบาลกำลังส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรปลอดสารพิษ และ biofuel เป็นต้น ทั้งนี้จุดแข็งคือ การเป็นประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำ เช่นเดียวกับ จีน และอินเดีย และยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และลาตินอเมริกา นอกจากนี้รัฐบาล กำลังเจรจาที่จะสร้างแอฟริกาใต้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับอินเดีย และบราซิล พร้อมๆไปกับการสร้างแอฟริกาใต้เป็นประตูเข้าสู่ตลาดแอฟริกา
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ