สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - อินโดนีเซีย ปี 2551 (ม.ค-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 9, 2008 16:03 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : jakarta
พื้นที่ : 5.2 ล้านตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : (Bahasa Indonesia)
ประชากร : 240 ล้านคน (mid-2006)
อัตราแลกเปลี่ยน : 1,000 รูเปียห์ = 3.443 บาท (04/09/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 6.3 5.8
Consumer price inflation (av; %) 6.3 10.3
Budget balance (% of GDP) -1.2 -2.0
Current-account balance (% of GDP) 2.5 2.8
Deposit rate ( av; %) 8.0 8.4
Exchange rate D:US$ (av) 9,141 9,196
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับอินโดนีเซีย
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 3,114.33 100.00 40.94
สินค้าเกษตรกรรม 116.98 3.76 -37.73
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 328.02 10.53 7.18
สินค้าอุตสาหกรรม 2,509.30 80.57 50.84
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 160.03 5.14 277.26
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับอินโดนีเซีย
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 2,994.21 100.00 69.56
สินค้าเชื้อเพลิง 713.47 23.83 95.98
สินค้าทุน 992.46 33.15 269.29
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 943.02 31.49 8.96
สินค้าบริโภค 169.22 5.65 21.49
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 176.04 5.88 38.60
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - อินโดนีเซีย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 3,975.46 6,108.54 53.66
การนำเข้า 1,765.82 2,994.21 69.56
การส่งออก 2,209.64 3,114.33 40.94
ดุลการค้า 443.81 120.12 -72.93
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดอินโดนีเซีย เป็นอันดับที่ 10 มูลค่า 2,994.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.56 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 2,994.21 100 .00 69.56
1. เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ 532.13 17.77 582,354
2. ถ่านหิน 426.99 14.26 144.56
3. สินแร่โลหะอื่น ๆ 336.48 11.24 14.95
4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 239.95 8.01 175.49
5. เคมีภัณฑ์ 226.67 7.57 -11.78
อื่น ๆ 207.89 6.94 18.70
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดอินโดนีเซีย เป็นอันดับที่ 8 มูลค่า 3,114.33 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.94 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 3,114.33 100.00 40.94
1. รถยนต์ อุปกรณ์ฯ 690.78 22.18 59.30
2. น้ำตาลทราย 260.38 8.36 4.67
3. เครื่องจักรกลและส่วนฯ 199.22 6.40 56.78
4. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 181.00 5.81 103.92
5. เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ 161.43 5.18 98.88
อื่น ๆ 448.38 14.40 18.98
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอินโดนีเซีย ปี 2551 (มค.-มิย.) ได้แก่
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ :
อินโดนีเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-26.62%) ในขณะที่ปี 2548, 2550, 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.72, 71.50, 59.30 ตามลำดับ
น้ำตาลทราย :
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลง -55.99 ในขณะที่ปี 2548, 2550, 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.97, 226.72, 4.67 ตามลำดับ
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบฯ :
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 46.55 3.72 80.6 56.78 ตามลำดับ
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ :
อินโดนีเซีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลง -17.11 ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50.38, 70.11, 103.92 ตามลำดับอินโดนีเซียคาดการณ์ว่า ยอดนำเข้าเหล็กกล้าจะมีการขยายตัว 66.7% แตะ 10 ล้านตัน ในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อันเป็นผลมาจากความต้องการในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และอุปสงค์จากอุตสาหกรรม ยานยนต์ การขนส่งสินค้า อิเล็กทรอนิก รวมถึงโครงการสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า 10,000 เมกะวัตต์ เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยหนุนให้ยอดนำเข้าเหล็กกล้าชนิด HS 72 และ 73 มีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ :
อินโดนีเซีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลง -32.27 ในขณะที่ปี 2548, 2550, 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.59, 55.37, 98.88 ตามลำดับ
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอินโดนีเซีย ปี 2551 (มค.-มิย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 50 มีรวม 10 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ
ล้านเหรียญสหรัฐ %
1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 690.78 59.30
3. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 199.22 56.78
4. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 181.00 103.92
5. เครื่องยนต์สันดาปฯ 161.43 98.88
7. เม็ดพลาสติก 144.66 52.94
8. น้ำมันสำเร็จรูป 117.66 2,240.45
9. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 98.03 63.46
13.ผลิตภัณฑ์ยาง 61.21 69.40
14.กระดาษและผลิตภัณฑ์ 46.38 86.46
24.ของเบ็ดเตล็ดทำด้วยโลหะ 21.74 130.14
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอินโดนีเซีย ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 2 รายการคือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
15. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 45.51 -20.11
23.ข้าว 22.36 -71.50
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
กฎระเบียบการทำธุรกิจประมงฉบับใหม่ของอินโดนีเซีย ได้ประกาศใช้ไปเมื่อต้นปี 2551 จะมุ่งเน้นการประกอบธุรกิจการทำประมงของคนหรือบริษัทอินโดนีเซีย โดยเปิดโอกาสให้นักธุรกิจอินโดนีเซียดำเนินการนำเข้าเรือประมงต่างชาติด้วยการซื้อหรือต่อใหม่มาจดทะเบียนเป็นเรือประมงอินโดนีเซีย และการลงทุนร่วมในธุรกิจประมงแบบผสมผสานกับต่างประเทศและการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการประมง อาทิ การจับปลา และการแปรรูป โดยสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศสูงถึง 80% ทั้งนี้ผลผลิตสัตว์น้ำที่จับได้ต้องนำขึ้นท่า เพื่อการแปรรูปก่อนที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ยกเว้นสัตว์น้ำบางประเภทที่สามารถส่งออกได้ทันที เช่น สัตว์น้ำมีชีวิต ทูน่าสำหรับซาซิมิ และสัตว์น้ำอื่นที่ไม่ต้องการแปรรูป อย่างไรก็ตามกฎระเบียบใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ต่อการดำเนินงานของคนชาติอินโดนีเซียเท่านั้น
โอกาสหรือข้อได้เปรียบในการลงทุนประกอบธุรกิจในอินโดนีเซียมีหลายประการด้วยกัน เริ่มตั้งแต่รัฐบาลอินโดนีเซียมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนจากต่างประเทศ โดยได้มีการออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่เมื่อปี 2550 ปรับปรุงบรรยากาศให้เอื้อต่อการลงทุนในอินโดนีเซียมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีจำนวนประชากรสูงถึงประมาณ 240 ล้านคน ถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของตลาดอาเซียนอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และสามารถนำมาใช้เป็น วัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุต่างๆ ถ่านหิน ป่าไม้ ประมง และสินค้าเกษตรต่างๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กาแฟ เป็นต้น เป็นตลาดแรงงานขนาดใหญ่ ค่าจ้างแรงงานในประเทศจึงต่ำถือเป็นข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนการประกอบธุรกิจในอินโดนีเซีย อัตราภาษีนำเข้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย เป็นไปตามอัตราภาษีของกลุ่มประเทศอาเซียน (CEPT) ซึ่งมีอัตราภาษีต่ำ อยู่ระหว่างประมาณร้อยละ 0-5 ซึ่งเป็นการส่งเสริมการค้าระหว่างกัน แต่ในขณะเดียวกัน ปัญหา/อุปสรรคก็มี ได้แก่ ระบบโครงสร้างพื้นฐานการลงทุน เช่น ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ไม่เพียงพอในบางพื้นที่ หรือมีคุณภาพไม่ดีพอ
“แบล็คแคนยอน” ร้านกาแฟแบรนด์ไทย ณ วันนี้ โกอินเตอร์ชนิดที่ว่าสามารถล้มยักษ์ร้านกาแฟระดับโลกอย่าง “สตาร์บัคส์” จากสหรัฐฯได้ขาดลอย เพราะเพียงแค่ 2 ปี ที่เข้ามาทำธุรกิจได้มีสาขาครอบคลุมทั่วอินโดนีเซียถึง 12 สาขา และเตรียมแผนเปิดเพิ่มอีก 12 สาขา ในอีก 1 ปีข้างหน้า นอกจากประสบความสำเร็จในไทยแล้ว แบล็คแคนยอนยังมีแผนจะรุกขยายในต่างประเทศ โดยจะเน้นทำตลาดในรูปของการขายแฟรนไชส์ร้านกาแฟแบล็คแคนยอน ที่ปัจจุบันมีสาขาเปิดกระจายอยู่ 27 สาขาในประเทศต่างๆ นั่นคือ สิงคโปร์ 1 สาขา, มาเลเซีย 7 สาขา, พม่า 1 สาขา, กัมพูชา 1 สาขา, อินโดนีเซีย 12 สาขา, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 5 สาขา
“เฉพาะที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งในโลก สามารถโค่นแชมป์กาแฟสัญชาติอเมริกันอย่างสตาร์บัคส์ โดยเป็นที่หนึ่งในตลาดร้านกาแฟอินโดนีเซีย ทั้งในเรื่องจำนวนสาขาและยอดขาย เนื่องจากผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียชื่นชอบในรสชาติกาแฟไทย และมองว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าคุณภาพ ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย ในอีก 12 เดือนข้างหน้าจะเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 3 สาขา สิงคโปร์อีก 1 สาขา ดูไบ 2 สาขา ส่วนตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโต และคาดว่าจะขยายเพิ่ม คือ อินเดีย จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ “อย่างไรก็ตาม ในภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาในเรื่องของเงินเฟ้อ ผู้ประกอบการที่มีความแข็ง แกร่งแข็งแรงเท่านั้นถึงจะอยู่รอด ในส่วนของบริษัทในฐานะที่เป็นแบรนด์ไทย ณ วันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด แม้ตลาดในประเทศที่ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการกระจายอยู่ทั่วประเทศ 180 สาขา และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 190 สาขา ในสิ้นปีนี้ เป็นสาขาแฟรนไชส์ 45% บริษัทลงทุนเอง 55% แต่เรายังไม่สามารถโค่นแชมป์อย่างสตาร์บัคส์ได้ ทั้งที่คุณภาพ ราคา และการบริการแข่งขันได้สบายๆ”
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ