สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - รัสเซีย ปี 2551 (ม.ค-ก.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 16, 2008 15:14 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Moscow
พื้นที่ : 17,075,200 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : รัสเซีย
ประชากร : 142.3 ล้านคน (2006) F
อัตราแลกเปลี่ยน : 1US$ = 1.354 RUB (14/09/2008) F
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 8.1 7.5
Consumer price inflation (av; %) 9.0 14.0
Budget balance (% of GDP) 5.4 4.5
Current-account balance (% of GDP) 6.1 6.2
Commercial banks' prime rate (year-end; %) 10.0 11.3
Exchange rate ฅ:US$ (av) 25.6 24.0
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับรัสเซีย
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 488.32 100.00 61.07
สินค้าเกษตรกรรม 90.73 18.58 88.61
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 90.03 18.40 23.80
สินค้าอุตสาหกรรม 307.03 62.88 69.28
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 0.52 0.11 81.56
สินค้าอื่นๆ 0.00 0.0 -100.00
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับรัสเซีย
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 1,552.12 100.00 81.89
สินค้าเชื้อเพลิง 493.95 31.82 46.81
สินค้าทุน 1.03 0.07 89.82
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 1,052.48 67.81 104.60
สินค้าบริโภค 4.01 0.26 112.96
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 0.21 0.01 151,979
สินค้าอื่นๆ 0.44 0.03 739.67
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - รัสเซีย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-กค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 1,156.52 2,040.44 76.43
การนำเข้า 853.34 1,552.12 81.89
การส่งออก 303.18 488.32 61.07
ดุลการค้า -550.16 -1,063.80 93.36
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดรัสเซีย เป็นอันดับที่ 19 มูลค่า 1,552.12 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.89 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,552.12 100.00 81.89
1. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 605.81 39.03 90.57
2. น้ำมันดิบ 332.01 21.39 -1.32
3. ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช 223.29 14.39 353.91
4. สินแร่โลหะอื่น ๆ 151.12 9.74 61.06
5. เชื้อเพลิงอื่น ๆ 145.08 9.35 0.00
อื่น ๆ 0.37 0.02 -58.04
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดรัสเซีย เป็นอันดับที่ 32 มูลค่า 488.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.07สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 488.32 100.00 61.07
1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ 88.29 18.08 78.13
2. ข้าว 54.75 11.21 234.73
3. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ 50.29 10.30 344.59
4. เตาอบไมโครเวฟฯ 32.76 6.71 97.46
5. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 31.92 6.54 27.88
อื่น ๆ 45.72 9.36 -6.60
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปรัสเซีย ปี 2551 (มค.-กค.) ได้แก่
-รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
รัสเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 22 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 106.42, 9.14, 159.61, 78.13 ตามลำดับ
- ข้าว
รัสเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 19 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2548 และ 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลง (-39.67% และ -15.82%) ในขณะที่ปี 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 149.09 และ 234.73 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
รัสเซีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 11 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 344.59 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- เตาอบไมโครเวฟฯ
รัสเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 433.86, 8,739.9, 21.26, 97.46 ตามลำดับ
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
รัสเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 72.30, 20.58, 15.39, 27.88 ตามลำดับ
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดรัสเซียปี 2551 (มค.-กค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 50 มีรวม 13 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ
ล้านเหรียญสหรัฐ %
1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ 88.29 78.13
2. ข้าว 54.75 234.73
3. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ 50.29 344.59
4. เตาอบไมโครเวฟฯ 32.76 97.46
8. อัญมณีและเครื่องประดับ 22.04 91.68
13.ผลิตภัณฑ์ยาง 8.82 50.12
14.เหล็ก เหล็กกล้าฯ 8.78 54.68
17.ยางพารา 6.52 59.98
18.เคมีภัณฑ์ 5.50 116.40
19.ตู้เย็น ตู้แช่แข็งฯ 5.47 524.49
20.ปลาแห้ง 4.55 189.54
21.ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป 3.27 77.94
22.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบฯ 3.07 51.34
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดรัสเซีย ปี 2551 (ม.ค.-กค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 3 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า %
ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการขยายตัว
1. กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง 8.27 -28.26
23. สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย 2.98 -6.07
24. เครื่องคอมพิวเตอร์ 2.76 -14.61
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
สมาคมของเล่นฯเผยตัวเลขส่งออก 5 เดือน โต 20-25% แนะเจาะตลาดใหม่อินเดีย รัสเซีย มั่นใจของเล่นที่ทำจากไม้-ช่วยเสริมพัฒนาการอนาคตไกลโดยในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาภาพรวมของการส่งออกของเล่นมีอัตราการเติบโต 20-25% ส่วนหนึ่งมาจากการปรับราคาขึ้น และการได้ตลาดใหม่ๆ เข้ามาเพิ่ม เนื่องจากข่าวสารปนเปื้อนในของเล่นจากจีนทำให้ลูกค้าต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดหลักอย่างอเมริกาและญี่ปุ่น หันมาซื้อของเล่นจากไทยมากขึ้น และคาดการณ์ว่าปีนี้ทั้งปีการส่งออกมีแนวโน้มโตขึ้น 15-20% ขณะนี้สมาคมมองว่าอัตราการบริโภคโดยรวมของตลาดโลกลดลง ทำให้ตลาดส่งออกสำคัญอย่างสหรัฐได้รับผลกระทบดังนั้นสมาคมจึงมีนนโยบายที่จะแนะนำให้สมาชิกเข้าไปทำตลาดในประเทศที่น่าสนใจ อาทิ อินเดีย รัสเซีย เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง และสินค้าเกี่ยวกับเด็กกำลังได้รับความนิยม และเชื่อว่าตลาดยังมีช่องว่างอีกมากโดยเฉพาะมีของเล่นที่ทำจากไม้ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในการหาพันธมิตรทางธุรกิจที่จะเป็นตัวแทนในการทำตลาด
ผู้ผลิต-ส่งออกข้าวโพดอ่อนกระป๋อง “แอกโกร-ออน” เดินหน้าเจาะตลาดตะวันออกกลาง — ละตินอเมริกา — เอเชีย โดยมีแผนจะขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ จากเดิมที่บริษัทส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปและสหรัฐเป็นตลาดหลัก หันไปทำตลาดตะวันออกกลาง เช่น อิหร่านและยูเออี ละตินอเมริกา เช่น เปรูและอาร์เจนตินา และยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ส่วนในเอเซียตลาดที่ยังมีศักยภาพ เช่น ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น โดยตลาดใหม่ที่มีศักยภาพมากคือ รัสเซีย ซึ่งมีเครดิตยาว ต้องรอให้สินค้าลงเรือและขนต่อขึ้นรถไฟ ไปยังเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ใช้เวลาประมาณ 40 วัน และต้องใช้ธนาคารนอกประเทศรัสเซีย ทำให้ต้องขายผ่านผู้นำเข้า ดังนั้นต้องอาศัยพาร์ตเนอร์ในต่างประเทศที่เชื่อถือได้ ที่ผ่านมาบริษัทต้องเจรจากับผู้นำเข้าเอง ตรวจสอบข้อมูลให้ดีจึงยังไม่มีการเบี้ยว
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ