สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - เนเธอร์แลนด์ ปี 2551 (ม.ค-มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 22, 2008 15:41 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Amsterdam
พื้นที่ : 41,526 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : Dutch
ประชากร : 16.34 ล้านคน (January 1st 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ยูโร = 48.1042 บาท (17/9/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 2.90 2.40
Consumer price inflation (av; %) 1.10 1.80
Budget balance (% of GDP) 1.70 1.80
Current-account balance (% of GDP) 0.60 0.60
Deposit rate ( av; %) 8.70 7.30
Exchange rate D:US$ (av) 1.26 1.36
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับเนเธอร์แลนด์
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 2,092.95 100.00 16.00
สินค้าเกษตรกรรม 268.15 12.81 99.61
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 134.10 6.41 0.86
สินค้าอุตสาหกรรม 1,678.72 80.21 10.15
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 11.98 0.57 50.09
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับเนเธอร์แลนด์
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 540.15 100.00 28.64
สินค้าเชื้อเพลิง 1.24 0.23 111.61
สินค้าทุน 11.34 17.55 -8.38
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 369.95 68.49 40.55
สินค้าบริโภค 73.85 13.67 44.99
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 0.32 0.06 45.09
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - เนเธอร์แลนด์
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 2,224.15 2,633.09 18.39
การนำเข้า 419.89 540.15 28.64
การส่งออก 1,804.26 2,092.95 16.00
ดุลการค้า 1,384.37 1,552.80 12.17
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดเนเธอร์แลนด์ เป็นอันดับที่ 28 มูลค่า 540.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.64 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน% %เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 540.15 100.00 28.64
1. แผงวงจรไฟฟ้า 109.48 20.27 15.42
2. เคมีภัณฑ์ 80.00 14.81 35.76
3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 75.71 14.02 184.01
4. เครื่องจักรกลและส่วนฯ 45.88 8.49 -20.24
5. ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม 24.57 4.55 100.13
อื่น ๆ 25.36 4.70 1.03
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดเนเธอร์แลนด์ เป็นอันดับที่ 10 มูลค่า 2,092.95 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 2,092.95 100.00 16.00
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 685.12 32.73 11.12
2. แผงวงจรไฟฟ้า 157.92 7.55 -31.69
3. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนฯ 143.97 6.88 -3.51
4. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 95.14 4.55 61.65
5. ไก่แปรรูป 79.90 3.82 152.75
อื่น ๆ 273.24 13.06 5.67
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเนเธอร์แลนด์ ปี 2551 (มค.-มิย.) ได้แก่
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ
เนเธอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 21.29, 35.54, 13.53, 11.12 ตามลำดับ
- แผงวงจรไฟฟ้า
เนเธอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลงมาโดยตลอด โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ -6.04, -11.11, -10.74, -31.69 ตามลำดับ
- เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบฯ
เนเธอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2550 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 57.51, 44.69, 50.46 ตามลำดับอย่างต่อเนื่องแต่กลับมีอัตราการขยายตัวลดลงในปี 2551 (มค.-มิย.)มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 3.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
เนเธอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2548 มีอัตราการขยายตัวลดลง -75.71 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.93, 527.80, 61.65 ตามลำดับ
- ไก่แปรรูป
เนเธอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 32.90, 5.52, 20.33, 152.66 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกไก่แปรรูปของไทย ประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์ สุขอนามัยและการตรวจพบสารตกค้างในผลิตภัณฑ์
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเนเธอร์แลนด์ปี 2551 (มค.-มิย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 50 มีรวม 11 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ
ล้านเหรียญสหรัฐ %
4. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 95.14 61.65 ในช่วงครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มว่าไทยจะส่งออก
5. ไก่แปรรูป 79.90 152.66 ไก่แปรรูปไปตลาดสหภาพยุโรปเต็มตามโควตา
8. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 50.17 140.54 และต้องเสียภาษีในอัตรานอกโควตาซึ่งอยู่ใน
9. เคมีภัณฑ์ 47.77 166.99 เกณฑ์สูงมาก ดังนั้นมีแนวโน้มว่าในช่วงครึ่ง
10. ข้าว 47.06 278.40 หลังปี"52 การส่งออกไก่แปรรูปไปยังตลาด
12. เครื่องปรับอากาศฯ 44.51 893.37 สหภาพยุโรปจะชะลอตัว
18. อัญมณีและเครื่องประดับ 24.74 54.07
19. รถจักรยานและส่วนฯ 23.95 6,742.43
22. โทรศัพท์ เครื่องตอบรับ 19.35 127.14
23. รถจักรยานยนต์และส่วนฯ 18.89 376.20
25. ยางพารา 15.98 100.27
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเนเธอร์แลนด์ ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 6 รายการคือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
2. แผงวงจรไฟฟ้า 157.92 -31.69
3. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนฯ 143.97 -3.51
13. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 35.33 -39.23
16. ผ้าผืน 26.62 -5.53
21. รองเท้าและชิ้นส่วน 21.97 -4.72
24. ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 17.94 -11.21
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความพร้อมในหลายด้านที่รอให้นักลงทุนจากไทยเข้าไปลงทุน โดยเฉพาะระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ เนเธอร์แลนด์มีท่าเรือขนาดใหญ่ Port of Rotterdam เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในทะเลเหนือ แต่ละปีมีปริมาณสินค้าที่ขนส่งผ่านท่าเรือแห่งนี้ 400 ล้านตัน นับเป็นเส้นทางเดินเรือที่หนาแน่นแห่งหนึ่ง เพราะมี บริษัทขนส่งสินค้าทางเรือ (ชิปปิง) ถึง 500 บริษัท ให้บริการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือ 1,000 แห่ง ธุรกิจที่มีศักยภาพที่จะเข้าไปลงทุนมีหลากหลายกลุ่ม ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน การให้บริการทางเทคโนโลยี และกลุ่มอื่นๆ ขณะนี้มี 155 โครงการ จากบริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนในเนเธอร์แลนด์แล้ว ความน่าสนใจของเนเธอร์แลนด์อยู่ที่เป็นประตูในการกระจายสินค้าไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งมีประชากรและกำลังซื้อมหาศาล ด้วยสภาพภูมิประเทศที่อยู่ติดกัน การคมนาคมสะดวกทั้งทางถนน เรือ และอากาศ ทำให้เจ้าของกิจการส่งสินค้าด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ NFIA เป็นหน่วยงานราชการของเนเธอร์แลนด์ที่จัดตั้งมานานกว่า 25 ปี พร้อมทำหน้าที่ให้ข้อมูลและให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุน รวมไปถึงการขยายกิจการ หรือปรับปรุงกิจการในทวีปยุโรป ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับความต้องการทางธุรกิจ การจับคู่ค้า รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ในบริบทที่เกี่ยวข้องโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการให้บริการ โดยเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งหมดเป็นความลับ สภาส่งเสริมการกระจายสินค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ (NDL/HIDC) กล่าวว่า หน่วยงานแห่งนี้เป็นหน่วยงานที่ไม่ค้ากำไร และให้ การสนับสนุนบริษัทต่างชาติในด้านซัพพลายเชน โดยเป็นตัวแทนของบริษัทในธุรกิจโลจิสติกส์ ทำหน้าที่ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับโลจิสติกส์ทั้งระบบ รวมถึงให้คำแนะนำที่เป็นกลางในการเลือกผู้ที่จะมาร่วมลงทุนและเป็นคู่ค้าทางธุรกิจ นอกจากนี้ ยังช่วยจับคู่ทางธุรกิจให้บริษัทต่างชาติที่ต้องการจะลงทุนหรือขยายการดำเนินธุรกิจไปยังตลาดยุโรปด้วย บริการเหล่านี้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น “ภูเก็ตเบียร์” หนึ่งในผู้ประกอบการไทยที่ขยายตลาดไปเนเธอร์แลนด์จนประสบความสำเร็จ กล่าวว่า เบียร์ที่ผลิตจากไทยส่งไปขายยังเนเธอร์แลนด์และประเทศใกล้เคียง ได้แก่ สวีเดน อังกฤษ เดนมาร์ก เยอรมนี ไอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ลูกค้าหลักเป็นร้านอาหารไทยและร้านอาหารทั่วไป ในแต่ละปีมียอดส่งออกประมาณ 4 แสนลัง ที่ขายในประเทศมีเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ที่ท็อปส์ วิลล่า ร้านเกรย์ฮาวด์ และโรงแรมบางแห่ง สิ่งที่ทำให้ภูเก็ตเบียร์ประสบความสำเร็จ คือ มีการให้บริการที่ดี จัดส่งสินค้าตรงเวลาแม้ว่าประเทศแถบยุโรปจะเป็นต้นกำเนิดของเบียร์แบรนด์ชั้นนำ แต่ภูเก็ตเบียร์ก็สามารถเข้าไปทำตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ เพราะว่าลูกค้าที่มารับประทานอาหารในแต่ละร้านมีความต้องการดื่มเบียร์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่จำเป็นต้องเป็นเบียร์แบรนด์เท่านั้น ที่สำคัญคือ เนเธอร์แลนด์มีการบริหารโลจิสติกส์ที่ยอดเยี่ยม เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ภูเก็ตเบียร์ประสบความสำเร็จในตลาดนี้
เนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปลูกข้าวได้เอง ส่วนใหญ่นำเข้าจากอิตาลี สเปน กิยาน่า อินเดีย ไทย และสหรัฐอเมริกา เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (European Unino หรือ EU) ในช่วงปี 2543-2547 มีตลาดขนาดกลาง ใช้ข้าวรวมประมาณ 108,000 ตัน ในปี 2549 เนเธอร์แลนด์นำเข้าข้าวมากเป็นอันดับ 5 ของ EU มูลค่า 131.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้าวประเภทที่นำเข้าส่วนใหญ่ตามลำดับได้แก่ ข้าวกล้อง (Brown rice) ข้าวสีแล้ว/ข้าวขาว (Milled rice) ข้าวหัก (Broken rice) แหล่งสำคัญที่เนเธอร์แลนด์นำเข้ามากเป็นข้าวจากประเทศกำลังพัฒนา (ได้แก่ กิยาน่า อินเดีย และไทย) คิดเป็นร้อยละ 56 ของการนำเข้าข้าวรวม ในช่วงปี 2546-2549 นำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยนำเข้ามาเพื่อสีในโรงสีข้าว อุตสาหกรรมแปรรูป บรรจุภัณฑ์ และกระจายส่งต่อไปผู้ค้าปลีกหรือส่งออกต่อไป (Re-export) ยังประเทศอื่นทั้งภายใน EU และประเทศใกล้เคียง สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปนิยมใช้รำข้าวและข้าวหัก (Rice bran, Broken rice) การส่งออก ในปี 2549 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 4 ของ EU คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 8 มูลค่า 95.5 ล้านเหรียญฯ ปริมาณ 115,900 ตัน ในช่วงปี 2545-2549 การส่งออกลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6/ปี รายการที่ส่งออกสำคัญได้แก่ ข้าวขาว (มูลค่า 64.4 ล้านเหรียญ) ข้าวหัก (มูลค่า 26.0 ล้านเหรียญ) โดยส่งไปเยอรมนี อังกฤษ และฝรั่งเศส ช่องทางการค้า ในภาพรวมข้าวที่ใช้ใน EU นำเข้าจากประเทศที่สาม (ประเทศที่มิใช่สมาชิก EU) ซึ่งมีทั้งที่ส่งสินค้าภายใต้เครื่องหมายของตนเอง และเป็นผู้แทนซุปเปอร์มาร์เก็ตนำเข้าภายใต้เครื่องหมายของลูกค้า (Private labels) บริษัทกระจายข้าวที่สำคัญในนเธอร์แลนด์ เช่น Van Sillevoldt Rijst, Lassie Rice Mills, Alesie, Tradin Organic, Sara Lee, Do-it Dutch Organic International Trade, Doend Food Ingredients และงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องเช่น Biofach และ European Fine Food Fair (EFFF)
คาดการณ์ภาวะข้าวในตลาดโลก (ปี 2551-2561)
ในภาพรวมรทั้งคณะกรรมาธิการยุโรป และกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ตรงกันว่า โอกาสที่ราคาอาหารจะกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤติอาหารค่อนข้างยาก FAPRI และ OECD คาดว่าแม้ปัจจัยดังต่อไปนี้อยู่ในภาวะปกติเช่น สภาพอากาสประมาณการผลิต ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ก็จะมีปัจจัยอื่นมาจำกัดมิให้การผลิตมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการเช่น พื้นที่เพาะปลูก น้ำ การคิดค้นเทคโนโลยี การลงทุน และ USDA คาดว่าราคาข้าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5-3.0 ต่อปี สืบเนื่องจากการใช้มาตรการจำกัด/ควบคุมของประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่เพื่อป้องกันภาวะขาดแคลนภายในประเทศ เช่น เวียดนาม ไทย อินเดีย และจีน การเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกชะลอตัว แม้ว่าในประเทศไทยที่มีภาวะเศรษฐกิจขยายตัวเช่น จีน บราซิล ประชาชนจะบริโภคข้าวน้อยลงและปรับเปลี่ยนไป บริโภคอาหารตะวันตกมากขึ้น (เช่น ขนมปัง) ส่วนแบ่งตลาดโลกในช่วงปี 2551-2561 ยังคงเป็นการค้าข้าวเมล็ดยาวประมาณร้อยละ 75 ข้าวเมล็ดกลาง และสั้นประมาณร้อยละ 12 ข้าว หอมประมาณร้อยละ 12 และข้าวเหนียวร้อยละ 1
กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ต้องการให้ผู้ผลิตรถกระบะ (ปิกอัพ) เพื่อส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่ให้ทันสมัย และใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจาก อียู เตรียมกำลังนำกฎการจำกัดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในรถยนต์มาใช้ ซึ่งหากรถยนต์ของไทยไม่สามารถผลิตเข้าข่ายในกฎดังกล่าว จะกระทบและกลายเป็นปัญหาต่อการส่งออกทันที ทั้งนี้สหภาพยุโรปได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากระดับปัจจุบัน 160-120 กรัมต่อกิโลเมตรลงเฉลี่ย 17% ภายในปี 55 แต่ขณะนี้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ได้ขยายระยะเวลาการปรับตัวในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ออกไปอีก 3 ปี แต่ก็ได้เพิ่มความเข้มงวดในปี 55 รถยนต์ที่ผลิตขึ้นจะต้องลดมลพิษได้ 60% และลดมลพิษได้ 70% ในปี 56 ลดลง 80% ในปี 57 และลดลง 100% ในปี 58 “ไทยส่งออกรถปิกอัพไปอียูจำนวนมาก ซึ่งจะต้องมีการปรับกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับระเบียบที่ทางอียูกำหนด หากทำได้เร็วก็จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก”
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ