1. สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
เวียดนามเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยสูงสุดในระหว่างปี 2546 — 2550 อัตราเติบโตเฉลี่ย 8.0% ต่อปี เทียบกับประเทศอาเซียนอื่นๆที่มีอัตราการขยายตัว 4% - 5% ต่อปี ในช่วงเดียวกัน เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากจีน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลงทุนของต่างประเทศ การส่งออกวัตถุดิบ (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน) สิ่งทอ เครื่องหนัง และสินค้าเกษตร เป็นต้น ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาท้าทายของการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.96 ในปี 2551 ในขณะที่ปี 2548, 2549 และ 2550 อัตราเงินเฟ้อมีอัตราแค่ร้อยละ 8.3, 8.7 และ 12 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้สร้างความกังวลแก่รัฐบาลเวียดนามอย่างมาก ธนาคารชาติของเวียดนามได้ใช้นโยบายการเงินเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดเงิน โดยให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มสัดส่วนการกันเงินสำรองและออกมาตรการต่างๆ รวมถึงการออกพันธบัตรให้อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ โดยในปี 2551 เป้าหมายการควบคุมอัตราเงินเฟ้อจะเป็นข้อจำกัดสำคัญสำหรับรัฐบาลเวียดนามในการใช้เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการส่งเสริมการส่งออก (เวียดนามพยายามรักษาระดับค่าเงินด่องไม่ให้แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออก) โดยเชื่อว่าธนาคารชาติเวียดนามจะเผชิญแรงกดดันให้ต้องปล่อยให้ค่าเงินด่องเป็นไปตามทิศทางของตลาดมากขึ้น
2.แนวโน้มทางเศรษฐกิจ
- คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2551
ภาวะเศรษฐกิจของเวียดนามยังคงมีแนวโน้มแจ่มใสในปีนี้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวประมาณ 8.5% - 9% ในปี 2551 นับว่าเป็นอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ การบริโภค การลงทุนในประเทศและการส่งออก ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ เนื่องจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นมาก (1 เท่าตัวช่วงปีที่แล้ว) ดังนั้นปลายเดือนพฤษภาคม 2551 รัฐบาลได้ปรับเป้าหมายของการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเหลือประมาณ 7% และธนาคารโลกได้คาดการณ์ ว่าปีนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 7.5%-8 % เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ การที่เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเร็ว ทำให้เวียดนามเป็นตลาดการค้า แหล่งท่องเที่ยว และทำเลลงทุนแห่งใหม่ ที่ต่างชาติให้ความสนใจเพิ่มขึ้น ประกอบกับเวียดนามเปิดประเทศสู่ประชาคมโลกมากขึ้น โดยเฉพาะการที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก WTO จะส่งผลดีต่อเวียดนาม ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
- สถานการณ์เงินเฟ้อของเวียดนาม
สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนามรายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2551 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. 2551 อีก 2.14% ซึ่งถือเป็นสถิติการเพิ่มรายเดือนที่สูงที่สุดนับแต่ปี 2538 โดยหากแยกเป็นรายจังหวัด จะพบว่า CPI ที่กรุงฮานอยเพิ่ม 2.84% ส่วนที่นครโฮจิมินห์เพิ่ม 4.24% ทั้งนี้ CPI ได้เพิ่มขึ้นแล้ว 20.34% หากนับจากสิ้นปี 2550 และเพิ่มขึ้น 25.2 % หากนับจากเดือน พ.ค. 2550
ปัจจัยสำคัญที่ผลักให้ CPI พุ่งสูงขึ้นคือ กระแสความวิตกเกี่ยวกับราคาข้าว (rice fever) เมื่อกลางเดือน พ.ค. 2551 ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าในหมวดอาหารเพิ่มขึ้นถึง 7.25% ภายในเดือนเดียว หรือเพิ่มขึ้น 42.35% หากเทียบกับเดือน พ.ค. 2550
ปัญหาเงินเฟ้อสูงดังกล่าวได้ทำให้หน่วยงานภาครัฐของเวียดนาม ต้องตัดค่าใช้จ่ายอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการประชุม สัมมนา การใช้รถยนต์ ค่าสาธารณูปโภค การซ่อมแซมอาคารสำนักงาน และการลงทุนด้านทรัพย์สิน โดยในปีงบประมาณปัจจุบัน เทศบาลกรุงฮานอยจะลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารลง 10% หรือประมาณ 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะตัดงบประมาณอีก 32 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการระงับโครงการที่ไม่เร่งด่วน 29 โครการ และอีกหลายโครงการที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินด่องมีความผันผวน
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2551 ร้านรับแลกเงิน(Free Market) รับซื้อเงินเหรียญสหรัฐ โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนถึง 1 เหรียญสหรัฐ ต่อ 17,200 — 17,750 ด่อง ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนทางการ ณ ธนาคารต่างๆ อยู่ที่ 1 เหรียญสหรัฐ ต่อ 16,215 — 16,221 ด่อง และอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างธนาคารอยู่ที่ 1 เหรียญสหรัฐ ต่อ 16,060 ด่อง
การเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญกำลังขยายวงออกไปเรื่อยๆ และธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนเงินเหรียญสหรัฐอย่างรุนแรงเพราะไม่สามารถซื้อเงินเหรียญสหรัฐแข่งกับร้านรับแลกเงินได้ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนทางการ ทำให้ผู้นำเข้าจำนวนมากต้องกู้ยืมเป็นเงินด่อง และนำไปแลกเงินเหรียญสหรัฐในตลาด เพื่อให้มีเงินไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมาก
สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากความต้องการเงินเหรียญของผู้ประกอบการในภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อ การเก็งกำไร และธนาคารแห่งชาติมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะแทรกแซงตลาด เพื่อควบคุมการแลกเปลี่ยนจะไม่สร้างความเสียหายแก่ธนาคารและบริษัททางธุรกิจต่างๆ
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินด่อง ซึ่งสวนทางกับตลาดโลก สืบเนื่องมาจากความต้องการการนำเข้าสินค้าและการแทรกแซงลดค่าเงินด่องของธนาคารแห่งชาติเมื่อเร็วๆ นี้ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกและลดปัญหาการขาดดุลการค้าซึ่งสูงถึง 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้
นักเศรษฐศาสตร์คาดการว่าอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงสิ้นปีนี้น่าจะอยู่ที่ 16,500 ด่อง ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับค่าเงินด่องลดลง 2.35% ซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้าราคาสูงขึ้นและป้องกันวิกฤตจากการขาดดุลชำระเงิน อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่าการลดค่าเงินด่องจะไม่มีผลให้มูลค่าการนำเข้าลดลง เพราะเวียดนามยังจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป ปุ๋ยเคมี วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและอะไหล่
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
2549 2550 6 เดือนแรกปี 2551 เป้าหมายปี 2551
GDP(%) 8.17 8.5 6.5 7 (เป้าหมายเดิม 9%)
GDP per capita(US$) 820 833 850 960
ส่งออก(billion US$) 39.8 48.7 30.63 58.6
นำเข้า (billion US$) 45.0 62.7 44.84 74.4-75.6
FDI (Foreign Direct
Investment) (billion US$) 12.0 20.3 30.9 15.0
In Flation (%) 8.7 12.0 20.34 15.96
ที่มา: กรมสถิติแห่งชาติเวียดนาม
3. การค้าระหว่างประเทศ
เวียดนามมีปริมาณการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการนำเข้าและส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2550 เวียดนามมีปริมาณการค้า 109,217 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วยมูลค่าการส่งออก 48,387 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการนำเข้า 60,830 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นตัวเลขขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ 12,443 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
จากอัตราการเปลี่ยนแปลงของการส่งออกและนำเข้าที่เพิ่มขึ้น แต่อัตราการเพิ่มของการส่งออกน้อยกว่าอัตราเพิ่มของการนำเข้า เมื่อเทียบในปีเดียวกัน ทำให้ตัวเลขดุลการค้าของประเทศเวียดนามขาดดุลในปี 2550 และยังขาดดุลเพิ่มขึ้นในทุกปี สาเหตุที่เวียดนามมีการนำเข้ามากเป็นเพราะเวียดนามยังต้องนำเข้าสินค้าทุน เช่น เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต ในขณะที่สินค้าส่งออกยังคงเป็นด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งมีมูลค่าน้อย เมื่อเทียบกับสินค้าอุตสาหกรรม
เวียดนามขาดดุลการค้าสูง
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของ 6 เดือนแรกของปี 2551 เวียดนามขาดดุลการค้า 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งสูงกว่ามูลค่าการขาดดุลการค้าในปี 2550 ทั้งปีถึง 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยการนำเข้ารวมมีมูลค่า 44.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 30.63 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักของการขาดดุลการค้าสูงมาจากความต้องการนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องจักร (มูลค่า 6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 58.26%) น้ำมันปิโตรเลียม (มูลค่า 7.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 85.47%) เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก(มูลค่า 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 120.57%) ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ (มูลค่า 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 144.56%) และสินค้าบำรุงด้านการเกษตรและปศุสัตว์ เช่น ปุ๋ยและอาหารสัตว์ ที่มีการนำเข้าที่ขยายตัวสูงมาก(มูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 103.87%) ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการขาดดุลการค้าคือ การลดและยกเลิกภาษีตามพันธกรณีภายใต้ WTO และ AFTA
การนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในธุรกิจท้องถิ่นของเวียดนาม มีมูลค่า 30.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 75.86% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ส่วนการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในโครงการลงทุนของต่างชาติมีมูลค่า 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 44.98% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ขณะที่การส่งออกของธุรกิจท้องถิ่นของเวียดนามมีมูลค่า 19.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 41.48% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 และการส่งออกของกิจการลงทุนของต่างชาติในเวียดนามมีมูลค่า 11.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.38% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550
สินค้าส่งออกของเวียดนามที่มีมูลค่าสูงตามลำดับ ได้แก่ น้ำมันดิบ มูลค่า 5.66 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เครื่องนุ่งห่ม มูลค่า 4.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองเท้า 2.27 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาหารทะเล 1.91 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ข้าว 1.47 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
4. การค้าระหว่างประเทศไทยและเวียดนาม
การค้ากับประเทศไทย ในปี 2550 ที่ผ่านมา ไทยได้ดุลการค้าเวียดนาม 2,691.7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีมูลค่าการค้ารวม 4,916 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2551 นายกรัฐมนตรีของไทยเดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและนายกฯ ได้เสนอให้ปรับเป้าหมายมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย — เวียดนามให้เป็น 10,000 เหรียญสหรัฐในปี 2553 (ค.ศ. 2010) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิม 1 เท่าตัว (จากเดิมที่กำหนดไว้ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2553) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเวียดนามเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว
มูลค่าการค้าและดุลการค้าระหว่างไทย-เวียดนาม ปี 2547 — ช่วง 6 เดือนแรกปี 2551
หน่วย : (ล้านเหรียญสหรัฐ)
2547 2548 2549 2550 6 เดือนแรก
ปี 2551
มูลค่าการค้ารวม 2,313.19 3,253.52 3,970.52 4,915.56 3,304.32
ไทยส่งออก 1,876.51 2,363.80 3,074.97 3,803.65 2,570.59
ไทยนำเข้า 436.68 889.71 895.55 1,111.91 733.73
ดุลการค้าไทย-เวียดนาม 1,439.84 1,474.09 2,179.43 2,691.75 1,836.86
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การส่งออก
การส่งออกของไทยไปยังประเทศเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าได้ 2,570.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.77 เทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ น้ำมันสำเร็จรูป (376.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 368.77) เม็ดพลาสติก (222.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 47.39) เหล็กและเหล็กกล้า (178.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 39.07) เครื่องยนต์สันดาปภายในลูกสูบและส่วนประกอบ (84.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 41.36)เคมีภัณฑ์ (78.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 48.02) เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ (77.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 43.24) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (77.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 170.63) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (76.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 56.41) รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ (84.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35) ปูนซีเมนต์ (69.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 100.13) ผลิตภัณฑ์ยาง (69.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 66.84) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (67.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.18)
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเวียดนามในปี 2550 — 6 เดือนแรกปี 2551
หน่วย : (ล้านเหรียญสหรัฐ)
สินค้า มูลค่า ขยายตัว(%)
2550 6 เดือนแรก 2550 6 เดือนแรก
ปี 2551 ปี 2551
1. น้ำมันสำเร็จรูป 398.1 376.2 9.11 368.77
2. เม็ดพลาสติก 342.5 222.7 16.19 47.39
3. เหล็กและเหล็กกล้า 320.8 178.4 30.87 39.07
4. เครื่องยนต์สันดาปภายในลูกสูบและส่วนประกอบ 128.7 84.2 6.46 41.36
5. เคมีภัณฑ์ 118.8 78.8 47.29 48.02
6. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 129.0 77.9 90.47 43.24
7. รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 91.4 77.2 90.88 170.63
8. กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 108.6 76.4 27.99 56.41
9. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ 84.3 69.8 34.45 100.13
10. ผลิตภัณฑ์ยาง 97.6 69.8 47.79 66.84
11. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 83.0 67.7 81.83 53.18
12. ปูนซีเมนต์ 106.6 67.0 25.77 19.95
13. ยางพารา 72.6 53.1 -40.96 68.89
14. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 89.7 52.6 26.33 22.6
15. หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด 66.8 51.7 28.85 46.79
รวมมูลค่าที่ไทยส่งออก 3,799.78 2,570.6 23.57 58.77
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
กลุ่มสินค้าในตลาด
- สินค้าไทยที่ได้รับการยอมรับในประเทศเวียดนามและมีลู่ทางรับคำสั่งซื้อได้แก่
สินค้ากึ่งวัตถุดิบ กึ่งสำเร็จรูป เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม
สินค้าอาหาร เสื้อผ้า ผ้าผืน เครื่องประดับ ภาชนะของใช้ประจำวัน วัตถุดิบของสินค้าสปา วัตถุดิบสินค้าตกแต่งบ้าน ดอกไม้ประดิษฐ์ เสื้อผ้าฝ้าย(เนื้อบาง) ในรูปแบบที่ทันสมัย ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์และอุตสาหกรรมเบา
- อุตสาหกรรมที่มีลู่ทางขยายการลงทุนในเวียดนาม คือ
อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการผลิตและเป็นฐานในการขยายตัว เช่น ยานยนต์พาหนะและชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ การแปรรูปอาหาร และอาหารสัตว์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากและค่าแรงของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น รองเท้า สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ กระป๋อง อัญมณี ผ้าผืน และปุ๋ย ฯ
- อุตสาหกรรมบริการที่ไทยมีศักยภาพสูง เช่น การท่องเที่ยว โรงพยาบาล กิจการโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น
การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าสินค้าจากประเทศเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าได้ 733.7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (167.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 28.75) น้ำมันดิบ (161.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 30.33) เหล็กและเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (56.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 956.43) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (48.3 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 52.15) เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ (34.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 155.79) ด้ายและเส้นใย (31.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.34) สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง (21.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.35) เคมีภัณฑ์ (21.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 109.88) ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ (16.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.91) ถ่านหิน (12.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 10.04) สบู่ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง (12.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 95.70)
สินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากเวียดนามในปี 2550 — 6 เดือนแรกปี 2551
หน่วย : (ล้านเหรียญสหรัฐ)
สินค้า มูลค่า ขยายตัว(%)
2550 6 เดือนแรก 2550 6 เดือนแรก
ปี 2551 ปี 2551
1. เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 294.2 167.6 5.12 28.75
2. น้ำมันดิบ 264.3 161.6 23.22 30.33
3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 12.9 56.4 43.21 956.43
4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 71.8 48.3 46.01 52.15
5. เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ 46.7 34.1 122.22 155.79
6. ด้ายและเส้นใย 48.2 31.8 29.88 45.34
7. สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป 34.7 21.5 26.94 45.35
8. เคมีภัณฑ์ 29.1 21.3 71.87 109.88
9. ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ 24.2 16.6 36.40 8.91
10. ถ่านหิน 26.2 12.8 -17.42 -10.04
11. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 22.8 12.4 2.62 17.07
12. สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง 14.3 12.4 55.02 95.70
13. สินแร่โลหะอื่นๆเศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 5.3 10.3 -26.99 239.78
14. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ 15.0 10.2 85.03 49.91
15. สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 8.8 8.6 128.99 213.95
รวมมูลค่าที่ไทยนำเข้า 1,111.90 733.73 24.16 47.29
เวียดนามเสียเปรียบการค้ากับไทย 2,687.88 1,836.86
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
5. การลงทุนในเวียดนาม
ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2551 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนาม มูลค่ารวมได้ 44.5 คิดเป็นจำนวนได้ 654 โครงการ มีนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมีมูลค่าสูงสุดได้แก่ ไต้หวัน มูลค่าการลงทุน 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ ญี่ปุ่น มูลค่า 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ มาเลเซีย มูลค่า 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ บรูไน มูลค่า 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คานาดา มูลค่า 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ สิงคโปร์ มูลค่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และประเทศไทย มูลค่า 3.98 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ อันเป็นผลจากการ
ที่รัฐบาลเวียดนามเร่งเปิดเสรีด้านการลงทุนให้สอดคล้องกับข้อตกลงของ WTO ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจ จึงเข้าไปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น
การลงทุนของต่างชาติในเวียดนามตั้งแต่อดีตถึง 20 กรกฎาคม 2551 มีจำนวนทั้งสิ้นเท่ากับ 8,712 โครงการ และจำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 117,356 ล้านเหรียญสหรัฐ นักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด คือไต้หวัน (มีสัดส่วน 15.03% ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด นับถึง 20 กรกฎาคม 2551 จำนวน 1,903 โครงการ เงินลงทุนรวม 17.64 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 1,764 โครงการ) รองลงมาได้แก่ ญี่ปุ่น (เงินลงทุนรวม 15.94 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 956 โครงการ) สิงคโปร์ (เงินลงทุนรวม 13.68 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 573 โครงการ ) เกาหลีใต้ (เงินลงทุนรวม 11.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 1,795 โครงการ)
กิจการที่ได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากที่สุด คือ กิจการด้านอุตสาหกรรมมีการลงทุนทั้งสิ้น 5,729 โครงการ เงินลงทุนรวม 66,241 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.22 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดการเกษตรและป่าไม้ 933 โครงการเงินลงทุนรวม 4,440 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.78 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดนอนกจากนี้ได้แก่ กิจการบริการต่างๆ เช่นสุขภาพและการศึกษา 276 โครงการ เงินลงทุนรวม 1,612 ล้านเหรียญสหรัฐ โรงแรมและการท่องเที่ยว 214 โครงการ เงินลงทุนรวม 5,562 ล้านเหรียญสหรัฐ การขนส่งและโทรคมนาคม 215 โครงการ เงินลงทุนรวม 4,319 ล้านเหรียญสหรัฐ อาคารสำนักงาน และอพาร์ทเม้นต์ 155 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,775 ล้านเหรียญสหรัฐ การเงินการธนาคาร 83 โครงการ เงินลงทุนรวม 9,101 ล้านเหรียญสหรัฐ เขตพัฒนาเมืองใหม่ 11 โครงการ เงินลงทุนรวม 7,996 ล้านเหรียญสหรัฐ และเขตนิคมอุตสาหกรรม 30 โครงการ เงินลงทุนรวม 1,288 ล้านเหรียญสหรัฐ (ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2551)
เมืองที่นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนมีมูลค่ามากที่สุด คือ นครโฮจิมินห์ (เงินลงทุนรวม 23,52 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 2,535 โครงการ) รองลงมาคือ บาเรีย — หวุงเต่า (เงินลงทุนรวม 15.43 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 162 โครงการ) กรุงฮานอย (เงินลงทุนรวม 11.85 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 1,024 โครงการ) ด่องใน (เงินลงทุนรวม 11.82 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 905 โครงการ) ฮาติ๊ง (เงินลงทุนรวม 7.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน11 โครงการ) บิ่งเซือง (เงินลงทุนรวม 7.62 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 1,527 โครงการ ตามลำดับ (ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2551 )
โครงการลงทุนของไทยในเวียดนามเริ่มตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมาโดยในช่วง 4 ปี แรกยังมีจำนวนไม่มากนักแต่หลังจากนั้นคือตั้งแต่ปี 2535 การลงทุนของนักธุรกิจไทยในเวียดนามมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกระทั่งถึง ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2551 การลงทุนของไทยในเวียดนามมีทั้งสิ้น 176 โครงการ เงินลงทุนรวม 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 8 และเป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย เฉพาะปี 2550 มีโครงการลงทุนของไทยที่ได้รับอนุมัติรวม 24 โครงการ มูลค่า 285 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การลงทุนที่สำคัญคือ ธุรกิจการเกษตรปศุสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การก่อสร้าง โรงแรม ภัตตาคาร อุปกรณ์การก่อสร้าง อะไหล่รถยนต์ จักรยานยนต์ โรงงานกระดาษ โรงงานผลิตอาหาร ต่อไปน่าจะมีการลงทุนในกิจการปิโตรเคมีโทรคมนาคม
6. ปัจจัยสำคัญในการเจาะตลาดเวียดนาม
ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ด้านการตลาดสำหรับเจาะตลาดเวียดนาม
6.1. กลยุทธ์ด้านการสร้างภาพพจน์สินค้าและบริการของไทย
จัดกิจกรรมร่วมทางธุรกิจระหว่างภาคอุตสาหกรรมไทย/ภาคธุรกิจเวียดนาม/ภาครัฐเวียดนาม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสินค้าและนักธุรกิจไทย โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น
- การจัดงานแสดงสินค้าของไทยในประเทศเวียดนาม อาทิงาน Thailand Exhibition, Thailand Outlet Fair และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติในเวียดนาม จะเป็นเวทีให้กับผู้ส่งออกไทย ทั้งในด้านการหาตลาด ผู้ซื้อและการเข้ามาทดลองตลาด เพื่อตรวจสอบความต้องการของผู้บริโภค
- ดำเนินรักษาความสัมพันธ์ กับหน่วยงานรัฐบาลเวียดนาม ได้แก่ กระทรวงการ วางแผนและการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงการคลัง และอื่นๆ และรักษาความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นกลไกลที่มีประสิทธิภาพในการลงทุนของผู้ประกอบการไทย
- การประชุมสัมมนาร่วมระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย และสภาธุรกิจต่างๆ ของเวียดนาม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและส่งเสริมความร่วมมือทั้งด้านการค้าและการลงทุนอาทิ
6.2. กลยุทธ์ด้านความร่วมมือในอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพและโอกาส
ชาวเวียดนามมีความชื่นชมในคนไทยที่มีความโอบอ้อมอารีย์มากกว่าต่างชาติอื่นๆ อีกทั้งยังมีความชื่นชอบและยอมรับสินค้าที่ผลิตและใช้ตราของไทยทั้งนี้ชาวเวียดนามเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าไทยมากกว่าสินค้าที่มีราคาถูกจากประเทศจีน หรือ ของเวียดนามเอง ชาวเวียดนามส่วนใหญ่เห็นว่าสินค้าไทยมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพเมื่อเทียบกับสินค้าของต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า
6.3 โครงการส่งเสริมนักธุรกิจไทยขยายธุรกิจไปต่างประเทศ (Internationalization)
โดยจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบในการลงทุน และโอกาสในการขยายธุรกิจในเวียดนาม รวมทั้งการจัดนัดหมาย Business Matching ให้กับนักธุรกิจไทยและเวียดนามจัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายและพันธมิตรต่างประเทศของผู้ให้บริการโลจิสติกส์
6.4 สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้นำเข้าเวียดนามและเครือข่ายของผู้นำเข้าและส่งออก
6.5 ติดตามความต้องการของตลาด สถานการณ์ตลาด ในเวียดนาม
6.6 รักษาเสถียรภาพของนโยบายราคาขายโดยมีนโยบายที่ชัดเจนและแน่นอน
6.7 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านสินค้าและบริการ
6.8 ทำการเจาะลึกวิเคราะห์ ข้อมูลทางการค้าการลงทุน
7. ความร่วมมือทางการค้า การลงทุนในเวียดนาม
ความร่วมมือภาคเอกชน
การประชุม Asian Trade Promotion (Forum (ATPF) Annual Meeting ระหว่างวันที่ 2 — 4 เมษายน 2551 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดร่วมกับเจโทรญี่ปุ่น สมาชิกที่เข้าร่วมเป็นหน่าวยงานส่งเสริมการค้าของประเทศต่างๆในเอเซีย ประมาณ 18 ประเทศ อาทิ AUSTRADE CCPIT (จีน) CITEM (ฟิลิปปินส์) กรมส่งเสริมการส่งออก (DEP) HKTDC (ฮ่องกง) International Enterprise หรือ IE (สิงค์โปร์) ITPO (อินเดีย) IPIM (มาเก๊า) KOTRA (เกาหลี) MATRADE(มาเลเซีย) MNCCI (มองโกเลีย) NZTE (นิวซีแลนด์) SLEDB (ศรีลังกา) TDAP (ปากีสถาน) TWTC (ไต้หวัน) และ Vietnam Trade Promition Agency หรือ VIETRADE เป็นต้น
- ร่วมมือกับสำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการส่งออกสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์แห่งชาติ (SIPA) และสมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออกซอฟแวร์ไทย (TSEP) จัดกิจกรรม Trade Show and Seminar “Improve Service Operation Using Cutting — Edge Technology” และการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ในช่วงวันที่ 27 เมษายน 2551 มีผู้ประกอบการไทยจำนวน 14 ราย โดยมีกลุ่มเป้าหมายบริษัทในเวียดนาม (กรุงฮานอย) ที่สมัครเข้าร่วมโครงการประมาณ 80 องค์กร ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานราชการและเอกชนจากธุรกิจสายงานการจัดการข้อมูลสารสนเทศ การบริหารจัดการและการตลาดอาทิ ธนาคารและสถาบันการเงิน โรงพยาบาล โรงแรม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง บริษัทประกัน ธุรกิจค้าปลีก ฯลฯ
- ประสานงานกับบริษัท หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อจัดการนัดหมาย/ประชุมให้แก่นักธุรกิจ/นักลงทุนไทยหาลู่ทางด้านการค้าและโอกาสลงทุนในเวียดนาม
- ร่วมมือกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย และ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดงาน Business Matching — Motorcycle and Parts Cluster (SMEs 007 Plus) วันที่ 11 ธันวาคม 2550 โดยมีบริษัทไทย 10 ราย และบริษัทเวียดนาม 22 ราย
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน ระหว่างสองประเทศและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการค้าและเศรษฐกิจ ระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2536 ณ กรุงฮานอย
- ข้อตกลงความร่วมมือเรื่องข้าว (Working Record) ระหว่างสมาคมอาหารเวียดนามและสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศของไทย ลงนามเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 ณ นครโฮจิมินห์ และวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ณ กรุงเทพฯ
ความร่วมมือภาครัฐบาล
ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทยเวียดนาม (Joint Commission : JC) ลงนามเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2534 มีการประชุมแล้ว 7 ครั้ง ครั้งสุดท้ายระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2546 ณ กรุงเทพฯ
- ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2534
- MOU ว่าด้วยความร่วมมือเรื่องข้าวไทย-เวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2535
- MOU ว่าด้วยความร่วมมือเรื่องข้าวไทย-เวียดนาม ฉบับใหม่ ลงนามเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2543 ณ กรุงเทพ
- MOU ว่าด้วยการจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการค้า (The Sub-Committee on Trade) ไทย-เวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2538 ณ นครโฮจิมินห์ มีการประชุมแล้ว 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2542 ณ ประเทศเวียดนาม
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้ำช้อน ลงนามเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับหนังสือเดินทางธรรมดาลงนามเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2540
- ความตกลงขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย ลาวและเวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทาง ธรรมดา ลงนามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2543
- MOU ความร่วมมือการค้าข้าวระหว่างประเทศผู้ส่งออก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย และปากีสถานลงนามเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 ณ กรุงเทพ
- บันทึกความเข้าใจสามฝ่าย รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สหวันนะเขต) และเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 ณ แขวงสหวันนะเขต สปป.ลาว
8. ช่องทางการจำหน่ายสินค้าในเวียดนาม
ช่องการจำหน่ายในเวียดนาม
1. ผู้ส่งออก----> ผู้นำเข้า/ ผู้จัดจำหน่าย/ผู้ผลิต ----> ร้านค้าปลีกทันสมัยขนาดใหญ่
2. ผู้ส่งออก----> ผู้นำเข้า/ ผู้จัดจำหน่าย/ผู้ผลิต ----> ผู้ค้าส่ง ----> ร้านค้าปลีก
3. ผู้ส่งออก----> เอเย่นต์ท้องถิ่น----> ผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่าย/ผู้ผลิต ----> ผู้ค้าส่ง----> ร้านค้าปลีก
4. ผู้ส่งออก----> ร้านค้าปลีกทันสมัยขนาดใหญ่ (เมโทร, บิ๊กซี, Saigon coop, Maximart, Citimart, Fivimart) ช่องทางการจำหน่ายแบบ1 และแบบ 2 มักจะได้รับความนิยมมากที่สุดในเวียดนาม
ช่องทางการจำหน่ายและระบบการกระจายสินค้าในเวียดนาม แบ่งได้เป็นช่องทางหลัก ดังนี้
1. ผู้นำเข้า/ ผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต ผู้ค้าส่งและเอเยนต์ ผู้ค้าปลีกแบบดั้งเดิมรายย่อย
1.1 ในเวียดนามผู้นำเข้าที่ดีโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้จัดจำหน่ายด้วย ผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายของเวียดนาม ยังคงมีส่วนสำคัญ ในการกระจายสินค้า และทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในประเทศ นอกจากนี้ผู้นำเข้าของเวียดนาม และตัวแทนจำหน่ายจะเป็นผู้ติดต่อโดยตรงกับห้างร้าน ต่าง ๆ วีธีที่ดีที่สุดในการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวนี้ คือ การแต่งตั้งตัวแทนท้องถิ่นเพื่อนำเข้าสินค้าโดยตรง หรือ เป็นตัวแทนในการนำเข้าจัดจำหน่ายและทำตลาด โดยมีกลยุทธ์ด้านราคาที่มีประสิทธิภาพ และ มีเครือข่ายของการจัดจำหน่าย ผู้นำเข้าส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าจากผู้ส่งออกโดยรวมสินค้าหลาย ๆ ชนิดใน 1 ตู้ Consolidated Container โดยมีจำนวนสินค้าไม่มากนักในแต่ละชนิด และผู้นำเข้าจะขอให้ทำการส่งเสริมการจำหน่ายและโฆษณาสินค้าให้ด้วยพร้อมกับขอสินเชื่อในการชำระสินค้า การส่งเสริมการจำหน่ายในร้านยังคงจำเป็นสำหรับสินค้าที่ยังใหม่สำหรับตลาด การแสดง ณ จุดขาย และสื่อโฆษณาต่าง ๆ ยังคงมีความสำคัญ เพื่อจูงใจผู้บริโภคที่มีความรู้จำกัดเกี่ยวกับสินค้าต่างประเทศ
1.2 ร้านขายสินค้าปลีกในปริมาณน้อย และตลาดสดยังคงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวเวียดนามจำนวนมาก และมีบทบาทสำคัญในการเป็นช่องทางการจำหน่าย การค้าปลีกแบบดั้งเดิมและแบบท้องถิ่นยังคงยึดตลาดในเวียดนามไปอีกหลาย ๆ ปี อันเนื่องจากระบบการค้าแบบดั้งเดิมยังคงยึดคลังสินค้าและระบบการจัดจำหน่ายไว้ได้ ประกอบกับช่องทางการจัดจำหน่ายของประเทศส่วนมากจะพึ่งพากับช่องทางการตลาดแบบดั้งเดิมนี้อย่างมาก
ตามสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เวียดนามมีตลาดแบบดั้งเดิม หรือ ตลาดสด มีประมาณ 8,000 แห่ง และ ร้านค้าเล็ก ๆ หลายร้อยแห่งทั่วประเทศ ร้านค้าเหล่านี้จะมีพื้นที่ตั้งแต่ 100-300 ตารางฟุต ธุรกิจครอบครัวยังคงได้รับความนิยมจากชาวเวียดนาม เนื่องจากผู้บริโภคมักจะคิดว่า การซื้อที่ศูนย์การค้าต่าง ๆ มักจะมีราคาแพงกว่าตลาดในท้องถิ่นทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากต้นทุนที่สูงกว่าในการบริหารจัดการของศูนย์การค้าและร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่นอกกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ช่องทางการจำหน่าย โดยเฉพาะสินค้าอาหาร มักจะพึ่งพากับช่องทางของการค้าแบบดั้งเดิมนี้ประมาณ 80 เปอร์เซนต์ ของอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศจะผ่านทางการค้าแบบดั้งเดิมนี้
2. ผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีกทันสมัยขนาดใหญ่ผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่าย จะส่งสินค้าให้กับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ในชานเมือง
โครงสร้างของการขายปลีกในเวียดนามอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง โดยเฉพาะการค้าปลีกที่มีชาวต่างประเทศเป็นผู้ดำเนิน ส่งแรงกระตุ้นให้ธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นเกิดการรวมตัวกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งกับนักลงทุนต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ อาทิ การใช้กลยุทธ์เพิ่มพื้นที่การให้บริการ การปรับปรุงรูปแบบการให้บริการ เช่น การรับสั่งสินค้าทางโทรศัพท์ และให้บริการการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าตลาดในรูปแบบดั้งเดิมจะถูกแทนที่ด้วยตลาดขายปลีกที่มีรูปแบบทันสมัย โดยจำนวนซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดขายปลีกขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้า จะเพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ดึงดูดลูกค้าด้วยการให้บริการที่สมบูรณ์แบบ เช่น ที่จอดรถ สนามเด็กเล่น การให้บริการเกี่ยวกับเด็ก เป็นต้น
ห้างขายปลีกที่ทันสมัยส่วนใหญ่ของเวียดนามตั้งอยู่ ณ บริเวณนอกเมือง เนื่องจากหลบเลี่ยงจากความแออัดและข้อจำกัดของพื้นที่ในตัวเมือง ประกอบกับอัตราการขยายตัวของผู้บริโภคชนบทมีความต้องการสินค้า และมีศักยภาพในการซื้อเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้จะเห็นได้จากผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ เช่น Saigon Coop ได้เปิดกิจการซุปเปอร์มาร์เก็ตจำนวน 3 แห่งที่ Tien Giang, Vinh Long และ My Tho และ Metro Cash and Carry ได้เปิดห้างขายปลีกที่นอกเมืองฮานอย (ทางไปสนามบิน) ไฮฟองและดานัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามแหล่ง ช็อปปิ้งและศูนย์การค้าของเวียดนามส่วนใหญ่เข้ามารวมตัวกันอยู่ที่ฮานอยและโฮจิมินห์ และมีแหล่งช็อปปิ้งและศูนย์การค้าใหม่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ในปี 2005-2008 มีห้างยักษ์ใหญ่ จำนวน 3 แห่งปรากฏตัวขึ้น ได้แก่ “Vincom” “a 21 - storey twin tower” และ “Parkson” ซึ่งเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่ทันสมัยที่สุดในฮานอย ในขณะเดียวกันเมืองโฮจิมินห์ก็มีห้าง “Parkson” ซึ่งเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่หรูหราแห่งหนึ่ง
3. นอกจากนั้นช่องทางการจำหน่ายสินค้าไปสู่ตลาดเวียดนามและประเทศใกล้เคียงอีกช่องทางหนึ่งคือ การค้าตามแนวชายแดนต่างๆ ดังนี้
1. ด่านทางเหนือ ภาคเหนือของเวียดนามจะมีพรมแดนติดกับจีน ซึ่งมีความยาว 1,281 ตารางกิโลเมตร โดยมีด่านชายแดนจีน 3 ด่านใหญ่ ๆ คือ
1.1 ด่าน Langson จังหวัด Langson ติดมณฑลกว่างซีของจีน มีนครหนานหนิงเป็นเมืองหลวง
1.2 ด่าน Mong Cai จังหวัด Quang Ninh เชื่อมเมือง (Quinzhou) มณฑลกว่างซีของจีน
1.3 ด่าน Lao Cai จังหวัด Lao Cai ติดมณฑล ยูนานมีนครคุนหมิงเป็นเมืองหลวง
2. ด่านทางตะวันตก ภาคตะวันตกของเวียดนามจะมีพรมแดนติดกับลาวซึ่งมีความยาว 2,130 ตารางกิโลเมตร โดยมีด่านชายแดนลาว 2 ด่านใหญ่ ๆ คือ
2.1 ด่าน Cau Treo จังหวัด HaTinh
2.2 ด่าน Lao Bao จังหวัด Quang Tri เชื่อมกับสะหวันนะเขตของลาว
3. ด่านทางใต้ ภาคใต้ของเวียดนามจะมีพรมแดนติดกับกัมพูชา มีความยาว 1,228 ตารางกิโลเมตร โดยมีด่านชายแดนกัมพูชา 2 ด่านใหญ่ ๆ คือ
3.1 ด่าน Xamat จังหวัด Tay Ninh
3.2 ด่าน Moc Bai จังหวัด Tay Ninh
เมื่อต้น ปี 2551 นายกรัฐมนตรี ของเวียดนามได้ประกาศจะส่งเสริมการค้าชายแดน ทั้งทางเหนือ ตะวันตก และทางใต้ โดยจะ มีการสร้างโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ศูนย์การค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะส่งเสริมการค้า การลงทุนและ การท่องเที่ยวตามชายแดนดังกล่าว
ระบบการกระจายและนำเข้าสินค้า
ช่องทางในการกระจายสินค้า มีการจำกัดการมีส่วนร่วมของนักลงทุนต่างชาติในการนำเข้าและการจำหน่ายสินค้า ที่สงวนให้แก่ชาวเวียดนาม และบริษัทเวียดนาม ซึ่งชาวต่างชาติและบริษัทต่างชาติสามารถดำเนินการได้โดยการผ่านทางชาวเวียดนาม อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างชาติที่มีโรงงานการผลิตและมีใบอนุญาตในการผลิต ก็อาจได้รับการอนุญาตในการจำหน่ายสินค้าของตัวเองด้วย นอกจากนี้ใบอนุญาตการลงทุนยังอนุญาตให้ผู้ผลิตนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตได้ด้วย รวมทั้งนำเข้าเพื่อจะทดลองตลาดเพื่อวัดผลตอบรับจากผู้บริโภค
ช่องทางการกระจายสินค้าในเวียดนาม สำหรับระบบการจัดจำหน่ายสินค้าของเวียดนามจะแตกย่อยเป็นบริษัทและรัฐวิสาหกิจนำเข้า-ส่งออกในเวียดนาม บริษัทค้าส่งและรัฐวิสาหกิจค้าส่ง ตัวแทน ร้านค้า ฯลฯ
การนำเข้าส่วนใหญ่นั้นเป็นการนำเข้าผ่านตลาดนครโฮจิมินห์ที่ในปัจจุบันยังคงเป็นตลาดนำเข้าและขายส่งใหญ่ที่สุดและมีบริษัทค้าส่งที่เป็นเอกชนมากกว่าซึ่งทำการจำหน่ายส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ขายส่งภายในประเทศที่อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงฮานอยก็อาศัยการสั่งสินค้ามาจากตลาดนครโฮจิมินห์และอีกส่วนหนึ่ง ก็นำเข้าโดยตรงด้วยผู้ค้าส่งรายใหญ่ ๆ มักเป็นบริษัทการค้าของรัฐหรือเป็นเครือข่ายของบริษัทการค้าของรัฐที่เป็นผู้นำเข้าเอง
นอกจากนี้ส่วนผู้ขายส่งและเอกชนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ค้าขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีเงินทุนไม่มากและสามารถครอบคลุมพื้นที่การจำหน่ายไม่มากนัก ทำให้ไม่ค่อยมีการเก็บสต็อกสินค้าหรือสั่งสินค้าแต่ละครั้งในปริมาณที่ไม่มาก สำหรับผู้ค้าส่งในต่างจังหวัดหรือท้องถิ่นส่วนใหญ่มักเป็นเพียงผู้ค้าส่งรายย่อยที่เข้าไปรับซื้อสินค้าจากผู้ขายส่งรายใหญ่ในเมืองไปจำหน่ายหรือส่งจำหน่ายต่อให้แก่ผู้ค้าปลีกในตลาดท้องถิ่น
ส่วนการนำเข้าสินค้านั้นต้องกระทำผ่านบริษัทที่ได้รับอนุญาต ที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทการค้าของรัฐซึ่งบริษัทการค้าที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวอาจเป็นผู้นำเข้าโดยตรงที่มีเครือข่ายการจำหน่ายในประเทศอยู่แล้วหรืออาจเป็นเพียงโบรคเกอร์หรือเอเย่นต์นำเข้าโดยได้รับค่าคอมมิชชั่น มีความต้องการนำเข้าเมื่อใดก็จะมอบให้บริษัทการค้าของรัฐที่ได้รับอนุญาตให้ทำการนำเข้าแทน ส่วนบริษัทการค้าต่างประเทศไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจการค้าและการจำหน่ายสินค้าในเวียดนามแต่อย่างใด แต่บริษัทการค้าต่างประเทศก็สามารถนำเข้าสินค้าผ่านบริษัทการค้าของรัฐที่ได้รับอนุญาตโดยอาศัยกลไกช่องทางจำหน่ายผ่านเครือข่ายของบริษัทการค้าดังกล่าวหรืออาจติดต่อตรงไปยังผู้ใช้ที่เป็นผู้มีความต้องการนำเข้าผู้ขายส่งที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทการค้าเอกชนที่เป็นผู้ต้องการนำเข้าให้สั่งนำเข้าผ่านบริษัทการค้าของรัฐที่ได้รับอนุญาต สำหรับการจัดจำหน่ายสินค้าอาศัยการดำเนินการในรูปของการทำสัญญากับบริษัทผู้จำหน่ายในท้องถิ่นอีกทอดหนึ่ง บริษัทการค้าต่างประเทศที่ดำเนินการในลักษณะนี้จึงจำเป็นต้องมีการเดินทางเข้าไปเยี่ยมเยียนตลาดและลูกค้าเพื่อประสานงานและให้คำแนะนำด้านการตลาด รวมทั้งเพื่อแสวงหาลู่ทางและช่องทางการจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นหรืออาจเลือกวิธีเข้าไปจัดตั้งสำนักงานตัวแทน ในเวียดนาม เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องยิ่งขึ้น แม้ว่าทางการเวียดนามจะยังไม่อนุญาตให้สำนักงานตัวแทนบริษัทต่างประเทศดำเนินธุรกิจการค้าที่มีผลกำไรโดยตรงก็ตามแต่ก็ได้มีการตั้งตัวแทนนำเข้าและตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทต่างประเทศ เป็นกรณี ๆ ไป ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีระเบียบกำหนดไว้อย่างแน่ชัด
กลุ่มผู้ซื้อสำคัญ
หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ใช้ และบริษัทการค้าของรัฐรายใหญ่ที่อาจเป็นทั้งผู้ผลิตหรือผู้ใช้ และผู้นำเข้าไปจัดจำหน่ายเป็นผู้นำเข้าโดยตรงเพื่อนำไปจัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายการจำหน่ายที่มีอยู่แล้วในประเทศซึ่งมีเงินทุนเพียงพอ ทำให้สามารถทำการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณมากพอและมีความรู้ความชำนาญด้านการค้า กลุ่มผู้ค้าภาคเอกชนที่นับว่าครอบคลุมปริมาณธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกในประเทศมากที่สุดที่อาจจัดเป็นผู้มีความต้องการนำเข้ามาก แต่มักไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าโดยตรงได้ จึงทำการสั่งนำเข้าผ่านบริษัทการค้าของรัฐที่ได้รับอนุญาต
กลุ่มผู้ซื้อที่สำคัญกลุ่มหนึ่งได้แก่ บริษัทต่างประเทศและโครงการลงทุนหรือร่วมลงทุนของต่างประเทศ ในเวียดนาม ที่จัดว่ามีความต้องการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจการไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิตและสินค้าเพื่อใช้ในการตกแต่ง เป็นต้น
แนวโน้มช่องทางการจำหน่ายสินค้าในเวียดนาม
ในเมืองใหญ่ ๆ ของเวียดนาม เช่น กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ ไฮฟอง และ ดานัง มีการพัฒนาของร้านค้าสมัยใหม่ ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเมืองอื่นในเวียดนาม ถึงแม้ว่า ตลาดสด และ ร้านขายของชำ ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นช่องทางการจำหน่ายโดยเฉพาะสินค้าอาหาร แต่การเติบโตของ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และ ร้านค้าส่ง ยังคงเพิ่มสูงขึ้นในเขตเมือง เนื่องมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
- การเพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่มีรสนิยมทางตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตหัวเมืองใหญ่
- การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ที่ พ่อ และแม่ต้องทำงานทำให้มีเวลาในการจับจ่ายน้อยลง
- การทำตลาด ด้วยยุทธวิธี ด้านราคา ส่วนลด และ อื่น ๆ เพื่อจูงใจลูกค้ามาใช้บริการ
- การที่ผู้บริโภคเลือกที่จะไปใช้บริการด้วยเหตุผลของ ความสะอาด คุณภาพสินค้า
- การที่ผู้บริโภคนิยมสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตมาแล้ว ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้สอย
จากการที่ประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในสมาชิกสำคัญของ ประเทศอาเซียน ทำให้เวียดนามได้รับสิทธิประโยชน์ และความช่วยเหลือทางการค้า ในทางตรงข้ามเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิก (WTO) เมื่อปี 2007 ทำให้ประเทศเวียดนามต้องเปิดประเทศมากขึ้นเพื่อทำการค้ากับต่างชาติ และ ยังต้องลดภาษี และ พัฒนาระบบการค้า ข้อบังคับต่างๆ ให้ทัดเทียมนานาประเทศ
ในขณะที่บริษัทต่างชาติยังถูกจำกัดสิทธิการจัดจำหน่ายในประเทศเวียดนาม บริษัท และ ผู้จัดจำหน่ายและนำเข้าของเวียดนามยังคงมีส่วนสำคัญในการกระจายสินค้าและทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ผู้นำเข้าของเวียดนามยังคงสิทธิที่จะมีตัวแทนจำหน่าย ศูนย์กระจายสินค้า การที่จะเป็นผู้ติดต่อโดยตรงกับห้างร้าน ต่าง ๆ เองอีกด้วย และในบางกรณีผู้นำเข้าของเวียดนามสามารถนำเข้าแบรนด์ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึง Brand loyalty
อย่างไรก็ดีทางร้านค้าชั้นนำ ได้เลือกที่จะนำเข้าโดยตรงจากผู้ส่งออกชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย เช่น ผลไม้ เนื้อสัตว์ และ ผัก และประกอบกับประชากรทั่วไปมีอำนาจการซื้อต่ำ ร้านค้าปลีกทันสมัยโดยทั่วไปจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยตรง
9. SWOT Analysis ของเวียดนาม
จุดแข็ง
1. เศรษฐกิจเติบโตเป็นอันดับสองรองจากจีน อย่างต่อเนื่อง การลงทุนในประเทศ การส่งออก ได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศปีละ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และเงินโอนจากชาวเวียดนามโพ้นทะเล เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ นอกจากนั้นเวียดนามมีเครือข่ายชาวเวียดนามโพ้นทะเล (Viet Kieu) ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจขายส่ง/ขายปลีก/ร้านอาหาร/ร้านขายของชำ เป็นต้น
2. ความแน่วแน่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นสากล และมีนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล รวมทั้งความร่วมมือกับนักลงทุนต่างชาติ ที่ต้องการผลักดันให้เวียดนามเป็นประเทศอุตสาหกรรมต่างๆแทนการพึ่งพาภาคเกษตรและการผลิต
3. ประเทศเวียดนามมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน เหล็ก แร่สังกะสี บอกไซด์ฯ ป่าไม้ ทรัพยากรดินและน้ำ และที่สำคัญมีทรัพยากรมนุษย์มีบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานถึงร้อยละ 65 มีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 90 มีค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูง 45-55 เหรียญสหรัฐ/เดือน
4. เวียดนามมีเสถียรภาพทางด้านการเมืองที่มั่นคง บ้านเมืองมีความปลอดภัย และรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ การอนุญาตให้ส่งผลกำไรกลับประเทศ ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล การอนุญาตให้มีการโอนผลขาดทุนสะสมไปหักกลบผลกำไรในรอบห้าปีบัญชี
จุดอ่อน
1. เวียดนามขาดระบบฐานข้อมูลและสถิติ ที่ใช้ในการวางแผนอาทิข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกของกลุ่มสินค้าต่างๆ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน
2. ระบบการค้าส่วนใหญ่ยังต้องมีการพัฒนาไปสู่ระบบสากลมากขึ้น
3. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ขาดแรงงานมี
ผีมือและผู้บริหารระดับกลาง รวมทั้งการบริหารจัดการในหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่เป็นระบบ
4. วัตถุดิบและสินค้าขั้นพื้นฐานที่ใช้ในอุตสาหกรรมขั้นกลางและปลายน้ำมีคุณภาพต่ำ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ทำให้สินค้าสำเร็จรูปไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ
5. ขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและไม่ได้มาตรฐาน ระบบการคมนาคมไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การขนส่งสินค้าใช้เวลานาน และเกิดการชำรุดเสียหาย
6. มีจุดอ่อนด้านบริหารจัดการขนส่งและโลจิสติกส์ ทำให้การกระจายสินค้าไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร
7. ต้นทุนค่าขนส่งทางเรือสูง เนื่องจากค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือจากไทยไปเวียดนาม มีราคาสูง และมีพื้นที่ระวางไม่เพียงพอกับความต้องการ
8. ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์มีราคาค่อนข้างสูง และมีพื้นที่จำกัด
อุปสรรค
1. เวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบย่อยครั้ง อันเนื่องมาจากการมีกฎหมายท้องถิ่นกำกับดูแลธุรกิจการค้าด้วย ทำให้นักธุรกิจไทยเกิดความสับสนถึงแม้ว่าจะมีการประกาศใช้กฤษฎีกาว่าด้วยการป้องกันตนเองในการค้าขายสินค้ากับต่างประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2545 แล้วก็ตาม และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเบี้ยบ้ายรายทางด้วย
2. เวียดนามมีการใช้มาตราการที่ไม่ใช่ภาษีในการปกป้องทางการค้า ได้แก่ การประเมินภาษี โดยใช้ราคากลางที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับการพิจารณาสินค้าของแต่ละประเทศ และการเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าบางชนิดของไทย
3. กำลังซื้อของประชากรส่วนใหญ่ในเวียดนามอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นในเมืองใหญ่ เช่น นครโฮจิมินห์ และกรุงฮานอย อย่างไรก็ตามบริเวณเมืองใหญ่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการแข่งขันสูง ทั้งสินค้าของเวียดนาม จีน และ ประเทศอื่น ๆ เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด
4. อัตราภาษีนำเข้าโดยทั่วไปของเวียดนามยังอยู่ในอัตราสูง โดยเฉพาะสินค้าที่เวียดนามสามารถผลิตเองได้ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 30-60 เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ภาษีนำเข้าร้อยละ 30 และ VAT ร้อยละ 10 ) และอัญมณีสำเร็จรูป (ภาษีนำเข้าร้อยละ 40 และ VAT ร้อยละ 10) เป็นต้น นอกจากนี้ การที่เวียดนามใช้ราคากลางของรัฐบาลเป็นราคาขั้นต่ำ ในการประเมินภาษีนำเข้า แทนการใช้ราคาที่แสดงใน Invoice ทำให้ราคาที่ใช้เป็นฐานภาษีสูงกว่าความเป็นจริงมาก นอกจากนี้ การนำเข้าส่วนใหญ่ยังต้องดำเนินการผ่านองค์กรของรัฐบาล ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการติดต่อค้าขายกัน
5. ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าไทยและการปลอมแปลงสินค้ายังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เวียดนามจำหน่ายสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าไทยมาก ไทยจึงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดสินค้าในเวียดนามมากขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่ผ่านมา และที่สำคัญ คือ สินค้าไทยต้องเสียชื่อเสียงจากสินค้าปลอมแปลงในเวียดนามที่ติดป้าย Made In Thailand แต่เป็นสินค้าที่มีคุณภาพต่ำมาก หรือเป็นสินค้าหมดอายุแล้ว เป็นต้น
6. ปัญหาลักลอบค้าขายตามแนวชายแดนของเวียดนามกับประเทศเพื่อนบ้าน(สปป.ลาว กัมพูชา และจีน) ทำให้มีสินค้าคุณภาพต่ำจากประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวของเวียดนามเข้ามาแข่งขันและสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยในเวียดนาม เนื่องจากสินค้าของประเทศคู่แข่งมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับราคาสินค้าของไทย
7. ผู้ส่งออกไทยยังขาดความชำนาญในการทำการค้ากับชาวเวียดนาม ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น ซึ่งให้ความสำคัญทางการค้ากับเวียดนาม และมีสำนักงานตัวแทน ที่ศึกษาตลาดเวียดนามอย่างใกล้ชิดรู้จักและคุ้นเคยกับตลาดเวียดนามและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเวียดนาม ทำให้ผู้ประกอบการไทยประสบกับการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรง
8. อุปสรรคจากการใช้มาตราการที่มิใช่ภาษีศุลกากร เช่น ข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับการปิดฉลากสินค้าการห้ามนำเข้าสินค้าบางประเภทเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ นอกจากนี้ กฎหมายของเวียดนามกำหนดว่า นักธุรกิจต่างชาติจะไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจนำเข้าและค้าขายในเวียดนาม ยกเว้นนักลงทุนที่เข้ามาตั้งโรงงาน อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจต่างชาติสามารถตั้ง Representative Office ได้โดยไม่ต้องมีรายได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นสองเท่าของนักธุรกิจชาวเวียดนาม เป็นต้น
9. การต่อต้านการแข่งขัน
10. ปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ภาวะเงินเฟ้อลุกลามมากกว่าประเทศอื่นใดในเอเชีย ด้วยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่สูงถึง 25.2% ในเดือนพฤษภาคม 2551 นับว่าสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2535 เฉพาะราคาอาหารอย่างเดียวถีบตัวขึ้นมาถึง 67.8%
11. ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2551 อัตราแลกเปลี่ยนเงินด่องมีความผันผวน เงินด่องมีแนวโน้มอ่อนค่าลง การเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนเงินเหรียญสหรัฐอย่างรุนแรง
12. ปัญหาการขาดดุลการค้าสูงถึง 14.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ 4.63 แสนล้านบาท เฉพาะการนำเข้าเพิ่มขึ้น 67% ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น 27%
โอกาส
1. เป็นตลาดขนาดใหญ่ (ประชากร 85.3 ล้านคน ) และเป็นฐานการผลิต (Production Base) เพื่อส่งสินค้าไปตลาดโลกและประเทศใกล้เคียงที่มีชายแดนติดกับเวียดนาม เป็นช่อง/ประตูเข้าและออก (Gate way) ที่จะขยายธุรกิจ
2. ระดับการเปิดประเทศของเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างมากภายใต้แผนการปฏิรูปเศรษฐกิจ เป็นประเทศที่เปิดรับนักลงทุนและนักท่องเที่ยว การที่เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก WTO ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับปรุง กฎระเบียบและกฎเกณฑ์ทางการค้าให้สอดคล้องกับกติกาการค้าโลก รวมทั้งให้เป็นไปในทางที่ผ่อนคลาย ยกเลิกหรือลดมาตรการการกีดกันและข้อจำกัดทางการค้า รวมทั้งลดอัตราภาษีศุลกากรจะช่วยส่งผลให้ธุรกิจการค้าและการนำเข้าสินค้า มีแนวโน้มขยายตัวยิ่งขึ้น อาทิ มีการลดกำแพงภาษี และมาตรการกีดกันทางการค้าจาก AFTA และ FTA ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าแก่นักลงทุนต่างชาติและมีการออกกฎหมายการเปิดตลาดการค้า รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกฎหมาย และระเบียบการค้า การลงทุน
3. สมาชิก WTO ได้จัดหาหนทางในการให้สิทธิทางการค้า สถานะความสัมพันธ์ทางการค้าปกติอย่างถาวรกับสหรัฐ หรือ PNTR ซึ่งในการนี้จะช่วยเพิ่มการค้าและการลงทุนมากขึ้นไม่เฉพาะกับสหรัฐฯเท่านั้น
4. เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวเพิ่มเป็น 2 เท่า ในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งมีผลทำให้มีกิจกรรมทางการค้าเพิ่มขึ้นด้วย
5. เป็นตลาดที่มีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวมาโดยตลอด เวียดนามคาดหวังว่าจะมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าเวียดนามจำนวน 5 ล้านคนในปี 2551 ทำรายได้เข้าประเทศ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้น 14.3 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับ ปี 2550
6. รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างจังหวัดและการสร้างเครื่อข่ายคมนาคมเชื่อมต่อระหว่าง จีน และอาเซี่ยน ผ่านเวียดนาม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้เป็นประตูกระจายและลำเลียงสินค้าที่สำคัญจากเวียดนามสู่ประเทศใกล้เคียง
7. การสร้างนิคมอุตสาหกรรม เขตพัฒนาเศรษฐกิจ เขตความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดน ซึ่งมีนโยบายให้สิทธิพิเศษด้านลงทุน เพื่อทำให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางการผลิต
8. เวียดนามมีความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศในหลายมิติ ทั้งในกรอบ WTO, APEC,ASEAN, GMS ฯลฯ
โดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
Upload Date : สิงหาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th
เวียดนามเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยสูงสุดในระหว่างปี 2546 — 2550 อัตราเติบโตเฉลี่ย 8.0% ต่อปี เทียบกับประเทศอาเซียนอื่นๆที่มีอัตราการขยายตัว 4% - 5% ต่อปี ในช่วงเดียวกัน เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากจีน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลงทุนของต่างประเทศ การส่งออกวัตถุดิบ (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน) สิ่งทอ เครื่องหนัง และสินค้าเกษตร เป็นต้น ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาท้าทายของการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.96 ในปี 2551 ในขณะที่ปี 2548, 2549 และ 2550 อัตราเงินเฟ้อมีอัตราแค่ร้อยละ 8.3, 8.7 และ 12 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้สร้างความกังวลแก่รัฐบาลเวียดนามอย่างมาก ธนาคารชาติของเวียดนามได้ใช้นโยบายการเงินเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดเงิน โดยให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มสัดส่วนการกันเงินสำรองและออกมาตรการต่างๆ รวมถึงการออกพันธบัตรให้อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ โดยในปี 2551 เป้าหมายการควบคุมอัตราเงินเฟ้อจะเป็นข้อจำกัดสำคัญสำหรับรัฐบาลเวียดนามในการใช้เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการส่งเสริมการส่งออก (เวียดนามพยายามรักษาระดับค่าเงินด่องไม่ให้แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออก) โดยเชื่อว่าธนาคารชาติเวียดนามจะเผชิญแรงกดดันให้ต้องปล่อยให้ค่าเงินด่องเป็นไปตามทิศทางของตลาดมากขึ้น
2.แนวโน้มทางเศรษฐกิจ
- คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2551
ภาวะเศรษฐกิจของเวียดนามยังคงมีแนวโน้มแจ่มใสในปีนี้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวประมาณ 8.5% - 9% ในปี 2551 นับว่าเป็นอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ การบริโภค การลงทุนในประเทศและการส่งออก ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ เนื่องจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นมาก (1 เท่าตัวช่วงปีที่แล้ว) ดังนั้นปลายเดือนพฤษภาคม 2551 รัฐบาลได้ปรับเป้าหมายของการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเหลือประมาณ 7% และธนาคารโลกได้คาดการณ์ ว่าปีนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 7.5%-8 % เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ การที่เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเร็ว ทำให้เวียดนามเป็นตลาดการค้า แหล่งท่องเที่ยว และทำเลลงทุนแห่งใหม่ ที่ต่างชาติให้ความสนใจเพิ่มขึ้น ประกอบกับเวียดนามเปิดประเทศสู่ประชาคมโลกมากขึ้น โดยเฉพาะการที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก WTO จะส่งผลดีต่อเวียดนาม ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
- สถานการณ์เงินเฟ้อของเวียดนาม
สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนามรายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2551 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. 2551 อีก 2.14% ซึ่งถือเป็นสถิติการเพิ่มรายเดือนที่สูงที่สุดนับแต่ปี 2538 โดยหากแยกเป็นรายจังหวัด จะพบว่า CPI ที่กรุงฮานอยเพิ่ม 2.84% ส่วนที่นครโฮจิมินห์เพิ่ม 4.24% ทั้งนี้ CPI ได้เพิ่มขึ้นแล้ว 20.34% หากนับจากสิ้นปี 2550 และเพิ่มขึ้น 25.2 % หากนับจากเดือน พ.ค. 2550
ปัจจัยสำคัญที่ผลักให้ CPI พุ่งสูงขึ้นคือ กระแสความวิตกเกี่ยวกับราคาข้าว (rice fever) เมื่อกลางเดือน พ.ค. 2551 ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าในหมวดอาหารเพิ่มขึ้นถึง 7.25% ภายในเดือนเดียว หรือเพิ่มขึ้น 42.35% หากเทียบกับเดือน พ.ค. 2550
ปัญหาเงินเฟ้อสูงดังกล่าวได้ทำให้หน่วยงานภาครัฐของเวียดนาม ต้องตัดค่าใช้จ่ายอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการประชุม สัมมนา การใช้รถยนต์ ค่าสาธารณูปโภค การซ่อมแซมอาคารสำนักงาน และการลงทุนด้านทรัพย์สิน โดยในปีงบประมาณปัจจุบัน เทศบาลกรุงฮานอยจะลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารลง 10% หรือประมาณ 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะตัดงบประมาณอีก 32 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการระงับโครงการที่ไม่เร่งด่วน 29 โครการ และอีกหลายโครงการที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินด่องมีความผันผวน
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2551 ร้านรับแลกเงิน(Free Market) รับซื้อเงินเหรียญสหรัฐ โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนถึง 1 เหรียญสหรัฐ ต่อ 17,200 — 17,750 ด่อง ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนทางการ ณ ธนาคารต่างๆ อยู่ที่ 1 เหรียญสหรัฐ ต่อ 16,215 — 16,221 ด่อง และอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างธนาคารอยู่ที่ 1 เหรียญสหรัฐ ต่อ 16,060 ด่อง
การเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญกำลังขยายวงออกไปเรื่อยๆ และธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนเงินเหรียญสหรัฐอย่างรุนแรงเพราะไม่สามารถซื้อเงินเหรียญสหรัฐแข่งกับร้านรับแลกเงินได้ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนทางการ ทำให้ผู้นำเข้าจำนวนมากต้องกู้ยืมเป็นเงินด่อง และนำไปแลกเงินเหรียญสหรัฐในตลาด เพื่อให้มีเงินไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมาก
สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากความต้องการเงินเหรียญของผู้ประกอบการในภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อ การเก็งกำไร และธนาคารแห่งชาติมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะแทรกแซงตลาด เพื่อควบคุมการแลกเปลี่ยนจะไม่สร้างความเสียหายแก่ธนาคารและบริษัททางธุรกิจต่างๆ
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินด่อง ซึ่งสวนทางกับตลาดโลก สืบเนื่องมาจากความต้องการการนำเข้าสินค้าและการแทรกแซงลดค่าเงินด่องของธนาคารแห่งชาติเมื่อเร็วๆ นี้ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกและลดปัญหาการขาดดุลการค้าซึ่งสูงถึง 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้
นักเศรษฐศาสตร์คาดการว่าอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงสิ้นปีนี้น่าจะอยู่ที่ 16,500 ด่อง ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับค่าเงินด่องลดลง 2.35% ซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้าราคาสูงขึ้นและป้องกันวิกฤตจากการขาดดุลชำระเงิน อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่าการลดค่าเงินด่องจะไม่มีผลให้มูลค่าการนำเข้าลดลง เพราะเวียดนามยังจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป ปุ๋ยเคมี วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและอะไหล่
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
2549 2550 6 เดือนแรกปี 2551 เป้าหมายปี 2551
GDP(%) 8.17 8.5 6.5 7 (เป้าหมายเดิม 9%)
GDP per capita(US$) 820 833 850 960
ส่งออก(billion US$) 39.8 48.7 30.63 58.6
นำเข้า (billion US$) 45.0 62.7 44.84 74.4-75.6
FDI (Foreign Direct
Investment) (billion US$) 12.0 20.3 30.9 15.0
In Flation (%) 8.7 12.0 20.34 15.96
ที่มา: กรมสถิติแห่งชาติเวียดนาม
3. การค้าระหว่างประเทศ
เวียดนามมีปริมาณการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการนำเข้าและส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2550 เวียดนามมีปริมาณการค้า 109,217 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วยมูลค่าการส่งออก 48,387 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการนำเข้า 60,830 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นตัวเลขขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ 12,443 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
จากอัตราการเปลี่ยนแปลงของการส่งออกและนำเข้าที่เพิ่มขึ้น แต่อัตราการเพิ่มของการส่งออกน้อยกว่าอัตราเพิ่มของการนำเข้า เมื่อเทียบในปีเดียวกัน ทำให้ตัวเลขดุลการค้าของประเทศเวียดนามขาดดุลในปี 2550 และยังขาดดุลเพิ่มขึ้นในทุกปี สาเหตุที่เวียดนามมีการนำเข้ามากเป็นเพราะเวียดนามยังต้องนำเข้าสินค้าทุน เช่น เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต ในขณะที่สินค้าส่งออกยังคงเป็นด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งมีมูลค่าน้อย เมื่อเทียบกับสินค้าอุตสาหกรรม
เวียดนามขาดดุลการค้าสูง
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของ 6 เดือนแรกของปี 2551 เวียดนามขาดดุลการค้า 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งสูงกว่ามูลค่าการขาดดุลการค้าในปี 2550 ทั้งปีถึง 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยการนำเข้ารวมมีมูลค่า 44.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 30.63 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักของการขาดดุลการค้าสูงมาจากความต้องการนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องจักร (มูลค่า 6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 58.26%) น้ำมันปิโตรเลียม (มูลค่า 7.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 85.47%) เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก(มูลค่า 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 120.57%) ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ (มูลค่า 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 144.56%) และสินค้าบำรุงด้านการเกษตรและปศุสัตว์ เช่น ปุ๋ยและอาหารสัตว์ ที่มีการนำเข้าที่ขยายตัวสูงมาก(มูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 103.87%) ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการขาดดุลการค้าคือ การลดและยกเลิกภาษีตามพันธกรณีภายใต้ WTO และ AFTA
การนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในธุรกิจท้องถิ่นของเวียดนาม มีมูลค่า 30.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 75.86% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ส่วนการนำเข้าสินค้าเพื่อใช้ในโครงการลงทุนของต่างชาติมีมูลค่า 14 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 44.98% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ขณะที่การส่งออกของธุรกิจท้องถิ่นของเวียดนามมีมูลค่า 19.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 41.48% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 และการส่งออกของกิจการลงทุนของต่างชาติในเวียดนามมีมูลค่า 11.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.38% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550
สินค้าส่งออกของเวียดนามที่มีมูลค่าสูงตามลำดับ ได้แก่ น้ำมันดิบ มูลค่า 5.66 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เครื่องนุ่งห่ม มูลค่า 4.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองเท้า 2.27 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาหารทะเล 1.91 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ข้าว 1.47 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
4. การค้าระหว่างประเทศไทยและเวียดนาม
การค้ากับประเทศไทย ในปี 2550 ที่ผ่านมา ไทยได้ดุลการค้าเวียดนาม 2,691.7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีมูลค่าการค้ารวม 4,916 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2551 นายกรัฐมนตรีของไทยเดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและนายกฯ ได้เสนอให้ปรับเป้าหมายมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย — เวียดนามให้เป็น 10,000 เหรียญสหรัฐในปี 2553 (ค.ศ. 2010) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิม 1 เท่าตัว (จากเดิมที่กำหนดไว้ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2553) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเวียดนามเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว
มูลค่าการค้าและดุลการค้าระหว่างไทย-เวียดนาม ปี 2547 — ช่วง 6 เดือนแรกปี 2551
หน่วย : (ล้านเหรียญสหรัฐ)
2547 2548 2549 2550 6 เดือนแรก
ปี 2551
มูลค่าการค้ารวม 2,313.19 3,253.52 3,970.52 4,915.56 3,304.32
ไทยส่งออก 1,876.51 2,363.80 3,074.97 3,803.65 2,570.59
ไทยนำเข้า 436.68 889.71 895.55 1,111.91 733.73
ดุลการค้าไทย-เวียดนาม 1,439.84 1,474.09 2,179.43 2,691.75 1,836.86
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การส่งออก
การส่งออกของไทยไปยังประเทศเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าได้ 2,570.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.77 เทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ น้ำมันสำเร็จรูป (376.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 368.77) เม็ดพลาสติก (222.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 47.39) เหล็กและเหล็กกล้า (178.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 39.07) เครื่องยนต์สันดาปภายในลูกสูบและส่วนประกอบ (84.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 41.36)เคมีภัณฑ์ (78.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 48.02) เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ (77.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 43.24) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (77.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 170.63) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (76.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 56.41) รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ (84.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35) ปูนซีเมนต์ (69.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 100.13) ผลิตภัณฑ์ยาง (69.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 66.84) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (67.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.18)
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเวียดนามในปี 2550 — 6 เดือนแรกปี 2551
หน่วย : (ล้านเหรียญสหรัฐ)
สินค้า มูลค่า ขยายตัว(%)
2550 6 เดือนแรก 2550 6 เดือนแรก
ปี 2551 ปี 2551
1. น้ำมันสำเร็จรูป 398.1 376.2 9.11 368.77
2. เม็ดพลาสติก 342.5 222.7 16.19 47.39
3. เหล็กและเหล็กกล้า 320.8 178.4 30.87 39.07
4. เครื่องยนต์สันดาปภายในลูกสูบและส่วนประกอบ 128.7 84.2 6.46 41.36
5. เคมีภัณฑ์ 118.8 78.8 47.29 48.02
6. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 129.0 77.9 90.47 43.24
7. รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 91.4 77.2 90.88 170.63
8. กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 108.6 76.4 27.99 56.41
9. รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ 84.3 69.8 34.45 100.13
10. ผลิตภัณฑ์ยาง 97.6 69.8 47.79 66.84
11. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 83.0 67.7 81.83 53.18
12. ปูนซีเมนต์ 106.6 67.0 25.77 19.95
13. ยางพารา 72.6 53.1 -40.96 68.89
14. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 89.7 52.6 26.33 22.6
15. หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด 66.8 51.7 28.85 46.79
รวมมูลค่าที่ไทยส่งออก 3,799.78 2,570.6 23.57 58.77
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
กลุ่มสินค้าในตลาด
- สินค้าไทยที่ได้รับการยอมรับในประเทศเวียดนามและมีลู่ทางรับคำสั่งซื้อได้แก่
สินค้ากึ่งวัตถุดิบ กึ่งสำเร็จรูป เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม
สินค้าอาหาร เสื้อผ้า ผ้าผืน เครื่องประดับ ภาชนะของใช้ประจำวัน วัตถุดิบของสินค้าสปา วัตถุดิบสินค้าตกแต่งบ้าน ดอกไม้ประดิษฐ์ เสื้อผ้าฝ้าย(เนื้อบาง) ในรูปแบบที่ทันสมัย ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์และอุตสาหกรรมเบา
- อุตสาหกรรมที่มีลู่ทางขยายการลงทุนในเวียดนาม คือ
อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการผลิตและเป็นฐานในการขยายตัว เช่น ยานยนต์พาหนะและชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ การแปรรูปอาหาร และอาหารสัตว์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากและค่าแรงของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น รองเท้า สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ กระป๋อง อัญมณี ผ้าผืน และปุ๋ย ฯ
- อุตสาหกรรมบริการที่ไทยมีศักยภาพสูง เช่น การท่องเที่ยว โรงพยาบาล กิจการโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น
การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าสินค้าจากประเทศเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าได้ 733.7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (167.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 28.75) น้ำมันดิบ (161.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 30.33) เหล็กและเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (56.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 956.43) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (48.3 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 52.15) เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ (34.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 155.79) ด้ายและเส้นใย (31.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.34) สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง (21.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.35) เคมีภัณฑ์ (21.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 109.88) ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ (16.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.91) ถ่านหิน (12.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 10.04) สบู่ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง (12.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 95.70)
สินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากเวียดนามในปี 2550 — 6 เดือนแรกปี 2551
หน่วย : (ล้านเหรียญสหรัฐ)
สินค้า มูลค่า ขยายตัว(%)
2550 6 เดือนแรก 2550 6 เดือนแรก
ปี 2551 ปี 2551
1. เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 294.2 167.6 5.12 28.75
2. น้ำมันดิบ 264.3 161.6 23.22 30.33
3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 12.9 56.4 43.21 956.43
4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 71.8 48.3 46.01 52.15
5. เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ 46.7 34.1 122.22 155.79
6. ด้ายและเส้นใย 48.2 31.8 29.88 45.34
7. สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป 34.7 21.5 26.94 45.35
8. เคมีภัณฑ์ 29.1 21.3 71.87 109.88
9. ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์ 24.2 16.6 36.40 8.91
10. ถ่านหิน 26.2 12.8 -17.42 -10.04
11. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 22.8 12.4 2.62 17.07
12. สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง 14.3 12.4 55.02 95.70
13. สินแร่โลหะอื่นๆเศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 5.3 10.3 -26.99 239.78
14. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ 15.0 10.2 85.03 49.91
15. สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 8.8 8.6 128.99 213.95
รวมมูลค่าที่ไทยนำเข้า 1,111.90 733.73 24.16 47.29
เวียดนามเสียเปรียบการค้ากับไทย 2,687.88 1,836.86
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
5. การลงทุนในเวียดนาม
ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2551 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนาม มูลค่ารวมได้ 44.5 คิดเป็นจำนวนได้ 654 โครงการ มีนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมีมูลค่าสูงสุดได้แก่ ไต้หวัน มูลค่าการลงทุน 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ ญี่ปุ่น มูลค่า 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ มาเลเซีย มูลค่า 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ บรูไน มูลค่า 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คานาดา มูลค่า 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ สิงคโปร์ มูลค่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และประเทศไทย มูลค่า 3.98 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ อันเป็นผลจากการ
ที่รัฐบาลเวียดนามเร่งเปิดเสรีด้านการลงทุนให้สอดคล้องกับข้อตกลงของ WTO ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจ จึงเข้าไปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น
การลงทุนของต่างชาติในเวียดนามตั้งแต่อดีตถึง 20 กรกฎาคม 2551 มีจำนวนทั้งสิ้นเท่ากับ 8,712 โครงการ และจำนวนเงินลงทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 117,356 ล้านเหรียญสหรัฐ นักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด คือไต้หวัน (มีสัดส่วน 15.03% ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด นับถึง 20 กรกฎาคม 2551 จำนวน 1,903 โครงการ เงินลงทุนรวม 17.64 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 1,764 โครงการ) รองลงมาได้แก่ ญี่ปุ่น (เงินลงทุนรวม 15.94 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 956 โครงการ) สิงคโปร์ (เงินลงทุนรวม 13.68 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 573 โครงการ ) เกาหลีใต้ (เงินลงทุนรวม 11.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 1,795 โครงการ)
กิจการที่ได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากที่สุด คือ กิจการด้านอุตสาหกรรมมีการลงทุนทั้งสิ้น 5,729 โครงการ เงินลงทุนรวม 66,241 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.22 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดการเกษตรและป่าไม้ 933 โครงการเงินลงทุนรวม 4,440 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.78 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดนอนกจากนี้ได้แก่ กิจการบริการต่างๆ เช่นสุขภาพและการศึกษา 276 โครงการ เงินลงทุนรวม 1,612 ล้านเหรียญสหรัฐ โรงแรมและการท่องเที่ยว 214 โครงการ เงินลงทุนรวม 5,562 ล้านเหรียญสหรัฐ การขนส่งและโทรคมนาคม 215 โครงการ เงินลงทุนรวม 4,319 ล้านเหรียญสหรัฐ อาคารสำนักงาน และอพาร์ทเม้นต์ 155 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,775 ล้านเหรียญสหรัฐ การเงินการธนาคาร 83 โครงการ เงินลงทุนรวม 9,101 ล้านเหรียญสหรัฐ เขตพัฒนาเมืองใหม่ 11 โครงการ เงินลงทุนรวม 7,996 ล้านเหรียญสหรัฐ และเขตนิคมอุตสาหกรรม 30 โครงการ เงินลงทุนรวม 1,288 ล้านเหรียญสหรัฐ (ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2551)
เมืองที่นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนมีมูลค่ามากที่สุด คือ นครโฮจิมินห์ (เงินลงทุนรวม 23,52 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 2,535 โครงการ) รองลงมาคือ บาเรีย — หวุงเต่า (เงินลงทุนรวม 15.43 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 162 โครงการ) กรุงฮานอย (เงินลงทุนรวม 11.85 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 1,024 โครงการ) ด่องใน (เงินลงทุนรวม 11.82 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 905 โครงการ) ฮาติ๊ง (เงินลงทุนรวม 7.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน11 โครงการ) บิ่งเซือง (เงินลงทุนรวม 7.62 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 1,527 โครงการ ตามลำดับ (ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2551 )
โครงการลงทุนของไทยในเวียดนามเริ่มตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมาโดยในช่วง 4 ปี แรกยังมีจำนวนไม่มากนักแต่หลังจากนั้นคือตั้งแต่ปี 2535 การลงทุนของนักธุรกิจไทยในเวียดนามมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกระทั่งถึง ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2551 การลงทุนของไทยในเวียดนามมีทั้งสิ้น 176 โครงการ เงินลงทุนรวม 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 8 และเป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย เฉพาะปี 2550 มีโครงการลงทุนของไทยที่ได้รับอนุมัติรวม 24 โครงการ มูลค่า 285 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การลงทุนที่สำคัญคือ ธุรกิจการเกษตรปศุสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การก่อสร้าง โรงแรม ภัตตาคาร อุปกรณ์การก่อสร้าง อะไหล่รถยนต์ จักรยานยนต์ โรงงานกระดาษ โรงงานผลิตอาหาร ต่อไปน่าจะมีการลงทุนในกิจการปิโตรเคมีโทรคมนาคม
6. ปัจจัยสำคัญในการเจาะตลาดเวียดนาม
ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ด้านการตลาดสำหรับเจาะตลาดเวียดนาม
6.1. กลยุทธ์ด้านการสร้างภาพพจน์สินค้าและบริการของไทย
จัดกิจกรรมร่วมทางธุรกิจระหว่างภาคอุตสาหกรรมไทย/ภาคธุรกิจเวียดนาม/ภาครัฐเวียดนาม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสินค้าและนักธุรกิจไทย โดยจะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น
- การจัดงานแสดงสินค้าของไทยในประเทศเวียดนาม อาทิงาน Thailand Exhibition, Thailand Outlet Fair และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติในเวียดนาม จะเป็นเวทีให้กับผู้ส่งออกไทย ทั้งในด้านการหาตลาด ผู้ซื้อและการเข้ามาทดลองตลาด เพื่อตรวจสอบความต้องการของผู้บริโภค
- ดำเนินรักษาความสัมพันธ์ กับหน่วยงานรัฐบาลเวียดนาม ได้แก่ กระทรวงการ วางแผนและการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงการคลัง และอื่นๆ และรักษาความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นกลไกลที่มีประสิทธิภาพในการลงทุนของผู้ประกอบการไทย
- การประชุมสัมมนาร่วมระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย และสภาธุรกิจต่างๆ ของเวียดนาม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและส่งเสริมความร่วมมือทั้งด้านการค้าและการลงทุนอาทิ
6.2. กลยุทธ์ด้านความร่วมมือในอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพและโอกาส
ชาวเวียดนามมีความชื่นชมในคนไทยที่มีความโอบอ้อมอารีย์มากกว่าต่างชาติอื่นๆ อีกทั้งยังมีความชื่นชอบและยอมรับสินค้าที่ผลิตและใช้ตราของไทยทั้งนี้ชาวเวียดนามเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าไทยมากกว่าสินค้าที่มีราคาถูกจากประเทศจีน หรือ ของเวียดนามเอง ชาวเวียดนามส่วนใหญ่เห็นว่าสินค้าไทยมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพเมื่อเทียบกับสินค้าของต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า
6.3 โครงการส่งเสริมนักธุรกิจไทยขยายธุรกิจไปต่างประเทศ (Internationalization)
โดยจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบในการลงทุน และโอกาสในการขยายธุรกิจในเวียดนาม รวมทั้งการจัดนัดหมาย Business Matching ให้กับนักธุรกิจไทยและเวียดนามจัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายและพันธมิตรต่างประเทศของผู้ให้บริการโลจิสติกส์
6.4 สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้นำเข้าเวียดนามและเครือข่ายของผู้นำเข้าและส่งออก
6.5 ติดตามความต้องการของตลาด สถานการณ์ตลาด ในเวียดนาม
6.6 รักษาเสถียรภาพของนโยบายราคาขายโดยมีนโยบายที่ชัดเจนและแน่นอน
6.7 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านสินค้าและบริการ
6.8 ทำการเจาะลึกวิเคราะห์ ข้อมูลทางการค้าการลงทุน
7. ความร่วมมือทางการค้า การลงทุนในเวียดนาม
ความร่วมมือภาคเอกชน
การประชุม Asian Trade Promotion (Forum (ATPF) Annual Meeting ระหว่างวันที่ 2 — 4 เมษายน 2551 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดร่วมกับเจโทรญี่ปุ่น สมาชิกที่เข้าร่วมเป็นหน่าวยงานส่งเสริมการค้าของประเทศต่างๆในเอเซีย ประมาณ 18 ประเทศ อาทิ AUSTRADE CCPIT (จีน) CITEM (ฟิลิปปินส์) กรมส่งเสริมการส่งออก (DEP) HKTDC (ฮ่องกง) International Enterprise หรือ IE (สิงค์โปร์) ITPO (อินเดีย) IPIM (มาเก๊า) KOTRA (เกาหลี) MATRADE(มาเลเซีย) MNCCI (มองโกเลีย) NZTE (นิวซีแลนด์) SLEDB (ศรีลังกา) TDAP (ปากีสถาน) TWTC (ไต้หวัน) และ Vietnam Trade Promition Agency หรือ VIETRADE เป็นต้น
- ร่วมมือกับสำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการส่งออกสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์แห่งชาติ (SIPA) และสมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออกซอฟแวร์ไทย (TSEP) จัดกิจกรรม Trade Show and Seminar “Improve Service Operation Using Cutting — Edge Technology” และการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ในช่วงวันที่ 27 เมษายน 2551 มีผู้ประกอบการไทยจำนวน 14 ราย โดยมีกลุ่มเป้าหมายบริษัทในเวียดนาม (กรุงฮานอย) ที่สมัครเข้าร่วมโครงการประมาณ 80 องค์กร ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานราชการและเอกชนจากธุรกิจสายงานการจัดการข้อมูลสารสนเทศ การบริหารจัดการและการตลาดอาทิ ธนาคารและสถาบันการเงิน โรงพยาบาล โรงแรม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง บริษัทประกัน ธุรกิจค้าปลีก ฯลฯ
- ประสานงานกับบริษัท หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อจัดการนัดหมาย/ประชุมให้แก่นักธุรกิจ/นักลงทุนไทยหาลู่ทางด้านการค้าและโอกาสลงทุนในเวียดนาม
- ร่วมมือกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย และ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดงาน Business Matching — Motorcycle and Parts Cluster (SMEs 007 Plus) วันที่ 11 ธันวาคม 2550 โดยมีบริษัทไทย 10 ราย และบริษัทเวียดนาม 22 ราย
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน ระหว่างสองประเทศและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการค้าและเศรษฐกิจ ระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2536 ณ กรุงฮานอย
- ข้อตกลงความร่วมมือเรื่องข้าว (Working Record) ระหว่างสมาคมอาหารเวียดนามและสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศของไทย ลงนามเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 ณ นครโฮจิมินห์ และวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ณ กรุงเทพฯ
ความร่วมมือภาครัฐบาล
ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทยเวียดนาม (Joint Commission : JC) ลงนามเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2534 มีการประชุมแล้ว 7 ครั้ง ครั้งสุดท้ายระหว่างวันที่ 13-14 มีนาคม 2546 ณ กรุงเทพฯ
- ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2534
- MOU ว่าด้วยความร่วมมือเรื่องข้าวไทย-เวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2535
- MOU ว่าด้วยความร่วมมือเรื่องข้าวไทย-เวียดนาม ฉบับใหม่ ลงนามเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2543 ณ กรุงเทพ
- MOU ว่าด้วยการจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการค้า (The Sub-Committee on Trade) ไทย-เวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2538 ณ นครโฮจิมินห์ มีการประชุมแล้ว 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2542 ณ ประเทศเวียดนาม
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้ำช้อน ลงนามเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับหนังสือเดินทางธรรมดาลงนามเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2540
- ความตกลงขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย ลาวและเวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทาง ธรรมดา ลงนามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2543
- MOU ความร่วมมือการค้าข้าวระหว่างประเทศผู้ส่งออก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย และปากีสถานลงนามเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 ณ กรุงเทพ
- บันทึกความเข้าใจสามฝ่าย รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สหวันนะเขต) และเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 ณ แขวงสหวันนะเขต สปป.ลาว
8. ช่องทางการจำหน่ายสินค้าในเวียดนาม
ช่องการจำหน่ายในเวียดนาม
1. ผู้ส่งออก----> ผู้นำเข้า/ ผู้จัดจำหน่าย/ผู้ผลิต ----> ร้านค้าปลีกทันสมัยขนาดใหญ่
2. ผู้ส่งออก----> ผู้นำเข้า/ ผู้จัดจำหน่าย/ผู้ผลิต ----> ผู้ค้าส่ง ----> ร้านค้าปลีก
3. ผู้ส่งออก----> เอเย่นต์ท้องถิ่น----> ผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่าย/ผู้ผลิต ----> ผู้ค้าส่ง----> ร้านค้าปลีก
4. ผู้ส่งออก----> ร้านค้าปลีกทันสมัยขนาดใหญ่ (เมโทร, บิ๊กซี, Saigon coop, Maximart, Citimart, Fivimart) ช่องทางการจำหน่ายแบบ1 และแบบ 2 มักจะได้รับความนิยมมากที่สุดในเวียดนาม
ช่องทางการจำหน่ายและระบบการกระจายสินค้าในเวียดนาม แบ่งได้เป็นช่องทางหลัก ดังนี้
1. ผู้นำเข้า/ ผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต ผู้ค้าส่งและเอเยนต์ ผู้ค้าปลีกแบบดั้งเดิมรายย่อย
1.1 ในเวียดนามผู้นำเข้าที่ดีโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้จัดจำหน่ายด้วย ผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายของเวียดนาม ยังคงมีส่วนสำคัญ ในการกระจายสินค้า และทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในประเทศ นอกจากนี้ผู้นำเข้าของเวียดนาม และตัวแทนจำหน่ายจะเป็นผู้ติดต่อโดยตรงกับห้างร้าน ต่าง ๆ วีธีที่ดีที่สุดในการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวนี้ คือ การแต่งตั้งตัวแทนท้องถิ่นเพื่อนำเข้าสินค้าโดยตรง หรือ เป็นตัวแทนในการนำเข้าจัดจำหน่ายและทำตลาด โดยมีกลยุทธ์ด้านราคาที่มีประสิทธิภาพ และ มีเครือข่ายของการจัดจำหน่าย ผู้นำเข้าส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าจากผู้ส่งออกโดยรวมสินค้าหลาย ๆ ชนิดใน 1 ตู้ Consolidated Container โดยมีจำนวนสินค้าไม่มากนักในแต่ละชนิด และผู้นำเข้าจะขอให้ทำการส่งเสริมการจำหน่ายและโฆษณาสินค้าให้ด้วยพร้อมกับขอสินเชื่อในการชำระสินค้า การส่งเสริมการจำหน่ายในร้านยังคงจำเป็นสำหรับสินค้าที่ยังใหม่สำหรับตลาด การแสดง ณ จุดขาย และสื่อโฆษณาต่าง ๆ ยังคงมีความสำคัญ เพื่อจูงใจผู้บริโภคที่มีความรู้จำกัดเกี่ยวกับสินค้าต่างประเทศ
1.2 ร้านขายสินค้าปลีกในปริมาณน้อย และตลาดสดยังคงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวเวียดนามจำนวนมาก และมีบทบาทสำคัญในการเป็นช่องทางการจำหน่าย การค้าปลีกแบบดั้งเดิมและแบบท้องถิ่นยังคงยึดตลาดในเวียดนามไปอีกหลาย ๆ ปี อันเนื่องจากระบบการค้าแบบดั้งเดิมยังคงยึดคลังสินค้าและระบบการจัดจำหน่ายไว้ได้ ประกอบกับช่องทางการจัดจำหน่ายของประเทศส่วนมากจะพึ่งพากับช่องทางการตลาดแบบดั้งเดิมนี้อย่างมาก
ตามสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เวียดนามมีตลาดแบบดั้งเดิม หรือ ตลาดสด มีประมาณ 8,000 แห่ง และ ร้านค้าเล็ก ๆ หลายร้อยแห่งทั่วประเทศ ร้านค้าเหล่านี้จะมีพื้นที่ตั้งแต่ 100-300 ตารางฟุต ธุรกิจครอบครัวยังคงได้รับความนิยมจากชาวเวียดนาม เนื่องจากผู้บริโภคมักจะคิดว่า การซื้อที่ศูนย์การค้าต่าง ๆ มักจะมีราคาแพงกว่าตลาดในท้องถิ่นทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากต้นทุนที่สูงกว่าในการบริหารจัดการของศูนย์การค้าและร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่นอกกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ช่องทางการจำหน่าย โดยเฉพาะสินค้าอาหาร มักจะพึ่งพากับช่องทางของการค้าแบบดั้งเดิมนี้ประมาณ 80 เปอร์เซนต์ ของอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศจะผ่านทางการค้าแบบดั้งเดิมนี้
2. ผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีกทันสมัยขนาดใหญ่ผู้นำเข้า/ผู้จัดจำหน่าย จะส่งสินค้าให้กับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ในชานเมือง
โครงสร้างของการขายปลีกในเวียดนามอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง โดยเฉพาะการค้าปลีกที่มีชาวต่างประเทศเป็นผู้ดำเนิน ส่งแรงกระตุ้นให้ธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นเกิดการรวมตัวกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งกับนักลงทุนต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ อาทิ การใช้กลยุทธ์เพิ่มพื้นที่การให้บริการ การปรับปรุงรูปแบบการให้บริการ เช่น การรับสั่งสินค้าทางโทรศัพท์ และให้บริการการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าตลาดในรูปแบบดั้งเดิมจะถูกแทนที่ด้วยตลาดขายปลีกที่มีรูปแบบทันสมัย โดยจำนวนซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดขายปลีกขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้า จะเพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ดึงดูดลูกค้าด้วยการให้บริการที่สมบูรณ์แบบ เช่น ที่จอดรถ สนามเด็กเล่น การให้บริการเกี่ยวกับเด็ก เป็นต้น
ห้างขายปลีกที่ทันสมัยส่วนใหญ่ของเวียดนามตั้งอยู่ ณ บริเวณนอกเมือง เนื่องจากหลบเลี่ยงจากความแออัดและข้อจำกัดของพื้นที่ในตัวเมือง ประกอบกับอัตราการขยายตัวของผู้บริโภคชนบทมีความต้องการสินค้า และมีศักยภาพในการซื้อเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้จะเห็นได้จากผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ เช่น Saigon Coop ได้เปิดกิจการซุปเปอร์มาร์เก็ตจำนวน 3 แห่งที่ Tien Giang, Vinh Long และ My Tho และ Metro Cash and Carry ได้เปิดห้างขายปลีกที่นอกเมืองฮานอย (ทางไปสนามบิน) ไฮฟองและดานัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามแหล่ง ช็อปปิ้งและศูนย์การค้าของเวียดนามส่วนใหญ่เข้ามารวมตัวกันอยู่ที่ฮานอยและโฮจิมินห์ และมีแหล่งช็อปปิ้งและศูนย์การค้าใหม่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ในปี 2005-2008 มีห้างยักษ์ใหญ่ จำนวน 3 แห่งปรากฏตัวขึ้น ได้แก่ “Vincom” “a 21 - storey twin tower” และ “Parkson” ซึ่งเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่ทันสมัยที่สุดในฮานอย ในขณะเดียวกันเมืองโฮจิมินห์ก็มีห้าง “Parkson” ซึ่งเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่หรูหราแห่งหนึ่ง
3. นอกจากนั้นช่องทางการจำหน่ายสินค้าไปสู่ตลาดเวียดนามและประเทศใกล้เคียงอีกช่องทางหนึ่งคือ การค้าตามแนวชายแดนต่างๆ ดังนี้
1. ด่านทางเหนือ ภาคเหนือของเวียดนามจะมีพรมแดนติดกับจีน ซึ่งมีความยาว 1,281 ตารางกิโลเมตร โดยมีด่านชายแดนจีน 3 ด่านใหญ่ ๆ คือ
1.1 ด่าน Langson จังหวัด Langson ติดมณฑลกว่างซีของจีน มีนครหนานหนิงเป็นเมืองหลวง
1.2 ด่าน Mong Cai จังหวัด Quang Ninh เชื่อมเมือง (Quinzhou) มณฑลกว่างซีของจีน
1.3 ด่าน Lao Cai จังหวัด Lao Cai ติดมณฑล ยูนานมีนครคุนหมิงเป็นเมืองหลวง
2. ด่านทางตะวันตก ภาคตะวันตกของเวียดนามจะมีพรมแดนติดกับลาวซึ่งมีความยาว 2,130 ตารางกิโลเมตร โดยมีด่านชายแดนลาว 2 ด่านใหญ่ ๆ คือ
2.1 ด่าน Cau Treo จังหวัด HaTinh
2.2 ด่าน Lao Bao จังหวัด Quang Tri เชื่อมกับสะหวันนะเขตของลาว
3. ด่านทางใต้ ภาคใต้ของเวียดนามจะมีพรมแดนติดกับกัมพูชา มีความยาว 1,228 ตารางกิโลเมตร โดยมีด่านชายแดนกัมพูชา 2 ด่านใหญ่ ๆ คือ
3.1 ด่าน Xamat จังหวัด Tay Ninh
3.2 ด่าน Moc Bai จังหวัด Tay Ninh
เมื่อต้น ปี 2551 นายกรัฐมนตรี ของเวียดนามได้ประกาศจะส่งเสริมการค้าชายแดน ทั้งทางเหนือ ตะวันตก และทางใต้ โดยจะ มีการสร้างโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ศูนย์การค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะส่งเสริมการค้า การลงทุนและ การท่องเที่ยวตามชายแดนดังกล่าว
ระบบการกระจายและนำเข้าสินค้า
ช่องทางในการกระจายสินค้า มีการจำกัดการมีส่วนร่วมของนักลงทุนต่างชาติในการนำเข้าและการจำหน่ายสินค้า ที่สงวนให้แก่ชาวเวียดนาม และบริษัทเวียดนาม ซึ่งชาวต่างชาติและบริษัทต่างชาติสามารถดำเนินการได้โดยการผ่านทางชาวเวียดนาม อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างชาติที่มีโรงงานการผลิตและมีใบอนุญาตในการผลิต ก็อาจได้รับการอนุญาตในการจำหน่ายสินค้าของตัวเองด้วย นอกจากนี้ใบอนุญาตการลงทุนยังอนุญาตให้ผู้ผลิตนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตได้ด้วย รวมทั้งนำเข้าเพื่อจะทดลองตลาดเพื่อวัดผลตอบรับจากผู้บริโภค
ช่องทางการกระจายสินค้าในเวียดนาม สำหรับระบบการจัดจำหน่ายสินค้าของเวียดนามจะแตกย่อยเป็นบริษัทและรัฐวิสาหกิจนำเข้า-ส่งออกในเวียดนาม บริษัทค้าส่งและรัฐวิสาหกิจค้าส่ง ตัวแทน ร้านค้า ฯลฯ
การนำเข้าส่วนใหญ่นั้นเป็นการนำเข้าผ่านตลาดนครโฮจิมินห์ที่ในปัจจุบันยังคงเป็นตลาดนำเข้าและขายส่งใหญ่ที่สุดและมีบริษัทค้าส่งที่เป็นเอกชนมากกว่าซึ่งทำการจำหน่ายส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ขายส่งภายในประเทศที่อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงฮานอยก็อาศัยการสั่งสินค้ามาจากตลาดนครโฮจิมินห์และอีกส่วนหนึ่ง ก็นำเข้าโดยตรงด้วยผู้ค้าส่งรายใหญ่ ๆ มักเป็นบริษัทการค้าของรัฐหรือเป็นเครือข่ายของบริษัทการค้าของรัฐที่เป็นผู้นำเข้าเอง
นอกจากนี้ส่วนผู้ขายส่งและเอกชนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ค้าขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีเงินทุนไม่มากและสามารถครอบคลุมพื้นที่การจำหน่ายไม่มากนัก ทำให้ไม่ค่อยมีการเก็บสต็อกสินค้าหรือสั่งสินค้าแต่ละครั้งในปริมาณที่ไม่มาก สำหรับผู้ค้าส่งในต่างจังหวัดหรือท้องถิ่นส่วนใหญ่มักเป็นเพียงผู้ค้าส่งรายย่อยที่เข้าไปรับซื้อสินค้าจากผู้ขายส่งรายใหญ่ในเมืองไปจำหน่ายหรือส่งจำหน่ายต่อให้แก่ผู้ค้าปลีกในตลาดท้องถิ่น
ส่วนการนำเข้าสินค้านั้นต้องกระทำผ่านบริษัทที่ได้รับอนุญาต ที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทการค้าของรัฐซึ่งบริษัทการค้าที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวอาจเป็นผู้นำเข้าโดยตรงที่มีเครือข่ายการจำหน่ายในประเทศอยู่แล้วหรืออาจเป็นเพียงโบรคเกอร์หรือเอเย่นต์นำเข้าโดยได้รับค่าคอมมิชชั่น มีความต้องการนำเข้าเมื่อใดก็จะมอบให้บริษัทการค้าของรัฐที่ได้รับอนุญาตให้ทำการนำเข้าแทน ส่วนบริษัทการค้าต่างประเทศไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจการค้าและการจำหน่ายสินค้าในเวียดนามแต่อย่างใด แต่บริษัทการค้าต่างประเทศก็สามารถนำเข้าสินค้าผ่านบริษัทการค้าของรัฐที่ได้รับอนุญาตโดยอาศัยกลไกช่องทางจำหน่ายผ่านเครือข่ายของบริษัทการค้าดังกล่าวหรืออาจติดต่อตรงไปยังผู้ใช้ที่เป็นผู้มีความต้องการนำเข้าผู้ขายส่งที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทการค้าเอกชนที่เป็นผู้ต้องการนำเข้าให้สั่งนำเข้าผ่านบริษัทการค้าของรัฐที่ได้รับอนุญาต สำหรับการจัดจำหน่ายสินค้าอาศัยการดำเนินการในรูปของการทำสัญญากับบริษัทผู้จำหน่ายในท้องถิ่นอีกทอดหนึ่ง บริษัทการค้าต่างประเทศที่ดำเนินการในลักษณะนี้จึงจำเป็นต้องมีการเดินทางเข้าไปเยี่ยมเยียนตลาดและลูกค้าเพื่อประสานงานและให้คำแนะนำด้านการตลาด รวมทั้งเพื่อแสวงหาลู่ทางและช่องทางการจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นหรืออาจเลือกวิธีเข้าไปจัดตั้งสำนักงานตัวแทน ในเวียดนาม เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องยิ่งขึ้น แม้ว่าทางการเวียดนามจะยังไม่อนุญาตให้สำนักงานตัวแทนบริษัทต่างประเทศดำเนินธุรกิจการค้าที่มีผลกำไรโดยตรงก็ตามแต่ก็ได้มีการตั้งตัวแทนนำเข้าและตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทต่างประเทศ เป็นกรณี ๆ ไป ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีระเบียบกำหนดไว้อย่างแน่ชัด
กลุ่มผู้ซื้อสำคัญ
หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ใช้ และบริษัทการค้าของรัฐรายใหญ่ที่อาจเป็นทั้งผู้ผลิตหรือผู้ใช้ และผู้นำเข้าไปจัดจำหน่ายเป็นผู้นำเข้าโดยตรงเพื่อนำไปจัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายการจำหน่ายที่มีอยู่แล้วในประเทศซึ่งมีเงินทุนเพียงพอ ทำให้สามารถทำการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณมากพอและมีความรู้ความชำนาญด้านการค้า กลุ่มผู้ค้าภาคเอกชนที่นับว่าครอบคลุมปริมาณธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกในประเทศมากที่สุดที่อาจจัดเป็นผู้มีความต้องการนำเข้ามาก แต่มักไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าโดยตรงได้ จึงทำการสั่งนำเข้าผ่านบริษัทการค้าของรัฐที่ได้รับอนุญาต
กลุ่มผู้ซื้อที่สำคัญกลุ่มหนึ่งได้แก่ บริษัทต่างประเทศและโครงการลงทุนหรือร่วมลงทุนของต่างประเทศ ในเวียดนาม ที่จัดว่ามีความต้องการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจการไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิตและสินค้าเพื่อใช้ในการตกแต่ง เป็นต้น
แนวโน้มช่องทางการจำหน่ายสินค้าในเวียดนาม
ในเมืองใหญ่ ๆ ของเวียดนาม เช่น กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ ไฮฟอง และ ดานัง มีการพัฒนาของร้านค้าสมัยใหม่ ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเมืองอื่นในเวียดนาม ถึงแม้ว่า ตลาดสด และ ร้านขายของชำ ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นช่องทางการจำหน่ายโดยเฉพาะสินค้าอาหาร แต่การเติบโตของ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และ ร้านค้าส่ง ยังคงเพิ่มสูงขึ้นในเขตเมือง เนื่องมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
- การเพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่มีรสนิยมทางตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตหัวเมืองใหญ่
- การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ที่ พ่อ และแม่ต้องทำงานทำให้มีเวลาในการจับจ่ายน้อยลง
- การทำตลาด ด้วยยุทธวิธี ด้านราคา ส่วนลด และ อื่น ๆ เพื่อจูงใจลูกค้ามาใช้บริการ
- การที่ผู้บริโภคเลือกที่จะไปใช้บริการด้วยเหตุผลของ ความสะอาด คุณภาพสินค้า
- การที่ผู้บริโภคนิยมสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตมาแล้ว ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้สอย
จากการที่ประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในสมาชิกสำคัญของ ประเทศอาเซียน ทำให้เวียดนามได้รับสิทธิประโยชน์ และความช่วยเหลือทางการค้า ในทางตรงข้ามเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิก (WTO) เมื่อปี 2007 ทำให้ประเทศเวียดนามต้องเปิดประเทศมากขึ้นเพื่อทำการค้ากับต่างชาติ และ ยังต้องลดภาษี และ พัฒนาระบบการค้า ข้อบังคับต่างๆ ให้ทัดเทียมนานาประเทศ
ในขณะที่บริษัทต่างชาติยังถูกจำกัดสิทธิการจัดจำหน่ายในประเทศเวียดนาม บริษัท และ ผู้จัดจำหน่ายและนำเข้าของเวียดนามยังคงมีส่วนสำคัญในการกระจายสินค้าและทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ผู้นำเข้าของเวียดนามยังคงสิทธิที่จะมีตัวแทนจำหน่าย ศูนย์กระจายสินค้า การที่จะเป็นผู้ติดต่อโดยตรงกับห้างร้าน ต่าง ๆ เองอีกด้วย และในบางกรณีผู้นำเข้าของเวียดนามสามารถนำเข้าแบรนด์ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึง Brand loyalty
อย่างไรก็ดีทางร้านค้าชั้นนำ ได้เลือกที่จะนำเข้าโดยตรงจากผู้ส่งออกชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย เช่น ผลไม้ เนื้อสัตว์ และ ผัก และประกอบกับประชากรทั่วไปมีอำนาจการซื้อต่ำ ร้านค้าปลีกทันสมัยโดยทั่วไปจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยตรง
9. SWOT Analysis ของเวียดนาม
จุดแข็ง
1. เศรษฐกิจเติบโตเป็นอันดับสองรองจากจีน อย่างต่อเนื่อง การลงทุนในประเทศ การส่งออก ได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศปีละ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และเงินโอนจากชาวเวียดนามโพ้นทะเล เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ นอกจากนั้นเวียดนามมีเครือข่ายชาวเวียดนามโพ้นทะเล (Viet Kieu) ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจขายส่ง/ขายปลีก/ร้านอาหาร/ร้านขายของชำ เป็นต้น
2. ความแน่วแน่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นสากล และมีนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล รวมทั้งความร่วมมือกับนักลงทุนต่างชาติ ที่ต้องการผลักดันให้เวียดนามเป็นประเทศอุตสาหกรรมต่างๆแทนการพึ่งพาภาคเกษตรและการผลิต
3. ประเทศเวียดนามมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน เหล็ก แร่สังกะสี บอกไซด์ฯ ป่าไม้ ทรัพยากรดินและน้ำ และที่สำคัญมีทรัพยากรมนุษย์มีบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานถึงร้อยละ 65 มีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 90 มีค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูง 45-55 เหรียญสหรัฐ/เดือน
4. เวียดนามมีเสถียรภาพทางด้านการเมืองที่มั่นคง บ้านเมืองมีความปลอดภัย และรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ การอนุญาตให้ส่งผลกำไรกลับประเทศ ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล การอนุญาตให้มีการโอนผลขาดทุนสะสมไปหักกลบผลกำไรในรอบห้าปีบัญชี
จุดอ่อน
1. เวียดนามขาดระบบฐานข้อมูลและสถิติ ที่ใช้ในการวางแผนอาทิข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกของกลุ่มสินค้าต่างๆ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน
2. ระบบการค้าส่วนใหญ่ยังต้องมีการพัฒนาไปสู่ระบบสากลมากขึ้น
3. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ขาดแรงงานมี
ผีมือและผู้บริหารระดับกลาง รวมทั้งการบริหารจัดการในหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่เป็นระบบ
4. วัตถุดิบและสินค้าขั้นพื้นฐานที่ใช้ในอุตสาหกรรมขั้นกลางและปลายน้ำมีคุณภาพต่ำ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ทำให้สินค้าสำเร็จรูปไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ
5. ขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและไม่ได้มาตรฐาน ระบบการคมนาคมไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การขนส่งสินค้าใช้เวลานาน และเกิดการชำรุดเสียหาย
6. มีจุดอ่อนด้านบริหารจัดการขนส่งและโลจิสติกส์ ทำให้การกระจายสินค้าไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร
7. ต้นทุนค่าขนส่งทางเรือสูง เนื่องจากค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือจากไทยไปเวียดนาม มีราคาสูง และมีพื้นที่ระวางไม่เพียงพอกับความต้องการ
8. ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์มีราคาค่อนข้างสูง และมีพื้นที่จำกัด
อุปสรรค
1. เวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบย่อยครั้ง อันเนื่องมาจากการมีกฎหมายท้องถิ่นกำกับดูแลธุรกิจการค้าด้วย ทำให้นักธุรกิจไทยเกิดความสับสนถึงแม้ว่าจะมีการประกาศใช้กฤษฎีกาว่าด้วยการป้องกันตนเองในการค้าขายสินค้ากับต่างประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2545 แล้วก็ตาม และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเบี้ยบ้ายรายทางด้วย
2. เวียดนามมีการใช้มาตราการที่ไม่ใช่ภาษีในการปกป้องทางการค้า ได้แก่ การประเมินภาษี โดยใช้ราคากลางที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับการพิจารณาสินค้าของแต่ละประเทศ และการเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าบางชนิดของไทย
3. กำลังซื้อของประชากรส่วนใหญ่ในเวียดนามอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นในเมืองใหญ่ เช่น นครโฮจิมินห์ และกรุงฮานอย อย่างไรก็ตามบริเวณเมืองใหญ่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการแข่งขันสูง ทั้งสินค้าของเวียดนาม จีน และ ประเทศอื่น ๆ เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด
4. อัตราภาษีนำเข้าโดยทั่วไปของเวียดนามยังอยู่ในอัตราสูง โดยเฉพาะสินค้าที่เวียดนามสามารถผลิตเองได้ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 30-60 เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ภาษีนำเข้าร้อยละ 30 และ VAT ร้อยละ 10 ) และอัญมณีสำเร็จรูป (ภาษีนำเข้าร้อยละ 40 และ VAT ร้อยละ 10) เป็นต้น นอกจากนี้ การที่เวียดนามใช้ราคากลางของรัฐบาลเป็นราคาขั้นต่ำ ในการประเมินภาษีนำเข้า แทนการใช้ราคาที่แสดงใน Invoice ทำให้ราคาที่ใช้เป็นฐานภาษีสูงกว่าความเป็นจริงมาก นอกจากนี้ การนำเข้าส่วนใหญ่ยังต้องดำเนินการผ่านองค์กรของรัฐบาล ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการติดต่อค้าขายกัน
5. ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าไทยและการปลอมแปลงสินค้ายังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เวียดนามจำหน่ายสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าไทยมาก ไทยจึงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดสินค้าในเวียดนามมากขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่ผ่านมา และที่สำคัญ คือ สินค้าไทยต้องเสียชื่อเสียงจากสินค้าปลอมแปลงในเวียดนามที่ติดป้าย Made In Thailand แต่เป็นสินค้าที่มีคุณภาพต่ำมาก หรือเป็นสินค้าหมดอายุแล้ว เป็นต้น
6. ปัญหาลักลอบค้าขายตามแนวชายแดนของเวียดนามกับประเทศเพื่อนบ้าน(สปป.ลาว กัมพูชา และจีน) ทำให้มีสินค้าคุณภาพต่ำจากประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวของเวียดนามเข้ามาแข่งขันและสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยในเวียดนาม เนื่องจากสินค้าของประเทศคู่แข่งมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับราคาสินค้าของไทย
7. ผู้ส่งออกไทยยังขาดความชำนาญในการทำการค้ากับชาวเวียดนาม ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น ซึ่งให้ความสำคัญทางการค้ากับเวียดนาม และมีสำนักงานตัวแทน ที่ศึกษาตลาดเวียดนามอย่างใกล้ชิดรู้จักและคุ้นเคยกับตลาดเวียดนามและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเวียดนาม ทำให้ผู้ประกอบการไทยประสบกับการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรง
8. อุปสรรคจากการใช้มาตราการที่มิใช่ภาษีศุลกากร เช่น ข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับการปิดฉลากสินค้าการห้ามนำเข้าสินค้าบางประเภทเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ นอกจากนี้ กฎหมายของเวียดนามกำหนดว่า นักธุรกิจต่างชาติจะไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจนำเข้าและค้าขายในเวียดนาม ยกเว้นนักลงทุนที่เข้ามาตั้งโรงงาน อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจต่างชาติสามารถตั้ง Representative Office ได้โดยไม่ต้องมีรายได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นสองเท่าของนักธุรกิจชาวเวียดนาม เป็นต้น
9. การต่อต้านการแข่งขัน
10. ปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ภาวะเงินเฟ้อลุกลามมากกว่าประเทศอื่นใดในเอเชีย ด้วยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่สูงถึง 25.2% ในเดือนพฤษภาคม 2551 นับว่าสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2535 เฉพาะราคาอาหารอย่างเดียวถีบตัวขึ้นมาถึง 67.8%
11. ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2551 อัตราแลกเปลี่ยนเงินด่องมีความผันผวน เงินด่องมีแนวโน้มอ่อนค่าลง การเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนเงินเหรียญสหรัฐอย่างรุนแรง
12. ปัญหาการขาดดุลการค้าสูงถึง 14.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ 4.63 แสนล้านบาท เฉพาะการนำเข้าเพิ่มขึ้น 67% ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น 27%
โอกาส
1. เป็นตลาดขนาดใหญ่ (ประชากร 85.3 ล้านคน ) และเป็นฐานการผลิต (Production Base) เพื่อส่งสินค้าไปตลาดโลกและประเทศใกล้เคียงที่มีชายแดนติดกับเวียดนาม เป็นช่อง/ประตูเข้าและออก (Gate way) ที่จะขยายธุรกิจ
2. ระดับการเปิดประเทศของเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างมากภายใต้แผนการปฏิรูปเศรษฐกิจ เป็นประเทศที่เปิดรับนักลงทุนและนักท่องเที่ยว การที่เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก WTO ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับปรุง กฎระเบียบและกฎเกณฑ์ทางการค้าให้สอดคล้องกับกติกาการค้าโลก รวมทั้งให้เป็นไปในทางที่ผ่อนคลาย ยกเลิกหรือลดมาตรการการกีดกันและข้อจำกัดทางการค้า รวมทั้งลดอัตราภาษีศุลกากรจะช่วยส่งผลให้ธุรกิจการค้าและการนำเข้าสินค้า มีแนวโน้มขยายตัวยิ่งขึ้น อาทิ มีการลดกำแพงภาษี และมาตรการกีดกันทางการค้าจาก AFTA และ FTA ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าแก่นักลงทุนต่างชาติและมีการออกกฎหมายการเปิดตลาดการค้า รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกฎหมาย และระเบียบการค้า การลงทุน
3. สมาชิก WTO ได้จัดหาหนทางในการให้สิทธิทางการค้า สถานะความสัมพันธ์ทางการค้าปกติอย่างถาวรกับสหรัฐ หรือ PNTR ซึ่งในการนี้จะช่วยเพิ่มการค้าและการลงทุนมากขึ้นไม่เฉพาะกับสหรัฐฯเท่านั้น
4. เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวเพิ่มเป็น 2 เท่า ในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งมีผลทำให้มีกิจกรรมทางการค้าเพิ่มขึ้นด้วย
5. เป็นตลาดที่มีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวมาโดยตลอด เวียดนามคาดหวังว่าจะมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าเวียดนามจำนวน 5 ล้านคนในปี 2551 ทำรายได้เข้าประเทศ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้น 14.3 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับ ปี 2550
6. รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างจังหวัดและการสร้างเครื่อข่ายคมนาคมเชื่อมต่อระหว่าง จีน และอาเซี่ยน ผ่านเวียดนาม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้เป็นประตูกระจายและลำเลียงสินค้าที่สำคัญจากเวียดนามสู่ประเทศใกล้เคียง
7. การสร้างนิคมอุตสาหกรรม เขตพัฒนาเศรษฐกิจ เขตความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดน ซึ่งมีนโยบายให้สิทธิพิเศษด้านลงทุน เพื่อทำให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางการผลิต
8. เวียดนามมีความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศในหลายมิติ ทั้งในกรอบ WTO, APEC,ASEAN, GMS ฯลฯ
โดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
Upload Date : สิงหาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th