สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย — อิตาลี ปี 2551 (ม.ค-สค.) จากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 2, 2008 14:53 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับอิตาลี
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 1,389.69 100.00 8.73
สินค้าเกษตรกรรม 239.61 17.24 29.45
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 132.38 9.53 81.00
สินค้าอุตสาหกรรม 1,009.59 72.65 5.55
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 8.11 0.58 99.17
สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับอิตาลี
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
นำเข้าทั้งสิ้น 1,033.75 100.00 7.81
สินค้าเชื้อเพลิง 0.58 0.06 79.29
สินค้าทุน 483.57 46.78 -3.86
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 313.65 30.34 14.34
สินค้าบริโภค 218.01 21.09 31.53
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 13.43 1.30 65.01
สินค้าอื่นๆ 4.52 0.44 -38.40
1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - อิตาลี
2550 2551 D/%
(ม.ค.-สค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 2,236.91 2,423.44 8.34
การนำเข้า 958.85 1,033.75 7.81
การส่งออก 1,278.06 1,389.69 8.73
ดุลการค้า 319.22 355.94 11.50
2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดอิตาลี เป็นอันดับที่ 25 มูลค่า 1,033.75 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,033.75 100.00 7.81
1. เครื่องจักรกลและส่วนฯ 219.03 21.19 -3.70
2. ผลิตภัณฑ์โลหะ 80.56 7.79 -42.40
3. เคมีภัณฑ์ 72.91 7.05 6.93
4. เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทย์ฯ 72.72 7.03 110.87
5. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด 55.44 5.36 38.28
อื่น ๆ 91.48 8.85 12.92
3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดอิตาลีเป็นอันดับที่ 19 มูลค่า 1,389.69 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,389.69 100.00 8.73
1. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 19.82 1.43 33.63
2. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 14.47 1.04 2.91
3.เครื่องยนต์สันดาปภายใน 14.41 1.04 -0.55
4.รถจักรยานและส่วนประกอบ 12.77 0.92 14.26
5.เครื่องปรับอากาศ 167.22 12.03 -0.07
อื่น ๆ 216.73 15.60 -21.57
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอิตาลี ปี 2551 (มค.-สค.) ได้แก่
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป: เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 1.82, 15.14, 26.43, 33.63 ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์พลาสติก : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลง -2.52 ในขณะที่ปี 2548 2550 และ 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 59.81, 30.03, 2.91 ตามลำดับ
เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2550 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 7.11, 116.06, 23.31 ตามลำดับอย่างต่อเนื่องแต่กลับมีอัตราการขยายตัวลดลงในปี 2551 (มค.-มิย.)มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ .55 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
รถจักรยานและส่วนประกอบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่าปี 2548 มีอัตราการขยายตัวลดลง -30.54 ในขณะที่ปี 2549 - 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 40.79, 40.61, 14.26 ตามลำดับ
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ: เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่าในปี 2548, 2549 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 25.90, 41.76, .07 ตามลำดับในขณะที่ปี 2550 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 100.62
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอิตาลี ปี 2551 (มค.- สค.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 30 มีรวม 7 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ
ล้านเหรียญสหรัฐ %
1. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 19.82 33.63 สำหรับรายการสินค้าที่มีศักยภาพของไทยที่กลุ่ม
6. อัญมณีและเครื่องประดับ 130.47 280.29 อุตสาหกรรมต่างๆ เสนอให้อียูลดภาษีเหลือ 0%
8. เคมีภัณฑ์ 77.91 73.19 ทันที หรือโดยเร็วที่สุดในสินค้าเกษตรและอาหาร
12. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 45.69 50.24 อาทิ ส้มโอ ทุเรียน มะม่วง มังคุดลำไยสับปะรด
16. ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 32.01 4,366 กล้วยไม้ตัดดอก ข้าว หน่อไม้ฝรั่ง มันสำปะหลัง
18. โทรศัพท์ เครื่องตอบรับ 30.39 680.82 พาสต้ายัดไส้ อาหารปรุงแต่งที่ทำจากข้าวปรุงแต่ง
20. ข้าว 27.25 260.33 ขนมปังอบกรอบ เครื่องแกงสำเร็จรูป น้ำปลา น้ำจิ้มไก่
ยาสูบ น้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว กากน้ำตาล
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ผักกระป๋อง
ผลไม้กระป๋อง และข้าวโพดหวานกระป๋อง เป็นต้น
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ประกอบด้วย สิ่งทอ
เครื่องนุ่งห่ม อัญมณี และเครื่องประดับ เครื่องสำอาง
เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอิตาลี ปี 2551 (ม.ค.-สค.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 7 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
3. เครื่องยนต์สันดาปภายใน 14.41 -0.55
5. เครื่องปรับอากาศและส่วนฯ 167.22 -0.07
10. เหล็ก เหล็กกล้า 65.91 -26.30
11. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ 58.08 -56.06
19. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 28.66 -14.63
21. เครื่องจักรกลและส่วนฯ 24.73 -19.51
25. ผ้าผืน 21.03 -14.63
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
อิตาลีเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวอันดับต้นๆในกลุ่มภูมิภาคยุโรป มีปริมาณการผลิตปีละประมาณ 1.4 ล้านตัน โดยแหล่งผลิตจะอยู่ในพื้นที่ราบตอนเหนือของอิตาลี เช่น ในแคว้นลอมบาร์ดี พิอามองเต้ ใช้บริโภคภายในประเทศประมาณร้อยละ 75 ที่เหลือส่งออกจำหน่ายในภูมิภาคยุโรปและใกล้เคียง ปริมาณการบริโภคของประชากรต่อคนต่อปีประมาณ 7 กิโลกรัม (ปี 2550 มีปริมาณการบริโภค รวมทั้งสิ้น 311,195 ตัน) ชนิดข้าวที่อิตาลีผลิตได้มีหลากหลายประเภท เช่น ข้าวเมล็ดกลม (ใช้ทำซุปและทำขนมเค๊ก) ข้าวเมล็ดกลาง และข้าวเมล็ดยาว (ใช้ทำ Risotto และทำอาหารหลากชนิด) รายละเอียดปริมาณการผลิตข้าวแยกตามประเทศผู้ผลิตสำคัญในภูมิภาคยุโรป การนำเข้า การนำเข้าของอิตาลีจะเป็นไปตามระเบียบของสหภาพยุโรป
มีการกำหนดปริมาณโควต้านำเข้า ในปี 2551
ข้าวชนิดสีแล้ว(Milled Rice) ปริมาณโควต้ารวมประมาณ 103,000 ตันภาษีนำเข้า 0 แยกเป็นไทย 27,000 ตัน(ขณะนี้คงเหลือโควต้า 7,100 ตัน) สหรัฐ 41,000 ตัน ออสเตรเลีย 1,000 ตัน อินเดีย 1,800 ตัน ปากีสถาน 1,600 ตัน และอื่นๆ 30,600 ตัน ข้าวหัก (Broken Rice) ปริมาณโควต้ารวม 100,000 ตัน ภาษีนำเข้า 45 ยูโร/ตัน แยกเป็นไทย 52,000 ตัน (ขณะนี้คงเหลือโควต้า 30,070 ตัน
อิตาลีไม่มีการเก็บสต๊อกข้าวแต่อย่างใด ปริมาณการนำเข้าข้าวของอิตาลี ในปี 2550 อิตาลีนำเข้าข้าวทั้งสิ้น 134,827 ตัน มูลค่า 70.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนซึ่งนำเข้า 159,928 ตัน มูลค่า 68.92 ล้านเหรียญ สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 15.7 โดยนำเข้าจากอินเดียอันดับ 1 ปริมาณ 53,792 ตันมูลค่า 25.58 ล้าน เหรียญสหรัฐ และปากีสถานอันดับ 3 ปริมาณ 16,948 ตัน มูลค่า 7.86 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาเป็นการนำเข้าจากฝรั่งเศส อียิปต์ และบังคลาเทศ
EU แก้ไขภาคผนวกของกฎระเบียบการใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สัมผัสกับอาหาร
ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป อียูจะบังคับใช้กฎระเบียบการใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สัมผัสกับอาหารฉบับใหม่ (Commission Directive2008/39/EC) โดยกฎระเบียบฉบับใหม่นี้เป็นการปรับแก้ไขภาคผนวกของกฎระเบียบเดิม (Commission Directive 2002/72/EC) ในส่วนของบัญชีรายชื่อตัวสาร(Substance) และสารเสริม (Additive) ตลอดจนค่า SML(Specific migration limit) ของสารแต่ละตัวที่อนุญาตให้มีในวัสดุและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สัมผัสกับอาหารได้ การปรับเปลี่ยนนี้อยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการยุโรปด้านห่วงโซ่อาหารและสุขภาพสัตว์ (EU Standing Committee on the Food Chain and Animal Health) และยึดถือแนวทางให้สอดคล้องกับกฎระเบียบว่าด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์และสารที่สัมผัสกับอาหาร (Regulation (EC) No 1935/2004 of the European Parliament and of the Council of 27 October 2004 on materials and articles intended to come into contact with food) ทั้งนี้ อียูมีการกำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านในการปรับใช้กฎระเบียบดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป การค้าขายและการใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สัมผัสกับอาหารจะได้รับอนุญาตก็ต่อเมื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบ Directive 2002/72/EC ที่ได้รับการแก้ไขตามกฎระเบียบนี้แล้ว
2. ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป ห้ามการผลิตและการนำเข้าวัสดุและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สัมผัสกับอาหารที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ Directive 2002/72/EC และไม่ได้รับการแก้ไขตามกฎระเบียบนี้ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://eurlex. europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2008:063:0013:EN:PDF ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรติดตามและศึกษากฎระเบียบ ดังกล่าว เพื่อให้สามารถปรับตัวในด้านการผลิตและส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สัมผัสกับอาหารให้สอดคล้องและเป็นไปตามระเบียบใหม่ของอียู อนึ่ง ไทยส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกไปอียูมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 4,800 ล้านบาทโดยในปี 2550 ไทยส่งออก วัสดุและบรรจุภัณฑ์พลาสติกไปอียูมูลค่า 4,600 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าส่งออกมูลค่า 4,960 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7
เมื่อเร็วๆ นี้ นิตยสารชื่อดังในอิตาลี La Pelle ได้รายงานว่า โรงพยาบาลของไทย ประกอบด้วย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับว่ามีการจัดระบบและมีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ดีที่สุดในโลก และได้แนะนำให้ชาวยุโรปเดินทางมารักษาพยาบาลในไทย ผ่านการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เพราะโรงพยาบาลของไทยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี และไม่มีปัญหาด้านภาษา เนื่องจากมีล่ามคอยให้ความช่วยเหลือ นอกจากนี้ การแนะนำ ยังระบุว่า นอกจากการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยแล้ว ควรจะใส่ใจตรวจรักษาสุขภาพด้วย เพราะค่ารักษาพยาบาลในไทยราคาถูก ไม่ต้องรอคิวให้บริการนาน โดยเฉพาะความหลากหลายและมีระดับมีโครงสร้างที่มีคุณภาพ ตลอดจนมีการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์เข้ามาใช้ ขณะเดียวกัน ผู้ที่ประสงค์จะขอเข้ารับบริการ ยังสามารถรับข้อเสนอพิเศษจากโรงพยาบาลได้ อาทิเช่น การเสนอขายแพ็คเกจรวมการเดินทาง การต้อนรับที่สนามบิน การรักษาและความช่วยเหลือต่อเนื่องหลังการรักษาด้วย "ขณะนี้ โรงพยาบาลไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับในสายตาคนยุโรปมากขึ้น เพราะเดิมคนเหล่านี้ จะให้ความสำคัญกับชื่อเสียงความชำนาญของนายแพทย์เป็นอันดับแรก แต่เมื่อเดินทางมารักษาพยาบาลในไทย และรู้ถึงฝีมือการให้บริการ ก็เริ่มให้การยอมรับมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเข้ามารักษาพยาบาลในไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกรมส่งเสริมการส่งออกจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะถือเป็นบริการหนึ่งที่จะหารายได้เข้าประเทศ" ทั้งนี้ ตลอดปี 2550 ที่ผ่านมา มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารักษาพยาบาล ในโรงพยาบาลทั้ง 2แห่งกว่า 7 แสนคน จาก 150 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้เป็นชาวอิตาเลียนประมาณ 1,000 คน
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ