รายงานการเข้าเยี่ยมพบนักธุรกิจประจำเดือนกันยายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 3, 2008 14:53 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ข้อมูลบริษัท 
1.1 Name : Taiwan Electrical and Electronic Manufacturers’ Association (TEEMA)
1.2 Address : 6F, No.109, Min Chuan Rd., Sec.6, Taipei, Taiwan
Tel: 886-2-87926666
Fax: 886-2-87926088
E-mail : roger@teema.org.tw
Web-site: http://www.teema.com.tw
1.3 ขนาดของกิจการ
- ปีที่ก่อตั้ง : 1948
- จำนวนสมาชิก : 3,804
1.4 บุคคลและตำแหน่งที่เข้าพบ
Mr. David W.J. Chen, President
Mr. Roger Liao, Deputy Director
1.5 Business Type : Association
1.6 Main Products :
- All kind of Electricals, Electronics, Computers and Communication Products
2. สรุปผลการเข้าพบ (Summary)
TEEMA เป็นสมาคมทางธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์และอีเลคทรอนิคส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีสมาชิกมากที่สุดแห่งหนึ่งของไต้หวัน ซึ่งผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอีเลคทรอนิคส์ทุกรายจำเป็นต้องเข้าเป็นสมาชิกของ TEEMA ปัจจุบัน มีจำนวนสมาชิก 3,804 บริษัท โดยมีทุนจดทะเบียนรวมคิดเป็นมูลค่า 76,838.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานระหว่างภาครัฐบาลกับภาคเอกชน นอกจากนี้แล้ว TEEMA ยังมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยความร่วมมือของสมาชิก และยังมีการให้บริการด้านข่าวสารข้อมูลทางเทคโนโลยีและการตลาดจากทั่วโลกรวมทั้งยังมีการจัดคณะเพื่อออกแสดงสินค้าในต่างประเทศรวมทั้งในประเทศไทยด้วย
ปัจจุบันไต้หวันนับเป็นประเทศผู้ค้นคว้าวิจัย ผลิตและส่งออกสินค้า IT ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก (รวมการผลิตจากโรงงานของบริษัทไต้หวันในต่างประเทศ) ด้วยมูลค่าตลาดรวมในปี 2550 ประมาณ 96,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 จากปีก่อนหน้าโดยมีสินค้า 20 กว่าชนิดที่มีมูลค่าตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกด้วย ได้แก่ PDA, WLAN, ADSL, Notebook PC, LCD Monitor, Monitor, Motherboard, Power Supply, Case, Scanner, Graphic Card, Keyboard, USP, Mouse, Sound Card, Video Card, Hub, Modem, Network Card และ CD-ROM โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ Notebook PC ที่สินค้าไต้หวันสามารถครองสัดส่วนตลาดโลกในปี 2550 มากถึงร้อยละ 93
จากการที่ธุรกิจไฟฟ้าและอีเลคทรอนิคส์จัดเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต และมีการเปลี่ยนแปลงของภาวะทางการตลาดสูง มีผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆออกสู่ตลาดตลอดเวลา ทำให้นักธุรกิจไต้หวัน นิยมลงทุนในหลายๆพื้นที่ เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นที่ผ่านมามีนักธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่เดินทางไปลงทุนสร้างโรงงานที่จีนแผ่นดินใหญ่ และประเทศในแถบอาเซียน โดยในปัจจุบัน เวียตนามเป็นประเทศที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนชาวไต้หวันมากที่สุด ซึ่ง Mr. Chen แจ้งให้ทราบว่า อุปสรรคสำคัญของการไปลงทุนในอาเซียนคือภาษา รองลงมาได้แก่ความแตกต่างของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม โดยนอกจากนี้ Mr. Chen ได้แสดงความคิดเห็นต่อสำนักงานฯ ว่า ไทยมีปัจจัยที่ส่งเสริมเกื้อกูลต่อการลงทุนของชาวต่างชาติเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ค่อนข้างเกื้อหนุน ประกอบกับทำเลที่ตั้งที่เป็นเสมือนศูนย์กลางของอาเซียน และนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ ของรัฐบาลที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ปัจจุบันไทยกลายเป็น Cluster สำคัญของเอเชียในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ และสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ คาดว่าหลังจากปัญหาด้านการเมืองได้รับการแก้ไขและมีเสถียรภาพมากขึ้น ไทยจะกลับมาเป็นที่สนใจของนักลงทุนไต้หวันอีกอย่างแน่นอน
3. ปัญหาและข้อเสนอแนะ
ที่ผ่านมาสินค้าไต้หวันถือเป็นตลาดส่งออกสินค้าคอมพิวเตอร์และอีเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่านำเข้าสินค้า IC จากไทยลดลงถึงร้อยละ 39 สาเหตุสำคัญมาจากการที่ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการชะลอตัว ทั้งจากปัญหา Sub-prime ในสหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น จนส่งให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศ ทำให้ผู้บริโภคในตลาดหลักของไต้หวัน ทั้งญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป เพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของสินค้า 3C จึงส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้การผลิตลดลง จนทำให้การนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตลดตามไปด้วย โดยในชั้นนี้คาดว่ากว่าเศรษฐกิจทั่วโลกในปีหน้าจะยังอยู่ในภาวะที่ซบเซาต่อเนื่องและกว่าที่เศรษฐกิจจะกลับมาอยู่ในภาวะคึกคักอีกครั้งอาจต้องรอถึงปี 2553
ทั้งนี้ สมาคมฯ ยังได้แนะนำว่าผู้ส่งออกไทยในสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ น่าจะพิจารณาเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Taitronics ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าด้านอีเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพื่อขยายฐานลูกค้าของตน นอกจากนี้ จากการที่สมาคมฯ ได้จัดงานแสดงสินค้า Taitronics Bangkok ขึ้นที่กรุงเทพฯ เป็นปีที่สามติดต่อกันแล้ว จึงประสงค์จะหา Partner ในการจัดงานสำหรับปีหน้า และประสงค์จะแสวงหาความร่วมมือกับกรมฯ ในการจัดงานในช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2552 ด้วย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ