ญี่ปุ่นสรุปการเจรจา EPA กับเวียดนามและสวิสเซอร์แลนด์

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 8, 2008 16:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มาตรการภาษีนำเข้า
อัตราภาษีนำเข้าสินค้าน้ำตาลของประเทศอินโดนีเซีย เป็นดังนี้
1.1. อัตราอากรขาเข้า — ทั่วไป (MFN Rate)
1.1.1. น้ำตาลทรายพิกัด HS Code 1701.11.00.10 อัตราอากร 550 รูเปีย/ ก.ก. (ประมาณ 2 บาท/ ก.ก.)
1.1.2 น้ำตาลทรายพิกัด HS Code 1701.11.00.90 — 1701.99.90.00 อัตราอากร 790 รูเปีย/ ก.ก.(ประมาณ 2.90 บาท/ ก.ก.)
1.2 อัตราอากรขาเข้าภายใต้ AFTA (CEPT)
อากรขาเข้าน้ำตาลภายใต้ AFTA (การนำเข้าจากสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน) อัตราอากรเป็น 0
1.3 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 10
2. มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี
อินโดนีเซียได้ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าน้ำตาล ดังนี้
1) Presidential Decree of the Republic of Indonesia No. 57 Year 2004 Regarding Stipulation of Sugar as Commodity under Supervision กฎระเบียบซึ่งออกโดยประธานาธิบดี ประกาศใช้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 กำหนดให้สินค้า
น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุม เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงเรื่องอาหาร (food security) และมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซีย
2) Decree Minister of Industry and Trade, the Republic of Indonesia No. 527/MPP/Kep/9/2004 Regarding Provision of Sugar Import กฎระเบียบซึ่งออกโดยกระทรวงการค้า ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2547 กำหนดหลักเกณฑ์
การอนุญาตผู้นำเข้าน้ำตาลเพียง 2 ประเภทเท่านั้นที่สามารถนำเข้าน้ำตาลได้ คือ
1. ผู้นำเข้าน้ำตาลประเภทผู้ผลิต (Sugar Producer Importer: Sugar IP) เท่านั้น ที่จะนำเข้าน้ำตาลทรายดิบจากต่างประเทศได้ มีจำนวน 5 ราย คือ 1) PT. Gunung Madu Plantations 2) PT. Naga Manis Plantation 3) PT. Perkebunan Nusantara X 4) PT. Sakinah Utama 5) Sweet Indolumpung
2. ผู้นำเข้าน้ำตาลที่จดทะเบียน (Sugar Register Import: Sugar IT) เท่านั้น ที่จะนำเข้าน้ำตาลทรายขาว(Plantation White Sugar) ได้ โดยการนำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎระเบียบด้วย มีจำนวน 6 ราย คือ 1) PT. Perkebunan Nusantara IX 2) Perkebunan Nusantara X 3) PT. Perkebunan Nusantara XI 4) PT. Rajawali Nusantara 5) Badan Urusan Logistik (BULOG) 6) Perusahaan Perdagangan Indonesia
3) Amendment of Decree of the Minister of Trade No. 02/M/KEP/XII/2004 on Amendment of Decree Minister of Industry and Trade, the Republic of Indonesia No. 527/MPP/Kep/9/2004 on Provision on Import of Sugar (Regulation of the Ministry of Trade No. 08M-DAG/Per/4/2007 dated April 30, 2007)
กฎระเบียบกระทรวงการค้า แก้ไขเพิ่มเติมกฎระเบียบฉบับปี 2547 กำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้า
น้ำตาลทรายขาว (Plantation White Sugar) สรุปได้ดังนี้
1. ช่วงเวลาที่ไม่อนุญาตให้นำเข้าน้ำตาลคือ ช่วง 1 เดือนก่อนฤดูกาลหีบอ้อย (milling season) ช่วงระหว่างฤดูกาลหีบอ้อย และช่วง 2 เดือนหลังจากฤดูกาลหีบอ้อย
2. หากราคาน้ำตาลทรายขาวที่ผลิตได้ภายในประเทศมีราคาสูงกว่า 4,900 รูเปีย/ ก.ก. (ประมาณ 17.80 บาท)
3. หากปริมาณผลผลิตในประเทศ และปริมาณสต็อกของน้ำตาลทรายขาวไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ
3. ราคาควบคุมน้ำตาลทราย
ราคาควบคุมน้ำตาลทรายกำหนดไว้ในหนังสือของกระทรวงการค้า ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 ธ.ค. 50 (Stabilization of Sugar Prices, Letter of the Minister of Trade of the Republic of Indonesia No. 1307/M-DAG/12/2006 dated December 27, 2007) กำหนดราคาควบคุมสินค้าน้ำตาลทราย ดังนี้
1. ราคาน้ำตาลของผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ที่ 5,250 รูเปีย/ ก.ก. (ประมาณ 19.00 บาท)
2. ราคาน้ำตาลสำหรับผู้บริโภคในเขตเกาะชวากำหนดไว้ที่ 6,100 รูเปีย/ ก.ก. (ประมาณ 22.20 บาท)
3. ราคาน้ำตาลสำหรับผู้บริโภคนอกเขตเกาะชวากำหนดไว้ที่ 6,300 รูเปีย/ ก.ก. (ประมาณ 22.90 บาท)
4. ปริมาณผลผลิตน้ำตาลทราย
ปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายในประเทศอินโดนีเซีย เป็นดังนี้ (ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย)
ปี พ.ศ. ผลผลิต
2547 2.05 ล้านตัน
2548 2.24 ล้านตัน
2549 2.26 ล้านตัน
2550* 2.40 ล้านตัน
2551* (F) 2.70 ล้านตัน
หมายเหตุ: * เป็นข้อมูลที่ได้จากการสอบถามเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซีย
5. สถิตินำเข้าสินค้าน้ำตาลของอินโดนีเซีย
ข้อมูลสถิตินำเข้าสินค้าน้ำตาลของประเทศอินโดนีเซีย เป็นรายประเทศ (ข้อมูลจาก Statistic Indonesia) โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548 — 2550) อินโดนีเซียนำเข้าน้ำตาลจากประเทศผู้ส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกคือ ไทย ออสเตรเลีย อินเดีย มาเลเซีย และบราซิล โดยอินโดนีเซียนำเข้าน้ำตาลจากประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งในปี 2549 และปี 2550 ยกเว้นปี 2549 นำเข้าจากออสเตรเลียเป็นอันดับหนึ่ง
ข้อมูลจาก Statistic Indonesia ในปีที่ผ่านมาปี 2550 อินโดนีเซียนำเข้าน้ำตาลจากประเทศไทยเป็นอันดับที่หนึ่ง เป็นปริมาณ 1.33 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 463 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ข้อมูลจากกรมศุลกากรของไทย ในปี 2550 ไทยส่งออกน้ำตาลมายังอินโดนีเซียเป็นมูลค่าประมาณ 362 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ