พื้นที่ : 3,287,263 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : English ประชากร : 1.129 bn (mid 2007) อัตราแลกเปลี่ยน : US$1 = Rs 41.3 (2007) (1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 8.5 7.3 Consumer price inflation (av; %) 5.9 7.9 Budget balance (% of GDP) -3.3 -4.3 Current-account balance (% of GDP) -1.1 -2.9 Lending rate (av; %) 11.5 14.1 Exchange rate Rs:US$ (av) 41.3 42.1 Exchange rate Rs:ฅ100 (av) 35.0 39.7 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับอินเดีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 1,576.94 100.00 28.22 สินค้าเกษตรกรรม 57.79 3.66 5.41 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 69.58 4.41 3.75 สินค้าอุตสาหกรรม 1,387.96 88.02 25.91 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 61.61 3.91 263.33 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับอินเดีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 1,320.23 100.00 36.88 สินค้าเชื้อเพลิง 3.99 0.30 -94.48 สินค้าทุน 96.37 7.30 27.74 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 981.54 74.35 51.57 สินค้าบริโภค 197.67 14.97 59.22 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 40.67 3.08 12.51 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - อินเดีย 2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 2,194.42 2,897.17 32.02 การนำเข้า 964.51 1,320.23 36.88 การส่งออก 1,229.88 1,576.94 28.22 ดุลการค้า 265.33 256.71 -3.25 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดอินเดีย เป็นอันดับที่ 19 มูลค่า 1,320.23 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.88 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,320.23 100.00 36.88 1.เครื่องเพชรพลอย อัญมณี 212.79 16.12 13.67 2.พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 208.64 15.80 215.08 3.สินแร่โลหะอื่น 196.70 14.90 40.34 4.เคมีภัณฑ์ 124.22 9.41 12.20 5.เหล็ก เหล็กกล้า 102.57 7.77 196.40 อื่น ๆ 41.72 3.16 36.09 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดอินเดีย เป็นอันดับที่ 14 มูลค่า 1,576.94 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.22 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,576.94 100.00 28.22 1.เม็ดพลาสติก 180.28 11.43 64.57 2.เหล็ก เหล็กกล้า 134.99 8.56 -25.69 3.รถยนต์ อุปกรณ์ฯ 85.12 5.40 10.23 4.เครื่องยนต์สันดาป 81.64 5.18 27.17 5.เครื่องคอมพิวเตอร์ 75.86 4.81 82.40 อื่น ๆ 264.22 16.75 28.04 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอินเดีย ปี 2551 (มค.-มิย.) ได้แก่
เม็ดพลาสติก : อินเดียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่าในปี 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 28.17 สำหรับปี 2547 2548 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 188.50 91.82 64.57 ตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : อินเดียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2550 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 71.07, 24.53, 185.77 ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2551 (มค.-มิย.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 25.69
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบฯ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 31.29 51.4 8.69 และ10.23 ตามลำดับ
เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ : อินเดียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 227.08 20.45 26.58 27.17 ตามลำดับ
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 4.74 138.9 82.4 ตามลำดับ มีปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 40.72
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 1.เม็ดพลาสติก 180.28 64.57 6.ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 74.68 80.55 9.แผงวงจรไฟฟ้า 60.70 233.99 12.ไขมันและน้ำมันจากพืช/สัตว์ 53.51 565.34 13.เครื่องปรับอากาศ 43.30 45.42 15.เครื่องคอมเพรสเซอร์ 34.16 74.96 16.ทองแดงและของทำด้วยทองแดง 26.88 60.09 17.ผลิตภัณฑ์พลาสติก 25.29 40.49 19.ผลิตภัณฑ์ยาง 22.52 52.76 20.เส้นใยประดิษฐ์ 21.96 122.10 23.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนฯ 16.67 54.75 4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอินเดีย ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 4 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 2. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 134.99 -25.69 14.ยางพารา 58.93 -32.25 21.เครื่องสำอาง สบู่ 20.70 -9.73 25.เครื่องทำสำเนา 13.52 -25.77 4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) (TUF) เปิดเผยถึงการลงทุนโดยการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท อะแวนติ ฟีด จำกัด ว่า TUF จะเข้าถือหุ้นสามัญของบริษัท อะแวนติ ฟีด จำกัด 1,190,000 หุ้น หรือคิดเป็น 14.99 % ของจำนวนหุ้นที่ถือทั้งหมด โดยบริษัทได้เข้าซื้อหุ้นในมูลค่าหุ้นละ 40 รูปี คิดเป็นมูลค่าเงินลงประมาณ 40 ล้านบาท สำหรับ บริษัท อแวนติ ฟีด จำกัด เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและส่งออกอาหารกุ้ง และกุ้งแช่แข็ง โดยเป็นผู้ผลิตอาหารกุ้งรายใหญ่อันดับ 2 ของประเทศอินเดีย และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์ของอินเดีย การเข้าลงทุนครั้งนี้ เพราะ บริษัทเป็นพันธมิตรทางการค้ากับ อะแวนติ ฟีด มานานผ่านทางบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์น้ำ ประเภทอาหารกุ้งและอาหารปลา และเป็นบริษัทย่อยของTUF โดยไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีทางด้านการผลิตอาหารกุ้งกุลาดำให้กับอะแวนติ ฟีด เนื่องจากเดิมนั้นรัฐบาลอินเดียอนุญาตให้ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้เพียงอย่างเดียว และเพิ่ง มีนโยบายที่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถเลี้ยงกุ้งขาวได้ โดย TUF มองว่า โอกาสที่กุ้งขาวจะเป็นที่ยอมรับและเติบโตในอินเดียเหมือนประเทศอื่นๆ ที่หันมาเลี้ยงกุ้งขาวแทนกุ้งกุลาดำนั้น มีความเป็นไปได้สูง และไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์มีความชำนาญในเทคโนโลยีการผลิตอาหารกุ้งขาว ทำให้บริษัทเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจอุตสาหกรรมกุ้งให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็มองโอกาสสำหรับการขยายช่องทางการตลาดของสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง และบรรจุกระป๋องอีกด้วย " ตลาดอินเดีย เป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ และเป็นตลาดที่มีอนาคตสดใส เพราะการบริโภคอาหารของคนอินเดียมีลักษณะใกล้เคียงกับสินค้าที่เราขายอยู่ ดังนั้น จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องยากที่ชาวอินเดียจะยอมรับสินค้าประเภทอาหารกระป๋อง เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ได้ " ทั้งนี้ ธุรกิจผลิตอาหารกุ้งนั้น เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมากกับ TUF เพราะที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างเนื่อง เห็นได้จากผลงานของ บริษัทไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ทำกำไรสูงถึง 120% และมียอดขายเติบโตขึ้น 5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกของปี 50 แม้ว่าจะต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น
ข้อตกลงFTA ไทย-อินเดีย เป็นข้อตกลงแรกที่ไทยทำกับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ และเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างอินเดียกับภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันภายใต้กรอบทวิภาคี FTA ไทย-อินเดีย ทั้งสองฝ่ายได้ยกเลิกภาษี จำนวน 82 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2549 จึงเป็นโอกาสดีที่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ก่อน ส่วนสินค้าอีกหลายพันรายการยัง อยู่ในระหว่างการดำเนินการเจรจา โดยมีความคืบหน้าใกล้จะสำเร็จสรุปผลแล้ว จากผลของ FTA ไทย-อินเดีย ทำให้มูลค่า
การค้าระหว่างไทย-อินเดียเพิ่มมากขึ้นในปี 2550 มีมูลค่าการค้ากว่า 163,000 ล้านบาท และใน 7 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่าการค้าประมาณ 114,000 ล้านบาท สินค้าที่ไทยส่งไปอินเดียมากคือ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากอินเดียมากคือ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ที่ผ่านมาการค้าขายกับอินเดียมีปัญหา และอุปสรรค เช่น อินเดียเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง และยังมีการเก็บภาษีอื่นๆภายในประเทศ สำหรับระบบพิธีการศุลกากรมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และล่าช้า ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการขนถ่ายสินค้า และมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มีการลอกเลียนแบบสินค้าเกิดขึ้นจำนวนมากและรวดเร็ว ซึ่งการเจรจาการค้าเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดอุปสรรคและบรรเทาปัญหาลงได้ โดยการทำการค้ากับอินเดียต้องอดทน หนักแน่น และการบุกตลาดอินเดียต้องเรียนรู้ศึกษา สำรวจเจาะลึกสินค้าประเภทเดียวกันกับเราในตลาดอินเดีย เตรียมตัวให้พร้อมด้วยการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้อินเดียยังมีความต้องการสินค้าของไทยอีกมาก เช่น ยางรถยนต์ หมาก สำหรับธุรกิจที่น่าจะมีโอกาสในตลาดอินเดีย คือ ธุรกิจบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภัตตาคาร สปา หรือเครื่องอุปโภคบริโภค
ที่มา: http://www.depthai.go.th