สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย — ตุรกี ปี 2551 (ม.ค-สค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 17, 2008 15:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจตุรกี

ข้อมูลทั่วไป:

เมืองหลวง : Ankara

พื้นที่ : 783,562 ตารางกิโลเมตร

ภาษาราชการ : Turkish

ประชากร : 67,809,927 คน (200 census)

อัตราแลกเปลี่ยน US$ = VTL 1.32 (2008)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                                          4.9         4.8
Consumer price inflation (%)                                 8.7         6.8
Budget balance (% of GDP)                                   -2.5        -3.0
Current-account balance (% of GDP)                          -7.4        -7.9
3-month interbank money market interest rate (av; %)        17.5        13.0
Exchange rate yTL:US$ (av)                                  1.31        1.39

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับตุรกี
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                    830.66          100.00         36.62
สินค้าเกษตรกรรม                      109.43           13.17         35.72
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               33.10            3.99         49.84
สินค้าอุตสาหกรรม                      683.83           82.32         39.49
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                     4.29            0.52         2,970
สินค้าอื่นๆ                               0.0             0.0       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับตุรกี
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                            162.67          100.00        114.60
สินค้าเชื้อเพลิง                           81.59           50.16        154.85
สินค้าทุน                                23.12           14.22         68.74
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                 45.80           28.15        113.16
สินค้าบริโภค                              9.22            5.67         16.20
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง               2.55            1.57        312.50
สินค้าอื่นๆ                                0.38            0.23        742.54

1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ตุรกี
                           2550          2551        D/%

(ม.ค.-สค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม              683.81       993.32       45.26
การนำเข้า                   75.80       162.67      114.60
การส่งออก                  608.01       830.66       36.62
ดุลการค้า                   532.21       667.99       25.51

2. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดตุรกี เป็นอันดับที่ 29 มูลค่า 830.66 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.62 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                    830.66          100.00         36.62
1. รถยนต์ อุปกรณ์ฯ                    151.76           18.27         59.36
2. เม็ดพลาสติก                       127.12           15.30         29.93
3. ยางพารา                          86.23           10.38         11.60
4. เส้นใยประดิษฐ์                      56.57            6.81        101.08
5. ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์                50.52            6.08        -14.77
          อื่น ๆ                      59.30            7.14         -6.37

3. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดตุรกี เป็นอันดับที่ 49 มูลค่า 162.67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 114.60 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                  มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                   162.67          100.00        114.60
1.น้ำมันดิบ                          81.59            50.16        154.83
2.เคมีภัณฑ์                          13.14             8.08        120.66
3.เครื่องจักรกลและส่วนฯ                7.68             4.72        -24.98
4.พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช                 6.28             3.86        299.61
5.สินค้าทุนอื่น ๆ                       5.81             3.57        713.25
         อื่น ๆ                      2.56             1.57         51.85

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปตุรกี ปี 2551 (มค.-สค.) ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบฯ : ตุรกีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 14 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 50.44 27.47 31.83 และ 59.36 ตามลำดับ

เม็ดพลาสติก : ตุรกีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 77.82 121.94 112.94 และ 29.93 ตามลำดับ

ยางพารา : ตุรกีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2549 และ 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 27.90 59.42 และ 11.60 ตามลำดับในขณะที่ปี 2550 มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 8.46

เส้นใยประดิษฐ์ : ตุรกีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 65.98 88.32 73.14 และ 101.08 ตามลำดับ

ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ : ตุรกีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2550 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 14.42 25.95 และ 20.76 ตามลำดับในขณะที่ปี 2551 (มค.-สค.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 14.77

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดตุรกี ปี 2551 (มค.-สค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 50 มีรวม 11 รายการ คือ
   อันดับที่ / รายการ                     มูลค่า         อัตราการขยายตัว          หมายเหตุ
                                  ล้านเหรียญสหรัฐ           %
1. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ           151.76            59.36
4. เส้นใยประดิษฐ์                        56.57           101.08
7. อัญมณีและเครื่องประดับ                  39.32           217.18
8. เครื่องคอมเพรสเซอร์                   33.81           696.22
9.เคมีภัณฑ์                              23.19            92.31
11.ข้าว                                17.92         1,868.20
13.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์              16.19            84.59
14.ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารฯ              12.34           105.31
18.ตู้แย็น ตู้แช่แข็งและส่วนฯ                  7.22           145.80
19.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                        6.75            94.77
22.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                     4.47           147.41

4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดตุรกี ปี  2551 (ม.ค.-สค.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 5 รายการ คือ
      อันดับที่ / รายการ                มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                               ล้านเหรียญสหรัฐ             %
5. ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์               50.52             -14.77
12.ผ้าผืน                            17.57             -15.44
21.เครื่องจักรกลและส่วนฯ                5.77             -66.84
24.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้                    4.02             -11.64
25.กระดาษและผลิตภัณฑ์                  3.75             -35.71

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

ในปี 2550 ไทยกับตุรกีมีการค้าขายระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า 1,082.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยมีมูลค่าการส่งออก 966.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการนำเข้ามูลค่า 115.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับตุรกี มูลค่า 851.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเม็ดพลาสติก ยางพารา เส้นใยประดิษฐ์ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น สำหรับการส่งออกของไทยไปตุรกีภายใต้การใช้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือ GSP ในปี 2550 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (FORM A) ไปตุรกี จำนวน 4,528 ฉบับ มีมูลค่า 454.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.87 ของมูลค่าการส่งออกรวม หากเทียบกับปี 2549 มีมูลค่าการใช้สิทธิ 222.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 30.35 ของมูลค่าการส่งออกรวม ซึ่งจะเห็นได้ว่าการส่งออกโดยใช้สิทธิ GSP เพิ่มมากขึ้น สินค้าที่ใช้สิทธิ GSP สูง ได้แก่ เม็ดพลาสติก เส้นใยประดิษฐ์ ด้าย และผ้าทอด้วยโพลิเอสเทอร์ เป็นต้น การส่งออกของไทยไปตุรกีได้ขยายตัวมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งเริ่มมีการใช้สิทธิ GSP แสดงให้เห็นว่า สินค้าไทยได้มีการพัฒนาคุณภาพ และรูปแบบให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดและสามารถผลิตได้ตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่กำหนด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ