2550 2551 D/%
(ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 3,194.21 3,934.39 23.17 การนำเข้า 1,849.26 2,383.79 28.90 การส่งออก 1,344.95 1,550.60 15.29 ดุลการค้า -504.32 -833.19 65.21 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดเยอรมนี เป็นอันดับที่ 19 มูลค่า 2,383.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 2,383.79 100.00 28.90 1. เครื่องจักรกลและส่วนฯ 421.64 17.69 -1.72 2. เคมีภัณฑ์ 315.78 13.25 25.95 3. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนฯ 243.69 10.22 3.66 4. เครื่องบิน เครื่องร่อน 132.67 5.57 224.45 5. แผงวงจรไฟฟ้า 112.51 4.72 17.21 อื่น ๆ 197.05 8.27 14.91 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดเยอรมนี เป็นอันดับที่ 14 มูลค่า 1,550.60 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.29 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,550.60 100.00 15.29 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 192.73 12.43 17.09 2. อัญมณีและเครื่องประดับ 97.35 6.28 48.98 3. เครื่องจักรกลและส่วนฯ 93.51 6.03 152.51 4. ผลิตภัณฑ์ยาง 80.05 5.16 19.92 5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 68.75 4.43 18.38 อื่น ๆ 385.34 24.85 -9.98 4. ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เยอรมนีนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มิย.) มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 624,224.42 100.00 23.32 1. เนเธอร์แลนด์ 70,916.51 11.36 25.51 2. ฝรั่งเศส 53,143.53 8.51 17.95 3. เบลเยียม 46,939.11 7.52 19.53 4. อิตาลี 35,930.22 5.76 20.95 5. จีน 35,605.04 5.70 20.70 40.ไทย 1,868.75 0.30 25.44 อื่น ๆ 379,821.27 60.85 24.68 5. สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เยอรมนีนำเข้าจากโลก ปี 2551 (มค-มิย.) มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 624,224.42 100.00 23.32 1. รถยนต์ยานยนต์ 24,634.02 3.95 16.51 2. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 16,276.74 2.61 25.04 3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 9,842.36 1.58 13.26 4. ยารักษาโรค 9,709.00 1.56 21.34 5. เครื่องบิน 7,073.53 1.13 22.05 อื่น ๆ 556,688.79 89.18 17.06 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเยอรมนี ปี 2551 (มค.-มิย.) ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เยอรมนีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่าในปี 2549 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 18.41 สำหรับปี 2548 2550 และ2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.57 54.33 และ 17.09 ตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
อัญมณีและเครื่องประดับ : เยอรมนีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2550 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 14.85 4.22 18.55 และ48.98 ตามลำดับ
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ36.41 29.76 85.0 และ152.51 ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์ยาง : เยอรมนีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 21.53 33.29 39.79 และ 19.92 ตามลำดับ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป : เยอรมนีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามี อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 4.74 138.9 82.4 ตามลำดับมีปี 2550 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 9.02
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ ล้านเหรียญสหรัฐ % 2. อัญมณีและเครื่องประดับ 97.35 48.98 ทั้งนี้เนื่องจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่ง 3. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 93.51 152.51 สำคัญในการส่งออกไก่แปรรูปของ 7. ก๊อก วาวล์และส่วนประกอบ 60.32 455.94 ไทย ประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์ 8. ยางพารา 57.60 72.45 สุขอนามัยและการตรวจพบสาร 15.ไก่แปรรูป 31.31 74.51 ตกค้างในผลิตภัณฑ์ 17.เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ 23.42 279.30 18.เคมีภัณฑ์ 19.28 283.19 23.เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 15.91 362.28 24.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 14.86 52.32 4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเยอรมนี ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 6 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 10.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 41.64 -3.48 11.แผงวงจรไฟฟ้า 39.05 -32.91 12.เลนซ์ 36.94 -2.94 13.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ 36.61 -51.77 20.ส่วนประกอบอากาศยาน 17.59 -26.89 25.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนฯ 14.56 -23.58 4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้นำคณะเดินทางไปหารือกับ Mr. Karl-Heinz Matthias, President of Zollkriminalamt (ZKA) ซึ่งเป็นหน่วยงานศุลกากรปราบปรามกลาง ที่กำกับดูแลการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและการชำระคืนอากรขาเข้า รวมทั้งป้องกันการแอบอ้างสิทธิและตรวจสอบการหลบเลี่ยงมาตรการการค้า(Circumvention) ณ เมืองโคโลญน์ ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2551 และตกลงที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการแอบอ้างไทยเป็นแหล่งกำเนิดสินค้า สำหรับการหลบเลี่ยงมาตรการการค้าของ EU และป้องปรามการแสดงหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าไทยอันเป็นเท็จ ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อกรมการค้าต่างประเทศในเชิงวิชาการและการพัฒนาบุคลากรในเรื่องการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าและการให้สิทธิพิเศษ GSP การเดินทางไปหารือในครั้งนี้ จะทำให้กระบวนการตรวจสอบและป้องกันการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้าไทยในเยอรมนีและสหภาพยุโรปมีประสิทธิภาพและดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น และยังช่วยให้กรมฯ มีข้อมูลและหลักฐานสำคัญใช้ประกอบดำเนินการทางกฏหมายกับผู้กระทำความผิดได้ นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างเครือข่าย (Network) เพื่อดำเนินการป้องกันแหล่งกำเนิดสินค้าไทยถูกแอบอ้างใช้ประโยชน์ และทำให้กรมฯ ทราบข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวการพิจารณาดำเนินมาตรการต่างๆ ของ EU ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสินค้าไทย ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้สูญเสียผลประโยชน์และศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดของสินค้าส่งออกไทย ประเทศเยอรมันเป็นตลาดส่งออกสำคัญแห่งหนึ่งของสินค้าไทยที่มีการแสดงหนังสือรับรองฯ เป็นจำนวนมาก ในปี 2005 — 2007 ไทยส่งออกไปยังเยอมันมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2,402.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการออกหนังสือรับรองฯ ปริมาณเฉลี่ยปีละ 45,000 ฉบับ และปริมาณคำขอ (Request) ตรวจสอบย้อนหลังหนังสือรับรองฯ เฉลี่ยปีละ 75 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าในกลุ่มที่มีโอกาสถูกแอบอ้างแหล่งกำเนิด (Possible Circumvention)
เยอรมนีนำเข้าจากไทย ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2546 — 2550) เยอรมนีนำเข้าข้าวจากประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 14.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับปี 2551(มค.-มิย.) มีการนำเข้าจากไทยทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 24.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.8 และมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 จะเห็นได้ว่าการนำเข้าข้าวจากไทยมีมูลค่า และปริมาณเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ทั้งนี้ เนื่องมาจากการขยายโควตานำเข้าภายใต้ GSP ของสหภาพยุโรป คุณภาพของข้าวที่นำเข้า ในตลาดเยอรมันมิได้มีการจัดทำข้อกำหนดโดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยทั่วไปจะถือปฏิบัติและใช้ข้อกำหนดตามหลักเกณฑ์ของสากล หรือตามที่สหภาพยุโรปได้กำหนดเอาไว้ แต่เพื่อใช้เป็นกฏเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บภาษีนำเข้า สหภาพยุโรปมีข้อกำหนดให้ประเทศสมาชิกถือปฏิบัติ โดยจัดแบ่งข้าวออกเป็นชนิดต่างๆ ตามความยาวของเมล็ดข้าว ได้แก่ ข้าวเมล็ดกลม เมล็ดสั้น เมล็ดกลาง เมล็ดยาว และข้าวหัก นอกจากนี้แล้วตามวิธีการขัดสีข้าว มีการจัดแบ่งชนิดของข้าวเป็น ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวขัดสีบ้างแล้ว และข้าวขาว การขออนุญาตนำเข้า การนำเข้าข้าวทุกครั้งจะต้องมีเอกสารประกอบการนำเข้า ได้แก่ หนังสือรับรองความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Phythosanitary, Fumigation, Certificate of Origin เป็นต้น) รวมทั้ง Export License ประกอบด้วย ในกรณีที่ปริมาณข้าวที่จะนำเข้าไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม/ครั้ง สามารถนำเข้าได้โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตนำเข้า แต่ต้องดำเนินการตามพิธีการศุลกากร และมีเอกสารต่างๆ ตามที่กล่าวแล้วประกอบการนำเข้าด้วยปัญหา/อุปสรรคของการจำหน่ายข้าวไทย การบริโภคข้าวของไทย ยังไม่เป็นที่นิยมหรือรู้จักแพร่หลายนักในตลาดเยอรมนี เพราะชาวเยอรมันส่วนใหญ่นิยมข้าวที่หุงแล้วมีเมล็ดร่วนไม่ติดกัน แต่ข้าวไทยมีลักษณะเหนียวติดกันเป็นก้อน นอกจากนี้ข้าวไทยยังมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ คือมีระดับความชื้นของเมล็ดข้าวแตกต่างกันมาก (ระหว่างข้าวเก่า และข้าวใหม่) จึงเกิดปัญหาสำหรับการหุงข้าวปริมาณมากๆ ที่ข้าวสุกไม่ทั่วถึงกัน อย่างเช่นตามโรงอาหาร หรือภัตตาคารขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ข้าวไทย ยังไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่นๆ
เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สหภาพยุโรป(อียู) ได้ผ่านระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป(GSP) ในช่วงที่ 2 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552-31 ธันวาคม 2554 โดยภายใต้โครงการในช่วงที่ 2 นี้ ประเทศไทยจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น คือ ได้รับคืนสิทธิ GSP สำหรับสินค้าหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งผู้ส่งออกสินค้าหมวดยานยนต์และชิ้นส่วนสามารถขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าแบบเอ (Form A) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป "การได้รับคืนสิทธิ GSP ดังกล่าวจะเป็นผลดีต่อไทย เพราะจะจูงใจให้ผู้ซื้อในประเทศที่ให้สิทธิ GSP เพิ่มการนำเข้าจากไทย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ" ทั้งนี้ภายใต้ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สิทธิ GSP ในโครงการช่วงที่ 2 ของอียู พบว่า ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยอย่างเวียดนามถูกตัดสิทธิ GSP เป็นครั้งแรกในสินค้าหมวดรองเท้า ส่วนจีนถูกตัดสิทธิ GSP 13 กลุ่มสินค้าได้แก่ เคมีภัณฑ์ พลาสติก เครื่องหนังไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์เชรามิก เป็นต้น ขณะที่อินเดียและมาเลเซียถูกตัดสิทธิ GSP สินค้ากลุ่มไขมันและน้ำมันที่ได้จากสัตว์ หรือพืชด้วย
โลกร้อนเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ มวลมนุษยชาติเกิดความตระหนักต่อความสำคัญของสภาพแวดล้อมบางประเทศเข้มขนาดยกเอาขึ้นมาเป็น เงื่อนไขในการค้าไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรม มักจะถูกแจ็กพอตกับข้อกีดกันเหล่านี้ โดยเฉพาะกับสินค้าประมง แต่ก็หาเกินความสามารถไม่ เรามีการพัฒนา เพื่อสลัดโซ่ตรวน จนกระทั่งในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ และก็เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจเมื่อ สหภาพยุโรป (เยอรมนี) ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานเนเธอร์แลนด์ (Naturland) ให้กับสุรีรัตน์ฟาร์ม จังหวัดจันทบุรี ในการผลิต เลี้ยงระบบอินทรีย์ (Organic Shrimp) เริ่มดำเนินกิจการฟาร์ม เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มาตั้งแต่ ปี 2528 อันเป็นช่วงแรกที่ประเทศไทยมีการ เลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาระยะเวลานานกว่า 20 ปี...สร้างสมประสบการณ์โดยมุ่งเน้นการ ผลิตกุ้งกุลาดำเพียงสายพันธุ์เดียว และ ตั้งเป้าในการผลิตกุ้งขนาดตัวโต ให้น้ำหนักอยู่ระหว่างตัวละ 30 ถึง 50 กรัม ราวๆ 20 ถึง 30 ตัวต่อกิโลกรัม เริ่มต้นประกอบการนั้น ครั้งแรกใช้พื้นที่ 66 ไร่ สร้างเป็นบ่อเลี้ยง 6 บ่อ และบ่อพักน้ำ 1 บ่อ เป็นการ เลี้ยงระบบปิด มีการหมุนเวียนน้ำอยู่เฉพาะภายในฟาร์ม ไม่ปล่อยน้ำเสียซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะออกนอกพื้นที่ พร้อมทั้งได้น้อมนำการบำบัดน้ำตามแนวพระราชดำริฯ ด้วยการปล่อยน้ำหลังจากจับกุ้งไหลผ่านเข้าไปในบ่อบำบัดซึ่งมีการปลูกต้นไม้ หลายหลากชนิดที่เหมาะกับน้ำเค็มเช่น โกงกาง แสม เป็นต้น ด้วยวิธีธรรมชาติบำบัดและนำน้ำกลับมาใช้ในการเพาะเลี้ยงครั้งต่อไป ที่สำคัญการจัดการในฟาร์มเลี้ยงจะไม่ใช้สารเคมี จึงประสบความสำเร็จในการเปิดตัวกุ้งอินทรีย์ SOP หรือ “Sureerath Organic Prawns” เป็นฟาร์มแรกของไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่าเป็นระบบอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์.....ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สถานที่คัดบรรจุกุ้ง ที่สะอาดและปลอดภัย ด้วยระบบการเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ ระบบการเลี้ยงแบบอินทรีย์ ปราศจากสารเคมีตลอดเส้นทางผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จนกระทั่งส่งตรงถึงมือผู้บริโภค จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ของสุรีรัตน์ฟาร์ม ได้รับความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ซึ่งนอกจากจะผลิตจำหน่ายภายในประเทศแล้วยัง ได้รับมาตรฐานส่งออกในระดับโลก ปัจจุบันได้เปิดตลาดส่งออก และยอมรับในคุณภาพของสินค้าในหลายประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร ยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฯลฯ
ที่มา: http://www.depthai.go.th