สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ออสเตรเลีย ปี 2551 (ม.ค-ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 30, 2008 10:54 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Canberra
พื้นที่           :  7,682,400  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ    :   English
ประชากร       : 21,017,200 คน (June 2007)
อัตราแลกเปลี่ยน  : AUD : Baht 22.079 (27/10/51)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                                  4.3        2.6
Consumer price inflation (av; %)                     2.3        4.5
Federal government budget  balance (% of GDP)        0.7        1.3
Current-account balance (% of GDP)                  -6.2       -5.0
US$ 3-month commercial paper rate (av; %)            4.7        5.5
Exchange rate ฅ:US$ (av)                             1.2       1.12

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับออสเตรเลีย
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  5,801.78          100.00        41.07
สินค้าเกษตรกรรม                      152.70            2.63        45.48
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              314.32            5.42        39.20
สินค้าอุตสาหกรรม                    5,079.53           87.55        37.73
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   255.24            4.40       203.81
สินค้าอื่นๆ                               0.0             0.0      -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับออสเตรเลีย
                                    มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                           4,086.18        100.00         43.66
สินค้าเชื้อเพลิง                         1,093.43         26.76         36.11
สินค้าทุน                                127.99          3.13         28.75
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป               2,627.79         64.31         48.30
สินค้าบริโภค                             207.02          5.07         48.86
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง               29.60          0.72         19.12
สินค้าอื่นๆ                                 0.35          0.01        -93.80

1. มูลค่าการค้า

มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ออสเตรเลีย

                           2550          2551         D/%

(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             6,956.94       9,887.96     42.31
การนำเข้า                 2,844.26       4,086.18     43.66
การส่งออก                 4,112.68       5,801.78     41.07
ดุลการค้า                  1,268.42       1,715.61     35.26

2. การนำเข้า

ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดออสเตรเลียเป็นอันดับที่ 11 มูลค่า 4,086.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.66 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

                                        มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                        4,086.18         100.00
1. สินแร่โลหะอี่น ๆ เศษโลหะ                1,051.57          25.73         24.83
2. น้ำมันดิบ                                941.72          23.05         48.89
3. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี                    740.15          18.11         74.55
4. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                 380.66           9.32        109.82
5. พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช                      171.56           4.20        132.54
          อื่น ๆ                            99.25           2.43         17.33

3. การส่งออก

ประเทศไทยส่งออกไปตลาดเป็นอันออสเตรเลีย ดับที่ 7 มูลค่า 5,801.78 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.07 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                     5,801.78         100.00         41.07
1. รถยนต์ อุปกรณ์ฯ                     1,872.73          32.28          7.50
2. อัญมณีและเครื่องประดับ                1,071.38          18.47        200.62
3. เม็ดพลาสติก                          234.32           4.04        141.14
4. เครื่องปรับอากาศและส่วนฯ               230.04           3.97          6.61
5. เหล็ก เหล็กกล้าฯ                      196.19           3.38         25.39
         อื่น ๆ                         658.67          11.35         18.60

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปออสเตรเลีย ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 66.22, 21.38, 50.64, 50.44 และ 7.50 ตามลำดับ

อัญมณีและเครื่องประดับ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 415.94, 110.57 และ 200.62 ตามลำดับ มีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 41.51

เม็ดพลาสติก : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 57.25, 65.70 และ 141.14 ตามลำดับ มีเพียงปี 2548 เพียงปีเดียวที่มีการขยายตัวลดลงร้อยละ 1.86 อัตรา

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 13 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2549 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 34.35, 12.49 และ 6.61 ตามลำดับ มีเพียงปี 2548เพียงปีเดียวที่มีอัตรา การขยายตัวลดลงร้อยละ 12.27

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 108.92, 44.92 และ 25.39 ตามลำดับ มีเพียงปี 2550 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 36.29

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดออสเตรเลีย ปี 2551 (มค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 11 รายการ คือ
    อันดับที่ / รายการ                 มูลค่าล้าน     อัตราการขยายตัว%    หมายเหตุ

เหรียญสหรัฐ

2.  อัญมณีและเครื่องประดับ             1,071.38         200.62        ขณะนี้กรมประมงได้ทำหนังสือถึง
3.  เม็ดพลาสติก                       234.32         141.14        ออสเตรเลียขอทำความตกลงเรื่อง
6.  อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป         175.76          44.27        การจัดทำความเท่าเทียมกันทาง
7.  น้ำมันสำเร็จรูป                     155.85         650.25        ห้องปฏิบัติการตรวจโรค  ซึ่งจะทำ
8.  ผลิตภัณฑ์พลาสติก                    130.21          61.53        ให้ภาครัฐ เอกชน และผู้นำเข้าสินค้า
12. เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง           92.84         161.76        กุ้งของออสเตรเลียเชื่อมั่นและ
13. น้ำมันดิบ                           89.34          53.88        ยอมรับมาตรฐานการผลิตกุ้งไทย
15. ข้าว                              79.94         159.48        โดยมีเครื่องหมาย Q ที่แสดงคุณภาพ
22. แก้วและกระจก                      30.00          46.85        สินค้าที่มีระบบรับรอง
23. ผลิตภัณฑ์เซรามิก                     23.33          45.19
24. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป               21.64          55.63

4.3  ข้อมูลเพิ่มเติม

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ในการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทยจากการทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ว่าสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังได้ประเมินความคุ้มค่าของการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ต่อประเทศไทยว่ามีสาระสำคัญสี่ประเด็นหลักคือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผลกระทบต่อการเข้าสู่ตลาดสินค้า ผลกระทบต่อภาคบริการ และผลกระทบต่อการลงทุน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

ความคุ้มค่าในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การจัดทำความตกลงดังกล่าวจะช่วยกระชับ ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นทางการเมืองระหว่างประเทศในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และแสดงจุดยืนของประเทศไทยร่วมกับอาเซียนในการคานอำนาจระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเดิมคือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น กับขั้วอำนาจใหม่คือ จีน และอินเดีย ส่วนผลกระทบต่อการเข้าสู่ตลาดสินค้า ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะเปิดตลาดสินค้าเพิ่มขึ้น และเร็วขึ้นในสินค้ากลุ่มเครื่องหนัง สิ่งทอ ยานยนต์ และชิ้นส่วน พร้อมกันนั้นผู้ส่งออกไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศสมาชิกอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพื่อสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าได้ทุกกลุ่มสินค้า ด้านผลกระทบต่อภาคบริการ การจัดทำความตกลงเปิดโอกาสให้ธุรกิจบริการที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ธุรกิจบริการท่องเที่ยว และเดินทาง ตลอดจนกลุ่มธุรกิจใหม่ๆที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ธุรกิจบริการขนส่งพัฒนาจากระดับประเทศไปสู่ระดับภูมิภาค ส่วนผลกระทบต่อการลงทุน คาดว่าจะก่อให้เกิดผลต่อการลงทุนของไทย และอาเซียนในภาพรวมจากการขยายการลงทุนระหว่างกันเพื่อแสวงหาสิทธิประโยชน์จากกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อนักลงทุนต่างชาติในประเทศ/ภูมิภาคอื่นให้หันมาสนใจลงทุนในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทย “ถ้าไทยไม่ร่วมในความตกลงการค้าเสรีดังกล่าว ผลที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทยในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือ ประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสในความร่วมมือด้านต่างๆ ภายใต้ความตกลงฯ กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นที่เข้าร่วมอาจมีความได้เปรียบด้านข้อมูลยุทธศาสตร์มากกว่าไทย

ส่วนผลกระทบต่อการเข้าสู่ตลาดสินค้านั้นไทยจะสูญเสียโอกาสในการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าที่ยืดหยุ่นมากกว่าเดิมโดยเฉพาะในกรณีสินค้ากลุ่มสิ่งทอ เหล็ก ทองแดง อะลูมิเนียม เคมีภัณฑ์ และพลาสติกที่มีกระบวนการผลิตมากกว่าหนึ่งขั้นตอน และ/หรือใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศมาก อย่างไรก็ตามจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคบริการ เนื่องจากไทยได้รับประโยชน์จากข้อผูกพันเปิดเสรีภาคบริการ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (AFAS) และความตกลงการค้าเสรีไทยกับออสเตรเลีย (TAFTA) สำหรับเรื่องลงทุนการเปิดเสรีโดยใช้วิธีระบุเฉพาะสาขาที่จะไม่เปิดเสรี อาจมองได้ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ คือในกรณีที่เกิดการลงทุนแบบใหม่ๆ ขึ้น ทั้งไทย สมาชิกอาเซียนอื่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะสามารถได้ประโยชน์ในการลงทุนนั้นโดยอัตโนมัติ”

อนึ่งภาพรวมการค้าสินค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้นมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2549 มีมูลค่าการค้าสินค้าระหว่างกันรวมมากกว่า 8,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2550 ผู้ส่งออกไทยใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรีไทยกับออสเตรเลีย (TAFTA) โดยขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจากกรมการค้าต่างประเทศ เป็นมูลค่าประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 66 ของมูลค่าสินค้าส่งออกทั้งหมดของไทยสู่ออสเตรเลีย ขณะที่การใช้สิทธินำเข้าภายใต้กรอบ TAFTA มีมูลค่าประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 10 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของไทยจากออสเตรเลีย

ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าสินค้าของไทยกับสินค้าของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นสินค้าเสริมทางการค้ามากกว่าสินค้าที่เป็นคู่แข่งทางการค้า โดยเครื่องปรับอากาศ และยานยนต์เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยังออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เป็นมูลค่ามากกว่าประเทศอื่นในอาเซียน ขณะที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นำเข้าเครื่องปรับอากาศจากไทยมากที่สุดในโลก และนำเข้ายานยนต์จากไทยมากเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่นและไทยกับประเทศอื่นๆในอาเซียนนำเข้าสินค้าประเภทสินแร่ นมผง และฝ้าย จากออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มากที่สุด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ