สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย-เนเธอร์แลนด์ 9 เดือน ปี 2551 และ การแข่งขันของสินค้าไทยบางรายการ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 4, 2008 14:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก ขอรายงานภาวะการค้าระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2551 เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยมูลค่า 3,101.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +12.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2550 (มูลค่า 2,760.8 ล้านเหรียญฯ) และคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 81.59 ของมูลค่าการนำเข้ารวมจากไทยปี 2550 (3,801 ล้านเหรียญฯ)

1. เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์กับไทย-สหภาพยุโรป (25 ประเทศ) ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2551 มีอัตราส่วนแบ่งตาม ตารางที่ 1 ดังนี้
   ลำดับ     ประเทศ          มูลค่า(ล้าน USD)       ส่วนแบ่ง (%)
         สหภาพยุโรป            17,429.60           100.00
     1   เนเธอร์แลนด์            3,101.40            17.79
     2   อังกฤษ                 2,925.40            16.78
     3   เยอรมนี                2,318.30            13.30
     4   อิตาลี                  1,554.40             8.91
     5   ฝรั่งเศส                1,418.40             8.13

เนเธอร์แลนด์นำเข้าสินค้าไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง (ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศ) อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 ทั้งนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากการที่

1) ผู้นำเข้าดัชท์มีความเชื่อมั่นในศักยภาพโดยรวมของสินค้าไทย ซึ่งมีสถานะเหนือคู่แข่งด้วยการเน้นผลิตสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป

2) สินค้าไทยมีการพัฒนารูปแบบ การออกแบบดีขึ้น มีศักยภาพในการผลิตสินค้าประเภท Tailor Made ผู้ผลิต/ส่งออกมีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ฯลฯ ทำให้เป็นที่ยอมรับ สามารถจำหน่ายและกระจายไปได้ทั่วสหภาพฯ

ดังนั้น สิ่งที่ผู้ผลิต/ส่งออกไทยต้องเน้นและให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพ การออกแบบ การวิจัยและพัฒนาสินค้า(R&D) การฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้และเชี่ยวชาญ รวมทั้งระบบ Logistics ที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร เพื่อนำเสนอสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ รายการใหม่ ๆ ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีขบวนการผลิตที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด ซึ่งจะใช้เป็นจุดขายและประชาสัมพันธ์ได้อย่างดี ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญดึงดูดให้ผู้นำเข้าดัชท์เพิ่มความสนใจสั่งซื้อเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่าง (Differentiation) และ Create Demand นอกจากนี้ในปัจจุบัน จีนประสบปัญหาการผลิตสินค้าส่งออกที่ด้อยมาตรฐาน ถูกเรียกคืนจากสหรัฐฯ และสหภาพฯ เป็นประจำ ผู้ผลิต/ส่งออกไทยควรเร่งใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าวโดยด่วน และสินค้าไทยก็ยังมีชื่อเสียงอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าจีน

สำนักงานฯ ณ กรุงเฮก ขอเรียนว่า ประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ต่างปรับตัวตลอดเวลา เพื่อขยายการส่งออกและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด เช่น ผลิตสินค้าคุณภาพสูง พัฒนาการออกแบบ มุ่งตลาดบน/ผู้มีฐานดี ฯลฯ

2. สรุปเป้าหมายการส่งออกของไทยในปี 2551 ตามตารางที่ 2 (หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
 ประเทศ       การส่งออก    เป้าหมายการ      อัตราการ      การส่งออกช่วง      อัตราการขยายตัว
              จริงปี 2550   ส่งออกปี 2551    ขยายตัว(%)     ม.ค.-ก.ย.2551    ในช่วง 9 เดือน(%)
เนเธอร์แลนด์     3,801.0     4,067.07         7.0          3,101.4             76.25

ปี 2551 กรมส่งเสริมการส่งออก ตั้งเป้าการส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ให้มีอัตราการเติบโตร้อยละ 7 อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบ

1) 9 เดือนปี 2551 กับช่วงเดียวกันปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.34

2) เป้าหมายปี 2551 ตั้งเป้าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7 นับว่าการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ ขยายตัวสูงกว่าทั้งปี

3) เป้าหมายที่กำหนดไว้ตาม 2) มีอัตราขยายตัวร้อยละ 76.25

ทั้งนี้ เพื่อเอื้ออำนวยให้การส่งออกของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์สินค้าอย่างครบวงจร ครอบคลุมการพัฒนาระบบ Logistics อย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดแนวทางและดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพ การรักษาค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเสริมการค้าระหว่างประเทศ

3. ภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน ) ปี 2551

ภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ ในช่วง 7 เดือน (มกราคม-กรกฎาคม) ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2550

3.1 มูลค่าการค้ารวม 3,992.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +17.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2550 (มูลค่า 3,400.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

1) การส่งออกของไทย -ในช่วงดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,101.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +12.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 (มูลค่า 2,760.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

2) การนำเข้าของไทย — ไทยนำเข้าสินค้าจากเนเธอร์แลนด์ มูลค่ารวม 891.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +39.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 (มูลค่า 639.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

3) ดุลการค้า - ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับเนเธอร์แลนด์ในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2551 มูลค่า 2,209.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (และปี 2550 มูลค่า 2,121.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ไทยได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ +4.16

ตารางที่ 3 : มูลค่าการค้าและดุลการค้าระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2551
(มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                  2550                2551            %
             (ม.ค.-ก.ย.)          (ม.ค.-ก.ย.)*     เพิ่ม/ลด
การค้ารวม        3400.1               3992.9         17.43
ไทยส่งออก        2760.8               3101.4         12.34
ไทยนำเข้า         639.3                891.5         39.45
ดุลการค้า         2121.5               2209.9          4.16

3.2 สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก

1) ภาพรวมสินค้าที่ไทยส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป

ตารางที่ 4 : รายการสินค้าที่ไทยส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ 10 อันดับแรกในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2551

   ลำดับ                   รายการสินค้า                  มูลค่า              อัตรา

(ม.ค.-ก.ย. 2550)* การขยายตัว

                                                   (ล้าน USD)           (%)
    1    เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ          1,043.20             8.32
    2    แผงวงจรไฟฟ้า                                 233.10           -29.15
    3    เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ                  219.60             0.67
    4    ไก่แปรรูป                                     114.90           101.51
    5    ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                             102.30             6.02
    6    เลนส์                                         76.90            13.20
    7    เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                 76.60             9.97
    8    เคมีภัณฑ์                                       75.60           136.07
    9    ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                           73.90            17.93
   10    ข้าว                                          70.80           276.83

ข้อสังเกต : การส่งออก ภาคเกษตรที่ขยายตัวในเดือนกรกฎาคม 2551 ร้อยละ 43.9 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในประวัติการณ์ 7 เดือน (มูลค่า 1.69 หมื่นล้านเหรียญฯ) เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวสูงมาตั้งแต่ต้นปี 2551 และค่าเงินบาท/เหรียญฯ ที่อ่อนค่าลง ส่งผลดีต่อรายได้เกษตรกร (ช่วง 7 เดือน ปี 2551) ทำให้เกษตรกรมีรายได้ขยายตัวร้อยละ 37.2/ปี (รายได้เกษตรกรที่แท้จริงร้อยละ 26.3 ต่อปี) ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่า ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการทั้งปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ต่อปี

สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก
  • เพิ่มขึ้น 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 8.32) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 0.67) ไก่แปรรูป (ร้อยละ 101.51) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ 6.02) เลนซ์ (ร้อยละ 13.20) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 9.97) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 136.07) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 17.93) ข้าว (ร้อยละ 276.83) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร (ร้อยละ 91.41)
  • ลดลง 10 อันดับแรก ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ —29.15) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —34.69) ผ้าผืน (ร้อยละ —10.31) รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ -14.07) เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ (ร้อยละ —14.90) ผลิตภัณฑ์พลาสติก (ร้อยละ —3.59) วงจรพิมพ์ (ร้อยละ -59.38) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (ร้อยละ —4.61) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (ร้อยละ —64.78) ประทีปโคมไฟ (ร้อยละ —13.35)
2) รายการสินค้าที่ไทยส่งออกใน 3 หมวดสำคัญ
ตารางที่ 5 : การส่งออกสินค้าใน 3 หมวดสำคัญช่วง 9 เดือนแรก ปี 2551
  ลำดับ                   รายการสินค้า            มูลค่า(ม.ค-ก.ย 51)*   อัตราการ

(ล้าน USD) ขยายตัว(%) 1 หมวดสินค้าแร่ธาตุและสินค้าเกษตร

         ข้าว                                          70.8          276.83
         ยางพารา                                      22.8           90.42
         ดีบุก                                          21.0           22.02
         ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง                        6.5            4.24
         ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                         6.3           16.35
2    หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
         ไก่แปรรูป                                     114.9          101.51
         ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                             102.3            6.02
         ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                           73.9           17.93
         ผลิตภัณฑ์ยาง                                    58.3           21.97
         ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์                       28.6          122.56
3    หมวดสินค้าอุตสาหกรรม
         เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ          1,043.20           8.32
         แผงวงจรไฟฟ้า                                  233.1         -29.15
         เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ                   219.6           0.67
         เลนซ์                                          76.9          13.20
         เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                  76.6           9.97

รายละเอียดสินค้าโดยสรุป 5 รายการแรก

หมวดสินค้าแร่ธาตุและเกษตรที่ส่งออก
  • เพิ่มขึ้น เช่น ข้าว (ร้อยละ 276.83) ยางพารา (ร้อยละ 90.42) ดีบุก (ร้อยละ 22.02) ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 4.24) ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 16.35)
  • ลดลง มี 4 รายการ จากรวม 150 รายการ เช่น ฝ้าย (ร้อยละ —42.91) ธัญพืช (ร้อยละ —31.22) กระดูกสัตว์และขนสัตว์ปีก (ร้อยละ —98.76) กุ้งต้มสุกแช่เย็น (ร้อยละ —100.00)
หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งออก
  • เพิ่มขึ้น เช่น ไก่แปรรูป (ร้อยละ 101.51) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ 6.02) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 17.93) ผลิตภัณฑ์ยาง(ร้อยละ 21.97) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (ร้อยละ 122.56)
  • ลดลง เช่น เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ (ร้อยละ —14.90) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (ร้อยละ —4.61) โกโก้และของปรุงแต่ง (ร้อยละ —92.56) ซุปและอาหารปรุงแต่ง (ร้อยละ —19.68) ไอศกรีม (ร้อยละ —8.55)
หมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งออก
  • เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 8.32) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 0.67) เลนซ์ (ร้อยละ 13.20) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 9.97) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 136.07)
  • ลดลง เช่น แผงวงจรไฟฟ้า(ร้อยละ —29.15) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —34.69) ผ้าผืน (ร้อยละ —10.31) รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ —14.07) ผลิตภัณฑ์พลาสติก(ร้อยละ —3.59)

3.2 สินค้ารายการสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2551ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์มูลค่า 891.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +39.45 เมื่อเทียบกับการนำเข้าในช่วงเดียวกันปี 2550 (มูลค่า 639.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

ตารางที่ 6 : รายการสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ 10 อันดับแรก
  ลำดับ                     รายการสินค้า                           มูลค่า              อัตรา

(ม.ค.-ก.ย. 2551)* การขยายตัว

                                                              (ล้าน USD)           (%)
    1    แผงวงจรไฟฟ้า                                            160.1            11.13
    2    เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                                  125.8           334.77
    3    เคมีภัณฑ์                                                 120.0            36.83
    4    เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                                88.6           338.79
    5    เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                                  69.6           -23.14
    6    ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม                                32.4            60.77
    7    ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก                                       31.5            25.74
    8    ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ                                          30.9            13.37
    9    สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์                                      21.6             4.04
   10    เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์                      21.2             0.38

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก

Update : ตุลาคม 2551

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ