สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - จีน ปี 2551 (ม.ค-ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 5, 2008 16:07 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป
เมืองหลวง         :   Beijing
พื้นที่              :   9,561,000 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ       :   Mainly Putonghua or Standard Chinese
ประชากร          :   1.3  พันล้านคน (end-2005)
อัตราแลกเปลี่ยน     :   1 เรนมินบิ = 5.0771 บาท (3/11/51)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                            11.4        10.1
Consumer price inflation (%; av)                4.8         3.8
Budget balance (% of GDP)                       0.2         0.1
Current-account balance (% of GDP)             11.3        11.0
Commercial bank prime rate (%; year-end)        7.6         8.1
Exchange rate Rmb:US$ (av)                     7.61        7.08

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - จีน
                           2550          2551        D/%

(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            22,451.54      28,635.04     27.54
การส่งออก                10,504.90      12,855.18     22.37
การนำเข้า                11,946.65      15,779.85     32.09
ดุลการค้า                 -1,441.75      -2,924.67    102.86

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดจีน เป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 15,779.85 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.09 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                           มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                          15,779.85         100.00        32.09
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ                        2,134.80          13.53        13.42
2. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ               1,802.03          11.42        17.61
3. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                       1,440.19           9.13        50.36
4. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตฯ                    1,223.98           7.76        28.57
5. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                 1,223.61           7.75        35.85
          อื่น ๆ                            1,663.58          10.54        29.67

3.  การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดจีน เป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 12,855.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.37 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                 มูลค่า :        สัดส่วน %     %เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                12,855.18        100.00       22.37
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ              3,751.94         29.19       39.76
2. ยางพารา                      1,611.51         12.54       52.74
3. น้ำมันสำเร็จรูป                    921.02          7.16      105.59
4 .เม็ดพลาสติก.                     904.04          7.03       28.53
5. แผงวงจรไฟฟ้า                    625.68          4.87       -1.71
         อื่น ๆ                   1,383.73         10.76        3.64

4. ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนนำข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-กย.)
                              มูลค่า :       สัดส่วน%      %เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม            891,306.35      100.00       28.70
1.  ญี่ปุ่น                    116,766.58       13.10       19.14
2.  เกาหลีใต้                 89,028.36        9.99       17.90
3.  ไต้หวัน                   84,367.75        9.47       16.39
4.  จีน                      69,444.68        7.79       13.51
5.  สหรัฐฯ                   62,374.31        7.00       21.42
11. ไทย                     19,695.42        2.21       20.97
         อื่น ๆ              449,629.24       50.45       41.53

5.  สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนนำเข้าจากโลก ปี 2551 (มค-กย.)
                                        มูลค่า :       สัดส่วน%     %เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                      891,306.35       100.00      28.70
1. แผงวงจรไฟฟ้า                       101,262.62        11.36       8.82
2. ถั่วเหลือง                            17,465.19         1.96     137.38
3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์                  17,077.85         1.92      21.09
4. อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์               13,933.69         1.56       2.44
5. ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมฯ                  12,327.43         1.38      -6.47
          อื่น ๆ                       729,239.57        81.82      28.86

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปจีน ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-กย.) มีมูลค่า 3,116.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.34 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ยางพารา : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 3.87, 66.11, 17.51 และ 52.74 ตามลำดับสำหรับ ในปี 2551 (มค.-กย.) มีมูลค่า 1,611.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.74 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปัจจุบันไทยยังคงมีปริมาณการผลิตยางเป็นอันดับหนึ่งของโลก และประเทศที่มีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นประเทศผู้ใช้ยาง คือจีนและอินเดีย เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในทั้งสองประเทศมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจีนจะเป็นประเทศผู้ใช้ยางที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในช่วงระยะ 15 ปีต่อจากนี้

น้ำมันสำเร็จรูป : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-กย.) มีมูลค่า 921.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 105.59 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เม็ดพลาสติก : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 35.08 18.95 9.33 และ 28.53 ตามลำดับ โดยในปี 2551 (มค.-กย.) มีมูลค่า 904.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.53 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2550 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 84.48, 56.64 และ 32.48 ตามลำดับ สำหรับในปี 2551 (มค.-กย.) มีมูลค่า 625.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 1.71 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี

ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง : จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 33.19, .86, 30.17 และ 28.71 ตามลำดับ โดยในปี 2551 (มค.-กย.) มีมูลค่า 121.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.71 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีน ปี 2551 (มค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 35 มีรวม 9 รายการ คือ
  อันดับที่ / รายการ               มูลค่าล้าน        อัตราการ      หมายเหตุ

เหรียญสหรัฐ ขยายตัว%

 1. เครื่องคอมพิวเตอร์             3,751.94        39.76       ในรอบปีที่ผ่านมาการส่งออก
 2. ยางพารา                    1,611.51        52.74       เครื่องคอมพิวเตอร์ชิ้นส่วนและ
 3. น้ำมันสำเร็จรูป                  921.02       105.59       อุปกรณ์  สามารถสร้างรายได้ให้
 7. น้ำมันดิบ                       538.34        41.06       ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งนี้
 8. ผลิตภัณฑ์ยาง                    403.53        57.39       เนื่องจากปัจจุบันไทยได้กลายเป็น
16. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์        120.96        47.50       ฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของ
18. กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ         97.61        63.38       โลก จากการเข้ามาของนักลงทุนราย
20. ผลิตภัณฑ์พลาสติก                  95.62        44.64       ใหญ่ทั้ง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
25. ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง             63.55        58.56

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีน ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 5 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ
                                 มูลค่า        อัตราการ

ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว%

 5. แผงวงจรไฟฟ้า                 625.68        -1.71
 6. เคมีภัณฑ์                      614.92       -39.01
 9. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง             269.29       -30.85
19. ข้าว                          96.41       -19.86
21. ทองแดงและขอทำด้วยทองแดง       76.42       -48.31

4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม

วันที่ 1 ต.ค. 2551 กำหนดครบรอบ 5 ปี การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ ผักและผลไม้ ระหว่างไทย - จีน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหันมาทบทวนเอฟทีเอ ไทย - จีนใหม่ เพราะข้อตกลงดังกล่าวเป็นเหมือนกฎหมายลูก ที่เร่งรีบทำรายละเอียดอาจไม่ชัดเจน จึงไม่สามารถประเมินผลหรือสรุปได้ว่า เกษตรได้รับประโยชน์อะไรจากการทำเอฟทีเอครั้งนี้ โดยเฉพาะเกษตรกรระดับพื้นที่ในท้องถิ่นและภาคต่างๆ เพราะผลดีและผลเสียอาจแตกต่างกัน จึงต้องกลับมาดูให้ข้อมูลอีกครั้ง เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ชัดเจน จนถึงขณะนี้ยังมีเกษตรกรอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ทราบว่าไทยทำเอฟทีเอ ผัก - ผลไม้ กับจีน ทำให้ภาษีสินค้าในหมวดดังกล่าวเหลือ 0% หรือบางส่วนที่รับรู้ ก็ตั้งข้อสังเกตกรณีมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อขอข้อมูลจากชาวบ้าน ส่วนใหญ่เมื่อได้ข้อมูลแล้วจะหายเงียบไป ส่วนนโยบายของภาครัฐในการบรรเทาปัญหาที่ผ่านมา โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกกระเทียม แต่ไม่มีความต่อเนื่องชัดเจนสุดท้ายก็ล้มเหลว สำหรับมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้า ตามข้อตกลงเอฟทีเอ ผักและผลไม้ ไทย - จีน ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2546 ถึงปัจจุบันการส่งออกของไทยยังเกินดุลจีนอยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบก่อนทำเอฟทีเอ มูลค่าการส่งออกสินค้าไม่ถึงหลักพันล้านบาท แต่ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกสูงกว่าปีละ 4,000 - 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้มูลค่าการค่าปีงบประมาณ 2549 การส่งออกมีมูลค่ารวม 6,030 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 1,160 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2550 การส่งออกมีมูลค่ารวม 5,650 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 1,007 ล้านบาท และในช่วง 3 ไตรมาสของปีงบประมาณ 2551 (1 ต.ค.2550 - 30 มิ.ย. 2551) การส่งออกมีมูลค่า 4,960 ล้านบาท ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 797 ล้านบาท คาดว่าเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณมูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นอีกราว 500 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้าจีนไม่ต่ำกว่า 4.6 พันล้านบาท

ขณะนี้บริษัทแม่ในญี่ปุ่นอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการย้ายฐานการผลิตสินค้าดิจิตอลจากจีนอาทิ นาฬิกา เครื่องคิดเลข พจนานุกรมอิเล็กทรกนิกส์ แบรนด์ "คาสิโอ" ไปยังฐานการผลิตใน 2 ประเทศที่มีความเป็นไปได้สูงสุด คือ ไทยและเวียดนาม คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องฐานการผลิตใหม่และจำนวนเม็ดเงินลงทุนภายในอีก 1-2 ปี ข้างหน้านี้ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องย้ายฐานการผลิต เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ต้นทุนการผลิตในจีนสูงขึ้น โดยเฉพาะเรื่องค่าแรงที่ปรับขึ้นไปแล้วกว่า 20% ในปัจจุบัน ประกอบกับโรงงานในจีนยังไม่สามารถผลิตสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสินค้ากลุ่มดังกล่าวจะใช้ฐานการผลิตที่ไทยและญี่ปุ่นเท่านั้น"มีความเป็นไปได้สูงอาจตัดสินใจย้ายฐานการผลิตมายังไทย เนื่องจากปัจจุบันมีโรงงานอยู่ที่นวนคร จังหวัดปทุมธานี พื้นที่โรงงาน 16,000 ตารางเมตร ปัจจุบันใช้พื้นที่ไปเพียง 50% ผลิตนาฬิกากว่า 1,000 รุ่น มีกำลังการผลิต 700,000 เรือนต่อเดือน แบ่งเป็นแบรนด์ จี-ซ็อค 30% , เบบี้-จี 15% และอื่นๆ 55% เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 100% ตามข้อตกลงของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในไทย โดยส่วนตัวแล้วยังมีความเชื่อมั่นว่าจะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงไปมากกว่านี้ แต่ภาคการเมืองควรรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่การปฏิวัติเป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติกังวลมากที่สุด ภาพรวมตลาดนาฬิกาแฟชั่นระดับกลางในไทยมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เติบโต 15-20% โดยคาสิโอ มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 30%

จากการศึกษาผลกระทบในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม พบว่า ช่วงนี้จีนจะเร่งผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อขายตลาดในประเทศเป็นหลักและส่งออกแข่งขันกับประเทศอื่นน้อยลง ดังนั้นช่วงที่เหลือ 2 เดือนในปี 2551 แม้จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกก็คงไม่กระทบภาคการส่งออกสิ่งทอของไทย เพราะตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสิ่งทอไทย โดยเฉพาะความต้องการในกลุ่มประเทศอาเซียนยังมีโอกาสเติบโตได้อยู่ ส่วนปัญหาวิกฤติสหรัฐ ภาคเอกชนไทยได้เตรียมความพร้อมด้วยการปรับตัวอยู่แล้ว กรณีที่หลายฝ่ายออกมาคาดการณ์ว่าปี 2552 จะมีประชาชนตกงานเกือบล้านคนนั้น ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย คงจะมีผู้ตกงานจำนวนน้อย และจากการที่หลายประเทศที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน อาจปรับลดพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไทยจึงควรใช้วิกฤติดังสร้างโอกาสให้แก่ประเทศ เนื่องจากคุณภาพสินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ส่วนกรณีที่จีนจะเร่งผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่ง ขายตลาดภายในประเทศเป็นหลัก เชื่อว่า จะส่งผลให้ความต้องการในกลุ่มอาเซียนพุ่งมาที่ไทย โดยปีนี้กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังสามารถขยายการส่งออกได้ 7-8% หรือคิดเป็นมูลค่า 7,000-7,800 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าปี 2552 จะยังสามารถขยายการส่งออกได้ใกล้เคียงกับปี 2551 โดยอาจมีมูลค่าเกือบ 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 280,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยจะต้องเร่งปรับตัวด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้า เพื่อสร้างความต้องการและมูลค่าให้แก่สินค้ามากขึ้น

ในช่วง 1-2 ปีนี้ ถือเป็นโอกาสที่ค่อนข้างสูงของอุตสาหกรรมรองเท้า อันเป็นผลจากการที่จีนเพิ่มความเข้มงวดด้านกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทำให้ค่าแรงในจีนเพิ่มสูงเกือบ 50 % ประกอบกับรัฐบาลจีนลดการสนับสนุนการให้เงินชดเชยสำหรับการส่งออกในอุตสาหกรรมเบา ทำให้ราคารองเท้าที่ผลิตจากจีนสูงขึ้นถึง 2 เท่า และการที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้โรงงานรองเท้าในจีนทยอยปิดกิจการลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 จนถึงปัจจุบันรวมกว่า 2,000 แห่ง และยังมีแนวโน้มที่จะปิดโรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงมีลูกค้าส่วนหนึ่งหนีมาจากจีนและเข้ามาดูศักยภาพของไทยว่าจะสามารถผลิตทดแทนจีนได้หรือไม่ ในส่วนของผู้ผลิต/ผู้ส่งออกต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนอุตสาหกรรมรองเท้าของไทยให้มากขึ้น เพราะนอกเหนือจากโอกาสที่จะได้จากจีนแล้ว ยังมีตลาดในกลุ่มเอฟทีเอ เช่นญี่ปุ่น ที่ให้ความสนใจกับรองเท้าไทยแต่ปัญหาคือกำลังการผลิตของไทยค่อนข้างเต็มเพดาน จึงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด้านการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ