ญี่ปุ่นผลิตกระเทียมปีละประมาณ 11,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของการบริโภค แหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่จังหวัด Aomori และจังหวัด Kagawa มีปริมาณผลผลิตร้อยละ 81 และ 5 ของผลผลิตทั้งประเทศ ตามลำดับ
ประเทศญี่ปุ่นนำเข้ากระเทียมปีละ 20 กว่าตัน มูลค่านำเข้าปี 2551 ลดลงต่อเนื่องจากปี 2550 การนำเข้า 9 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่า 14.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 22.4 กระเทียมที่นำเข้าประมาณร้อยละ 99 มาจากประเทศจีน แหล่งนำเข้าอื่น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ ไต้หวัน
ราคากระเทียมจากจีนจะถูกว่าที่ผลิตในประเทศมาก ในเดือนพฤศจิกายน 2551 กระเทียมจากจีนมีราคาประมาณ 200 เยน (70บาท)/กิโลกรัม ขณะที่กระเทียมที่ผลิตในญี่ปุ่น ขายปลีกแพคละ 1-3 หัว ราคา100-300 เยน หรือประมาณ 2,500-4,000 เยน (875-1,400บาท)/กิโลกรัม สำหรับกระเทียมไทยมีการนำเข้าเพียงเล็กน้อย โดยผู้ประกอบการที่ขายส่งให้กับร้านอาหารไทยและร้านจำหน่ายสินค้าไทย ปริมาณการนำเข้าประมาณ 20-30 กิโลกรัม/สัปดาห์ ราคาขายส่งประมาณ 1,000 เยน (350 บาท) /กิโลกรัม และราคาขายปลีก 1,000-2,000 เยน (350-700 บาท) /กิโลกรัม ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เคร่งครัดเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยมาก สินค้าอาหารที่นำเข้าและจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นจะต้องเป็นสินค้าที่ปลอดภัย ไม่มีสารเคมีตกค้าง และจากการสอบถามถึงความสนใจที่จะนำเข้ากระเทียมจากไทย ผู้นำเข้าต้องการนำเข้ากระเทียมแปรรูปเป็น กระเทียมปอกเปลือกแล้วแช่แข็ง และกระเทียมผงอบแห้ง
การเจาะตลาดญี่ปุ่นสำหรับสินค้ากระเทียมไทย ประสบการแข่งขันกับกระเทียมจากจีน ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบ ที่ราคาถูก มีขนาดใหญ่ ส่วนกระเทียมที่ผลิตภายในประเทศแม้จะมีราคาสูงแต่ผู้บริโภคยอมรับในคุณภาพ อย่างไรก็ตาม กระเทียมไทยซึ่งมีกลิ่นแรงขนาดเล็กกว่า ปอกเลือกยาก อาจขยายตลาดเพิ่มการส่งออกกระเทียมไปยังตลาดญี่ปุ่นได้บ้าง หากควบคุมคุณภาพไม่ให้มีสารเคมีตกค้าง และผลิตเป็นกระเทียมแปรรูปซึ่งนอกจากเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าไทยแล้ว ยังลดขั้นตอนการขออนุญาตการนำเข้า โดยดำเนินการให้เป็นตามกฎเกณฑ์สุขอนามัยด้านอาหาร หรือ Food Sanitary Law เท่านั้น ไม่ต้องผ่านด่านกักกันพืช ภายใต้ Plant Quarantine Law
สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงโตเกี
Upload Date : พฤศจิกายน 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th