การจัดตั้งภัตตาคาร/ร้านอาหารในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งบุคคลที่จะจัดตั้งจะต้องดำเนินการจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัท/ธุรกิจกับกรมทะเบียนการค้าและธุรกิจ (Accounting & Corporate Regulatory Authority : ACRA เดิมคือ Registry of Companies & Businesses — RCB) โดยเป็นไปตามระบียบทั่วไปเช่นเดียวกับการจัดตั้งบริษัททั่วไป แต่มีส่วนที่เพิ่มเติมคือ 1) ในด้านระเบียบสุขอนามัยที่จะต้องได้รับใบอนุญาต (License) จากกระทรวงการสิ่งแวดล้อมสิงคโปร์ (Ministry of Environment : MOE) และ 2) การนำพ่อครัว/แม่ครัว เข้ามาทำงานในสิงคโปร์ โดยติดต่อขออนุญาตต่อกระทรวงแรงงาน (Ministry of Manpower —MOM)
1.1 เอกสารที่ต้องยื่น คือ
-Application for Approval and Reservation of Name for Registration (Singaporean or of a Foreign Company)
-Application to register a business
ผู้ประสงค์จะจัดตั้งบริษัทสามารถมอบอำนาจให้สำนักงานทนายความในสิงคโปร์เป็นตัวแทนในการขอจดทะเบียนบริษัททาง Internet ได้ที่ www.bizfile.gov.sg
1.2 เมื่อการยื่นขอจดทะเบียนชื่อบริษัทตามข้อ 1 ได้รับอนุญาตแล้ว ACRA ให้เวลา 2 เดือนสำหรับบริษัททำการยื่นขอจดทะเบียนบริษัท ค่าธรรมเนียมอย่างต่ำในการจดทะเบียนบริษัทคือ 1,200 เหรียญสิงคโปร์ ต่อทุนจดทะเบียน 100,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือทุนที่ต่ำกว่า
1.3 ACRA จะพิจารณาแบบยื่นขอว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆหรือไม่ เช่น หากผู้ขอจัดตั้งร้านอาหาร/ภัตตาคาร จะต้องส่งเรื่องไปยัง Ministry of Environment (ขออนุญาต License) หรือการจัดตั้งโรงเรียนเอกชน จะต้องส่งเรื่องไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาก่อน เป็นต้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 14 วัน ถึง 2 เดือน ก่อนที่จะทราบผล
1.4 แม้ว่าผู้ยื่นขอจะได้รับอนุญาตจาก ACRA ที่ควบคุมการจดทะเบียนธุรกิจแล้ว แต่หากบริษัทดำเนินธุรกิจเข้าอยู่ในข่ายที่ต้องขอใบอนุญาตจากหน่วยงานอื่นๆ บริษัทจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานนั้นๆ ก่อนจึงจะดำเนินธุรกิจได้
5. การนำพ่อครัว/แม่ครัวเข้ามาทำงานในสิงคโปร์/การขอ Employment Pass
-ก่อนนำพ่อครัว/แม่ครัวเข้ามาทำงานในสิงคโปร์ ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอ S Pass หรือ Employment Pass จาก Employment Pass Department, Ministry of Manpower ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตในหลักการณ์ จึงสามารถนำพ่อครัว/แม่ครัวเข้ามาทำบัตรเพื่อทำงานในสิงคโปร์ต่อไป
2.1 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อจัดตั้งบริษัท
-ค่าธรรมเนียมการยื่นขอจดทะเบียนชื่อบริษัท 15 เหรียญสิงคโปร์ และค่าธรรมเนียมการก่อตั้งบริษัท 300 เหรียญสิงคโปร์โดยที่ ACRA จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการตรวจสอบเพื่ออนุญาตการจดทะเบียนชื่อบริษัทซึ่งจะมีอายุใช้ได้ 2 เดือน ผู้ยื่นขอจะต้องขอจดทะเบียนบริษัทให้เรียบร้อยภายในเวลา 2 เดือน หากผู้ยื่นขอต้องการเวลาเพิ่มมากกว่า 2 เดือน จะต้องทำหนังสือขอต่อเวลา พร้อมค่าใช้จ่าย 10 เหรียญสิงคโปร์ ต่อชื่อบริษัท
-ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท
-Locally incorporated companies with share capital คือ
เงินทุนจดทะเบียน ค่าจดทะเบียน(หน่วย:เหรียญสิงคโปร์) ก) ไม่เกิน 100,000 1,200 ข) 100,101-1,000,000 1,200 + 400/ทุกจำนวนเงิน 100,000 หรือส่วนของ 100,000 ค) 1,000,001 ขึ้นไป 4,800+300/ทุกจำนวนเงิน 1,000,000 หรือส่วนของ 1,000,000
-Companies without share capital 600
-Foreign Companies 1,200
-ค่าธรรมเนียมขออนุญาต [License Fee] ปีละ 120 เหรียญสิงคโปร์
( เปิดร้านอาหาร/ภัตตาคาร)
2.2 ค่าเช่าร้าน/พื้นที่ ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งซึ่งจะเป็นตัวกำหนดอัตราค่าเช่า เช่น
-ย่านในเมือง : ประมาณ 10.00-15.00 เหรียญสิงคโปร์ต่อตารางฟุต
-ย่านชานเมือง : ประมาณ 7.00-10.00 เหรียญสิงคโปร์ต่อตารางฟุต
2.3 ภาษี
-ภาษีบริษัท ในปี 2547 เรียกเก็บร้อยละ 22 ของรายได้บริษัท, ในปี 2548 เรียกเก็บร้อยละ 20 และในปี 2551 เรียกเก็บร้อยละ 18 -ภาษี Cess ร้อยละ 1 ของเงินรายได้
-ภาษีสินค้าและบริการ [Goods & Services Tax — GST] ร้อยละ 7 สำหรับบริษัทที่ในรอบหนึ่งปีมีรายได้เกินกว่า 1 ล้านเหรียญสิงคโปร์
3.1 อาคาร/สถานที่
1. อาคารสถานที่ต้องออกแบบเพื่อไม่ให้แมลงต่างๆเข้ามาได้ รวมถึงป้องกันมลภาวะ ภายนอกตัวอาคาร สะดวกต่อการทำความสะอาดและง่ายต่อการดูแลรักษาให้ถูกสุขลักษณะ มีเนื้อที่สามารถจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้และอาหารได้โดยไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ และห้ามแต่งเติมชั้นต่างๆภายในร้านด้วยวิธีเติมเพดานและเติมผนังกั้นโดยใช้เสาค้ำ
2. วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ต้องปราศจากสารเคมีต่างๆ และไม่มีสารตกค้างที่อาจแพร่ไปเจือปนในอาหารได้
3.2 การจัดระเบียบสถานที่
1. การจัดวางอุปกรณ์เครื่องใช้และสิ่งของต่างๆภายในร้าน ต้องจัดเก็บให้เป็นระเบียบและไม่กีดขวางทางเดินภายในร้าน และต้องจัดเป็นหมวดหมู่ มีห้องสำหรับพนักงานและห้องจัดเก็บสิ่งของต่างๆให้เพียงพอ และมีประตูทางเข้า-ออก อย่างสะดวก
3. พื้นผิวภาชนะที่ใช้ปรุงและบรรจุอาหารต้องไม่มีสารพิษเจือปนอยู่และไม่มีการรั่วซึมใดๆเกิดขึ้น สำหรับภาชนะที่ใช้ในการอบ ต้องมีฝาปิด
3.3 การทำความสะอาด
เมื่อทำความสะอาดต้องแสดงเครื่องหมายบ่งบอกที่เห็นได้ชัดเจนตามบริเวณต่างๆที่กำลังทำความสะอาดภายในและนอกร้าน และต้องระวังไม่ให้มีน้ำรั่วซึมจากท่อต่างๆภายในร้าน
3.4 พื้นที่ใช้สอย
พื้นที่ใช้ภายในร้านต้องมีความคงทน ไม่มีการรั่วซึม ไม่มีสารพิษ สามารถป้องกันการกระเทกของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่อาจร่วงลงมา วัสดุที่ใช้ทำพื้นจะต้องไม่ลื่นและทำความสะอาดง่าย ถ้าพื้นเป็นคอนกรีต ต้องมีการฉาบเพื่อให้สามารถกันน้ำรั่วซึมได้ ถ้าพื้นเป็นกระเบื้อง จะต้องป้องกันกรดต่างๆได้ และต้องมีฝาปิดสำหรับช่องบนพื้นหรือร่องน้ำต่างๆทุกแห่ง
3.5 ระบบระบายน้ำ
การจัดตั้งท่อระบายน้ำจะต้องจัดตั้งในสถานที่ที่เหมาะสม ต่อการใช้งานและสามารถถอดหรือเคลื่อนย้ายได้เมื่อต้องการทำความสะอาด สามารถรองรับปริมาณน้ำสูงสุดได้มากพอโดยไม่ก่อให้เกิดน้ำท่วมขังในบริเวณต่างๆ และต้องมีระบบป้องกันท่อระบายน้ำจากการอุดตัน
3.6 ผนังภายใน
1. ผนังต้องเรียบ ทนทาน ไม่รั่วซึม ง่ายต่อการทำความสะอาดและทาสี ป้องกันการแตกร้าวด้วยสีขาว หรือสีใสสว่าง
2. วัสดุที่นำมาใช้ปูผนังต้องเป็นปูนซีเมนต์ กระเบื้อง หรือวัสดุกันสนิมเช่น สแตนเลส สตีล หรืออลูมิเนียมอัลลอยด์ ซึ่งวัสดุดังกล่าวสามารถป้องกันการกระแทก ขูดขีดได้เป็นอย่างดี
3. การต่อเติมชั้นวางของจะต้องทำให้มีมุมขนานกับฝาผนัง 45 องศา
4. ผนังในห้องครัว บริเวณที่ใช้ปรุงอาหารจะต้องเป็นแผ่นสแตนเลสสตีล มีความกว้างเหมาะสมสำหรับการปรุงอาหาร
5. ท่อส่งแก๊สต้องติดตั้งผนังด้วยความสูงอย่างน้อย 1.5 เมตร หากติดตั้งใกล้ท่ออื่นๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกันต้องแสดงสัญลักษณ์ที่สามารถทำให้เข้าใจได้ง่ายว่าเป็นท่อส่งแก๊ส
3.7 หน้าต่าง/ประตู
1. ไม่สร้างหน้าต่างมากเกินความจำเป็น และสิ่งที่ใช้ปิดบังหน้าต่างจะต้องป้องกันฝุ่นละอองหรือแมลงต่างที่อาจเข้ามาได้ วัสดุที่ใช้เป็นกรอบต้องเรียบ และทนทานต่อการกระแทก . หน้าต่างจะต้องเปิดได้ 45 องศา และสูงจากพื้นอย่างน้อย 1 เมตร
2. ประตูที่ใช้ ต้องป้องกันการรั่วซึมและการกระแทกได้เป็นอย่างดี สร้างโดยไม่ก่อให้เกิดช่องว่าง หรือรอยแตกต่างๆ และส่วนที่เชื่อมหรือบานพับต้องทำจากวัสดุกันสนิม กรอบประตูต้องเรียบและง่ายต่อการทำความสะอาด
3.8 เพดาน
เพดานต้องทำจากวัสดุที่ป้องกันการแตกร้าวได้เป็นอย่างดี ทาสีที่ใสสว่าง ไม่ให้มีรอยรั่วระหว่างทางเดินของท่อต่างๆ
3.9 ระบบแสงสว่างภายในร้าน
1. ต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอภายในร้าน บริเวณชั้นต่างๆ โดยทั่วไปค่าต่ำสุดของความสว่างที่ใช้คือ 220 lux สำหรับการให้แสงสว่างเพื่อจัดแสดงอาหารจะใช้ความสว่างอย่างน้อย 540 lux หลอดไฟต้องมีฝาครอบที่เป็นวัสดุกันน้ำซึมผ่านได้ เพื่อป้องกันการลัดวงจรของกระแสไฟฟ้า
2. ไม่อนุญาตให้มีการใช้แสงเพื่ออำพรางสีของอาหารหรือใช้แสงเพื่อทำให้อาหารมีสีสันเปลี่ยนแปลงไป
3.10 การระบายอากาศ
ภายในร้านต้องมีระบบการระบายอากาศที่ดีเพื่อระบายความร้อน ฝุ่นละออง หรือควันต่างๆภายในร้าน โดยเฉพาะต้องติดตั้งเครื่องระบายอากาศในบริเวณที่ใช้ปรุงอาหาร ซึ่งต้องมีแผ่นกรองอากาศ และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
3.11 ห้องเก็บของ
พื้นที่ต้องแห้ง และมีภาชนะหรือสิ่งของต่างๆปกปิดมิดชิด ชั้นวางอาหารต้องวางอยู่บนราวที่สูงจากพื้นอย่างน้อน 30 ซม. สามารถรักษาอุปกรณ์/เครื่องมือ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ และอาหารแห้งให้มีคุณภาพดี รวมทั้ง มีระบบการป้องกันหนูหรือสัตว์ต่างๆที่จะเข้ามาทำให้ของเสียหาย
3.12 ตู้เย็นเก็บอาหาร
1. ช่องเก็บอาหารแช่แข็งต้องมีระบบปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย -18 องศาเซลเซียส หรือน้อยกว่านั้น และควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ อีกทั้งสามารถเตือนผู้ใช้ได้ในกรณีที่มีเหตุผิดปกติเกิดขึ้น ภายในช่องแข็งต้องมีระยะห่างระหว่างชั้นที่เพียงพอกับการจัดเก็บอาหารและเพียงพอสำหรับป้องกันน้ำแข็งที่อาจเพิ่มปริมาณขึ้นจากการเปิดใช้เครื่องในระยะเวลานานมีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ
2. ช่องเย็นต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเก็บอาหารและรักษาอุณหภูมิของอาหารได้ระหว่าง -4 ถึง 7 องศาเซลเซียส ทุกชั้นวางของในช่องเย็นต้องเป็นสแตนเลสสตีล
3.13 เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในร้านอาหาร
1. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ต้องสามารถป้องกันการกัดกร่อนจากสารต่างๆที่ใช้ในการปรุงอาหารและไม่รั่วซึม อุปกรณ์สำหรับอบ จะต้องไม่ส่งปฏิกริยาใดๆกับอาหาร
2. วัสดุอุปรณ์บางชิ้น สามารถถอดแยกชิ้นส่วน ล้างได้สะดวกและบำรุงรักษาได้ง่าย
3. การวางเครื่องมือเครื่องใช้ต้องอยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย 15 ซม. และต่ำจากเพดานอย่างน้อย 46 ซม. ชั้นวางที่ใช้เก็บของต้องมีระบบป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ต่างๆ ล่วงหล่นได้
3.14 ห้องพนักงาน
ต้องมีห้องเปลี่ยนชุดทำงานและพื้นที่พักผ่อนให้พนักงาน มีตู้ยาสามัญประจำบ้าน และตู้ล็อกเกอร์สำหรับพนักงานแต่ละคน
สุขอนามัยของร้านอาหาร/ภัตตาคารจะต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงสิ่งแวดล้อมสิงคโปร์กำหนดให้หน่วยงาน National Environment Agency (NEA) เป็นผู้ควบคุม ซึ่งมีระเบียบโดยสรุปดังนี้
1. ทางร้านจะต้องส่งเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการปรุงอาหารเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขอนามัยเมื่อเปิดร้านครั้งแรก โดยใช้เวลาฝึกอบรมครึ่งวัน นอกจากนั้นต้องส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของร้าน 2 คน เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเวลา 3 วัน/ปี
2. NEA จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจร้านปีละ 2-3 ครั้ง โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ฯจะตรวจเรื่องความสะอาดเป็นสำคัญ
3. หากมีการร้องเรียนจากผู้บริโภคเรื่องอาหารไม่ถูกสุขอนามัย NEA จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจทันที หากผลการตรวจไม่ผ่านตามมาตรฐานสุขอนามัย NEA มีอำนาจสั่งปิดร้านชั่วคราวหรือเพิกถอนใบอนุญาตร้านอาหารได้
5.1 การขอ S Pass หรือ Employment Pass
การนำเข้าพ่อครัว-แม่ครัวนั้น ต้องขอใบอนุญาต S Pass (เงินเดือนขั้นต่ำ 1,800 เหรียญสิงคโปร์) หรือ Employment Pass (เงินเดือนขั้นต่ำ 2,500 เหรียญสิงคโปร์) จากหน่วยงาน Singapore Employment Pass Department, Ministry of Manpower
5.2 คุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว
- จบการศึกษามัธยมต้น และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้พอสมควร
-ประสบการณ์และใบรับรองการผ่านงานจากภัตตาคารและโรงแรมไม่น้อยกว่า 10 ปี สำหรับหัวหน้าคนครัว (Chef) และ 5-6 ปี สำหรับคนครัว
- อายุ ระหว่าง 30-40 ปี สำหรับหัวหน้าคนครัว และ 20-30 ปี สำหรับคนครัว
5.3 หลักฐาน/ค่าแรง และสวัสดิการ
- หลักฐาน ที่ต้องแสดงเมื่อจะเข้าไปทำงานในสิงคโปร์ คือ หนังสือเดินทางหนังสืออนุญาต S Pass หรือ Employment Pass ซึ่งออกให้โดย Employment Pass Department
- ใบรับรองแพทย์ จากแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ Ministry of Manpower
- ค่าแรง ตามระเบียบกำหนดภายใต้ S Pass มีรายได้เดือนละ 1,800 - 2,500 เหรียญสิงคโปร์ และภายใต้ Employment Pass มีรายได้เดือนละ 2,500 เหรียญสิงคโปร์ ขึ้นไป
สวัสดิการ
- วันพักผ่อน 10 วันต่อปี
- ค่ารักษาพยาบาลหากรับการรักษาในโรงพยาบาล
- การประกันอุบัติเหตุ
-อื่นๆ ตามความตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นรายๆไป
ทั้งนี้ การจัดหาพ่อครัว/แม่ครัวไทยเพื่อทำงานในสิงคโปร์ เจ้าของกิจการติดต่อโดยวิธีการ ดังนี้
- ติดต่อผ่านพ่อครัว/แม่ครัวที่ทำงานอยู่แล้ว
- ติดต่อผ่านคนรู้จักในประเทศไทย
- ติดต่อผ่านหน่วยงานไทยในสิงคโปร์
- ลงโฆษณาหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย
- นำเข้ามาจากร้านอาหารของตนในประเทศไทย
และการจ้างพนักงานในภัตตาคารไทย สามารถจ้างคนไทยเป็นพ่อครัว/แม่ครัวได้ แต่ไม่สามารถจ้างคนไทยเป็นพนักงานเสริฟได้ นอกจากว่าคนไทยนั้นจะถือบัตร Permanent Residence (PR) ที่รัฐบาลสิงคโปร์อนุญาตให้อยู่พำนักถาวรในสิงคโปร์
จากสถิติล่าสุดในการอนุญาตจดทะเบียนประกอบธุรกิจร้านอาหารของกระทรวงสิ่งแวดล้อมปี 2550 ปรากฏว่ามีภัตตาคารและร้านอาหารที่ได้รับอนุญาต รวม 4,060 แห่ง แบ่งออกเป็น
-ภัตตาคาร (Restaurant) 2,537 แห่ง
-ร้านอาหาร (Eating House) 1,523 แห่ง
-ในจำนวนนี้มีภัตตาคาร/ร้านอาหารไทยจำนวน 69 แห้ง ซึ่งเจ้าของร้านส่วนใหญ่เป็นคนสิงคโปร์ มีเจ้าของร้านเป็นคนไทย 19 ร้าน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 28
รูปแบบการตกแต่งร้านอาหาร แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
1. ภัตตาคารเต็มรูปแบบ
2. ร้านขนาดกลาง แบบโปร่ง สไตล์สบาย
3. ร้าน Concept แบบ Fast Food
ชาวสิงคโปร์ นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน เนื่องจากระบบการทำงานด้านธุรกิจ ทำให้มีเวลาน้อยที่จะประกอบอาหารที่บ้าน และโดยเฉพาะวันหยุดงานมักพาครอบครัวออกไปรับประทานอาหารตามร้านอาหารหรือภัตตาคาร กลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือ นักท่องเที่ยว ซึ่งในแต่ละปี สิงคโปร์มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาถึง 7 - 8 ล้านคน และนักท่องเที่ยวเหล่านั้นนิยมทานอาหารเอเชียรูปแบบต่างๆ รวมทั้งอาหารไทย
1. กรมทะเบียนการค้าและธุรกิจ (Accounting & Corporate Regulatory Authority : ACRA เดิมคือ Registry of Companies & Businesses — RCB) เพื่อจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัท/ธุรกิจภายใต้ Business Registration Act Cap 32 ซึ่งบุคคลที่จะจัดตั้งบริษัทต้องจดทะเบียนกับ ACRA ในธุรกิจทุกสาขา รวมถึง trade, commerce, craftsmanship, profession or any activity carried on for the purpose of gain (ACRA : 10 Anson Road #05-01/15, International Plaza, S’pore 079903 Tel: 65-6325 3731 Fax: 65-6225 1676 Website: www.acra.gov.sg )
2. กระทรวงการสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environment — MOE) เพื่อขอใบอนุญาต (License) ด้านสุขอนามัยและขออนุญาตประกอบกิจการร้านอาหาร/ภัตตาคาร (MOE : Environment Health Department, Environment Building, #21-00, Scotts Road, S’pore 228231 Tel: 65-6731 9117 Fax: 65-6731 9749 Website: www.moe.gov.sg)
3. กระทรวงแรงงาน [Ministry of Manpower —MOM] เพื่อขออนุญาตนำพ่อครัว/แม่ครัว เข้ามาทำงานในสิงคโปร์ ณ (MOM : Employment Pass Division, SIR Building, 10 Kallang Road, S’pore 208718 Tel: 65-6297 5443 Fax: 65-6298 0837 Website: www.mom.gov.sg
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน
ที่มา: http://www.depthai.go.th