สิงคโปร์ กับวิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐฯ และยุโรป

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 12, 2008 11:29 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เมื่อเกิดวิกฤตการณ์การเงินทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ที่ได้ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกชะลอตัวลง รวมทั้งสิงคโปร์ ซึ่งได้รับผลกระทบทำให้การเจริญเติบโตเศรษฐกิจลดลงติดต่อกันถึง 2 ไตรมาสในปี 2551 และคาดว่า เศรษฐกิจจะถดถอยต่อไปอีกหลายไตรมาส จากปี 2551 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์สรุปได้ ดังนี้

1. ตลาดหุ้นสิงคโปร์มีมูลค่าลดลงอย่างมาก ซึ่งภาครัฐได้คาดการณ์ว่า Capital Value จะลดลง

2. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะอ่อนตัวลง โดยเฉพาะสินค้าอิเล็คทรอนิกส์, biomedical และเภสัชภัณฑ์ ส่วนภาคการก่อสร้างและการบริการจะมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น

3. สิงคโปร์อยู่ในช่วง technical recession ทำให้มูลค่าการส่งออก และราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างมาก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง

4. รายได้จากการส่งออกน้ำมันลดลง ซึ่งคาดว่าในปลายปี 2551 น้ำมันจะมีราคาลดลงถึงบาเรลละ 60 เหรียญสหรัฐฯ แต่สำหรับผู้นำเข้าสินค้าอาหาร ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด น้ำตาล ถั่วเหลือง และน้ำมันปรุงอาหาร จะได้รับผลดี เนื่องจากราคานำเข้าลดลงประมาณร้อยละ 34 (หลังจากที่ได้มีราคาสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2551) นอกเหนือจากสินค้าอาหารแล้ว สินค้าอื่นๆ ที่ลดลง ได้แก่ metal (platinum and copper) ยกเว้นทองคำ คาดว่า การลดลงของราคาสินค้า จะมีต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะอยู่ในระดับคงที่

5. เศรษฐกิจสิงคโปร์ จะชะลอตัวลงในอีกหลายไตรมาสต่อไปเนื่องจากการเจริญเติบโตเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทั้งใน สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และแม้แต่อินเดียและจีน และเศรษฐกิจสิงคโปร์จะเริ่มถดถอยในปี 2552 ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น

6. รัฐบาลสิงคโปร์ จะต้องนำผลกำไรจากเงินกองทุนสำรองออกมาใช้สำหรับงบประมาณในแต่ละปีในอนาคต สำหรับปัจจุบัน ได้นำเงินออกมาใช้ภายใต้ concept “Net Investment Income (NII)” ซึ่งรวมเพียงดอกเบี้ยและ dividends ที่ได้รับผลกำไรจากการนำเงินกองทุนสะสมไปลงทุน แต่ในอนาคตจะเปลี่ยนเป็น “Net Investment Return (NIR)” ซึ่งเป็นดอกเบี้ย dividends และ capital gains and losses

7. กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมได้ประกาศคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาส 3 ของปี 2551 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.5 หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ร้อยละ 9.5) ซึ่งจากผลดังกล่าว จึงทำให้ปรับคาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ ปี 2551 ให้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 (เดิมร้อยละ 4.0-5.0) ส่วนคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 6.0-7.0

แม้ว่าการเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวลง แต่ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเทคโนโลยีสูงในสิงคโปร์มีการขยายตัวขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคปรับเปลี่ยนจากการใช้จ่ายเดินทางท่องเที่ยวเป็นการอยู่บ้านแทน จึงทำให้ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจำหน่ายได้มาก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD, คอมพิวเตอร์, Notebook, เกมส์คอมพิวเตอร์, กล้อง DSLR, HD Camcorder, LCD Television ซึ่งการจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา โดยการจำหน่าย ณ งาน Comex 2008 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 มูลค่า 56 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา (ผู้เข้าชมงานฯ เพิ่มจาก 700,000 คน เป็น 735,000 คน) จากการสำรวจของบริษัท GfK ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 ปรากฏว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ จำหน่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 140,000 หน่วย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เปรียบเทียบกับปี 2550) มูลค่า 170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13)

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์มีเงินทุนสำรองที่มั่นคง คาดว่าจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตการณ์นี้โดยได้รับผลกระทบน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ไม่เฉพาะในภูมิภาคเท่านั้น แต่จะอยู่เหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยทั้งนี้ นอกจากประสบการณ์ที่ได้รับจากวิกฤตการณ์ “Asian financial crisis” ในปี 1997 แล้ว ยังมีปัจจัยที่สนับสนุน 3 ประการ คือ

(1) อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ

(2) สิงคโปร์เป็นประเทศเศรษฐกิจที่กระจายการลงทุน ซึ่งอุตสาหกรรมบางภาคยังมีการเจริญเติบโตอยู่ในระดับที่ดี เช่น marine engineering การก่อสร้าง และการผลิตสินค้ามูลค่าสูง รวมถึงด้าน wealth management และ private banking

(3) รัฐบาล สิงคโปร์มีงบประมาณที่มั่นคง และสามารถนำเงินออกมาสนับสนุนได้หากเกิดสถานการณ์เลวร้ายต่อเศรษฐกิจ

การช่วยเหลือและคำแนะนำของรัฐบาลสิงคโปร์

1. กระทรวงการคลังจะพิจารณาในแต่ละปี ที่จะกำหนดการคาดหวังผลของตลาดหุ้นสิงคโปร์ในระยะ 15-20 ปี เพื่อให้รองรับวงจรธุรกิจได้ถึง 2-3 รอบ เพื่อไม่ให้ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบในอนาคต

2. กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ให้คำแนะนำแก่ธุรกิจขนาดย่อมให้ไปลงทุนในต่างประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจอยู่ในระดับถดถอย เนื่องจากในช่วงวิกฤตการณ์นี้ เป็นโอกาสของบริษัทสิงคโปร์ที่จะไปลงทุนในตลาดใหม่ เช่น ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง รัสเซีย และเวียดนาม ซึ่งยังมีโอกาสในด้านต่างๆ ที่จะร่วมมือลงทุน ได้แก่ ธุรกิจการเกษตร, อาหารและเครื่องดื่ม, สินค้าอิเล็คทรอนิกส์, น้ำมันและก๊าซ, การคมนาคม, การจัดการขนส่ง และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

3. Monetary Authority of Singapore (MAS) มีนโยบายสนับสนุนและช่วยทำให้เศรษฐกิจแข็งแรงและมีประสิทธิภาพต่อไป โดยใช้เงินที่ได้ผลกำไรจากการลงทุนของรัฐบาล ซึ่งถึงเมื่อเดือนตุลาคม 2551 จำนวนเงินของ MAS‘ foreign exchange reserves มีมูลค่าประมาณ 240 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ และหน่วยงานลงทุนของรัฐบาล GIC มีมูลค่าประมาณ 148 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ สำหรับ Temasek Holdings มีมูลค่า 185 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

4. รัฐบาลขอให้ประชาชนตระหนักถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในด้านการศึกษา/การอบรมฝึกงานต่อไป แม้ว่าการเจริญเติบโตเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง

5. รัฐบาลดำเนินการชักชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในสิงคโปร์

6. รัฐบาลประกาศเกี่ยวกับรายได้จากเงินกองทุนสำรอง ซึ่งได้ช่วยให้งบประมาณมีความสมดุล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หน่วย : ล้านเหรียญสิงคโปร์                                                                     (Budgeted)
                             Items                            FY2004  FY2005  FY2006  FY2007  FY2008

Operating revenue-income from taxes, fees and other charges     27.5    28.2   31.3    39.7   39.8
Total expenditure                                               29.0    28.6   29.9    33.3   37.5
Primary surplus/(deficit)                                       -1.5    -0.5    1.4     6.3    2.4
Special transfers-e.g. GST credits, Workfare and CPF top-ups     1.7     0.8    3.6     2.2    5.4
Net Investment Income* Contribution                              3.0     2.8    2.1     2.3    2.2
Overall surplus (deficit)                                       -0.1     1.5  -0.06     6.5   -0.8
Net investment income contributions include interest and dividend income from investing the reserves.
Note:  Figures may not add up due to rounding
Source: Government Budget 2008

7. รัฐบาลสิงคโปร์โดยกระทรวงการคลัง ได้ให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในสิงคโปร์ว่า การฝากเงินธนาคารจะได้รับการประกันจากภาครัฐ จนถึง 31 ธันวาคม 2553 ซึ่งภาครัฐได้มีเงินหนุนถึง 150 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ครอบคลุม เงินตราต่างๆ ที่ฝากใน Saving accounts, fixed deposits, current accounts and under the Supplementary Retirement Scheme แต่ไม่ครอบคลุม Structured deposit and any deposit which is pledged, charged or secured as collateral ทั้งนี้ จำนวนเงินฝากทั้งหมดในระบบประมาณ 700 ล้านเหรียญสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ประเทศในภูมิภาคที่ให้ความเชื่อมั่นรับประกันการฝากเงินแก่ผู้บริโภค ได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินโดนีเซีย

อนึ่ง สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ซึ่ง Mr. Lee Kuan Yew, Minister Mentor กล่าวว่า สิงคโปร์ได้รับความสำเร็จจากปัจจัย 4 ประการ คือ 1) รัฐบาลมีประสิทธิภาพและไม่มีการคอรัปชั่น 2) ใช้ระบบที่ให้ความก้าวหน้าตามขีดความสามารถ 3) ให้ความเสมอภาคแก่ทุกคนในทุกด้าน และ 4) ชาวสิงคโปร์เป็น stakeholder ของประเทศ นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังได้รับความเชื่อมั่นจากนานาชาติ ในช่วงวิกฤตการณ์ ได้แก่

1. World Economic Forum (WEF) ได้จัดอันดับสิงคโปร์อยู่ที่อันดับ 5 ของประเทศเศรษฐกิจที่แข่งขันได้ทั่วโลก เนื่องจาก สภาวะการปกครองความเชื่อมั่นสูงในนักการเมือง การจัดการในทุกด้านที่มีประสิทธิภาพ การใช้จ่ายของรัฐบาลที่ไม่มีการสูญเปล่า กฎ/ระเบียบที่ชัดเจนและผู้วางนโยบายภาครัฐที่โปร่งใส ความมีประสิทธิภาพในทุกภาคอุตสาหกรรม จำนวนคนงานเพียงพอความพร้อมทางเทคโนโลยี และความมั่นคงด้านการเงิน ทั้งนี้ การสำรวจใช้หัวข้อบังคับของความสามารถในการแข่งขัน 12 ประการ จากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเยี่ยม มีท่าเรือและการคมนาคมที่มีระบบมาตรฐานโลกและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ไปจนถึง Business sophistication and innovation (ประเทศ 10 อันดับแรก คือ สหรัฐฯ สวิสเซอร์แลนด์ เดนมาร์ค สวีเดน สิงคโปร์ ฟินแลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และ แคนาดา)

2. ธนาคาร HSBC จัดให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถูกที่สุดเป็นอันดับ 5 สำหรับการเลี้ยงดูบุตรของคนต่างชาติที่ทำงานในสิงคโปร์ (ประเทศ 10 อันดับแรก คือ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย อินเดีย จีน และเบลเยียม)

3. ธนาคาร Barclays ของอังกฤษ ได้เปิด Barclays’ Business Technology Centre ณ Changi Business Park Central 1 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2551 มีการจ้างงานจำนวน 110 อัตรา และมีแผนการจะจ้างเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 300-400 อัตราภายในปลายปี 2552 และใน 3-5 ปีข้างหน้าจะขยายการจ้างงานให้ถึง 1,500 อัตรา นอกจาก Barclays แล้ว สถาบันการเงินอื่นๆ ที่มีสำนักงานในสิงคโปร์ ได้แก่ Merrill Lynch, Citi, Credit Suisse และ UBS

ที่มา: Ministry of Trade and Industry, International Enterprise Singapore, The Business Times and The Straits Times

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ สิงคโปร์

Upload Date : ตุลาคม 2551

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ