เมืองหลวง : Washington D.C. พื้นที่ : 9,161,923 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : English ประชากร : 299.4 ล้านคน (2006) อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 34.740 บาท (13/11/51) (1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 2.1 1.5 Consumer price inflation (av; %) 2.9 2.1 Federal government budget balance (% of GDP) -1.2 -1.7 Current-account balance (% of GDP) -5.4 -4.8 US$ 3-month commercial paper rate (av; %) 5.0 4.4 Exchange rate ฅ:US$ (av) 117.5 105.0 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหรัฐฯ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 15,324.82 100.00 8.48 สินค้าเกษตรกรรม 1,429.06 9.33 26.50 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1,464.22 9.55 16.10 สินค้าอุตสาหกรรม 11,985.67 78.21 6.39 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 445.87 2.91 60.75 สินค้าอื่นๆ 0.00 0.00 -100.00 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหรัฐฯ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 8,545.63 100.00 25.67 สินค้าเชื้อเพลิง 214.90 2.51 42.32 สินค้าทุน 2,928.02 34.26 24.81 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 4,382.12 51.28 28.46 สินค้าบริโภค 926.89 10.85 36.35 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 74.76 0.87 16.93 สินค้าอื่นๆ 18.94 0.22 -87.22 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหรัฐฯ 2550 2551 D/%
(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 20,926.38 23,870.45 14.07 การนำเข้า 6,800.08 8,545.63 25.67 การส่งออก 14,126.30 15,324.82 8.48 ดุลการค้า 7,326.23 6,779.20 -7.47 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 8,545.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.67 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 8,545.63 100.00 25.67 1. แผงวงจรไฟฟ้า 916.20 10.72 -13.07 2. เคมีภัณฑ์ 863.87 10.11 47.99 3. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 811.74 9.50 17.00 4. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 689.31 8.07 5.94 5. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 653.76 7.65 182.19 อื่น ๆ 935.43 10.95 2.15 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 15,324.82 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 15,324.82 100.00 8.48 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 2,625.65 17.13 7.39 2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 1,051.32 6.86 -5.81 3. อาหารทะเลกระป๋องและแปร 829.78 5.41 13.69 4. อัญมณีและเครื่องประดับ 827.39 5.40 28.61 5. ผลิตภัณฑ์ยาง 722.55 4.71 12.20 อื่น ๆ 3,004.06 19.60 -6.48 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐฯ ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.- กย.) มีมูลค่า2,098.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.86 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เสื้อผ้าสำเร็จรูป : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวลดลงทุกปีร้อยละ 2.26, 9.27 และ 5.81 ตามลำดับ
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-กย.) มีมูลค่า829.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.69 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อัญมณีและเครื่องประดับ : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย โดยในปี 2551 (มค.-กย.) มีมูลค่า 827.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.61 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ยาง : สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 29.61, 23.36, 11.85 และ 12.20 ตามลำดับ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ ล้านเหรียญสหรัฐ % 9. ยางพารา 480.19 54.03 12.น้ำมันดิบ 414.28 66.86 16.ข้าว 247.85 62.23 24.เครื่องยนต์สันดาปภายในฯ 152.93 71.77 4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหรัฐฯ ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 5 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 1,051.32 -5.81 8. แผงวงจรไฟฟ้า 502.70 -8.88 20.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 185.90 -23.66 21.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ 185.38 -5.56 22.รองเท้าและชิ้นว่สน 180.62 -0.21 4.4 ข้อมูลเพิ่ม
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยภายหลังนายเอริก จี.จอห์น เอกอัคราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ ว่าทางสหรัฐฯ ได้ยืนยันว่านโยบายการทำงานของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีคนใหม่ ไม่มีผลต่อการค้าการลงทุนของไทยที่มีความสัมพันธ์กันมายาวนาน แต่จะทำให้การค้าและการลงุทนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ เพิ่มมากขึ้นอีก เพราะล่าสุดสหรัฐฯ ได้ต่อสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ให้แก่ไทยออกไปอีก 1 ปี หรือจาก 1 ม.ค.2551 ไปจนถึง 31 ธ.ค. 2552 สหรัฐฯ ได้แนะนำให้รัฐบาลไทยจัดคณะนักธุรกิจออกไปโรดโชว์ยังสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกันซึ่งทางรัฐบาลสหรัฐฯ พร้อมให้ความช่วยเหลือในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนไทยไปลงทุนสหรัฐฯ หรือนักลงทุนสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนในไทยเหมือนกับที่จีนทำ โดยกระทรวงฯ จะกลับมาพิจารณาว่าจะนำอุตสาหกรรมกลุ่มไหนออกไปโรดโชว์ยังสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตรงต่อกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด สำหรับประเด็นที่ทางเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เป็นห่วงนั้น คือ กฎระเบียบที่เข้มงวดใน พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เนื่องจากบริษัทแม่ของสหรัฐฯ ที่เข้ามาลงทุนธุรกิจในไทยประสบปัญหาเรื่องการส่งตัวแทนเข้ามาประชุมในไทยที่จะต้องมีการลงมติซึ่งบางครั้งผู้บริหารระดับสูงไม่ได้เดินทางมาประชุมด้วยตนเอง แต่ส่งตัวแทนที่มีใบมอบอำนาจมาอย่างถูกต้อง แต่ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าประชุม เพราะติดกฎหมายของไทยดังนั้น จึงอยากให้ไทยดูแลปัญหาดังกล่าว เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ โดยทางกระทรวงฯ รับปากว่าจะจัดการให้ ขณะที่ประเด็น ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในไทยเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ระบุว่าได้ติดตามการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในไทยมาตลอด และถือว่ามีการแก้ไขปัญหาได้ดี ทำให้การละเมิดทรัพย์สินฯ ลดลง ซึ่งมั่นใจว่าในปีหน้าการจัดสถานะประเทศที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตามมาตรา 301 กฎหมายพิเศษการค้าสหรัฐฯ ไทยจะอยู่ในบัญชีจัดสถานะความรุนแรงการละเมิดลดลง จากปัจจุบันไทยอยู่ในบัญชีจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ส่วนเรื่องการบังคับใช้สิทธิภายใต้ยาที่มีสิทธิบัตร (CL) ทางทูตสหรัฐฯ ได้มีการสอบถามเช่นกันและยินดีที่ไทยเห็นถึงความสำคัญต่อการปกป้องยาที่มีสิทธิบัตร ซึ่งได้ชี้แจงว่าการใช้ CL จะใช้เฉพาะกรณีที่มีปัญหาการเข้าถึงยากเพราะยามีราคาแพง แต่หากปัญหาไม่ถึงระดับนั้นก็ไม่จำเป็นต้องใช้
สถานการณ์การส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปยังสหรัฐอเมริกาในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาว่า ตลาดสหรัฐฯ ให้การตอบรับค่อนข้างดีทั้ง 6 ชนิด โดยผลไม้ที่สหรัฐฯนำเข้ามากที่สุด คือ ลำไย รองลงมาเป็นมังคุด มะม่วง เงาะ ลิ้นจี่ และสับปะรด รวมมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท ซี่งขณะนี้กระทรวงเกษตรฯได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ประสานความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการค้าไทยประจำนครลอสแองเจลิส (Thai Trade Center) เร่งเจรจาเพื่อเปิดตลาดสินค้าผลไม้ไทยในสหรัฐฯ เพิ่มเติมอีก 6 ชนิด ได้แก่ แก้วมังกร ฝรั่ง พุทรา เผือก ฟักทองญี่ปุ่น และส้มโอ ซึ่งมีโอกาสสูงในตลาดสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ และเป็นรายการสินค้าที่มีราคาสูงด้วย ทั้งในฮาวายมาร์เก็ต SG มาร์เก็ต 99มาร์เก็ต และบางกอกมาร์เก็ต ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งศึกษาข้อมูลและจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช เพื่อขอเปิดตลาดเพิ่มเติมโดยเร็ว แม้ผลไม้ไทยจะมีจุดแข็งทางด้านคุณภาพ แต่ไทยจำเป็นต้องเร่งผลิตผลไม้นอกฤดูป้อนตลาดให้ต่อเนื่องตลอดปี เพื่อไม่ให้ตลาดหยุดชะงักและเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งสำคัญอย่างจีนที่ได้เปรียบเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่า ขณะเดียวกันผู้ประกอบการของไทยจะต้องพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรือกล่องผลไม้ให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อลดความสูญเสียระหว่างการขนส่งด้วย
ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในสหรัฐส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง แต่สินค้า "ปลาทูน่ากระป๋อง" ดูเหมือนจะสวนทาง ด้วยอัตราขยายตัวของการส่งออกจากไทยไปสหรัฐที่เพิ่มขึ้นถึง 54.48% ในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2551 มูลค่า 275.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ภาพรวมของการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยในช่วง 9 เดือนแรก มีมูลค่า 1,418.32 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 59.94% ขณะที่ยอดการนำเข้าวัตถุดิบปลาทูน่าปรับเพิ่มขึ้นถึง 67.48% มูลค่า 1,107.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เห็นถึงอนาคตอันสดใสของการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง สำหรับการส่งออกในช่วงที่เหลือในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 คาดว่ามูลค่าการส่งออทูน่ากระป๋องจะปรับลดลง เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งเป็นต้นทุนในการจับปลาทูน่าได้ปรับตัวลดลง ทำให้ราคาวัตถุดิบปรับลดลงตาม เฉลี่ย 10-20% ทำให้ยากต่อการคาดการณ์เป้าหมายการส่งออกปี 2552 อย่างไรก็ตามคาดว่าน่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าปี 2551 หรือประมาณ 5-6% ในด้านปริมาณ เนื่องจากปริมาณความต้องการปลาทูน่าในตลาดต่างๆ จะยังทรงตัวโดยเฉพาะตลาดสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดหลักมีสัดส่วนการส่งออก 19% รองลงมาคือ ออสเตรเลีย, ลิเบีย, แคนาดา และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนประมาณตลาดละ 6-8% "การที่ตลาดหลักของปลาทูน่ากระป๋องของไทย คือ สหรัฐ เกิดปัญหาวิกฤตการเงิน ซึ่งอาจจะกระทบกับการส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือย แต่สินค้าทูน่าเป็นเหมือนมาม่า เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เนื่องจากราคาถูกและมีโปรตีนสูง ดังนั้นสินค้ากลุ่มนี้จึงไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างไรก็ตามตอนนี้ปริมาณความต้องการบริโภคยังคงทรงตัวทั้งในสหรัฐ สหภาพยุโรป หรือญี่ปุ่น" ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ยอดขายปลาทูน่าบรรจุกระป๋องของบริษัทเพิ่มขึ้นถึง 38% ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ายังคงมีสัดส่วนในการส่งออกเป็นอันดับ 1 กล่าวคือ มีสัดส่วนที่ 46% รองลงมา คือ กุ้งแช่แข็ง 20%, อาหารแมวบรรจุกระป๋อง 9%, อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง 9%, อาหารกุ้ง 6% ส่วนตลาดส่งออกหลักที่สำคัญได้แก่สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วน 53% รองลงมาคือสหภาพยุโรป 15%, ญี่ปุ่น 10% ผลจากปัจจัยลบต่างๆ ที่มีสัญญาณดีขึ้น เช่น ค่าเงินบาทที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่มีความผันผวนเหมือนช่วงครึ่งปีแรก ราคาน้ำมันที่มีการปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาปลาทูน่าที่อ่อนค่าลง ทำให้การบริหารต้นทุนวัตถุดิบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นขณะที่การส่งออกกุ้งกลับเป็นไปในทางตรงข้ามกัน เนื่องจากมูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ซึ่งตลาดสหรัฐมีสัดส่วนสูงถึง 49.80% กลับมีการขยายตัวของการส่งออกเพียง 3.16% มูลค่า 475.42 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้การส่งออกในภาพรวมของกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งมีมูลค่า 954.61 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นเพียง 3.73% แต่ปัญหาที่น่าห่วงก็คือ ผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐที่ลุกลามไปทั่วโลก อาจทำให้ไทยส่งออกกุ้งได้น้อยลงในปีหน้า ทางผู้ส่งออกคงต้องเร่งปรับตัวขยายตลาดใหม่ในกลุ่มตลาดสหภาพยุโรปและรัสเซียให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามทางสมาคมอยากเรียกร้องให้กลุ่มเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งปรับลดกำลังการผลิตกุ้งลงให้สมดุลกับความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องการให้ภาครัฐหันมาสนับสนุนให้สถาบันการเงินภายในประเทศปล่อยเงินสินเชื่อให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและกลุ่มผู้ส่งออกในสัดส่วนที่มากขึ้น เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในธุรกิจกุ้งในอนาคต
สหรัฐฯได้บังคับใช้กฎหมายคุ้มครองพืชสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ในการห้ามนำเข้าหนังจระเข้เลี้ยงจากไทย 2 สายพันธุ์ คือ Crocodylus Porosus และ Crocodylus Siamensis โดยสหรัฐฯจัดให้เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์และใส่ไว้ในบัญชี Endangered แม้ว่าผู้ส่งออกไทยจะมีหนังสือรับรองจากหน่วยงาน Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ( CITES) แต่ก็ไม่สามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯได้ อย่างไรก็ดีสหรัฐฯอนุญาตการนำเข้าสินค้าที่ทำจากหนังจระเข้เลี้ยงของไทย ในกรณีที่ติดตัว (Personal Belongings) หรือการย้ายถิ่นฐานของบุคคลโดยมีการจำกัดจำนวนไม่เกิน 4 ชิ้นต่อ 1 คน กรมการค้าต่างประเทศจึงขอแจ้งเตือนให้ผู้ส่งออกตรวจสอบสายพันธุ์ของหนังจระเข้ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเครื่องหนังไปสหรัฐฯ ซึ่งนอกจากสายพันธุ์ของจระเข้ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 2 สายพันธุ์ ข้างต้นแล้ว สหรัฐฯยังได้ห้ามการนำเข้าสินค้าเครื่องหนังจระเข้ที่ทำมาจากหนังจระเข้อีก 17 สายพันธุ์ ซึ่งส่วนมากพบในทวีปอเมริกาใต้และแอฟริกา โดยผู้ส่งออกสามารถตรวจสอบรายละเอียดหนังจระเข้ทุกสายพันธุ์ที่สหรัฐฯห้ามนำเข้าได้ที่เว็ปไซด์ของกรมการค้าต่างประเทศ WWW.dft.moc.go.th แล้วกดเลือกมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) ในส่วนของสหรัฐฯ
ที่มา: http://www.depthai.go.th