รายงานสถานการณ์การค้าและผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 18, 2008 16:25 —กรมส่งเสริมการส่งออก

มาเลเซียได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใช้งบประมาณ 7 พันล้านริงกิต เพื่อลดสภาวะการชะลอตัวของ เศรษฐกิจอันเนื่องมาจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลก โดยจะเริ่มใช้อย่างจริงจังในช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 งบประมาณ ที่ใช้ในโครงการต่างๆ มีดังนี้

  ลำดับ               โครงการ                                                                 จำนวนเงิน (ล้านริงกิต)
    1    สร้างบ้านราคาถูก จำนวน 25,000 ยูนิต                                                            1,200
    2    ปรับปรุงและซ่อมแซมสถานที่ราชการ อาทิ สถานีตำรวจและค่ายทหาร                                          500
    3    ฟื้นฟูโครงการสร้างบ้านที่ดำเนินการไม่เสร็จ                                                            200
    4    พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดย่อม อาทิ ถนนตามหมู่บ้าน อาคารเอนกประสงค์และสะพานขนาดเล็ก                     600
    5    พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่สำคัญ เช่น ถนน โรงเรียนและโรงพยาบาล                                500
    6    พัฒนาถนนหนทางในเขตชนบท รวมทั้งในเขตรัฐซาบาฮ์และซาราวัก                                            500
    7    ปรับปรุงระบบการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะรถไฟฟ้า LRT และKomuter รวมทั้งระบบขนส่งรถสาธารณะในเขตชนบท       500
    8    เงินทุนสำหรับบริษัทขนาดย่อม โดยสามารถรับเงินช่วยเหลือได้รายละไม่เกิน 50,000 ริงกิต                         200
    9    เงินอุดหนุนสำหรับโรงเรียนจีน อินเดียและศาสนา                                                        200
   10    เงินอุดหนุนสำหรับ Pre-school                                                                    200
         อื่นๆ                                                                                       2,400
         รวม                                                                                       7,000

นอกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว รัฐบาลมาเลเซียยังได้มีการปรับตัวเลขทางเศรษฐกิจ ภาษีนำเข้าและ
ระเบียบต่างๆ ดังนี้

1. ปี 2009 GDP จะลดลงจากเดิมที่กำหนดประมาณร้อยละ 5.4 เป็นร้อยละ 3.5

2. ภาวะเงินเฟ้อจะคงอยู่ที่ร้อยละ 3-4

3. ยกเลิกภาษีนำเข้าปุ๋ย ซีเมนต์และสินค้าเหล็กบางชนิด

4. อนุญาตให้ห้างสรรพสินค้า Hyper market ปิดทำการได้ในเวลา 23.00 น. ของวันปกติและ 01.00 น. ของวันหยุดสุดสัปดาห์

5. ลูกจ้างของภาคเอกชนสามารถที่จะลดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ EPF ออก ร้อยละ 3 ได้เป็นระยะ เวลา 2 ปี (EPF ในช่วงปกติจะถูกหักร้อยละ 11 ของเงินเดือน)

6. ชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ (Commercial Real Estate) ที่มีราคาไม่ต่ำ กว่า 500,000 ริงกิต โดยไม่ต้องรับการอนุญาตจาก Foreign Investment Committee

7. ขยายระยะเวลาสัญญาซื้อบ้านสำหรับข้าราชการจาก 25 ปี เป็น 30 ปี

8. ลูกจ้างต่างประเทศที่มีความรู้ สามารถรับใบอนุญาตทำงานด้วยตัวเอง โดยไม่ต้อง ผ่านนายจ้าง ทั้งนี้ รัฐบาล มาเลเซียต้องการลูกจ้างที่มีทักษะและความรู้ประมาณ 18,000 ตำแหน่งเพื่อเข้ามาจัดการโครงการสำคัญต่างๆโดยเฉพาะ โครงการภายใต้เขตเศรษฐกิจใหม่ที่รัฐบาลได้ประกาศก่อนหน้านี้

9. ลดจำนวนแรงงานต่างด้าวระดับล่างในสถานประกอบการ เหลือ 300,000 คน จาก 600,000 คนภายใน 2 ปี 10. พิจารณากฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวเนื่องกับ Foreign Investment Committee 11. สนับสนุนธุรกิจและบริการด้านอื่น อาทิ Islamic Financing, Halal Hub, Tourism และ Biotechnology. 12. พิจารณาโครงสร้างเงินเดือนทุกระดับ

2. การลดระยะเวลาการขออนุมัติ Manufacturing license

รัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการยื่นเรื่องขออนุมัติ Manufacturing license จากเดิม ที่ต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เหลือเพียง 2 วันเท่านั้น โดยการออกใบอนุญาต Manufacturing license สามารถยื่น เรื่องขอจาก MIDA (the Malaysian Industrial Development Authority) โดยไม่จำเป็นต้องผ่านปลัดกระทรวง การค้าต่างประเทศและอุตสาหกรรม (International Trade and Industry —MITI) ยกเว้นบางกรณีเท่านั้น อาทิ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและกิจการศาสนา จะยังคงไว้ซึ่งขั้นตอนเดิม นอกจากนี้ รายละเอียด บางอย่างภายใต้กฎระเบียบเดิมจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด อาทิ เงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับการลงทุนจำนวน 2.5 ล้านริงกิต หรือ การว่าจ้างคนงาน Full-time ในบริษัทจำนวน 75 ราย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการลงทุนที่ยังเกิดขึ้นกับบริษัทต่างชาติกว่า 400 รายที่มีความประสงค์มาลงทุนภายในประเทศ คือ การขาดแคลนก๊าซเพื่อเป็นพลังงานสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการลงทุนในเขตพัมนาเศรษฐกิจฝั่งทะเลตะวันออก (East Coast Economic Region — ECER) ซึ่งได้มีการลงทุนไปแล้วกว่า 1 พันล้านริงกิต สำหรับพลังงานที่ถูกใช้อยู่คือน้ำมัน ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซ ทั้งนี้ ก๊าซส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในมาเลเซียถูกใช้สำหรับการบริโภคภายในประเทศ และส่วนที่ผลิตจากรัฐซาบาฮ์ และซาราวักได้ส่งออกไปยังต่างประเทศ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

Upload Date : พฤศจิกายน 2551

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ