สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ฮ่องกง ปี 2551 (ม.ค-ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 27, 2008 15:55 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
พื้นที่             :  1,098  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ      :  English and chinese (mainly Cantonese)
ประชากร         :  6,921,700 คน (mid - 2007)
อัตราแลกเปลี่ยน    :  HKD : Baht  4.499 (24/11/51)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                               6.4        4.0
Consumer price inflation (av; %)                  2.0        5.7
Budget balance (% of GDP)                         6.7        2.7
Current-account balance (% of GDP)               13.5        9.6
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        7.6        5.6
Exchange rate ฅ:US$ (av)                          7.8        7.8

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับฮ่องกง
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   7742.52          100.00         27.72
สินค้าเกษตรกรรม                      348.70            4.50          6.79
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              110.30            1.42         13.29
สินค้าอุตสาหกรรม                     7117.95           91.93         29.67
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   165.57            2.14       3297.12
สินค้าอื่นๆ                              0.00            0.00       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับฮ่องกง
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %     % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               1492.27          100.00        43.27
สินค้าเชื้อเพลิง                                1.87            0.13       473.38
สินค้าทุน                                   379.05           25.40        38.09
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    926.90           62.11        55.64
สินค้าบริโภค                                180.86           12.12        10.09
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                   3.60            0.24       -19.00
สินค้าอื่นๆ                                    0.00            0.00       -99.91

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ฮ่องกง
                           2550          2551       D/%

(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             7,103.48      9,234.79     30.00
การนำเข้า                 1,041.60      1,492.27     43.27
การส่งออก                 6,061.88      7,742.52     27.72
ดุลการค้า                  5,020.28      6,250.24     24.50

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดฮ่องกง เป็นอันดับที่ 23 มูลค่า 1,492.27 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.27 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                 มูลค่า :           สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                 1,492.27          100.00         43.27
1. เครื่องเพชรพลอย                  552.68           37.04        224.55
2. เครื่องจักรไฟฟ้า                   192.00           12.87         66.71
3. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ                118.07            7.91         10.25
4. ผ้าผืน                            76.79            5.15         -9.82
5. สินแร่โลหะอื่น ๆ                    62.89            4.21         85.22
           อื่น ๆ                    52.65            3.53        -15.48

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดฮ่องกง เป็นอันดับที่ 6 มูลค่า 7,742.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.72 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                     7,742.52         100.00         27.72
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ                  1,462.41          18.89         23.49
2. อัญมณี และเครื่องประดับ               1,181.99          15.27         98.94
3. แผงวงจรไฟฟ้า                        944.89          12.20         11.19
4. หนังสือและสิ่งพิมพ์                      827.02          10.68        208.80
5. เม็ดพลาสติก                          542.46           7.01          1.54
             อื่น ๆ                     969.03          12.52         -9.15

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปฮ่องกง 2551 (มค.-กย.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 258.90 62.03 15.63 และ 21.94 ตามลำดับ

อัญมณีและเครื่องประดับ : ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-.57%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.44 142.05 และ 98.94 ตามลำดับ

แผงวงจรไฟฟ้า : ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 33.91 29.29 17.56 และ 11.19 ตามลำดับ

หนังสือและสิ่งพิมพ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-11%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.73 106,868.02 และ 208.8 ตามลำดับ

เม็ดพลาสติก : ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-17.58%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 18.30 0.32 1.54 ตามลำดับ

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฮ่องกงปี 2551 (มค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 35 มีรวม 6 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                มูลค่า            อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                          ล้านเหรียญสหรัฐ              %
2. อัญมณี และเครื่องประดับ       1,181.99               98.94
4. หนังสือและสิ่งพิมพ์              827.02              208.80
7. ข้าว                        160.35               35.63
8. น้ำมันสำเร็จรูป                159.94           68,698.93
17.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                64.70               39.08
22.เครื่องปรับอากาศฯ              57.75               39.33

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฮ่องกง ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 7 รายการ คือ
        อันดับที่ / รายการ                     มูลค่า             อัตราการขยายตัว
                                        ล้านเหรียญสหรัฐ             %
10. 3.4.9 เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ฯ                  125.13              -9.54
11. มอเตอร์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า                91.80              -6.92
14. หนัง และผลิตภัณฑ์หนังฟอก                     87.01             -24.30
15. เลนซ์                                    75.75             -15.48
18. เคมีภัณฑ์                                  63.85             -16.85
21. เหล็ก เหล็กกล้า                            59.30             -23.38
25. สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล                        49.00              -8.95

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

ทางการฮ่องกงได้อนุญาตนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกสดจากประเทศไทยไปยังฮ่องกงได้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน เป็นต้นไป คณะเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ได้เดินทางไปเจรจากับเจ้าหน้าที่หน่วยงาน Food and Environmental Hygiene Department (FEHD) ของฮ่องกง เกี่ยวกับการส่งออกเนื้อสุกรแช่เย็นจากประเทศไทยไปฮ่องกง และขอให้ FEHD พิจารณาการระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกสดจากประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยได้ปลอดจากโรคไข้หวัดนกเกินกว่า 3 เดือน ตามข้อกำหนดขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และกรมปศุสัตว์เสนอมาตรการควบคุม ป้องกัน และการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกที่ได้ดำเนินการหลังจากการเกิดการระบาดของโรค และการรับรองระบบคอมพาร์ทเมนต์ในสัตว์ปีกของไทย พร้อมกันนี้ได้เชิญเจ้าหน้าที่ FEHD มาตรวจประเมินการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าเนื้อสัตว์ปีก และการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนกของไทย จากการเจรจาในเรื่องดังกล่าวทางการฮ่องกงได้อนุญาตนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกสดไปยังฮ่องกงได้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2551 เป็นต้นไป โดยทางการฮ่องกงจะสุ่มตรวจสินค้าเนื้อสัตว์ปีกสดไทยอย่างเข้มงวดใน 3 ตู้สินค้าแรก ทางการฮ่องกง ได้ระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกสดจากประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2547โดยสถิติการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกสดล่าสุดของไทยไปฮ่องกง ระหว่างปี 2544 - 2547 มีการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกแช่แข็ง ทั้งเป็ดและไก่ จำนวน 15,361,049 กิโลกรัม คิดเป็น มูลค่าการส่งออก 809,482,243 บาท ทั้งนี้ ในปี 2551 ประเทศไทยได้มีการส่งออกสินค้าเนื้อสัตว์ปีกปรุงสุก (เป็ด และไก่) ไปยัง ทางการฮ่องกงในช่วงเดือนมกราคม - เดือนสิงหาคม 2551 จำนวน 2,373,831 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 254,653,460 บาท จากการที่ฮ่องกงได้แจ้งยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกสดจากประเทศไทยครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อการส่งออกของเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมในด้านการผลิตเนื้อสัตว์ปีกเพื่อการส่งออกที่สำคัญประเทศหนึ่งของโลก และประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการผลิตอาหารทั้งระบบ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ และมีความเชื่อมั่นในการบริโภคเนื้อและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกที่ผลิตจากประเทศไทย

ฮ่องกงมีการผลิตสินค้าประเภทของเล่นหลากหลายชนิด โดยเฉพาะสินค้าของเล่นพลาสติกต่างๆ ร่วมถึงของเล่นตุ๊กตา และบ้านตุ๊กตา และส่วนประกอบของเล่นศิลปะการปั้น ชุดการก่อสร้าง ปืนเด็กเล่น และของเล่นเทคนิคต่างๆ เช่น ของเล่นอุปกรณ์ความงาม ของเล่นอุปกรณ์แพทย์ และยังผลิตของเล่นประเภทอื่นๆ อีกเช่นของเล่นอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ของเล่นที่ใช้วิทยุหรือรีโมทคอนโทรล บังคับ ซึ่งรวมการผลิตทั้งหมดและการ Re-export ทำให้ฮ่องกงเป็นผู้ส่งออกของเล่นใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ผู้ส่งออกฮ่องกงมีการผลิตของเล่นคุณภาพดี ตลาดของผู้ผลิตฮ่องกงมาจากตลาดต่างประเทศโดยมีลักษณะการเซ็นสัญญา และการผลิตตาม Licensed holders เช่น Disney Hasbro Mattel และ Warner Bros สหรัฐฯ และ Zapf เยอรมัน Bandai Takara และ Tommy ญี่ปุ่นอย่างไรก็ตามฮ่องกงมีโรงงานผลิตสินค้าเป็นแบรนด์ของตนเอง ได้แก่ Manley, Playmates และ Vtech แนวโน้มอุตสาหกรรมการค้าปลีกของเล่นในตลาดต่างประเทศ ได้มีการปรับเปลี่ยนส่งผลต่อผู้ผลิต/ส่งออกของเล่น เช่นในสหรัฐฯ ผู้ค้าปลีกรายใหญ่อย่าง Wal Mart หรือ Target เป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกของเล่นของสหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้ค้าปลีกรายย่อยต้องปิดตัวลง ซึ่งผู้ค้าปลีกรายใหญ่เหล่านี้ต่างมีกำลังการซื้อสูง และสั่งซื้อสินค้าในปริมาณมาก ทำให้มีอำนาจการต่อรองสูงในเรื่องราคาและเงื่อนไขการสั่งซื้อกับผู้ส่งออก/ผู้ผลิตของเล่น ในปัจจุบันมาตรฐานความปลอดภัย กฎ ระเบียบ และ Code of Practices เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าของเล่นให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ICTI หรือ International Council of Toy Industries ได้กำหนด ICTI Code of Practices และมีการตรวจสอบภายในของสมาชิก หรือ Care Process ตรวจสอบทั้งผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก ของเล่น และสินค้าที่เกี่ยวข้องในทุกๆ ประเทศสมาชิก วงจรของเล่นในปัจจุบัน มีอายุสั้นลง ส่งผลให้มีการพัฒนาด้านการพัฒนาสินค้าของเล่นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ผลิต/ส่งออกสินค้ามีเพียงต้องคำนึงถึงแต่การลดต้นทุน แต่ต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาตัวสินค้าอย่างต่อเนื่องด้วย เช่นกัน ต้องมีการพัฒนารูปแบบการออกแบบ และมีการเพิ่มมูลค่าให้แก่ตัวสินค้า เพื่อสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ตลาดฮ่องกงได้รับความเชื่อถือจากชาวต่างประเทศว่าเป็น Top-quality service ในเรื่องรูปแบบ และการควบคุมพัฒนาคุณภาพและมูลค่าการเพิ่มขึ้นของตลาด นอกจากนี้ งานแสดงสินค้ายังเปรียบเสมือนเป็นหน้าต่างสำหรับผู้เข้าร่วมงานในการจัดงานและสินค้าที่ทันสมัย ล่าสุด สำหรับผู้ซื้อจากอาเซียนและทั่วโลก จำเป็นที่ต้องเตรียมความพร้อมทั้งการพัฒนาและเพิ่มเติมความรู้เชิงวิชาการ สำหรับการแข่งขันที่เข็มแข็งในตลาดอนาคต

ขณะนี้บริษัท VF Corporation ผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ของโลกแบรนด์ Nautica และ North Face ที่ฮ่องกง กำลังตัดสินใจที่จะย้ายฐานการผลิตมายังไทยเพราะมีความพร้อมในเรื่องแหล่งวัตถุดิบ และจะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการส่งออก ทั้งนี้นับเป็นข่าวดีเพราะจะช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้คนไทยอีกทั้งช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยบริษัทแห่งนี้มียอดขายปีละ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ บริษัทดังกล่าวจะเน้นพัฒนาและวิจัยสินค้าอย่างต่อเนื่องซึ่งโรงงานในฮ่องกงยังไม่เพียงพอและในไทยมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าอย่างไรก็ดีขณะนี้ทิศทางของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยกำลังสดใสเพราะมีคำสั่งซื้อของสหภาพยุโรป(อียู) ญี่ปุ่น ที่เคยสั่งซื้อในจีนหันมาสั่งซื้อจากไทย ขณะเดียวกันปริมาณความต้องการสินค้าภายในประเทศก็เพิ่มขึ้น 30% ส่งผลให้ราคาที่จำหน่วยเพิ่มตามในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาการส่งออกเครื่องนุ่งห่มขยายตัว 15.67% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเป็นผลมาจากการที่จีนต้องผลิตเพื่อใช้ในประเทศส่งออกได้น้อยลงลูกค้าจึงหันมานำเข้าจากประเทศไทย

Upload Date : พฤศจิกายน 2551

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ