สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สิงคโปร์ ปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 27, 2008 16:18 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Singapore
พื้นที่            :  682.3 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ     :  English
ประชากร        :  3.6 ล้านคน (mid-2006)
อัตราแลกเปลี่ยน   :  1 ดอลลาร์  สิงคโปร์ = 22.719 บาท 192/11/51)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                              7.70       4.80
Consumer price inflation (av; %)                 1.80       2.40
Budget balance (% of GDP)                        0.30       0.10
Current-account balance (% of GDP)              24.50      21.20
Commercial banks' prime rate (year-end; %)       5.30       5.50
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         1.51       1.46

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสิงคโปร์
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   7,869.80        100.00         23.58
สินค้าเกษตรกรรม                       314.96          4.00         56.62
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               171.05          2.17          9.32
สินค้าอุตสาหกรรม                     5,175.45         65.76         10.49
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                  2,208.29         28.06         74.40
สินค้าอื่นๆ                               0.06          0.00         -99.9

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสิงคโปร์
                                      มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                            5,509.65        100.00        19.04
สินค้าเชื้อเพลิง                            512.63          9.30        -9.25
สินค้าทุน                               1,432.74         26.00        13.75
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                3,158.85         57.33        28.85
สินค้าบริโภค                              356.56          6.47        10.46
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                47.92          0.87       201.48
สินค้าอื่นๆ                                  0.97          0.02       -92.92

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สิงคโปร์
                           2550          2551         D/%

(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            10,996.68      13,379.46     21.67
การนำเข้า                 4,628.24       5,509.65     19.04
การส่งออก                 6,368.44       7,869.80     23.58
ดุลการค้า                  1,740.20       2,360.15     35.62

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์ เป็นอันดับที่ 7 มูลค่า 5,509.65 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.04 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                              มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                              5,509.65         100.00         19.04
1. เคมีภัณฑ์                                    1,032.81          18.75         24.70
2. แผงวงจรไฟฟ้า                                 702.44          12.75         32.09
3. สื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง                         597.99          10.85         33.09
4. เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์และส่วนประกอบ           498.76           9.05          4.83
5. น้ำมันสำเร็จรูป                                 425.62           7.72          3.03
              อื่น ๆ                             292.49           5.31         16.11

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดสิงคโปร์ เป็นอันดับที่  5 มูลค่า 7,869.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.58 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                    มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                   7,869.80          100.00         23.58
1. น้ำมันสำเร็จรูป                    1,689.22           21.46         95.30
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ                  869.81           11.05         -4.68
3. แผงวงจรไฟฟ้า                      512.27            6.51         -8.37
4. เครื่องจักรกลและส่วนฯ                490.49            6.23        -15.31
5. ส่วนประกอบอากาศยานฯ               388.04            4.93        -22.18
            อื่น ๆ                  1,642.28           20.87         21.00

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสิงคโปร์ ปี 2551 (มค.-กย.) ได้แก่

น้ำมันสำเร็จรูป : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-22.32%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 44.82 39.28 95.30 ตามลำดับ

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทยโดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 8.38 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 8.37 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องจักรกลและส่วนฯ : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2551 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-15.31%) ในขณะที่ปี 2548 -2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.20 30.98 526.54 ตามลำดับ

ส่วนประกอบอากาศยานฯ : สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547-2551 พบว่า ปี 2551 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-22.18%) ในขณะที่ปี 2548 - 2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.59 18.58 236.73 ตามลำดับ

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสิงคโปร์ ปี 2551 (มค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 8 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                         มูลค่า           อัตราการขยายตัว       หมายเหตุ
                                    ล้านเหรียญสหรัฐ            %
1.  น้ำมันสำเร็จรูป                       1,689.22            95.30
6.  เคมีภัณฑ์                              327.59            50.05
7.  รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ             265.45            64.39
8.  เหล็ก เหล็กกล้าและส่วนประกอบ            260.97            49.41
11. ข้าว                                 152.56            92.41
12. อัญมณี และเครื่องประดับ                  136.27           207.63
23. 3.4.10 เครื่องทำสำเนา                 44.19             41.92
24. ยานพาหนะอื่น ๆ และส่วนประกอบ           39.15          5,145.49

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสิงคโปร์ ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 6 รายการ คือ
                 อันดับที่ / รายการ                        มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                                   ล้านเหรียญสหรัฐ             %
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                    869.81              -4.68
3. แผงวงจรไฟฟ้า                                         512.27              -8.37
4. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                              490.49             -15.31
5. ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์                           388.04             -22.18
14. 3.4.9 เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ                   87.40              -8.09
20. เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า                           50.28              -2.28

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

ผู้ผลิตไทยมีโอกาสขยายมูลค่าการส่งออกสินค้าอุปกรณ์ส่วนประกอบรถยนต์สู่ตลาดสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปัจจุบัน สิงคโปร์มีจำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก โดยช่วงระหว่างปี 2548 ถึงเดือนกันยายน 2551 การขยายตัวของจำนวนรถยนต์นั่งมีอัตราร้อยละ 5.0-8.9 ในขณะที่จำนวนรวมของรถยนต์ทุกประเภทมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8-6.5 เปรียบเทียบกับช่วงระหว่างปี 2541-2547 การขยายตัวของจำนวนรถยนต์นั่งมีอัตราเพียงร้อยละ -0.6 ถึง 3.1 ในขณะที่จำนวนรวมของรถยนต์ทุกประเภทเพิ่มร้อยละ -0.3 ถึง 2.3 แม้ว่าภาครัฐมีระเบียบข้อกำหนดสำหรับผู้ต้องการซื้อรถยนต์ ซึ่งต้องยื่นขอเป็นเจ้าของทะเบียนรถยนต์ ( Certificate of Entitlement : COE) ก่อนมีสิทธิครอบครอง โดยเป็นการประมูลป้ายทะเบียนตาม ซีซี เครื่องยนต์ มีราคาเฉลี่ยประมาณคันละ 15,000-30,000 เหรียญสิงคโปร์ก็ตาม แต่ไม่สามารถจำกัดจำนวนรถยนต์ให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้ให้มี การขยายตัวประมาณร้อยละ 3 ต่อปี ทั้งนี้ จากสถิติจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น แสดงถึง การเป็นเจ้าของรถยนต์ในสิงคโปร์มีอัตราส่วน 1 ต่อ 7 รายละเอียดการเพิ่ม/ลดของปริมาณรถยนต์ นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า จากการที่ประเทศต่างๆทั่วโลกรวมสิงคโปร์ต้องประสบปัญหาวิกฤตการณ์การเงินทั่วโลก จะส่งผลให้เศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวลง และอาจถึงขั้นถดถอยในระยะอันใกล้นี้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคพึงระวังอย่างมากในการใช้จ่ายสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ดังนั้น ผู้บริโภคไม่สามารถเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ได้ทุกๆ 2-3 ปี จะต้องเก็บรักษาและใช้รถให้ครบกำหนด COE เป็นเวลา 10 ปี ดังนั้น ตลาดสิงคโปร์จึงมีความต้องการอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับรถให้มีประสิทธิภาพดี

เมื่อเดือน ตค. ที่ผ่านมา บริษัท ซัมซุง ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอาเซียน สนใจที่จะสั่งซื้อสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากไทย วงเงินที่ใช้สั่งซื้อครั้งนี้อาจสูงถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะจัดหาสินค้าไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับความต้องการ ซัมซุงในสิงคโปร์เป็นหน่วยงาน จัดซื้อใหญ่สุดของอาเซียน มีอำนาจ ตัดสินใจซื้อทันที ไม่เหมือนกับที่อื่น ที่จะต้องส่งเรื่องให้กับบริษัทแม่ตัดสินใจ โดยปกติซัมซุงจะหมุนเวียนนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศต่างๆ ที่มีคุณภาพ ปีที่ผ่านมานำเข้าจากจีน แต่ปีนี้ มีแผนนำเข้าจากไทย ผลเจรจาครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นยอดการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากไทยไปสิงคโปร์เพิ่มขึ้น เพราะช่วงครึ่งปีแรกการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยมีปริมาณลดลง เป็นผลมาจากตลาดสหรัฐอเมริกา ที่เป็นตลาดหลักชะลอตัว หากการเจรจากับสิงคโปร์ประสบความสำเร็จ จะช่วยเพิ่มยอดส่งออกไทย ให้บรรลุเป้าหมายได้ และผู้ผลิตไทย ควรรักษาคุณภาพให้สอดคล้องกับผู้ซื้อ เพื่อจูงใจให้กลับมาซื้อในปีต่อๆ ไปด้วย

ปัจจุบันนักลงทุนกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต่างชาติจากยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ เตรียมย้ายฐานการผลิตจากจีนและบังกลาเทศมาไทย เนื่องจากค่าแรงและต้นทุนการผลิตของทั้งสองประเทศปรับเพิ่มในอัตราใกล้เคียงกับไทย ดังนั้นกลุ่มอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเร่งเพิ่มบุคลากรในการรองรับกับการขยายตัว เพราะปัจจุบันมีแรงงานเพียง 1.06 ล้านคน ซึ่งยังขาดแคลนอีก 1 แสนตำแหน่ง โดยเครื่องนุ่งห่มต้องการมากสุด 2-3 หมื่นคน โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯมี 4,500 แห่งโดย 10% เป็นนักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เป็นการเข้ามาซื้อกิจการของคนไทยที่กำลังปิดกิจการหรือประสบปัญหาการเงินเพราะจะง่ายกว่าการมาตั้งโรงงานเอง ขณะเดียวกันเชื่อว่าแรงงานกลุ่มนี้จะไม่ตกงานแน่นอนเห็นได้จากช่วงวิกฤติปี 40 ที่โรงงานหลายแห่งต่างรักษาแรงงานกึ่งฝีมือไว้เพราะหายาก แต่อาจใช้วิธีตกลงเจรจากัน เช่น ลดเวลาทำงาน หรือให้เอางานกลับไปทำที่บ้านได้

ตลาดเกษตรอินทรีย์ของไทยในปี 49 มีมูลค่า 947 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าตลาดภายในประเทศ 520 ล้านบาท และมูลค่าตลาดส่งออก 427 ล้านบาท ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของไทยส่วนใหญ่เป็นผลผลิตเบื้องต้น เช่น ข้าว สมุนไพร ผักและผลไม้ ส่วนสินค้าแปรรูปเบื้องต้น และสินค้าแปรรูปที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปยังมีจำนวนน้อย สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นต้น เช่น ข้าวหอมมะลิ ผัก ผลไม้ สมุนไพรแห้ง ซึ่งเป็นสินค้ามูลค่าค่อนข้างต่ำ ในขณะที่สินค้าแปรรูปที่มีมูลค่าสูงยังมีไม่มากนัก เนื่องมาจากผู้ซื้อต่างประเทศนิยมซื้อวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์จากประเทศไทยเพื่อนำไปแปรรูปในต่างประเทศมากกว่า เพราะควบคุมคุณภาพสินค้าได้ดีกว่า และมีภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าด้วย การจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยไปต่างประเทศ ตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับ 1 ได้แก่สหภาพยุโรป (อียู) รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสิงค์โปร์ ตามลำดับ โดยมีข้าวเป็นสินค้าส่งออกหลักรองลงมาได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวโพด สมุนไพรและเครื่องเทศ ส่วนอุปสรรคในการจำหน่ายต่างประเทศคือผู้บริโภคในต่างประเทศ ไม่รู้จักผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของไทยมากนัก โดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ