เมืองหลวง : Tokyo พื้นที่ : 377,899 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : Japanese ประชากร : 127.8 ล้านคน (October 2006) อัตราแลกเปลี่ยน : 100 เยน = 35.601 บาท (14//11/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 1.9 1.4 Consumer price inflation (av; %) 0.0 0.4 Budget balance (% of GDP) -2.6 -2.4 Current-account balance (% of GDP) 4.9 4.6 Commercial banks' prime rate (year-end; %) 1.8 2.1 Exchange rate ฅ:US$ (av) 117.4 105.0 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 15,307.92 100.00 16.52 สินค้าเกษตรกรรม 2,141.92 13.99 33.01 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1,275.36 8.33 29.52 สินค้าอุตสาหกรรม 10,889.92 71.14 9.64 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,000.60 6.54 111.50 สินค้าอื่นๆ 0.12 0.0 -99.91 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 25,292.19 100.00 22.56 สินค้าเชื้อเพลิง 87.05 0.34 -13.26 สินค้าทุน 9,481.95 37.49 23.22 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 12,273.99 48.53 24.31 สินค้าบริโภค 1,167.44 4.62 16.83 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 2,278.38 9.01 20.18 สินค้าอื่นๆ 3.38 0.01 -95.32 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ญี่ปุ่น 2550 2551 D/%
(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 33,773.93 40,600.11 20.21 การนำเข้า 20,636.38 25,292.19 22.56 การส่งออก 13,137.55 15,307.92 16.52 ดุลการค้า -7,498.84 -9,984.28 33.14 2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 25,292.19 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.56 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 25292.19 100.00 22.56 1. เครื่องจักรกลและส่วนฯ 4,847.70 19.17 23.08 2. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 3,822.67 15.11 40.62 3. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนฯ 2,313.85 9.15 16.88 4. เคมีภัณฑ์ 2,182.67 8.63 33.03 5. แผงวงจรไฟฟ้า 2,052.41 8.11 -3.56 อื่น ๆ 1,331.00 5.26 9.33 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 15,307.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.52 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 15,307.92 100.00 16.52 1. แผงวงจรไฟฟ้า 827.56 5.41 -10.19 2. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 808.69 5.28 -2.92 3. ยางพารา 757.65 4.95 21.56 4. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ 736.52 4.81 30.77 5. น้ำมันสำเร็จรูป 549.37 3.59 484.23 อื่น ๆ 5,570.38 36.39 12.24 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2551 (มค.-กย.) ได้แก่
แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 10.19 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ปัจจุบันไทยได้กลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จากการเข้ามาของนักลงทุนรายใหญ่ทั้ง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ยางพารา : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-13.29%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.29 31.14 21.56 ตามลำดับ
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 4.88 25.16 13.38 30.77 ตามลำดับ ทิศทางการพัฒนาและปรับตัวภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียนกับคู่เจรจาใหม่ว่า เป้าหมายของไทยยังชัดเจนว่า ต้องการเป็นดีทรอยส์ออฟแห่งเอเชีย (Detroit of Asia) เหมือนเดิมถึงแม้จะมีการเปิดการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นก็ตาม แต่ข้อตกลง JTEPA ไทย-ญี่ปุ่น ยังเป็นจุดดึงดูดนักลงทุนส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นอยู่
น้ำมันสำเร็จรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-59%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 126.90 314.17 484.23 ตามลำดับ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ ล้านเหรียญสหรัฐ % 5. น้ำมันสำเร็จรูป 549.37 484.23 6. ไก่แปรรูป 450.14 93.68 15.ผลิตภัณฑ์ยาง 305.19 42.34 19.เม็ดพลาสติก 253.42 49.52 23.เนื้อปลาสดแช่เย็น 212.41 68.33 แช่แข็ง 4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 4 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 1. แผงวงจรไฟฟ้า 827.56 -10.19 2. เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 808.69 -2.92 9. เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ 222.71 -21.00 10.เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า 192.65 -9.98 4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
สถานการณ์การค้าไทย-ญี่ปุ่นภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) ครบรอบ 1 ปีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ (เริ่ม 1 พ.ย.2550)ว่า ในภาพรวมช่วง 10 เดือนแรกที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ (พ.ย.2550-ส.ค.2551) มีผู้ประกอบการมาขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ฟอร์ม JTEPA)เพื่อนำไปใช้สิทธิลดภาษีนำเข้ารวมทั้งสิ้น 83,547 ฉบับ คิดเป็นมูลค่าสินค้า 3,924.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 133,425 ล้านบาท โดยสินค้าที่ใช้สิทธิมาก อาทิ เนื้อไก่ปรุงแต่ง เนื้อปลาสดแช่เย็นแช่เข็ง กุ้งปรุงแต่ง โพลีอะซิทัล และโมดิไฟรด์สตาร์ช เป็นต้น อย่างไรก็ดีการค้าโดยทั่วไประหว่างไทย-ญี่ปุ่นช่วง 9 เดือนแรกปี 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13% ส่วนหนึ่งถือเป็นผลจาก JTEPA แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการค้าโดยทั่วไปบางสินค้าภาษีนำเข้าของญี่ปุ่นต่ำอยู่แล้ว ผู้ส่งออกจึงไม่ได้มาขอช้สิทธิ JTEPA ส่งออก ขณะที่ช่วง 9 เดือนแรกปรากฏไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นว่าญี่ปุ่นได้ใช้สิทธิ JTEPA ส่งออกมาไทยมากกว่าไทยใช้สิทธิส่งออกไปญี่ปุ่น
หลังจากที่ไทยเปิดเสรีทางการค้าหรือ FTA กับญี่ปุ่นนั้น ไม่เพียงจะสร้างโอกาสทางการค้าให้กับไทยเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความท้าทายในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์อีกด้วย เมื่อหลายปีก่อนภาครัฐได้พยายามส่งสัญญาณเตือนผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไทยให้เร่งปรับตัวรับการเปิดเสรี เพราะในอนาคตการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากต่างประเทศเข้ามาประกอบในเมืองไทยจะเสียภาษีเพียงน้อยนิด หรือไม่เสียภาษีเลย จนถึงปัจจุบันประเทศไทยได้มีการเจรจาเปิดเขตเสรีการค้า (FTA) กับนานาประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วกับ 5 ประเทศและอีก 1 กลุ่มประเทศ ประกอบด้วย เขตเสรีการค้าไทย-จีน ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบอาเซียน-จีน (ACFTA) เขตเสรีการค้าไทย-อินเดีย (ITFTA) เขตเสรีการค้าไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) เขตเสรีการค้าไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) เขตเสรีการค้าไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) และเขตเสรีการค้าไทย-อาเซียน (AFTA) ซึ่งการเซ็นสัญญา FTA นี้ ทำให้การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ขยายตัวในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทันที หากพิจารณาเฉพาะประเทศที่มีการทำสัญญา FTA กับไทย การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากประเทศคู่เจรจาเหล่านี้ในช่วง 9 เดือนแรกมีมูลค่ารวม 2,532.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนประมาณร้อยละ 22.7 และมูลค่าการนำเข้านี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 82.9 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของชิ้นส่วนฯทั้งหมด โดยคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าจากญี่ปุ่นมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ กลุ่มประเทศอาเซียน จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ตามลำดับ ทั้งนี้ หากสังเกตจากมูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ปี 2548-2550 จะพบว่ามูลค่าการนำเข้ามีการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.4 ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากผลจากการเปิดเสรีการค้าโดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่น การเปิดการค้าเสรีนั้น ไม่เพียงสร้างโอกาสทางการค้าให้กับไทยเท่านั้น แต่ทว่ายังเป็นความท้าทายต่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศด้วยที่ต้องรับมือกับคู่แข่งหน้าใหม่จากต่างประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขัน
กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอยังต้องการ แรงงานเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 แสนคน เนื่องจากแรงงานฝีมือหายาก แม้วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อยอดคำสั่งซื้อปรับตัวลดลง ซึ่งคาดว่าจะเห็น ผลชัดเจนปีหน้า แต่ไม่ถึงขั้นต้องปรับลด คนงานออก และหากมีโรงงานไหนที่ต้อง ปิดกิจการลง ก็ยังมีโรงงานอื่นต้องการรับคนงานต่อ โดยบางโรงงานก็ใช้วิธีลดเวลาทำงาน หรือให้คนงานเอางานกลับไปทำที่บ้านแทน สถานการณ์ดังกล่าว สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ร่วมกับกระทรวงแรงงาน ผลักดันการหาแรงงานเพิ่มอีก 1 แสนคน จากปัจจุบันมี 1.06 ล้านคน เฉพาะกลุ่มเครื่องนุ่งห่มต้องการ 2-3 หมื่นคน และจะมีการฝึกอบรมชาวนาเพื่อทำงานช่วงนอกฤดูกาลเก็บเกี่ยว พร้อมกับเปิดโอกาสให้คนตกงานมาฝึกอบรมเข้าอุตฯ สิ่งทอแทน และถ้ารัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาก็น่าจะทำให้ตลาดไม่ตกมากนัก เพราะเสื้อผ้าเป็นปัจจัยสี่ที่ ทุกคนต้องใช้ ขณะนี้ยอดส่งออกสิ่งทอมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 8-9% คาดว่าสิ้นปีนี้จะโตไม่ต่ำกว่า 10% คิดเป็นมูลค่าเกือบ 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปี 2552 ประเมินว่าสิ่งทอไทยจะส่งออกได้สูงถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพราะไทยได้รับผลดีจากการที่สินค้าจีนไม่ได้รับการไว้ใจ ทำให้คำสั่งซื้อสินค้าขยายมาที่ไทยแทน อีกทั้งไทยยังสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) ได้เพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้ นักลงทุนในอุตสาหกรรม สิ่งทอจากหลายประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ ที่ลงทุนอยู่ในจีนและบังกลาเทศ เตรียมย้ายฐานการผลิตมาไทย เพราะต้นทุนการผลิตและ ค่าแรงงานอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คาดว่าภายใน 5 ปีนี้จะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอขยายตัวมากขึ้น
กรมวิชาการเกษตรทำข้อตกลงกับประเทศญี่ปุ่น ในการควบคุมคุณภาพผักและผลไม้จำนวน 23 ชนิดไปประเทศญี่ปุ่น นับตั้งแต่ปี 2546 ส่งผลให้สินค้าเกษตรของไทยลดปัญหาเรื่องสารพิษตกค้าง ทำให้สามารถส่งออกไปญี่ปุ่นได้มากขึ้น นอกจากนี้ความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหาร ประกอบด้วยความมือการจดทะเบียนผู้ส่งออกตามโครงการควบคุมสารตกค้างระดับฟาร์มกับประเทศญี่ปุ่น เช่น มะม่วง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงมหาชนก มะม่วงหนังกลางวัน มะม่วงแรด และมะม่วงพิมเสน โดยมีบริษัทเข้าร่วม 26 บริษัท ขณะเดียวกันยังมีกระเจี๊ยบขาว มีบริษัทเข้าร่วมโครงการ 11 บริษัท การร่วมโครงการดังกล่าวช่วยให้การส่งออกกระเจี๊ยบขาวเพิ่มปริมาณมากขึ้น บริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะไม่ต้องถูกสุ่มตรวจในประเทศญี่ปุ่น แต่อย่างใด ทั้งนี้จากความร่วมมือด้านสินค้าการเกษตรและผลิตภัณฑ์ต่างๆได้สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 ประเทศอย่างมาก โดยการค้าไทย-ญี่ปุ่น ในปี 2550 มีมูลค่า 46,518.76 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากปี49 มีมูลค่าการส่งออกเพียง 18,118.59 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นมูลค่าสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.62 โดยสินค้าเกษตรที่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ยางพารา ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว ผัดสดแช่แข็ง และกล้วยไม้ เป็นต้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th