สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - อินโดนีเซีย ปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 1, 2008 11:10 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง             : jakarta
พื้นที่                  : 5.2 ล้านตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ           : (Bahasa Indonesia)
ประชากร              : 240 ล้านคน (mid-2006)
อัตราแลกเปลี่ยน         : 1,000 รูเปียห์  = 2.677 บาท (26/11/51)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                               6.3        5.8
Consumer price inflation (av; %)                  6.3       10.3
Budget balance (% of GDP)                        -1.2       -2.0
Current-account balance (% of GDP)                2.5        2.8
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        8.0        8.4
Exchange rate ฅ:US$ (av)                        9,141      9,196

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับอินโดนีเซีย
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   4,886.82         100.00        40.83
สินค้าเกษตรกรรม                       208.30           4.26       -17.04
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร               512.35          10.48        27.57
สินค้าอุตสาหกรรม                     3,959.60          81.03        47.39
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                    206.56           4.23        80.19
สินค้าอื่นๆ                                0.0            0.0      -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับอินโดนีเซีย
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               4,314.07         100.00        45.92
สินค้าเชื้อเพลิง                             1,025.23          23.76        43.41
สินค้าทุน                                  1,193.94          27.68       178.45
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                   1,528.11          35.24         8.62
สินค้าบริโภค                                 285.70           6.62        35.22
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  281.06           6.52        46.60
สินค้าอื่นๆ                                     0.03            0.0       -99.07

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - อินโดนีเซีย
                           2550           2551        D/%

(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             6,426.36       9,200.89     43.17
การนำเข้า                 2,956.43       4,314.07     45.92
การส่งออก                 3,469.93       4,886.82     40.83
ดุลการค้า                    513.49         572.75     11.54

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดอินโดนีเซีย เป็นอันดับที่ 10 มูลค่า 4,314.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.92 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                        4,314.07         100.00         45.92
1. ถ่านหิน                                 634.32          14.70         95.07
2. สินแร่โลหะอื่น ๆ                          559.80          12.98         18.50
3. เรือ และสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ                  532.13          12.33     26,731.13
4. เคมีภัณฑ์                                348.15           8.07        -20.67
5. เครื่องจักรไฟฟ้า                          312.40           7.24        123.09
         อื่น ๆ                            323.80           7.51         31.28

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดอินโดนีเซีย เป็นอันดับที่ 8 มูลค่า 4,886.82 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.83 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม               4,886.82         100.00         40.83
1. รถยนต์ อุปกรณ์                1,117.42          22.87         58.72
2. น้ำตาลทราย                    402.22           8.23         28.02
3. เครื่องจักรกล                   324.16           6.63         54.74
4. เครื่องยนต์สันดาป                263.87           5.40        105.36
5. เคมีภัณฑ์                       262.75           5.38         27.91
          อื่น ๆ                  731.76          14.97         16.69

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอินโดนีเซีย ปี 2551 (มค.-กย.) ได้แก่

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : อินโดนีเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากออสเตรเลีย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-26.62%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มี อัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.72 70.95 58.72 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

น้ำตาลทราย : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-26.62%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.97 226.72 28.02 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องจักรกล : อินโดนีเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 46.55 3.72 80.60 และ 54.74 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องยนต์สันดาป : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 — 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-32.27%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.59 55.37 และ 105.36 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549 และ 2550 ที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (4.5% และ 29.15%) ในขณะที่ปี 2548 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 33.53 และ 27.91 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอินโดนีเซีย ปี 2551 (มค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 12 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ              มูลค่า              อัตราการขยายตัว        หมายเหตุ
                        ล้านเหรียญสหรัฐ                %
 1. รถยนต์ อุปกรณ์           1,117.42                58.72
 3. เครื่องจักรกล              324.16                54.74
 4. เครื่องยนต์สันดาป           263.87               105.36
 7. เม็ดพลาสติก               220.53                48.49
 8. รถจักรยานยนต์             147.83                51.17
 9. ผลิตภัณฑ์พลาสติก            145.89                52.63
10. น้ำมันสำเร็จรูป             130.97               961.78
13. ผลิตภัณฑ์ยาง                99.46                70.01
16. ผลิตภัณฑ์กระดาษ             68.43                53.07
22. ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม            35.03                45.67
23. ของเบ็ดเตล็ด               34.20               113.79
24. ผลิตภัณฑ์หนังฟอก             34.02                45.97

4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอินโดนีเซีย ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 1 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ           มูลค่า         อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                     ล้านเหรียญสหรัฐ           %
18. ข้าว                 39.82            -62.16          รัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่าผลผลิตข้าวรวมของปีนี้จะออกมา

ประมาณ 60.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์เมื่อตอน

ต้นปีที่มีจำนวน 59.9 ล้านตัน หรือ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

ที่มีจำนวน 57.2 ล้านตัน ร้อยละ 5.4 ส่งผลให้ปีนี้

อินโดนีเซียไม่จำเป็นต้องนำเข้าข้าวอีก

4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม

กรมการค้าต่างประเทศคาดปีนี้การส่งออก มันสำปะหลังมูลค่า 4.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มียอดส่งออกรวม 4.79 หมื่นล้าน ทั้งปีคาดว่าจะส่งออกทั้งสิ้นมูลค่า 4.9 หมื่นล้านบาท เนื่องจากตลาดโลกยังมีความต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังจากไทย โดยเฉพาะจีน ที่นำเข้ามันเส้นไปผลิตแอลกอฮอล์ ส่วนสหภาพยุโรป (อียู) เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย นำเข้ามันอัดเม็ดไปผลิตอาหารสัตว์ นอกจากนี้ไทยยังส่งออกแป้งแปรรูปไปยังญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย ทั้งนี้คาดว่าในปี 2552 ไทยจะส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังได้ทั้งสิ้นมูลค่าประมาณ 5 หมื่นล้านบาท สาเหตุที่ การส่งออกมันสำปะหลังขยายตัวไม่สูงมากจากปี 2551 เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มลดลง ทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการใช้มันสำปะหลังเพื่อผลิตพลังงานทดแทน ทำให้ผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศรอติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

รมว.การค้าของอินโดนีเซียเปิดเผยว่า อินโดนีเซียมีแผนจำกัด ประเภทของน้ำตาลบริสุทธิ์คุณภาพสูงที่สามารถนำเข้าเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาล ล้นตลาด ทั้งนี้ ผลผลิตน้ำตาลทรายขาวที่คาดว่าจะมีเป็นจำนวนมากในปีนี้ ประกอบกับการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวคุณภาพดีและน้ำตาลดิบเป็นจำนวนมาก เมื่อปีที่แล้ว ทำให้เกิดน้ำตาลล้นตลาด ซึ่งทำให้มีความวิตกว่าจะทำให้ราคา ตกต่ำลงและกระทบผลกำไรของเกษตรกร บริษัทอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ใช้น้ำตาลที่นำเข้ามาในรูป น้ำตาลบริสุทธิ์ และซื้อน้ำตาลจากโรงฟอกในประเทศ ซึ่งนำเข้าในรูป น้ำตาลดิบและนำมาผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ผู้ผลิตอาหาร และเครื่องดื่มรวมทั้งอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์จะสามารถนำเข้าน้ำตาลบริสุทธิ์ ที่มีค่า ICUMSA สูงสุด 25 เทียบกับน้ำตาลค่า ICUMSA สูงสุด 45 ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ รัฐบาลจะขอให้โรงฟอกน้ำตาลที่ไม่สามารถผลิตน้ำตาล ทรายคุณภาพดีหรือน้ำตาลทรายขาวที่มีค่า ICUMSA ต่ำกว่า 200 ให้ทำการ ผลิตน้ำตาลดิบ ซึ่งโรงงานน้ำตาลในประเทศจะนำมาผลิตเป็นน้ำตาลทราย บริสุทธิ์ต่อไป ซึ่งคาดว่าการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดการนำเข้าน้ำตาลดิบ ของโรงงานในประเทศได้ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเปิดเผยว่า ตั้งใจจะยกเลิกแผนการนำเข้าน้ำตาลดิบ และน้ำตาลทรายขาวจำนวน 500,000 ตันที่โรงงานในประเทศใช้ในปีนี้เนื่องจาก มีสต็อกมากเพียงพอ

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นของโลก โดยธุรกิจภาพยนตร์เป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์โดยตรง และเพื่อให้หนังแอนิเมชั่นเป็นที่รู้จักในระดับสากล และสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ ซิป้าจึงได้ร่วมสนับสนุน “เทศกาลหนังเมืองปาย” เทศกาลหนังกลางแปลงครั้งแรกของโลก สำหรับการผลักดันตลาดแอนิเมชั่นของไทยนั้น ซิป้าต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นของโลก ซึ่งในปีนี้ได้ลงทุนในตลาดแอนิเมชั่นแล้วกว่า 5,400 ล้านบาท และในปีหน้าทางซิป้าได้ร่วมเจรจาธุรกิจกับอินเดียและอินโดนีเซีย เพื่อร่วมลงทุนในตลาดแอนิเมชั่นแล้วประเทศละ 1,000 ล้านบาท ส่วนมาเลเซียและญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการเจรจา คาดว่าปีหน้าจะมีการลงทุนไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ในตลาดแอนิเมชั่น

บีโอไอ มีมติเห็นชอบให้การส่งเสริมการลงทุนให้แก่นักลงทุนจากอินโดนีเซีย ในการขอรับการส่งเสริมผลิตรถจักรยานยนต์ประเภท 4 จังหวะ ขนาดตั้งแต่ 500 ซีซี ขึ้นไป โดยมีกำลังผลิตปีละประมาณ 25,000 คัน มูลค่าเงินลงทุน 200 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ระยอง โดยมีแผนที่จะใช้ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ท่อโลหะเพื่อมาขึ้นรูปโครงรถ รวมถึงชิ้นส่วนยางและพลาสติก ซึ่งคาดว่า จะมีมูลค่ารวม 1,117.5 ล้านบาทต่อปี

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ