สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - มาเลเซีย ปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 19, 2008 11:58 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง         :  Kuala Lumpur
พื้นที่              :  330,113   ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ       :  Malay,Chinese,English
ประชากร          :  26.1 ล้าน คน
อัตราแลกเปลี่ยน     :  1 ริงกิต มาเลเซีย = 9.464 บาท (13/03/51)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                                  6.0        5.8
Consumer price inflation (av; %)                     2.0        2.5
Federal government budget  balance (% of GDP)       -3.2       -3.1
Current-account balance (% of GDP)                  13.5       11.1
US$ 3-month commercial paper rate (av; %)            6.5        6.5
Exchange rate ฅ:US$ (av)                            3.44       3.38

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับมาเลเซีย
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   7887.37          100.00         39.38
สินค้าเกษตรกรรม                     1409.99           17.88         58.71
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              360.33            4.57          3.53
สินค้าอุตสาหกรรม                     5619.49           71.25         36.00
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   497.56            6.31         98.55
สินค้าอื่นๆ                              0.00            0.00       -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับมาเลเซีย
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              7,658.53          100.00        24.39
สินค้าเชื้อเพลิง                            1,392.67           18.18        52.72
สินค้าทุน                                 2,354.83           30.75        24.22
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                  3,166.62           41.35        18.98
สินค้าบริโภค                                596.92            7.79         3.69
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                 146.33            1.91        46.40
สินค้าอื่นๆ                                    1.15            0.02       -90.54

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - มาเลเซีย
                           2550            2551        D/%

(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            11,815.52       15,545.90     31.57
การนำเข้า                 6,156.73        7,658.53     24.39
การส่งออก                 5,658.80        7,887.37     39.38
ดุลการค้า                   -497.93          228.85        -

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดมาเลเซียเป็นอันดับที่ 5 มูลค่า 7,658.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.39 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                        7,658.53         100.00         24.39
1. น้ำมันดิบ                              1,130.63          14.76         69.56
2. เครื่องคอมพิวเตอร์                      1,062.39          13.87         14.43
3. เคมีภัณฑ์                                690.79           9.02         36.35
4. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนฯ                   688.46           8.99         78.82
5. สื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง                   474.03           6.19        105.00
              อื่น ๆ                       545.24         -21.99          7.12

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาด มาเลเซียเป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 7,887.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.38 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                        มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                        7,887.37         100.00         39.38
1. ยางพารา                               823.02          10.43         28.47
2. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ                    751.91           9.53         61.05
3. เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์                  665.00           8.43        627.23
4. เครื่องคอมพิวเตอร์                        615.03           7.80          9.33
5. น้ำมันสำเร็จรูป                           381.19           4.83        216.91
              อื่น ๆ                     1,500.62          19.03         12.37

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปมาเลเซีย ได้แก่

ยางพารา : มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 10.11 44.75 12.71 และ 28.47 ตามลำดับ

รถยนต์ อุปกรณ์ : มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 60.79 5.31 45.27 และ 61.05 ตามลำดับ

เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาสิว : มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 46.35 10.68 และ 627.23 ตามลำดับ มีเพียงปี 2550 เพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 4.71

เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ : มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทยโดยปี 2551 (ม.ค.- ก.ย) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.66 เมื่อ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทย โดยปี 2551 (ม.ค.- ก.ย) มีอัตราการขยายตัวลดลง 1.88 เมื่อ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

น้ำมันสำเร็จรูป : มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 144.46 27.02 213 และ 216.91 ตามลำดับ

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซีย ปี 2551 (มค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 50 มีรวม 10 รายการ คือ
 อันดับที่ / รายการ                        มูลค่า         อัตราการขยายตัว        หมายเหตุ
                                    ล้านเหรียญสหรัฐ         %
2. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ                  751.91           61.05
3. เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์             665.00          627.23
5. น้ำมันสำเร็จรูป                         381.19          216.91
7. ข้าว                                 349.37          206.93
10.ผลิตภัณฑ์ยาง                           202.78           55.21
12.เครื่องยนต์สันดาป                       164.77           64.33
19. ข้าวโพด                             105.07          344.66
21.มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า              87.88          137.47
23.เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์                     70.94           87.15
24.ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม                        69.05          163.03

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซีย ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 3 รายการ  คือ
อันดับที่ / รายการ                       มูลค่า             อัตราการขยายตัว
                                 ล้านเหรียญสหรัฐ               %
6. แผงวงจรไฟฟ้า                       363.37              -23.99
9. เหล็ก  เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์            215.37               -1.88
15.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนฯ                123.02              -18.08

4.7  ข้อมูลเพิ่มเติม

รัฐมนตรีการค้ามาเลเซีย กล่าวถึงการเจรจาข้อขัดแย้งเรื่องการเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ไทยและมาเลเซียกำลังพยายามหาทางออกอยู่ว่า มาเลเซียจำเป็นต้องรอให้ไทยจัดตั้งรัฐบาลใหม่ก่อน เพื่อให้แน่ชัดเรื่องผู้ที่จะมีอำนาจตัดสินใจเจรจาข้อขัดแย้งดังกล่าว พร้อมทั้งยืนยันว่า การเจรจาการค้าและการลงทุนของ 2 ฝ่ายในด้านอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุรัฐประหารของไทย ก่อนหน้านี้ ทางการไทย ยืนยัน ไม่ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตจากมาเลเซีย โดยอ้างว่า ทางการมาเลเซียนำมาตรการที่ไม่ใช่การจัดเก็บภาษีเข้ามาปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ท้องถิ่น ซึ่งในการเจรจาทุกครั้งที่ผ่านมา มาเลเซียแสดงจุดยืนว่า รถยนต์ที่ผลิตในมาเลเซียควรได้รับสิทธิจากการลดภาษีนำเข้าของไทย จากการที่มาเลเซีย ยอมลดการจัดเก็บภาษีนำเข้าให้กับรถที่ผลิตหรือประกอบภายในกลุ่มสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนจากเดิมร้อยละ15 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ5 แล้ว แต่ทางไทยยังยืนยันจะเก็บภาษีรถยนต์นำเข้าจากมาเลเซียไว้ที่ร้อยละ20 เพราะไม่สบายใจกับข้อบังคับในอุตสาหกรรมรถยนต์ของมาเลเซียที่รวมถึงการอนุญาตให้เจ้าของกิจการที่มีเชื้อสายมาเลย์เท่านั้น ที่สามารถดำเนินธุรกิจนำเข้ารถยนต์

รมว.เกษตรและสหกรณ์ของไทยและมาเลเซีย ได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-มาเลเซีย ซึ่งที่ผ่านมาไทยและมาเลเซียมีความร่วมมือด้านการเกษตรในด้านต่าง ๆ ภายใต้กรอบทวิภาคีและพหุภาคี เช่น ความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจด้านการเกษตร ภายใต้กรอบ JDS ใน 3 ด้าน ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านปศุสัตว์ ความร่วมมือด้านประมง และความร่วมมือด้านพลังงานและการปรับปรุงโครงการปากแม่น้ำโก-ลก อำเภอตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีการร่วมกันก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น และการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไทย ซึ่งก่อสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2543 และมีการจัดตั้งคณะทำงานผลัดกันสำรวจปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงฤดูมรสุม และหลังฤดูมรสุม โดยประเทศมาเลเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม JET ครั้งที่ 14 ในเดือนพฤศจิกายนนี้เพื่อประเมินโครงการปรับปรุงปากแม่น้ำโก-ลก อย่างไรก็ตามจะมีการหารือในรายละเอียดความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างสองประเทศในระดับทวิภาคีอีกครั้งในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 30 (AMAF) ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ในเดือนตุลาคนนี้ นอกจากนี้มาเลเซียยังได้แจ้งกับฝ่ายไทยว่าในเดือนมีนาคม 2552 มาเลเซียจะมีการประกาศใช้มาตรฐานการนำเข้าสินค้าเกษตรที่จะนำเข้าไปยังมาเลเซียที่มีความเข้มงวดในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทางด้านอาหาร ซึ่งกระทรวงเกษตรฯจะต้องดำเนินการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ส่งออกของไทยต่อไป

ในขณะนี้สินค้าน้ำตาลทรายส่งออกจากประเทศไทยกำลังได้รับการกีดกันการนำเข้าจากประเทศคู่ค้าในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเองอย่างหนัก ล่าสุด กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้รับรายงานจาก 3 สมาคมน้ำตาล ซึ่งประกอบไปด้วยสมาคมโรงงานน้ำตาลไทย-สมาคม ผู้ผลิตน้ำตาลและชีวพลังงานไทย และสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล แจ้งเข้ามาว่า รัฐบาลอินโดนีเซียกับรัฐบาลมาเลเซียได้ใช้มาตรการกีดกันหรือห้ามการนำเข้าน้ำตาลจากประเทศไทยจากการประมูลครั้งล่าสุด โดยรัฐบาลอินโดนีเซียใช้นโยบายที่จะลดการนำเข้าน้ำตาลทรายขาว หรือ refined sugar ไปจนกระทั่งถึงห้ามนำเข้าน้ำตาลทรายขาวจากประเทศไทย ในขณะที่รัฐบาลมาเลเซียสั่งห้ามมิให้น้ำตาลทรายดิบที่ผลิตจากประเทศไทยเข้าร่วมในการประมูลครั้งล่าสุด ด้วยการระบุไว้ในหลักเกณฑ์การประมูลอย่างชัดเจน โดยทั้ง 2 ประเทศอ้างว่าน้ำตาลทรายที่ผลิตจากประเทศไทยนั้น "คุณภาพไม่ดีพอ" กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้รับทราบปัญหาจาก 3 สมาคมน้ำตาลแล้ว และได้หยิบยกปัญหารัฐบาลอินโดนีเซียออกกฎระเบียบใหม่ไม่ให้ "ใบอนุญาต" กับเอกชนผู้นำเข้าน้ำตาลทรายขาวจากไทยขึ้นมาหารือในระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อติดตามผลการดำเนินการตามกรอบการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว โดยฝ่ายผู้แทนไทยถือว่าการกระทำของรัฐบาลอินโดนีเซียเป็นการ "จำกัด" การนำเข้าน้ำตาลทรายขาวจนส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของไทยและภาคเอกชนอินโดนีเซียผู้ใช้น้ำตาลจากไทย หากรัฐบาลอินโดนีเซียยังไม่ยกเลิกข้อจำกัดดังกล่าว ฝ่ายไทยก็จะนำประเด็นนี้เข้าสู่การหารือระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ต่อไป "ความจริงเรื่องนี้มีเบื้องหลังอยู่ที่คนใช้น้ำตาลทรายขาวจากไทยคือ บริษัทโคคา-โคลา (อินโดนีเซีย) ได้รับความเดือดร้อนมาก เนื่องจากสูตรการผลิตโค้กต้อง ใช้น้ำตาลทรายขาวที่มีค่าสีไม่เกิน 45 ซึ่งหมายถึงน้ำตาลทรายขาวที่ส่งออกจากไทยเท่านั้น แต่น้ำตาลทรายขาวที่ผลิตได้ ในอินโดนีเซียล้วนแล้วแต่มีค่าสีเกินกว่า 65-70 ขึ้นไป ซึ่งใช้ไม่ได้ การจำกัดการนำเข้าทำให้บริษัทผู้นำเข้าน้ำตาลทรายขาวในอินโดนีเซียถูกยกเลิกใบอนุญาต (license) ทั้งที่ตามความตกลง AFTA ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขการออกใบอนุญาตนำเข้าเช่นนี้ สำหรับสาเหตุที่รัฐบาลอินโดนีเซียใช้นโยบายจำกัดการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวจากไทยนั้น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เชื่อว่าเป็นไปเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายภายในอินโดนีเซีย เพราะรัฐบาลอินโดนีเซียอนุญาตให้สามารถนำเข้าน้ำตาลทรายดิบเพื่อเข้าไปผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวต่อในประเทศได้ เพียงแต่ไม่ให้นำเข้าน้ำตาลทรายขาว ซึ่งเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าต้องการที่จะป้องกันสินค้าจากไทยโดยหวังผลิตน้ำตาลทรายขาวภายในประเทศ เพื่อส่งให้กับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องแทน หากเป็นเช่นนี้ผลกระทบระยะยาวทางกรมเกรงว่าอินโดนีเซียจะไม่ให้นำเข้าน้ำตาลทรายจากไทยเลย "ในความตกลง AFTA กำหนดว่า สินค้าน้ำตาลไทยเป็นสินค้าอ่อนไหวที่อินโดนีเซียเก็บภาษีนำเข้าที่ 30% ในปัจจุบัน และจะทยอยลดลงจะเหลือ 5% ภายในปี 2558 (ค.ศ.2015) โดยไม่ได้กำหนดโควตาใดๆ หากอินโดนีเซียไม่ยอมผ่อนปรนท่าทีก็จะต้องหารือระดับรัฐมนตรี แต่ขั้นสุดท้ายหากมีหลักฐานเพียงพอว่าเป็นการจำกัดการนำเข้าไทยก็จะสามารถฟ้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ได้ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSL กล่าวว่า อินโดนีเซียยกเลิกการนำเข้าสินค้าน้ำตาลทรายขาวเพียงอย่างเดียว ส่วนน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ยังมีการนำเข้าอยู่ เนื่องจากในอินโดนีเซียมีโรงงานรีไฟน์น้ำตาล ดังนั้นจึงยังมีความจำเป็นต้องนำเข้าน้ำตาลทรายดิบจากไทยเพื่อไปสนับสนุนอุตสาหกรรมให้เกิดการผลิตน้ำตาลภายในประเทศ

ส่วนน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ที่ยังต้อง นำเข้าเพราะอินโดนีเซียผลิตได้แต่น้ำตาลทรายขาว ยังไม่มีเทคโนโลยีที่พัฒนาไปสู่การผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ซึ่งบางอุตสาหกรรมยังจำเป็นต้องใช้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ในการผลิตสินค้า จึงได้เรียกร้องขอสิทธิการนำเข้าเป็นกรณีพิเศษ เช่น บริษัทโคคา-โคลา (อินโดนีเซีย) เป็นต้น ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียเองก็พยายามกีดกันไม่นำเข้าน้ำตาลจากไทยเช่นเดียวกัน โดยอ้างว่าน้ำตาลทรายดิบจากไทยไม่ได้มาตรฐาน ขณะที่มาเลเซียไปนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศที่มีมาตรฐานเดียวกันกับน้ำตาลของไทย

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ