ภาพรวมเศรษฐกิจฮ่องกงปี 2551(ม.ค.-ก.ย)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 4, 2008 13:46 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวม

เศรษฐกิจฮ่องกงมีการขยายตัว 4.2% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 และในไตรมาส 3 GDP เพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่มีการขยายตัว 6.3% สาเหตุจากทั่วโลกเกิดสภาวะการณ์ตลาดการเงินมีความรุนแรงทำให้ เกิดความปันป่วนและมีผลกับเศรษฐกิจฮ่องกง

ในปี 2551(มีค.-กย.) อัตราการว่างจ้างงานสูงถึงร้อยละ 3.4

การส่งออกในภาคบริการในช่วงไตรมาส 2 ขยายตัว 5.3% สาเหตุจากช่วงหยุดฤดูกาลโอลิมปิกและความ ผันผวนทางด้านการเงิน และช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 ฮ่องกงมีจำนวนนักท่องเที่ยว 19.6 ล้าน เพิ่มขึ้นจากปีที่ ผ่านมา 7.3%

การลงทุนอัตราการขยายตัว 3% ในสภาพเศรษฐกิจถดถอยทำให้มีอัตราการว่างงานสูง 3.4% หรืออาจ จะสูงเพิ่มขึ้นในช่วงภาวะตลาดการเงินทั่วโลกยังไม่มั่นคง

ในเดือนกรกฏาคม 2551 ฮ่องกงและจีนมีการเริ่มเจรจาภายใต้ระเบียบ CEPA โดยจะเพิ่มภาคบริการ 19 หน่วย จึงทำให้ฮ่องกงและจีนมีความสัมพันธ์แนบแน่นเพิ่มขึ้น กฎใหม่จะเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2552

              ดัชนีชี้วัด                         2549       2550          2551
Population Domestic Products(Million)        6.86       6.93          6.99
GDP($US Billion)                            189.2      207.2      220.7-222.7 b
Real GDP Growth(%)                            7.0        6.4          4.21
GDP per Capital(US$)                       27,600     29,900    31,500-31,800 b
อัตราเงินเฟ้อ(inflation)(%)                      2.0        2.0          3.01
อัตราการว่างงาน(Unemployment Rate) (%)          4.8        4.0          3.40
A 2008, b government forecast for 2008, c year-on-year change infirst two quarters of 2008;
d year-on-year change in January- September  2008; e  July-September 2008
แหล่งที่มา : Hong Kong Trade Development Council

ตัวเลขภาคการค้า
                              2549                      2550                  2551(ม.ค.-ก.ย.)
                      US$ billion    Growth    US$ billion    Growth      US$ billion    Growth
Total Export             315.5        9.4        344.6          9.2          207.2         7.8
Domestic Export           17.2       -1.1         14.0        -18.9            9.0       -11.5
       Re-Export         298.3       10.0        330.6         10.8          261.6         8.6
Imports                  333.3       11.6        367.7         10.3          292.1         9.1
Total Trade              648.8       10.5        712.2          9.8          562.7         8.4
Trade Balance            -17.8        N/A        -23.1          N/A          -21.4         N/A

ตัวเลขภาคบริการ
                            2549                    2550                  2551(ม.ค.-ก.ย.)
                   US$ billion    Growth    US$ billion    Growth      US$ billion    Growth
 Export               72.4         14.1         83.6        15.4          67.5         12.2
Imports               36.9          9.0         41.2        11.7          33.2          9.9
Total Trade          109.4         12.3        124.8        14.1         100.7         11.4
Trade Balance         35.5          N/A         42.3         N/A          34.4          N/A

สถานะด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน
  • ฮ่องกงมีเสรีภาพด้านเศรษฐกิจของโลก
  • มีภาคบริการมากที่สุดในโลก(ภาคบริการคิดเป็นจำนวน 90% ของ GDP
  • เป็นศูนย์กลางเงินตราต่างประเทศใหญ่อันดับสองของโลก
  • การถือเงินตราต่างประเทศใหญ่เป็นอันดับเก้า
  • การลงทุนจากต่างประเทศในฮ่องกงโดยสุทธิ(Foreign direct investment(FDI) ใหญ่อันดับ
2 ของเอเชีย
  • ผู้รับต่างประเทศที่มีการลงทุนในฮ่องกงโดยสุทธิ(Foreign direct investment(FDI)ใหญ่อันดับ

2 ของเอเชีย

ภาวะการค้าในปัจจุบัน

ฮ่องกงมีเศรษฐกิจการเจริญเติบโตขยายตัว 5.8 % ในช่วงแรกของปี 2551 และอัตราสูงในปี 2550 6.3% ขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจภายนอก ฮ่องกงถือเป็นตลาดด้านการเงินจึงมีผลกระทบ ทำให้ความ ต้องการซื้อภายในชะลอตัวลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่แข่งแกร่ง ในครึ่งปีแรกของปี 2551 ฮ่องกงมีการบริโภคเพิ่มขึ้น 5.4% แต่การลงทุนชะลอตัวในครึ่งปีแรกอยู่ในอัตรา 1.8% ขณะที่ปัจจัยภายนอก การส่งออกสินค้าและภาคบริการ ชะลอตัวลง 6.2% และ 8.7% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 อยู่ที่ 7.0% และ 12.5% และในปี 2551 ตลอดทั้งปี รัฐบาลคาดการณ์อัตราขยายตัว GDP ระหว่าง 4-5% ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในอัตรา 5.9% ส่วนใหญ่เกิดจากสินค้า อาหารและราคาน้ำมันขยายตัวอย่างผิดปกติ

ในปี 2550 การค้าปลีกขยายตัว 12.8% และ ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 15.0% ซึ่งอยู่ในช่วง ภาวะเศรษฐกิจขึ้นและภาวะการตกงานลดลง อย่างไรก็ตามในภาวะปัจจุบันสถาะนการณ์ด้านตลาดหุ้นทำให้มีผลชะลอตัว และผลกระทบต่อการบริโภค ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเขยิบขึ้นเล็กน้อยในปี 2550 ขยายตัว 2.0% และ 4.6% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าของ 9 เดือนแรกปี 2551

ด้านการลงทุน

ฮ่องกงเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนต่างชาติ ตามรายงานของ UNCTAD World Investment Report 2008 ฮ่องกงได้รับการยอมรับว่าเป็นชาติน่าลงทุนเอเชียในอันดับ 2 และอันดับ 6 ของโลก โดยมีเงินลงทุน จากต่างประเทศไหล 33% ประมาณ 60 พันล้านเหรียญสหรัฐ และฮ่องกงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ที่มีการลงทุนใน ต่างประเทศคิดเป็น 18% หรือ 52 พันล้านเหรียญสหรัฐ

มีการลงทุนในภาคธุรกิจบริการ ได้แก่ real estate, การขายส่ง การค้าปลีก และธุรกิจการค้า ได้แก่ Banking , Finance และ การประกันภัย ตลอดจน การขนส่งและการสื่อสาร

ราคาสินค้า

ราคาสินค้าอาหารที่สั่งซื้อจากภายนอก มีราคาเพิ่มสูงขึ้น 14.9% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมา ได้แก่ ข้าว(55.1%) เนื้อวัว(28%) ปลามีชีวิต(27.3%) เนื้อกระป๋อง(26.5%) เนื้อไก่(23.3%) น้ำมันพืช (23.2%) และเนื้อหมู(20.1%)

การเพิ่มขึ้นของสินค้าอาหารที่นำเข้าในอัตรา 5.9% สินค้าอื่นๆ 5.8% และการขนส่ง 3%

เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาไฟฟ้า แก๊สและน้ำราคาลดลง 32.3% แอลกอลฮอล์และยาสูบ 1% บ้าน 0.8% และ durable goods(0.8%)

ความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่
  • ฮ่องกงเป็นที่เก็บสินค้าที่สำคัญของจีน
  • ฮ่องกงมีการลงทุนในจีนมากที่สุด
  • ศูนย์กลางการลงทุนนอกฝั่งที่สำคัญของจีน
  • จีนถือฮ่องกงเป็นแหล่งการลงทุนภายนอกใหญ่อันดับสอง

ฮ่องกงนับว่าเป็นที่เก็บสินค้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการ re-export ไป-มาจากจีนไปยังที่อื่นๆ คิดเป็นอัตราส่วน 17% ที่ฮ่องกงเป็นผู้ดำเนินการ คิดเป็นอัตราสูงในการขนส่งสินค้าจากจีนผ่านฮ่องกง จากสถิติปี 2550 ตัวเลขการส่งออกของจีน 62% และส่งไปยังจีน 49% และฮ่องกงถือเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของจีนรองจากญี่ปุ่นและสหรัฐฯ

ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ
  • ฮ่องกงได้รับความนิยมในการที่มีสำนักงานตัวแทนและสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างชาติมาจัดตั้ง
  • เป็นผู้นำด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในเขตเอเชียแปซิฟิก
  • มีธุรกิจการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
  • เป็นท่าเรือใหญ่อันดับ 3 ของโลก
  • เป็นศูนย์กลางการลงทุนร่วมทุนใหญ่ที่สุดในเอเชีย
  • ตลาด Stock Market ใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียและใหญ่อันดับ 8 ของโลก
  • ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราใหญ่ที่สุดในเอเชีย และอันดับ 6 ของโลก
ระเบียบการนำเข้า

ฮ่องกงมีนโยบายการค้าเสรี สินค้าที่นำเข้าและส่งออกจึงไม่มีการเรียกภาษี Import และ Export License จึงไม่ค่อยมีการขอ License แต่ก็ยังมีสินค้าบางประเภทมีการขอ Health Certificate เช่น ผักสด ผลไม้สด, และเนื้อสัตว์ เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ยังมีรายการบางประเภทที่จะต้องขออนุญาตนำเข้าและส่งออกของฮ่องกง

ทั้งนี้ฮ่องกงยังเป็นสมาชิกของหน่วยงานทางการค้า ดังนี้
  • World Trade Organization(WTO)
  • Asia-Pacific Economic Cooperation(APEC)
  • Organization of Economic Cooperation and Development(OECD)
  • Pacific Economic Cooperation Council(PECC)

ข้อมูลการค้าระหว่างของไทยกับฮ่องกง ไทย-ฮ่องกง

         มูลค่า             ปี 2549      ปี 2550      ปี 2551(ม.ค.-ต.ค)
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
มูลค่าการนำเข้า            1,540.62     1,441.19         1,887.92
มูลค่าการส่งออก            7,166.74     8,580.73         8,432.51
มูลค่าการค้าโดยรวม         8,707.35    10,021.92        10,320.43
ดุลการค้า                 5,626.12     7,139.54         6,544.59

ในปี 2551(ม.ค.-ก.ย.) ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 9 ของฮ่องกง ตลาดส่งออกลำดับที่ 13 มีมูลค่า 3,369 ล้านเหรียญฯ และตลาดนำเข้าลำดับที่ 9 ของฮ่องกง มีมูลค่า 6,787 ล้านเหรียญฯ ในขณะที่ ฮ่องกงเป็น คู่ค้าลำดับที่ 6 ของไทย สินค้า 5 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปฮ่องกง(ปี 2551 ม.ค.-ต.ค.) ได้แก่

(1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มูลค่า 1,613.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2) อัญมณีและ เครื่องประดับ มูลค่า 1,235.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (3) แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่า 1,014.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (4) หนังสือ และสิ่งพิมพ์ มูลค่า 913.7 ล้านเหรียญฯ และ (5) เม็ดพลาสติก มูลค่า 587.4 ล้านเหรียญฯ

และสินค้าที่ไทยนำเข้าจากฮ่องกง 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ มูลค่า 647.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ มูลค่า 2.7.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (3) เครื่อง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มูลค่า 129.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (4) ผ้าผืน มูลค่า 85.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ (5) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ มูลค่า 68.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

ผลกระทบ โอกาส และลู่ทางของไทย

ภายใต้ความตกลง CEPA ไทยมีโอกาสที่ดีในการลงทุนโดยการเป็นหุ้นส่วนกับฮ่องกง ในการผลิตสินค้าที่ได้รับ สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงจากจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าอัญมณี และนาฬิกาข้อมือ ส่วนการค้าบริการ การแสวงประโยชน์ ของไทยจาก CEPA ระหว่างจีนกับฮ่องกงน่าจะกระทำได้โดยการเข้าไปร่วมทุนกับนิติบุคคลในฮ่องกงที่เข้าข่ายสาขาที่น่าสนใจ สำหรับไทย ได้แก่ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและภัตตาคาร ซึ่ง CEPA ได้ให้สิทธิแก่ฮ่องกงในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในจีน อย่างยืดหยุ่น

ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ของไทยต่อฮ่องกง
  • ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย ในปี 2551(ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่าการส่งออก 6,009.48
ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนร้อยละ 5.77 และ มีอัตราการส่งออกขยายตัวมากกว่าร้อยละ 40.12
  • มูลค่าการค้ารวมของฮ่องกง 712,247 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 9.8 มีจีนเป็นคู่ค้าหลักในอัตราร้อยละ 47.5
  • มูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของฮ่องกงจะถูก Re-export ไปประเทศที่ 3 กว่าร้อยละ 85 โดยส่งออกต่อไปจีน

(ร้อยละ 49) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 12) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 4.4) ไต้หวัน (ร้อยละ 1.9) และสิงค์โปร์ (ร้อยละ 2)

แผนเร่งด่วนระยะสั้น
  • การส่งออกเจาะตลาดเชิงรุกโดยใช้ฮ่องกงเป็นประตูการค้าเข้าสู่จีนและออกจากจีน เนื่องจากการ Re-export
ออกไปสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลง แต่การค้ากับจีนยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องดังนั้น ควรใช้จีนเป็นตลาดรองรับกับมูลค่าการ
ส่งออกที่หายไปของสหรัฐฯ เจาะกลุ่มผู้ซื้อที่เป็น Regional Buying Office ของฮ่องกง ที่มีเครือข่ายในจีนและประเทศอื่นๆ
  • สนับสนุนให้ผู้ส่งออกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าสำหรับสินค้าหลักของไทยในฮ่องกงและมาเก๊าเพิ่มขึ้น ซึ่งมีโอกาส
ได้พบผู้นำเข้า (Buyer) ที่มีศักยภาพและมีอำนาจสั่งซื้อทันที
  • ผู้ส่งออกสินค้าและสินค้าบริการควรใช้โอกาสการขยายตัวของมาเก๊าที่กำลังมีการก่อสร้างโรงแรมและคาสิโน

ขนาดใหญ่หลายแห่ง เจาะตลาดสินค้าอุปโภคบริโภครวมถึงสินค้าบริการจากจำนวนนักท่องเที่ยวกว่าปีละ 22 ล้านคน

แผนระยะกลางและระยะยาว
  • รักษาจำนวนและเพิ่มการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่มีศักยภาพในฮ่องกงและมาเก๊าประมาณ 10-15 งานต่อปี
  • เพิ่มการร่วมลงทุนกับคู่ค้ารายใหญ่(Mainstream) ที่มีเครือข่าย(Networking) ในจีนให้กับนักธุรกิจ/ผู้ส่งออกไทย
  • เพิ่มจำนวนร้านอาหารไทยและธุรกิจสปาในภาคบริการ(ปัจจุบันร้านอาหารไทยที่จดทะเบียนภัตตาคารประมาณ
200 ร้าน ธุรกิจสปา(ไทย) ที่จดทะเบียนและเป็นร้านนวดไทยประมาณ 50 กว่าร้าน สำหรับกิจากรรมส่งเสริมการขายที่สำนักงาน
ให้การสนับสนุน(Instore Promotion) ประมาณ 3 ราย ได้แก่ CitySuper, Jusco และ New Yohan โดยมีการต่อเนื่อง
เพื่อรักษาและเพิ่มมูลค่าการส่งออก
  • แก้ปัญหาและปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าไม่ให้กระทบมูลค่าการส่งออกของไทย เช่น สินค้าข้าว อาหารทะเล
เนื้อสัตว์ อาหารสด/กระป๋องและผลไม้
  • สำรวจตลาด จัดทำรายงานความเคลื่อนไหวตลาด ข้อมูลประกอบ กฎระเบียบและพิธีการศุลกากรเผยแพร่

กับภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายการส่งออก

ประมาณการณ์การส่งออกไทยมายังฮ่องกง ในปี 2551 คาดว่ามี มูลค่า10,320 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21 และคาดการณ์ในปี 2552 การส่งออกไทยมาฮ่องกงขยายตัว 10%

โดยคาดว่าสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อัญมณี เครื่องประดับ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง หนังและผลิตภัณฑ์ หนังฟอก หนังอัด เคมีภัณฑ์ เลนส์ เหล็ก และผลไม้ โดยสินค้าที่มีศักยภาพของไทย ได้แก่ ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ ผลไม้สด ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง กุ้ง ไข่ไก่

แผนงานแสดงสินค้า/โครงการ ปี 2552
Code        Description                                                  Duration              Location
457  Hong Kong Electronic Fair, Hong Kong                          13 Oct 08 - 16 Oct 08   Hong Kong Convention

and Exhibition Centre.

756  Mega Show Part  I , Hong Kong                                 20 Oct 08 - 23 Oct 08   HKCEC, Hong Kong
301  Cosmoprof Asia, Hong Kong                                     12 Nov 08 — 14 Nov 08   HKCEC, Hong Kong.
760  Hong Kong Toys & Games Fair                                    7 Jan 09 — 10 Jan 09   HKCEC, Hong Kong.
761  Hong Kong Int’l Stationery Fair                                7 Jan 09 — 10 Jan 09   HKCEC, Hong Kong
347  APLF(Part I — Fashion Access), Hong Kong Instore Promotion    31 Mar 09 —  2 Apr 09   HKCEC, Hong Kong
778  โครงการเทศกาลไทยร่วมกับห้าง Jusco และ City Super                  1 May 09 — 30 May 09   Hong Kong.
การจัดคณะผู้แทนการค้าระดับสูงไปเจรจาการค้าในต่างประเทศ
50   - คณะผู้แทนการค้าระดับสูงเดินทางเยือนภูมิภาคจีน(3 คณะ)                   1 Jul 09 — 31 Aug 09   China Hong Kong.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ฮ่องกง   GDP   3 G  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ