สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - เวียดนาม ปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 8, 2008 14:21 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป
เมืองหลวง          :  โฮจิมินห์ซิตี้
พื้นที่               :  330,363  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        :  Vietnamese
ประชากร           :  84 ล้านคน (October 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน      :  0.0021 VND (28/11/08)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                                   8.5         6.2
Consumer price inflation (av; %)                      8.3        24.2
Budget balance (% of GDP)                            -1.5        -1.6
Current-account balance (% of GDP)                   -9.9       -13.6
Commercial banks' prime rate (year-end; %)           11.4        21.3
Exchange rate ฅ:US$ (av)                           16,179      16,839

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับเวียดนาม
                                   มูลค่า :        สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  3,966.58         100.00        56.17
สินค้าเกษตรกรรม                      187.08           4.72        45.48
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              214.60           5.41        31.55
สินค้าอุตสาหกรรม                    2,703.56          68.16        42.05
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   861.34          21.71       155.82
สินค้าอื่นๆ                               0.0            0.0      -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับเวียดนาม
                                         มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                              1,153.65          100.00         39.54
สินค้าเชื้อเพลิง                              221.38           19.19         -8.79
สินค้าทุน                                   430.15           37.29         36.89
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    339.66           29.44         97.94
สินค้าบริโภค                                122.25           10.60         80.88
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                  40.21            3.49         33.63
สินค้าอื่นๆ                                     0.0             0.0        -99.87

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - เวียดนาม
                           2550          2551          D/%

(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             3,366.67      5,120.23      52.09
การนำเข้า                   826.77      1,153.65      39.54
การส่งออก                 2,539.90      3,966.58      56.17
ดุลการค้า                  1,713.14      2,812.93      64.20

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดเวียดนาม เป็นอันดับที่ 25 มูลค่า 1,153.65 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.54สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม               1,153.65          100.00         39.54
1. เครื่องคอมพิวเตอร์               263.90           22.88         25.36
2. น้ำมันดิบ                       192.84           16.72        -12.54
3. เหล็ก เหล็กกล้า                 115.76           10.03      1,097.49
4. เครื่องจักรไฟฟ้า                  78.36            6.79         66.99
5. ด้าย และเส้นด้าย                 52.60            4.56         51.16
          อื่น ๆ                   68.63            5.95         -9.59

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดเวียดนาม เป็นอันดับที่ 9 มูลค่า 3,966.58 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.17 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                               มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม              3,966.58          100.00         56.17
1. น้ำมันสำเร็จรูป                 754.08           19.01        302.35
2. เม็ดพลาสติก                   326.13            8.22         39.40
3. เหล็ก เหล็กกล้า                232.36            5.86         18.11
4. เคมีภัณฑ์                      125.51            3.16         52.80
5. เครื่องยนต์สันดาป               124.54            3.14         38.11
          อื่น ๆ                 896.27           22.60         20.33

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเวียดนามปี 2551 (มค.-กย.) ได้แก่

น้ำมันสำเร็จรูป : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 29.34 25.32 9.11 และ 302.35 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

เม็ดพลาสติก : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 42.19 15.11 16.11 และ 39.40 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 21.85 49.97 30.69 และ 18.11 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เคมีภัณฑ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่าปี 2548 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-0.02%) ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.83 47.07 52.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน

เครื่องยนต์สันดาปภายใน : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 73.9 33.94 6.45 และ 38.11 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเวียดนามปี 2551 (มค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 14 รายการ คือ

อันดับที่ / รายการ                    มูลค่า          อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                              ล้านเหรียญสหรัฐ            %
1.  น้ำมันสำเร็จรูป                   754.08           302.35
4.  เคมีภัณฑ์                        125.51            52.80
7.  รถยนต์ อุปกรณ์                   115.80           105.36
8.  ผลิตภัณฑ์กระดาษ                  111.92            41.11
9.  ผลิตภัณฑ์ยาง                     108.34            67.23
10. รถจักรยานยนต์                   101.39            97.04
11. ยางพารา                        99.54           101.39
15. ผลิตภัณฑ์หนังฟอก                   74.99            56.17
16. ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง                    65.60            46.04
20. เครื่องคอมพิวเตอร์                 55.75           170.96
22. เครื่องซักผ้า                      47.94            66.39
23. รถจักรยาน                       39.63            89.15
24. ไขมัน และน้ำมันจากพืช และสัตว์       38.78            72.61
25. ของเบ็ดเตล็ด                     34.68            79.59

4.3   ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเวียดนาม ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 1 รายการ คือ
 อันดับที่ / รายการ               มูลค่า          อัตราการขยายตัว
                         ล้านเหรียญสหรัฐ             %
21. ไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้            54.47             -6.59

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการหารือกับสมาคมผู้ส่งออกเวียดนามว่า ทางเวียดนามยืนยันว่าไม่ได้มีการขายข้าวเพื่อส่งออกในราคาต่ำกว่าตันละ 400 เหรียญสหรัฐ โดยระบุว่าได้เสนอขายข้าว 15% และ 20% ในราคา 400 กว่าเหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนข้าว 5% ขายราคาสูงกว่า 500 เหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม เวียดนามยอมรับว่าต้องขายข้าวในราต่ำกว่าไทยมาก เพราะคุณภาพข้าวในฤดูกาลค่อนข้างต่ำและมีความชื้นสูง ทั้งนี้ ประเมินว่าจนถึงสิ้นปีนี้ เวียดนามน่าจะส่งออกข้าวอีก 2-3 แสนตัน ดังนั้น การระบายข้าวของไทยไม่น่าจะมีผลต่อราคาตลาดให้ลดลงมากนัก เพราะไทยเป็นประเทศหลักในการค้าข้าวอยู่ขณะนี้ โดยไทยและเวียดนามต่างมีความเห็นตรงกันว่า ราคาข้าวมีแนวโน้มขยับขึ้นหลังไตรมาสแรกของปี 2552 เพราะมีความชัดเจนว่าความต้องการข้าวของโลกยังอยู่ในปริมาณสูง ต่อไปจะมีการประชุมหารือกันบ่อยขึ้น และมีบทบาทในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือค้าข้าวของโลก ทั้งการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว วางแผนรวมด้านผลิตและจัดทำปฏิทินวางแผนการขายและเป้าหมายที่แตกต่างกัน แต่ตลาดอาจมีความผันผวนได้อีกครั้งหากอินเดียและปากีสถานหันมาส่งออกข้าวอีกครั้งในต้นปีหน้า ส่วนสหรัฐและจีนจะเป็นตลาดผู้ซื้อมากกว่าส่งออกจึงไม่มีผลต่อตลาดโลกมากนัก อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกที่นำรายได้เข้าประเทศมากเป็นอันดับสอง เริ่มได้รับสัญญาณถดถอยหลังจากยอดสั่งซื้อลดลงฮวบในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่กำลังลำบากในสหรัฐฯ เวียดนามก็เช่นเดียวกันกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่มีสหรัฐฯเป็นตลาดใหญ่เสื้อผ้าสำเร็จรูปกับเครื่องนุ่งห่มชนิดต่างๆ มูลค่าส่งออกไปยังประเทศนี้คิดเป็น 55% ของทั้งหมด

เศรษฐกิจที่ย่ำแย่อันเนื่องมาจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่พังทลายเริ่มส่งผลกระทบไปยังตลาดปลายทางอื่นๆ ในโลกอีกด้วย ตามรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเอ็กซ์เพรสภาษาเวียดนาม บริษัทตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกหลายแห่งใน จ.บิ่งซเวือง (Binh Duong) ใกล้นครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางใหญ่แห่งหนึ่งของอุตสาหกรรม ล้วนแต่รายงานตัวเลขสั่งซื้อลดลง ทำให้ต้องลดการผลิตลง 30-40% ไม่เพียงแต่ตลาดเริ่มหดตัวเท่านั้น ผู้ลงทุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติที่ต้องน้ำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเกือบ 100% กล่าวว่าปีนี้ราคาสิ่งของต่างๆ ก็แพงขึ้นเป็นเท่าตัวตามราคาน้ำมันในตลาดโลก นอกจากนั้นปีนี้โรงงานนับร้อยแห่งยังเผชิญกับการนัดหยุดงานที่แผ่ลามในช่วงต้นปีถึงกลางปี โดยคนงานนับหมื่นๆ เรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างและสวัสดิการ อันเนื่องมาจากปัญหาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพพุ่งขึ้นสูง ผู้บริหารบริษัทตัดเย็บเสื้อผ้าหลายแห่งที่เรียงรายกันอยู่ในท้องที่อำเภอรอบนอกนครโฮจิมินห์ รวมทั้งใน จ.ด่งนาย (Dong Nai) ที่อยู่ใกล้เคียงพูดเสียงเดียวกันว่า ตอนนี้กำลังลดการผลิตลง และผลิตเพียงเพื่อรักษาลูกค้ามากกว่าจะเพื่อหวังผลกำไร ปัจจุบันคนงานในภาคการผลิตที่มีจำนวนหลายแสนคนนี้ กำลังเผชิญอนาคตที่ไม่แน่นอน ในช่วง 10 ปีมานี้อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าผุดขึ้นราวดอกเห็ด ยิ่งในช่วงปีใกล้นี้ได้รับอานิสงส์จากนักลงทุนในจีนที่หนีค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นไปยังเวียดนาม รายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้ทะยานขึ้นเป็นอันดับสองรองจากการส่งออกน้ำมันดิบเท่านั้น เพียงแค่ไม่กี่ปีสหรัฐฯ ได้กลายเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็น 45% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด และสินค้าส่วนใหญ่คือเสื้อผ้าสำเร็จรูปกับรองเท้า

เวียดนามเคยรอดพ้นจากวิกฤติการณ์ "ต้มยำกุ้ง" ในปี 2540-2541 เนื่องจากในขณะนั้น เศรษฐกิจของประเทศยังไม่ได้ผนึกรวมเข้าเป็นแก่นเดียวกับเศรษฐกิจโลกเช่นในปัจจุบัน ประเทศนี้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในเดือน ม.ค.ปีที่แล้ว นักวิเคราะห์เชื่อว่าเวียดนามย่อมจะไม่มีทางรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ในสหรัฐฯ สินค้าออกของประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคธรรมดา นอกจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปกับรองเท้าและก็มี น้ำมันดิบ ถ่านหิน อาหารทะเล ข้าว และกาแฟ ซึ่งถ้าหากปริมาณส่งออกลดลง รายได้ก็จะลดลงตามไปด้วย แต่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าส่งออกจะได้รับผลที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น เพราะหมายถึงว่า คนงานนับแสนๆ อาจจะต้องถูกเลิกจ้าง คนเหล่านี้เกือบทั้งหมดเป็นแรงงานจากต่างจังหวัดที่มีพื้นฐานยากจน

ในเวียดนามผู้นำเข้าโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้จัดจำหน่ายด้วย ผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายของเวียดนาม ยังคงมีส่วนสำคัญ ในการกระจายสินค้า และทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในประเทศ นอกจากนี้ผู้นำเข้าของเวียดนาม และตัวแทนจำหน่ายจะเป็นผู้ติดต่อโดยตรงกับห้างร้าน ต่าง ๆ วีธีที่ดีที่สุดในการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวนี้ คือ การแต่งตั้งตัวแทนท้องถิ่นเพื่อนำเข้าสินค้าโดยตรง หรือ เป็นตัวแทนในการนำเข้าจัดจำหน่ายและทำตลาด โดยมีกลยุทธ์ด้านราคาที่มีประสิทธิภาพ และ มีเครือข่ายของการจัดจำหน่าย ผู้นำเข้าส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าจากผู้ส่งออกโดยรวมสินค้าหลาย ๆ ชนิดใน 1 ตู้ Consolidated Container โดยมีจำนวนสินค้าไม่มากนักในแต่ละชนิด และผู้นำเข้าจะขอให้ทำการส่งเสริมการจำหน่ายและโฆษณาสินค้าให้ด้วยพร้อมกับขอสินเชื่อในการชำระสินค้า การส่งเสริมการจำหน่ายในร้านยังคงจำเป็นสำหรับสินค้าที่ยังใหม่สำหรับตลาด การแสดง ณ จุดขาย และสื่อโฆษณาต่าง ๆ ยังคงมีความสำคัญ เพื่อจูงใจผู้บริโภคที่มีความรู้จำกัดเกี่ยวกับสินค้าต่างประเทศ ร้านขายสินค้าปลีกในปริมาณน้อย และตลาดสดยังคงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวเวียดนามจำนวนมาก และมีบทบาทสำคัญในการเป็นช่องทางการจำหน่าย การค้าปลีกแบบดั้งเดิมและแบบท้องถิ่นยังคงยึดตลาดในเวียดนามไปอีกหลาย ๆ ปี อันเนื่องจากระบบการค้าแบบดั้งเดิมยังคงยึดคลังสินค้าและระบบการจัดจำหน่ายไว้ได้ ประกอบกับช่องทางการจัดจำหน่ายของประเทศส่วนมากจะพึ่งพากับช่องทางการตลาดแบบดั้งเดิมนี้อย่างมาก

แนวโน้มช่องทางการจำหน่ายสินค้าในเวียดนามในเมืองใหญ่ ๆ ของเวียดนาม เช่น กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ ไฮฟอง และ ดานัง มีการพัฒนาของร้านค้าสมัยใหม่ ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเมืองอื่นในเวียดนาม ถึงแม้ว่า ตลาดสด และ ร้านขายของชำ ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นช่องทางการจำหน่ายโดยเฉพาะสินค้าอาหาร แต่การเติบโตของ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และ ร้านค้าส่ง ยังคงเพิ่มสูงขึ้นในเขตเมือง เนื่องมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • การเพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่มีรสนิยมทางตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตหัวเมืองใหญ่
  • การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ที่ พ่อ และแม่ต้องทำงานทำให้มีเวลาในการจับจ่ายน้อยลง
  • การทำตลาด ด้วยยุทธวิธี ด้านราคา ส่วนลด และ อื่น ๆ เพื่อจูงใจลูกค้ามาใช้บริการ
  • การที่ผู้บริโภคเลือกที่จะไปใช้บริการด้วยเหตุผลของ ความสะอาด คุณภาพสินค้า
  • การที่ผู้บริโภคนิยมสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ หรือสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตมาแล้ว ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้สอย

จากการที่ประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในสมาชิกสำคัญของ ประเทศอาเซียน ทำให้เวียดนามได้รับสิทธิประโยชน์ และความช่วยเหลือทางการค้าในทางตรงข้ามเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิก (WTO) เมื่อปี 2007 ทำให้ประเทศเวียดนามต้องเปิดประเทศมากขึ้นเพื่อทำการค้ากับต่างชาติ และ ยังต้องลดภาษี และ พัฒนาระบบการค้า ข้อบังคับต่างๆ ให้ทัดเทียมนานาประเทศ

ในขณะที่บริษัทต่างชาติยังถูกจำกัดสิทธิการจัดจำหน่ายในประเทศเวียดนาม บริษัท และ ผู้จัดจำหน่ายและนำเข้าของเวียดนามยังคงมีส่วนสำคัญในการกระจายสินค้าและทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ผู้นำเข้าของเวียดนามยังคงสิทธิที่จะมีตัวแทนจำหน่าย ศูนย์กระจายสินค้า การที่จะเป็นผู้ติดต่อโดยตรงกับห้างร้าน ต่าง ๆ เองอีกด้วย และในบางกรณีผู้นำเข้าของเวียดนามสามารถนำเข้าแบรนด์ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึง Brand loyalty อย่างไรก็ดีทางร้านค้าชั้นนำ ได้เลือกที่จะนำเข้าโดยตรงจากผู้ส่งออกชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย เช่น ผลไม้ เนื้อสัตว์ และ ผัก และประกอบกับประชากรทั่วไปมีอำนาจการซื้อต่ำ ร้านค้าปลีกทันสมัยโดยทั่วไปจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยตรง

เวียดนามเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าประมงได้มากเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยในปี 2550 ผลิตได้ถึง 4,149 พันตัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ 2,063.8 พันตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 49.7% และเป็นการเพาะเลี้ยงจำนวน 2,085.2 พันตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 50.3% ซึ่งเป็นปีแรกที่ สัดส่วนผลผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงมากกว่าการจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ เพราะอัตราการเติบโตจากช่วงปี 2549—2550 สูงถึง 73% ขณะที่การจับสัตว์น้ำเติบโตเพียง 6.4% ปลาเป็นสัตว์น้ำที่มีปริมาณผลผลิต (คิดจากน้ำหนัก)มากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วน 75.5% ของการจับสัตว์น้ำ และ 71.7% ของการเพาะเลี้ยง ส่วนกุ้งเป็นผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง 77.6% ของผลผลิตกุ้งทั้งหมดของเวียดนามปี 2550 โดยเวียดนามมีโรงงานแปรรูปอาหารทะเลถึง 470 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นโรงงานผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง 296 แห่ง โรงงานถนอมอาหาร ( preserved ) และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้ง32 แห่ง โรงงานผลิต อาหารทะเลกระป๋อง 9 แห่ง และโรงงานปลาป่นสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 17 แห่ง ทั้งนี้ 70% ของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเลของเวียดนามมีการลงทุนอย่างมากเพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการค้ากับต่างประเทศ โรงงานขนาดใหญ่หลายโรงงานได้รับใบรับรองด้านความปลอดภัยของอาหารจากประเทศนำเข้าที่สำคัญ และบางโรงงานก็ได้นำมาตรฐานการควบคุมคุณภาพการผลิต เช่น HACCP GMP และ SSOP เป็นต้น มาใช้แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีโรงงานแปรรูปจำนวนหนึ่งที่ยังมีปัญหาด้าน food safety และมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เวียดนามมีโรงงานประมาณ 246 แห่งที่ผ่านการทดสอบแล้วและสามารถส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปได้และ 34 แห่งได้รับอนุญาตให้ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้ แม้ว่าเวียดนามจะเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารทะเลรายใหญ่ แต่ยังต้องนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิตและ สัตว์น้ำแปรรูป เพื่อการบริโภคในประเทศซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากความต้องการของโรงแรมและภัตตาคาร รวมทั้ง supermarket โดยนำเข้าจากหลายแหล่งด้วยกันคือ นำเข้าปลาสวยงามและพันธุ์ปลาจากจีน ไทย อินโดนีเซีย ไต้หวัน และมาเลเซีย ปลาแซลมอนมีชีวิตจากนอรเวย์และสหรัฐอเมริกา ปลาแช่เย็นและแช่แข็งจากญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย นอรเวย์และประเทศอื่น พันธุ์กุ้งกุลาดำจากจีน สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา กุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งเพื่อการแปรรูปจากจีนและอินเดีย ในปี 2549 เวียดนามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นมูลค่า 95.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากเป็นอันดับ 3 รองจากนอรเวย์ และอินเดีย โอกาสที่ธุรกิจสัตว์น้ำของเวียดนามจะเติบโตยังเป็นไปได้อีกมาก เพราะเวียดนามมีจุดเด่นคือ เวียดนามมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลและแหล่งน้ำที่ยังอุดมสมบูรณ์และสามารถพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อีกมาก มีค่าแรงต่ำ ( เช่น ต้นทุนต่อการ pack กุ้งพร้อมขายของเวียดนามเป็น 0.8 เหรียญสหรัฐ/กิโลกรัม ส่วนไทยมีต้นทุน 2.0 เหรียญสหรัฐ / กิโลกรัม ) รัฐบาลให้การส่งเสริมอย่างจริงจังโดยกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาสาขาประมงจนถึง ปี 2553 แต่ทั้งนี้ ขึ้นกับว่าเวียดนามจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ธุรกิจสัตว์น้ำของเวียดนามมีจุดด้อย คือ ยังขาดเทคโนโลยีการแปรรูปที่ทันสมัย ในส่วนของกุ้งแช่แข็งยังมีปัญหาเรื่อง food safety เพราะไม่สามารถควบคุมคุณภาพการเลี้ยงกุ้งตั้งแต่ต้นน้ำได้ เนื่องจากมีเกษตรกรรายย่อยถึง 80% การทำ contract farming กับเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำยังเป็นไปได้ยากแต่เริ่มทำกับเกษตรกรเลี้ยงกุ้งขาวแล้ว ขาดแรงงานที่มีความชำนาญ เพราะอัตราการเปลี่ยนงานสูงเมื่อเปรียบเทียบกับไทยแล้ว ไทยมีจุดแข็งด้าน food safety เพราะสามารถควบคุมการใช้ ยาปฏิชีวนะ ตั้งแต่ต้นน้ำและไทยมีการพัฒนาทางเทคนิคมากกว่าเวียดนาม แต่ไทยมีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ และค่าแรงโดยเปรียบเทียบที่สูงกว่าเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประชาชนและรัฐบาลก็กำลังตื่นตัวถึงปัญหาสารตกค้างโดยเฉพาะจากสารเคมี จึงมีการรณรงค์ให้ลดการใช้สารเคมีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และปัจจุบันเริ่มมีการทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งออร์แกนิคในเขต Mekong Delta แล้ว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ