เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2551 รัฐบาลอินเดียได้ประกาศ 7 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
1. ปรับลดภาษีสรรพสามิตทุกประเภทลง 4%
- ผลที่คาดหวัง ราคาสินค้าอุตสาหกรรมทุกประเภทจะลดลง อาทิเช่น ราคารถยนต์ รถบรรทุก มอเตอร์ไซค์จะลดลง 3.5% โดยจะส่งผลให้ราคาขายปลีกรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจะถูกลงทันที 8, 000 -45,000 รูปี
2. แผนการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มเติม 200,000 ล้านรูปี
- ผลที่คาดหวัง กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
3. สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (India Infrastructure Finance Company Ltd —IFC) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจะระดมเงิน 100,000 ล้านรูปีโดยการออกหุ้นกู้ปลอดภาษีเพื่อใช้ในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ
- ผลที่คาดหวัง เงิน 100,000 ล้านรูปีจะใช้ไปในโครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจสำคัญทั่วประเทส
4. ธนาคารกลางอัดฉีดเงิน 40,000 ล้านรูปีผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (National Housing Bank) เพื่อส่งต่อไปยังสถาบันการเงินเพื่อการซื้อบ้านสำหรับปล่อยสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านดอกเบี้ยต่ำ
- ผลที่คาดหวัง กระตุ้นให้มีการซื้อบ้านมากขึ้น
5. รัฐบาลแบกรับภาระดอกเบี้ย 2% ในเงินกู้ของภาคธุรกิจส่งออก
- ผลที่คาดหวัง กระตุ้นการส่งออก ส่งผลให้สินค้าส่งออกของอินเดียสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดีขึ้น
6. อนุญาตให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อรถราชการใหม่ได้
- ผลที่คาดหวัง เพิ่มยอดขายรถยนต์ซึ่งเป็นภาคธุรกิจสำคัญของประเทศ
7. อัดฉีดเงิน 70,000 ล้านรูปี ผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาอุสาหกิจขนาดย่อม Small Industries Development Bank of India (SIDBI) พร้อมทั้งยืดระยะเวลาการชำระหนี้ของวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดไมโคร
- ผลที่คาดหวัง วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดไมโครซึ่งเป็นแหล่งว่าจ้างแรงงานหลายล้านตำแหน่ง จะสามารถพยุงตัวให้อยู่รอดได้ต่อไปท่ามกลางกระแสความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปิดกิจการของธุรกิจดังกล่าวในขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้งในปี 2552
ที่มา: http://www.depthai.go.th