ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเป็นชาติที่ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ชาวอิหร่านจึงไม่บริโภคเนื้อสุกรและบริโภคเฉพาะอาหารฮาลาลเท่านั้น ทั้งนี้ชาวอิหร่านเป็นชนชาติที่ให้ความสำคัญด้านการปรุงอาหารเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหาร วิธีการปรุง และรสชาติของอาหาร โดยชาวอิหร่านส่วนมากจะปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน และนิยมรับประทานอาหารที่มีรส เปรี้ยว มัน และเค็ม ส่วนอาหารที่ได้รับความนิยมสูงและบริโภคโดยทั่วไปคือ ที่เรียกว่า กาบาบ (Kabab) ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติของอิหร่าน ประกอบด้วยข้าวสวย เนื้อย่าง มะเขือเทศเผา เนยและโยเกต
ชาวอิหร่านนิยมบริโภคเนื้อเป็นอย่างมาก โดยอาหารทุกมื้อจะต้องมีเนื้อสัตว์ผสมด้วยไม่มากก็น้อย โดยอาหารประเภทเนื้อที่ชาวอิหร่านนิยมประกอบเป็นอาหารคือ กะบาบ (Kabab) ซึ่งมีหลายชนิด อาทิเช่น กะบาบเนื้อบดผสมหัวหอม กะบาบย่างเป็นชิ้น เนื้อแกะซี่โครงย่าง แกะย่าง แพะย่าง ไก่ย่าง และวัวย่าง นอกจากนี้ยังมีอาหารประเภทเครื่องในต้ม ซึ่งนิยมใช้เนื้อแกะและเนื้อแพะมาทำเป็นแกงประเภทต่างๆ หรืออาหารที่เรียกว่า ฮะลีม (Halem) มีลักษณะคล้ายแป้งกวนทำจากเมล็ดข้าวสาลีบดละเอียดผสมกับเนื้อแกะ
ทั้งนี้ ชาวอิหร่านบริโภคเนื้อสัตว์จาก เนื้อวัว เนื้อแพะและเนื้อแกะ ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 59 ของอาหารทั้งหมด โดยการบริโภคเนื้อแพะคิดเป็นร้อยละ 15 ส่วนการบริโภคเนื้อวัวมีปริมาณ 468,000 ตัน ต่อปี นอกจากนี้ เนื้อสัตว์ที่ชาวอิหร่านนำมาประกอบอาหารได้แก่ เนื้อไก่ และเนื้อปลา
สถิติการผลิตเนื้อสัตว์ของประเทศอิหร่านในปี 2004 ที่สำรวจโดยองค์กร FAO สามารถ แสดงได้ดังนี้
- เนื้อวัวและเนื้อลูกวัว ปริมาณ 320,000 ตันต่อปี
- เนื้อไก่ ปริมาณ 825,000 ตันต่อปี
- เนื้อแกะ ปริมาณ 348,000 ตันต่อปี
- เนื้ออูฐ ปริมาณ 11,800 ตันต่อปี
- เนื้อแพะ ปริมาณ 105,000 ตันต่อปี
ปริมาณ จำนวน
(1,000 ตัน) (1,000 หัว)
แกะ / ลูกแกะ 331.19 52,271 แพะ 122.35 25,833 เนื้อแดงอื่นๆ 865 86,680 องค์กร FAO ประเมินสถิติการผลิตเนื้อสัตว์ของอิหร่านในปี 2008 ดังนี้
- เนื้อวัว ปริมาณ 378,000 ตัน
- เนื้อแกะ ปริมาณ 500,000 ตัน
- เนื้อไก่ ปริมาณ 1,652,000 ตัน
ในปี 2008 คาดว่าอิหร่านจะสามารถผลิตเนื้อสัตว์ได้ 2.546 ล้านตัน ปริมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2007 จำนวน 119,000 ตัน ในขณะที่การบริโภคเนื้อสัตว์ของชาวอิหร่านในปี 2008 มีปริมาณ 2.542 ล้านตัน
อิหร่านส่งออกสินค้าปศุสัตว์ประเภทแกะไปประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศในบริเวณอ่าวเปอร์เซีย และประเทศในกลุ่มประเทศอาหรับ อาทิ เช่น กาตาร์ คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ โดยในปี 2006 อิหร่านส่งออกเนื้อสัตว์ในปริมาณ 17,000 ตัน องค์กร FAO คาดว่าก่อนสิ้นปี 2008 อิหร่านส่งออกเนื้อสัตว์ในปริมาณ 25,000 ตัน และคาดว่าในปี 2009 จะส่งออกได้ในปริมาณ ประมาณ 27,000 ตัน
อิหร่านนำเข้าเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแช่แข็งไม่รวมสัตว์ปีกจากประเทศบราซิล อินเดีย และประเทศบิลารูซ โดยในปีงบประมาณปัจจุบัน (มีนาคม-พฤศจิกายน 2551) อิหร่านนำเข้าเนื้อแช่แข็งแล้วในปริมาณ 59,000 ตัน แยกเป็นการนำเข้าเนื้อแช่แข็งจากประเทศบราซิล 10,500 ตัน อินเดีย 112 ตัน และจากประเทศบิลารูซ 20 ตัน ซึ่งในจำนวนนี้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆปริมาณ 25,000 ตัน นอกจากนี้ อิหร่านยังมีนโยบายที่จะนำเข้าเนื้อสัตว์จากประเทศมองโกเลียอีกด้วย
ทั้งนี้ องค์กร FAO คาดว่าอิหร่านจะนำเข้าเนื้อสัตว์จนถึงสิ้นปี 2008 ในปริมาณ 150,000 ตัน แยกเป็นการนำเข้าเนื้อวัวแช่แข็งปริมาณ 100,000 ตัน และเนื้อไก่แช่แข็ง 50,000 ตัน ทั้งนี้อิหร่านไม่มีการนำเข้าเนื้อแกะและเนื้อแพะจากต่างประเทศราคา
ราคาเนื้อแกะสดในตลาดอิหร่านปัจจุบัน (ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2551) ขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 14.18 โดยราคาขายเนื้อแกะสดในท้องตลาดอิหร่านอยู่ระหว่าง 84,500- 88,300 เรียลต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 290-310 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาเนื้อวัวและเนื้อลูกวัวเทียบกับราคาเนื้อแกะสดในช่วงเดียวกันมีแนวโน้มลดลงในอัตราส่วนร้อยละ 0.37
สภาพการณ์ตลาดเนื้อในอิหร่านปัจจุบันซึ่งใกล้กับช่วงเทศกาลวันตรุษอัฎฮาหรืออีดกรุบาน (Eid-e Ghurban หรืองานฉลองส่งท้ายการแสวงบุญซึ่งจะมีการเชือดสัตว์พลีทาน) ราคาขายปลีกมีแนวโน้มขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ ในขณะที่ราคาเนื้อสัตว์แช่แข็งในตลาดอิหร่านเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ราคาขยับตัวสูงขึ้นในอัตราส่วนร้อยละ 20 ส่วนราคาเนื้อวัวสดเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาขยับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15 นอกจากนี้ ราคาเนื้อสัตว์ในตลาดอิหร่านช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2551 ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาราคาขยับตัวสูงขึ้นร้อยละ 26
ทั้งนี้ รัฐบาลอิหร่านมีมาตรการควบคุมราคาตลาดเนื้อสัตว์ในประเทศโดยได้นำเข้าเนื้อสัตว์ฮาลาลจากประเทศบราซิลเพิ่มขึ้น เพื่อสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศ
รายงานจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน
Upload Date : ธันวาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th