รัฐบาลญี่ปุ่นนำ Eco Action Point มาใช้กระตุ้นพฤติกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้บริโภค

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 16, 2008 16:53 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สภาวะโลกร้อนที่ทวีอุณหภูมิสูงขึ้นทุกปีได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตของเรามากขึ้นจนกลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่หารือกันในเวทีการประชุมต่างๆ ขณะเดียวกันรัฐบาลของประเทศพัฒนาทั้งหลายต่างก็วางเป้าหมายที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซพิษ หรือก๊าซเรือนกระจากลง ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ภาครัฐให้ความสนใจและรณรงค์โดยใหภ้ คอุตสาหกรรมกำหนดเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์โดยสมัครใจ แม้กระนั้น ก็ยังพบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission) ในญี่ปุ่นยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ในปีงบประมาณ 2550 เทียบกับเมื่อปีงบประมาณ 2533 ยิ่งกว่านั้นพบว่าปริมาณก๊าซพิษที่เกิดจากครัวเรือนได้เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 30 รัฐบาลโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่นและบริษัทผู้ประกอบการประมาณ 20 ราย เช่น บริษัทค้าปลีกเครื่องไฟฟ้า รถไฟห้างสรรพสินค้า ธนาคาร บริษัทนำเที่ยวและบริษัทอสังหาริมทรัพย์ จึงได้ริเริ่มการรณรงค์ระบบ “Eco Action Point System” ในกลุ่มผู้บริโภค

“Eco Action Point System” เป็นการเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโลกร้อน และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากครัวเรือน การสะสมแต้ม ทำได้เมื่อเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการจะกำหนดคะแนนที่ผู้ซื้อจะได้รับเมื่อเลือกซื้อสินค้าแต่ละชนิดที่ลดภาวะโลกร้อน ได้แก่ Recycle goods การใช้รถไฟที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่า การเข้าร่วมกิจกรรมที่ช่วยลดโลกร้อน เช่น การลงทุนปลูกต้นไม่ ผู้ซื้อหรือเข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับคูปองสะสมคะแนนโดยการลงทะเบียนผ่านเวปไซด์ เมื่อสะสมคะแนนได้ตามที่กำหนดก็จะได้รับสินค้า หรือบริการตามที่ระบุ สินค้าที่ให้เป็นรางวัล ก็ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เช่น สะสมได้ 2,500 คะแนนแลกซื้อวิทยุที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือสามารถบริจาคคะแนนเข้าโครงการลดภาวะโลกร้อนที่องค์กรต่างๆจัดขึ้น

ภายใต้โครงการที่กระตุ้นเอกชนให้รับรู้และเข้าร่วมการลดภาวะโลกร้อนที่รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการอยู่นี้ได้ให้เอกชนที่ร่วมโครงการจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าสินค้าและบริการที่ใช้เป็นรางวัล และได้ภาพลักษณ์ที่ดีของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคมเป็นสิ่งตอบแทน

โครงการที่ริเริ่มมาได้รับความสนใจจากผู้บริโภคจำนวนมากและทุกคนแสดงความต้องการจะเข้าไปมีส่วนร่วมลดปัญหามลภาวะเป็นพิษของโลก กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นจึงวางแผนจะขยายกิจกรรม โดยเพิ่ม 2 จำนวนบริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนเพิ่มจำนวนผู้บริโภคที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ เป็น 50 บริษัท และ 10 ล้านคนภายในปี 2552

ชาวญี่ปุ่นโดยพื้นฐานมีความสนใจในปัญหาของสังคมและต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการลดปัญหาโลกร้อน กิจกรรมรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ภาครัฐและเอกชนญี่ปุ่นริเริ่มขึ้น เช่น Carbon Footprint (การบอกจำนวนก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากขบวนการผลิตบนบรรจุภัณฑ์สินค้าเพื่อให้) การกำหนดให้บริษัทผู้ผลิตตั้งเป้าลดจำนวนปล่อยก๊าซคารบอนโดยสมัครใจ และ Eco Action Point System (การสะสมแต้ม) เชื่อว่าจะสร้างความตื่นตัวให้ประชาชนหันมาใส่ใจต่อข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเสียที่เกิดในขบวนการผลิตสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะต่อๆไป สลาก Carbon Footprint และภาพลักษณ์ของบริษัทด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นข้อมูลหนึ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อสร้างความได้เปรียบและจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ