สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - สหราชอาณาจักร ปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 17, 2008 11:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : London
พื้นที่           :   244,100 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ    :   English
ประชากร       :   60.6 ล้านคน (2006)
อัตราแลกเปลี่ยน  :   1 GBP  =  52.026 บาท (8/12/51)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                           8.5         8.9
Consumer price inflation (av; %)             14.0        12.0
Budget balance (% of GDP)                    11.1         8.9
Current-account balance (% of GDP)           19.4        17.2
Exchange rate ฅ:US$ (av)                     3.67        3.67

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับสหราชอาณาจักร
                                   มูลค่า :        สัดส่วน%      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                  2,925.36       100.00         11.18
สินค้าเกษตรกรรม                      472.48        16.15         49.82
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              251.71         8.60         15.68
สินค้าอุตสาหกรรม                    2,052.64        70.17          1.13
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   148.54         5.08      2,320.82
สินค้าอื่นๆ                                 0            0          -100

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับสหราชอาณาจักร
                                    มูลค่า :       สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                          1,367.97       100.00         24.80
สินค้าเชื้อเพลิง                            2.31         0.17          7.15
สินค้าทุน                               496.63         36.3         42.72
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                539.43        39.43         28.19
สินค้าบริโภค                            282.23        20.63         34.39
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง              46.25         3.38         43.61
สินค้าอื่นๆ                                1.12         0.08        -98.65

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - สหราชอาณจักร
                           2550            2551       D/%

(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             3,727.29        4,293.33    15.19
การนำเข้า                 1,096.15        1,367.97    24.80
การส่งออก                 2,631.14        2,925.36    11.18
ดุลการค้า                  1,534.99        1,557.39     1.46

2. การนำเข้า

ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดสหราชอาณาจักร เป็นอันดับที่ 24 มูลค่า 1,367.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                    1,367.97           100.00         24.80
1. เครื่องจักรกล                        223.20            16.32         79.30
2. เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่                 113.09             8.27         65.62
3. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี                106.08             7.75         87.62
4. เครื่องคอมพิวเตอร์                     96.67             7.07      1,139.13
5. เคมีภัณฑ์                             92.25             6.74         57.56
             อื่น ๆ                    145.29            10.62        -32.31

3. การส่งออก

ประเทศไทยส่งออกไปตลาดสหราชอาณาจักร เป็นอันดับที่ 11 มูลค่า 2,925.36 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.18 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                    2,925.36          100.00         11.18
1. ไก่แปรรูป                           336.99           11.52         59.92
2. รถยนต์ อุปกรณ์                       251.99            8.61         -5.16
3. อัญมณี และเครื่องประดับ                197.11            6.74         38.27
4. เครื่องคอมพิวเตอร์                    183.54            6.27        -22.23
5. น้ำมันสำเร็จรูป                       148.47            5.08      3,721.06
             อื่น ๆ                    592.50           20.25         -9.62

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหราชอาณาจักร ปี 2551 (มค.-กย.) ได้แก่

ไก่แปรรูป : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 45.95 25.34 25.34 และ 59.92 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ปี 2551 (มค.-กย.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 5.16 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อัญมณีและเครื่องประดับ : สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2548 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-2.38%) ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 33.59 12.97 38.27 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ปี 2551 (มค.-กย.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 25.96 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

น้ำมันสำเร็จรูป : สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ปี 2551 (มค.-กย.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3,721.06 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร ปี 2551 (มค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 5 รายการ คือ

    อันดับที่ / รายการ           มูลค่า           อัตราการขยายตัว    หมายเหตุ
                         ล้านเหรียญสหรัฐ             %
1.  ไก่แปรรูป                 336.99              59.92
5.  น้ำมันสำเร็จรูป             148.47           3,721.06
11. รถจักรยานยนต์              79.78              98.64
17. ข้าว                      40.68             102.53
24. เลนซ์                     30.02              57.48

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 9 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                      มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                ล้านเหรียญสหรัฐ             %
2. รถยนต์ อุปกรณ์                     251.99              -5.16
4. เครื่องคอมพิวเตอร์                  183.54             -22.23
8. เฟอร์นิเจอร์                       109.18              -1.44
12. ผลิตภัณฑ์พลาสติก                    71.49              -8.06
14. ผลิตภัณฑ์ยาง                       52.66              -2.55
16. เครื่องใช้ไฟฟ้า                     41.55             -24.53
19. รองเท้า และชิ้นส่วน                 39.85             -27.80
21. เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร               36.59              -1.82
22. เหล็ก เหล็กกล้า                    34.06             -28.87

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

กระแสแฟชั่นในขณะนี้ มีมากมายไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นย้อนยุคในช่วงยุค 70—80 แต่ด้วยเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก วัตถุดิบต่างๆ ที่นำมาประกอบเป็นเครื่องประดับ ก็มีผลต่อกระแสแฟชั่นเครื่องประดับด้วยเช่นกัน อย่างในสหราชอาณาจักรเป็นต้น ที่วัตถุดิบที่นำมาใช้ทำตัวเรือนอย่างโลหะเงินเกิดการเติบโตอย่างรวดเร็ว ยอดการซื้อเครื่องประดับเงินเติบโตอย่างต่อเนื่องในสหราชอาณาจักร ด้วยแรงกระตุ้นจาก “แฟชั่น” เครื่องประดับเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์ดัง และร้านเครื่องประดับแบบดั้งเดิมทั่วประเทศแต่เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้เครื่องประดับเงินเติบโตในตลาดสหราชอาณาจักร คือ ราคาทองคำที่ถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แฟชั่นทองขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทอง 9 กะรัต ถูกเบียดตกขอบกระแสแฟชั่นออกจากชั้นวางสินค้าตามร้านต่างๆ และได้เครื่องประดับเงินเข้ามาแทนที่ The Silver Institute ยืนยันในรายงานฉบับล่าสุดเมื่อเดือนเม.ย. 2008 ว่า การที่ความต้องการเครื่องประดับเงินเพื่อการค้าปลีกเพิ่มขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากส่วนแบ่งตลาด “ที่ได้รับมาจากทองขาว ซึ่งมียอดขายต่ำลงหลังจากราคาขายปลีกเพิ่มสูงขึ้น” และสถานการณ์นี้นำไปสู่ “กระแสแฟชั่นแบบกลายๆ” จากการที่แบรนด์ต่างๆ พากันผลักดันและส่งเสริมเครื่องประดับเงิน การผลักดันแฟชั่นเครื่องประดับเงิน ทำหน้าที่กำหนดคำจำกัดความใหม่ให้แก่รูปแบบเครื่องประดับ ในสหราชอาณาจักรยุคสมัยของเครื่องประดับทอง 9 กะรัต ชิ้นเล็กบอบบางซึ่งแทบไม่มีการออกแบบ หรือไม่มีการออกแบบเลยนั้นได้จบสิ้นไปแล้ว และถูกแทนที่ด้วยเครื่องประดับขนาดใหญ่ที่โดดเด่นสะดุดตา ส่วนใหญ่ประดับด้วยคิวบิกเซอร์โคเนีย คริสตัล และอัญมณีธรรมชาติสีต่างๆ หรือแม้กระทั่งเพชรความเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นในงานออกแบบ และระดับราคาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเสนอภาพสินค้า และการวางตำแหน่งทางการตลาดด้วย ผู้ผลิตกล่าวว่า เครื่องประดับเงินไม่ได้มีเป้าหมายจำกัดอยู่เฉพาะหนุ่มสาวอีกต่อไป แต่กำลังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาดผู้ซื้อที่มีอายุมากขึ้นในระดับสูงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องประดับเงินที่มีเพชรด้วยนั้น สามารถดึงดูดตลาดบนได้เป็นอย่างดี ซึ่งสถานการณ์นี้นำไปสู่การสร้างแบรนด์เครื่องประดับเงินและเพชรหลายแบรนด์ และหนึ่งในแบรนด์ยอดนิยมได้แก่ Hot Diamonds ซึ่งเริ่มเปิดตัวในช่วงสหัสวรรษใหม่ และถึงตอนนี้ก็ทำยอดขายได้เป็นอย่างดี และสินค้าขายดีกลุ่มหนึ่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อนปี 2008 นี้ ได้แก่ Amitie หรือแหวนเชื่อมความสัมพันธ์ ซึ่งแสดงถึงมิตรภาพ ความร่วมมือร่วมใจ และความผูกพันในครอบครัว โดยมีราคาขายปลีกตั้งแต่ 150 ปอนด์ สำหรับแหวนเงินเกลี้ยงไปจนถึง 180 ปอนด์ สำหรับแหวนประดับอะเมทิสต์ แหวนในชุดนี้มีทั้งแหวนสำหรับแม่ให้ลูกสาว หรือสำหรับเพื่อนไว้มอบให้แก่กัน ซึ่งโฆษกของบริษัท กล่าวว่า Wisterria ซึ่งประกอบด้วยม่านรูปใบไม้ที่แกว่งไปมาได้ทำจากเงินและทอง 18 กะรัต ในราคาประมาณ 200 ปอนด์ และชุด Sirens ซึ่งมีรูปปลาและงานออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโลกใต้ทะเลก็ขายดีเช่นกัน ส่วน Purity Pearl ซึ่งผสมผสานไข่มุกน้ำจืดเข้ากับกลีบบัวเงิน ก็เป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้บริโภคที่ชอบความทันสมัย

ไอร์แลนด์ถือเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าอาหารไทย ซึ่งถึงแม้ว่าประเทศ ไอร์แลนด์จะมีจำนวนประชากรเพียง 4 ล้านคนแต่ก็นับเป็นประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 5.3 ในรอบ 6 ปี ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในยุโรปอื่นๆ ขณะที่ในปี 2550 ไอร์แลนด์ยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตที่ร้อยละ 4.8 ส่งผลให้ชาวไอริชมีรายได้ต่อหัว (GDP per capita) ในปี 2549 สูงถึง 41,000 เหรียญสหรัฐฯ สูงเป็นอันดับที่สองในสหภาพยุโรปรองจากลักเซมเบอร์ก และสูงเป็นอันดับที่สี่ในโลก ชาวไอริชรู้จักประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากที่ชาวไอริชนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น โดยในปี 2550 มีจำนวนชาวไอริชมากกว่า 70,000 คนเดินทางไปยังประเทศไทย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 20 จากปีก่อนหน้า และจากการที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอนได้เดินทางไปสำรวจตลาดและเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าด้านอาหารของไอร์แลนด์ Taste of Dublin ณ กรุงดับลิน ระหว่างวันที่ 12-17 พฤษภาคม 2551 พบว่าชาวไอริชมีความนิยมอาหารไทยกันมากจนปัจจุบันอาหารไทยเป็นที่นิยมสูงสุดในหมู่อาหารจากเอเชีย และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อีกมาก ในส่วนของซุปเปอร์มาเก็ตที่จำหน่ายสินค้าอาหารจากเอเชียที่เดิมจำหน่ายสินค้าอาหารจากจีนเป็นหลัก ได้เพิ่มรายการสินค้าอาหารจากไทยมากขึ้นจนถึงร้อยละ 50 ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการรายใหญ่ของไอร์แลนด์ บริษัท H.B.V. (Ireland) ซึ่งเจ้าของเป็นชาวฮ่องกง ดำเนินธุรกิจนำเข้า ค้าส่ง/ค้าปลีก โดยเปิดซุปเปอร์มาเก็ตสินค้าอาหารจากเอเชีย Asia Market มีโกดังขนาดใหญ่ 3 แห่งเพื่อเก็บสินค้าและส่งให้รายย่อยทั่วประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งเปิดกิจการมามากกว่า 10 ปีให้ความเห็นว่าเกี่ยวกับสินค้าอาหารไทย ดังนี้

  • จากเดิมที่อาหารจีนได้รับความนิยมสูงสุด ในปัจจุบันอาหารไทยได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก สินค้าอาหารไทยที่ชาวไอริชนิยมได้แก่ กะทิสำเร็จรูป ซอสปรุงรส ได้แก่น้ำปลา และน้ำจิ้มไก่ เครื่องแกงสำเร็จรูป
  • สินค้าอาหารของไทยมีจุดแข็งที่คุณภาพที่ดีกว่าและบรรจุภัณฑ์สวยงามและใช้วัสดุที่ดีกว่า
  • ข้าวหอมมะลิ ยังคงเป็นที่รู้จักค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับข้าวบัสมาติ หรือข้าวเมล็ดยาวชนิดอื่นๆ และชาวไอริชยังคงนิยมบริโภดข้าวที่มีความแข็งมากกว่าข้าวหอมมะลิซึ่งมีความนุ่มมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งข้าวหอมมะลิมีราคาสูงกว่ามาก
  • สัปะรดกระป๋องจากไทยมีคุณภาพดีและยังสามารถทำตลาดได้อีกมาก แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาด้านปริมาณที่ผู้ส่งออกไม่สามารถส่งให้ได้เพียงพอต่อความต้องการ จึงต้องหันไปนำเข้าจากเวียดนามมากขึ้น

ไอร์แลนด์นับเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารไทยและสินค้าอาหารไทย เช่น น้ำปลา น้ำจิ้มไก่ ซอสปรุงรส เครื่องแกง ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการประกอบธุรกิจยังคงมีอุปสรรคทั้งในด้านการขนส่งสินค้าซึ่งยังคงไม่มีเที่ยวบินตรงและเส้นทางขนส่งทางเรือยังคงต้องผ่านท่าเรือหลักในยุโรปก่อนซึ่งส่งผลให้สินค้ามีราคาสูงและใช้เวลาในการขนส่งนาน รวมถึงอุปสรรคในด้านการขอใบอนุญาตการทำงานให้กับพ่อครัวจากประเทศไทยไปทำงานในไอร์แลนด์ ซึ่งภาครัฐจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาซึ่งต้อง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกประเด็นขึ้นเจรจาทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีต่อไป

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ