สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก ขอรายงานภาวะการค้าระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU)ในช่วง 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม) ปี 2551 เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยมูลค่า 3,461.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +11.24 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันปี 2550 (มูลค่า 3,111.5 ล้านเหรียญฯ) และคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 91.06 ของมูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย ปี 2550 (3,801 ล้านเหรียญฯ)
1. เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์กับไทย-สหภาพยุโรป (25 ประเทศ)
ในช่วง 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม) ปี 2551 มีอัตราส่วนแบ่งตาม ตารางที่ 1 ดังนี้
ลำดับ ประเทศ มูลค่า(ล้าน USD) ส่วนแบ่ง (%) สหภาพยุโรป 19,438.40 100.00 1 เนเธอร์แลนด์ 3,461.20 17.79 2 อังกฤษ 16.78 3 เยอรมนี 13.30 4 อิตาลี 8.91 5 ฝรั่งเศส 8.13 เนเธอร์แลนด์นำเข้าสินค้าไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง (ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศ) อย่างต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี 2550 ทั้งนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากการที่
1) ผู้นำเข้าดัชท์มีความเชื่อมั่นในศักยภาพโดยรวมของสินค้าไทย ซึ่งมีสถานะเหนือคู่แข่งด้วยการเน้นผลิต สินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป
2) สินค้าไทยมีการพัฒนารูปแบบ การออกแบบดีขึ้น มีศักยภาพในการผลิตสินค้าประเภท Tailor Made ผู้ผลิต/ส่งออกมีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ฯลฯ ทำให้เป็นที่ยอมรับ สามารถจำหน่ายและกระจายไปได้ทั่วสหภาพฯ
ดังนั้น สิ่งที่ผู้ผลิต/ส่งออกไทยต้องเน้นและให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน ด้านคุณภาพ การออกแบบ การวิจัยและพัฒนาสินค้า(R&D) การฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้และเชี่ยวชาญ รวมทั้งระบบ Logistics ที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร เพื่อนำเสนอสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ รายการใหม่ ๆ ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มี ขบวนการผลิตที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด ซึ่งจะใช้เป็นจุดขายและประชาสัมพันธ์ได้อย่างดี ทั้งยังเป็นปัจจัย สำคัญดึงดูดให้ผู้นำเข้าดัชท์เพิ่มความสนใจสั่งซื้อเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่าง (Differentiation) และ Create Demand นอกจากนี้ในปัจจุบัน จีนประสบปัญหาการผลิตสินค้าส่งออกที่ด้อยมาตรฐาน ถูกเรียกคืนจากสหรัฐฯ และสหภาพฯ เป็นประจำ ผู้ผลิต/ส่งออกไทยควรเร่งใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าวโดยด่วน และสินค้าไทยก็ยังมีชื่อเสียงอยู่ในเกณฑ์ ดีกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าจีน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาผู้นำเข้าดัชท์หลายรายที่เคยนำเข้าจากจีนติดต่อ สคต. ณ กรุงเฮก สนใจนำเข้าจากไทยโดยเน้นสินค้าคุณภาพและมีการออกแบบทันสมัย ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สำนักงานฯ ณ กรุงเฮก ขอเรียนว่า ประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ต่างปรับตัวตลอดเวลา เพื่อขยายการส่งออกและช่วงชิง
ส่วนแบ่งตลาด เช่น ผลิตสินค้าคุณภาพสูง พัฒนาการออกแบบ มุ่งตลาดบน/ผู้มีฐานดี ฯลฯ
2. สรุปเป้าหมายการส่งออกของไทยในปี 2551 ตามตารางที่ 2 (หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ประเทศ การส่งออกจริง เป้าหมายการส่งออก อัตราการ การส่งออกช่วง อัตราการขยายตัว ปี 2550 ปี 2551 ขยายตัว(%) ม.ค.-ก.ย.2551 ในช่วง 9 เดือน (%) เนเธอร์แลนด์ 3,801.00 4,067.07 7.00 3,461.20 85.10 ปี 2551 กรมส่งเสริมการส่งออก ตั้งเป้าการส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ให้มีอัตราการเติบโตร้อยละ 7 อัตราการขยายตัว เมื่อเทียบ
1) 10 เดือนปี 2551 กับช่วงเดียวกันปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.24
2) เป้าหมายปี 2551 ตั้งเป้าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7 นับว่าการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ ขยายตัวสูงกว่าทั้งปี
3) เป้าหมายที่กำหนดไว้ตาม 2) มีอัตราขยายตัวร้อยละ 85.10
ทั้งนี้ เพื่อเอื้ออำนวยให้การส่งออกของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกำหนด ยุทธศาสตร์สินค้าอย่างครบวงจร ครอบคลุมการพัฒนาระบบ Logistics อย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดแนวทางและ ดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพ การรักษาค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเสริมการค้า ระหว่างประเทศ
1) การส่งออกของไทย -ในช่วงดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,461.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +11.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 (มูลค่า 3,111.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
2) การนำเข้าของไทย — ไทยนำเข้าสินค้าจากเนเธอร์แลนด์ มูลค่ารวม 967.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +34.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 (มูลค่า 717.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
3) ดุลการค้า - ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับเนเธอร์แลนด์ในช่วง 10 เดือน ปี 2551 มูลค่า 2,493.9 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +4.17 (ปี 2550 มูลค่า 2,393.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
2550 2551 % (ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.)* เพิ่ม/ลด การค้ารวม 3,829.10 4,428.50 15.65 ไทยส่งออก 3,111.50 3,461.20 11.24 ไทยนำเข้า 717.60 967.30 34.80 ดุลการค้า 2,393.90 2,493.90 4.17 3.2 สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก 1) ภาพรวมสินค้าที่ไทยส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป ตารางที่ 4 : รายการสินค้าที่ไทยส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ 10 อันดับแรกในช่วง 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม) ปี 2551 ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า อัตรา
(ม.ค.-ต.ค. 2550)* การขยายตัว
(ล้าน USD) (%) 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1,175.00 7.97 2 แผงวงจรไฟฟ้า 258.80 -27.81 3 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 257.20 3.91 4 ไก่แปรรูป 126.90 93.48 5 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 104.00 -6.28 6 เลนส์ 93.30 21.62 7 เคมีภัณฑ์ 86.00 149.74 8 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 85.00 23.38 9 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 85.00 11.14 10 ข้าว 73.30 156.02
ข้อสังเกต : มูลค่าการส่งออกรวมในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ เดือน ต.ค. 51 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี ชะลอลงมา จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี เป็นผลจากการชะลอตัวและหดตัวของการส่งออกสินค้าหลัก โดยการส่งออกสินค้า เกษตรกรรมชะลอตัวจากร้อยละ 46.1 ต่อปี เป็นร้อยละ 17.4 ต่อปี จากปริมาณการส่งออกข้าวที่หดตัวลง ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกขยายตัวชะลอตัวลงมาก จากร้อยละ 13.9 ต่อปีในเดือนก่อนหน้าเป็นร้อยละ 0.8 ต่อปี โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเครื่องอิเล็ก ทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20.0 และร้อยละ 11.2 ของการส่งออกรวม มีอัตราหดตัวถึงร้อยละ -4.2 และ ร้อยละ -16.0 ต่อปี เป็นผลจากภาวะชะลอตัวและถดถอยของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งนี้การขยายตัวของการส่งออกสินค้า เป็นผลจากการขยายตัวด้านราคาร้อยละ 8.0 ต่อปี และการหดตัวด้านปริมาณร้อยละ -2.6 ต่อปี
เพิ่มขึ้น 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 7.97) เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 3.91) ไก่แปรรูป (ร้อยละ 93.48) เลนซ์ (ร้อยละ 21.62) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 149.74) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 23.38) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 11.14) ข้าว (ร้อยละ 156.02) เครื่องจักรกล และส่วนประกอบของเครื่องจักร (ร้อยละ 80.14) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 24.07)
ลดลง 10 อันดับแรก ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ —27.81) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ -6.28) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —31.72) ผ้าผืน (ร้อยละ —10.96) รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ -9.45) เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ (ร้อยละ —7.58) ผลิตภัณฑ์พลาสติก (ร้อยละ —4.11) ดีบุก (ร้อยละ -2.15) วงจรพิมพ์ (ร้อยละ -65.84) เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ —2.04)
รายละเอียดสินค้าโดยสรุป 5 รายการแรก
เพิ่มขึ้น เช่น ข้าว (ร้อยละ 156.02) ยางพารา (ร้อยละ 71.57) ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 13.79) ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ 3.06) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ 20.48)
ลดลง มี 4 รายการ จากรวม 150 รายการ เช่น ดีบุก (ร้อยละ -2.15) ฝ้าย (ร้อยละ —44.79) ธัญพืช (ร้อยละ —35.27) กระดูกสัตว์และขนสัตว์ปีก (ร้อยละ —98.77) กุ้งต้มสุกแช่เย็น (ร้อยละ —100.00)
เพิ่มขึ้น เช่น ไก่แปรรูป (ร้อยละ 93.48) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 23.38) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 24.07) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ (ร้อยละ 59.78) ผักกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 60.04)
ลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ -6.28) เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ (ร้อยละ —7.58) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (ร้อยละ —4.40) โกโก้และของปรุงแต่ง (ร้อยละ —92.57) ซุปและอาหารปรุงแต่ง (ร้อยละ —11.61)
เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 7.97) เครื่องใช้ไฟฟ้าและ ส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 3.91) เลนซ์ (ร้อยละ 21.62) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 149.74) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 11.14)
ลดลง เช่น แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ —27.81) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —31.72) ผ้าผืน (ร้อยละ —10.96) รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ —9.45) ผลิตภัณฑ์พลาสติก(ร้อยละ —4.11)
ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์มูลค่า 967.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +34.80 เมื่อเทียบกับการนำเข้า ในช่วงเดียวกันปี 2550 (มูลค่า 717.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและ ส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
ลำดับ รายการสินค้า มูลค่า อัตรา
(ม.ค.-ต.ค. 2551)* การขยายตัว
(ล้าน USD) (%) 1 แผงวงจรไฟฟ้า 175.2 6.70 2 เคมีภัณฑ์ 135.4 36.57 3 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 127.9 316.19 4 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 90.3 293.51 5 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 73.9 -25.31 6 ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม 36.0 53.73 7 ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ 34.4 18.02 8 ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก 33.4 20.45 9 สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 26.1 8.33 10 เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ 22.8 -8.94 4. ภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย 5 รายการ (อันดับ 6 — 10) ในตลาดเนเธอร์แลนด์ ช่วง 6 เดือน (มกราคม — มิถุนายน) ปี 2551 ดังตารางที่ 7 ตาราที่ 3 : ภาวะการแข่งขันของสินค้าไทย 5 รายการ (อันดับ 6 -10)ในตลาดเนเธอร์แลนด์ 6 เดือน (มกราคม — มิถุนายน) ปี 2551 (หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ) อันดับ รหัสสินค้า การนำเข้ารวม 10 ประเทศแรกที่นำเข้ามาก มูลค่า อัตราเปลี่ยนแปลง ประเทศ & มูลค่า อัตราฯ ส่วนแบ่ง ( +-%) ( +-%) (%) 6 200949 ( Pineapple Juice, Nt Fort, Unf) 51.01 7.12 ไทย 26.00 18.68 50.98 คอสตาริกา 5.02 37.81 9.84 เคนยา 4.43 33.48 8.69 ฟิลิปปินส์ 3.48 -26.44 6.83 อินโดนีเซีย 3.39 -12.25 6.65 บราซิล 2.43 8.29 4.78 อัฟริกาใต้ 1.48 -26.00 2.91 อังกฤษ 1.31 -40.96 2.58 เวียดนาม 1.09 14.05 2.14 เยอรมนี 0.42 -0.75 0.83 จีน (อันดับ 18) 0.15 44.23 0.31 7 401110 ( Motor Cars) 687.90 -2.19 เบลเยี่ยม 109.22 -10.00 15.88 เกาหลีใต้ 73.92 -9.13 10.75 เยอรมนี 72.22 -21.48 10.50 ฝรั่งเศส 61.97 54.30 9.01 จีน 49.72 3.29 7.23 สหรัฐอเมริกา 38.33 21.80 5.57 ญี่ปุ่น 37.35 5.05 5.43 อิตาลี 33.13 -14.3 4.82 สเปน 27.28 11.14 3.97 อังกฤษ 18.87 34.42 2.74 (อันดับ 13) สิงคโปร์ 15.84 -22.19 2.30 (อันดับ 14) ไต้หวัน 13.74 -8.79 2.00 (อันดับ 15) ไทย 13.69 158.27 1.99 (อันดับ 21) อินโดนีเซีย 4.76 -9.88 0.69 8 291811 ( Lactic Acid, Salt + Es) 49.05 172.35 ไทย 30.93 0* 63.05 บราซิล 8.60 47.32 17.54 สเปน 3.94 -49.27 8.04 เบลเยี่ยม 3.88 89.93 7.93 เยอรมนี 0.71 34.88 1.45 จีน 0.50 -29.55 1.02 อังกฤษ 0.31 -21.65 0.65 เดนมาร์ก 0.05 -55.45 0.10 อิตาลี 0.038 2017.33 0.08 สหรัฐอเมริกา 0.034 -92.22 0.07 9 390740 (Polycarbonates) 128.45 23.16 เยอรมนี 48.52 13.85 37.77 ญี่ปุ่น 21.07 170.10 16.40 สเปน 16.48 92.14 12.83 สิงคโปร์ 14.35 -33.49 11.18 สหรัฐอเมริกา 13.71 85.96 10.68 ไทย 4.48 95.67 3.49 เกาหลีใต้ 2.77 -15.44 2.16 จีน 2.02 323.41 1.58 ไต้หวัน 1.40 79.79 1.09 เบลเยี่ยม 1.09 -75.99 0.86 (อันดับ 12) มาเลเซีย 0.56 0* 0.44 10 800110 ( Tin, Unworught, Not Alloyed) 315.04 48.90 อินโดนีเซีย 146.37 32.81 46.46 เปรู 70.26 98.94 22.30 ไทย 27.09 296.19 8.60 สิงคโปร์ 19.20 104.22 6.10 อังกฤษ 18.50 22.82 5.87 จีน 10.08 -67.16 3.20 มาเลเซีย 9.61 0* 3.05 โบลิเวีย 4.41 526.40 1.40 ชิลี 2.71 0* 0.86 โปแลนด์ 2.45 49.52 0.78 (อันดับ 12) เวียดนาม 0.67 -44.73 0.21 * ไม่มีการนำเข้าในช่วงเดียวกัน ปี 2550
ที่มา: http://www.depthai.go.th