สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - ตะวันออกกลาง ปี 2551 (ม.ค.—ต.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 19, 2008 11:34 —กรมส่งเสริมการส่งออก

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับตะวันออกกลาง
                                 มูลค่า :       สัดส่วน %     % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                 8,209.02       100.00       31.62
สินค้าเกษตรกรรม                     999.18        12.17       86.84
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร             571.04         6.96       -0.27
สินค้าอุตสาหกรรม                   6,540.68        79.68       29.79
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   98.11         1.20      409.56
สินค้าอื่นๆ                              0.0          0.0     -100.00

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับตะวันออกกลาง
                                   มูลค่า :       สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                        24,750.41       100.00        67.52
สินค้าเชื้อเพลิง                      22,173.85        89.59        68.26
สินค้าทุน                              103.88         0.42        64.68
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป             2,401.48         9.70        61.06
สินค้าบริโภค                            49.51         0.20        30.20
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง              4.68         0.02       194.20
สินค้าอื่นๆ                              17.00         0.07       471.27

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ตะวันออกกลาง
                           2550            2551         D/%

(ม.ค.-ต.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม            21,011.88        32,959.43     56.86
การนำเข้า                14,774.78        24,750.41     67.52
การส่งออก                 6,237.09         8,209.02     31.62
ดุลการค้า                 -8,537.69       -16.541.38     93.75

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดตะวันออกกลาง มูลค่า 24,750.41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.52 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                     24,750.41         100.00        67.52
1. น้ำมันดิบ                           21,573.39          87.16        69.93
2. ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช และสัตว์            806.31           3.26        95.58
3. เคมีภัณฑ์                              730.42           2.95        76.19
4. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี                  402.57           1.63         9.79
5. น้ำมันสำเร็จรูป                         298.41           1.21       -23.13
         อื่น ๆ                           49.55           0.20       -63.26

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดตะวันออกกลาง มูลค่า 8,209.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.62 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                มูลค่า :       สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                8,209.02       100.00         31.62
1. รถยนต์ อุปกรณ์                 1,764.79        21.50         34.96
2. ข้าว                           776.20         9.46        118.91
3. อัญมณี และเครื่องประดับ            571.11         6.96         34.55
4. เหล็ก เหล็กกล้า                  496.13         6.04         45.82
5. เครื่องปรับอากาศ                 445.21         5.42         22.96
         อื่น ๆ                  1,197.87        14.59         26.54

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปตะวันออกกลาง  ปี 2551 (มค.-กย.) ได้แก่
- สินค้าเกษตร
สินค้าเกษตรส่งออกไทยไปตลาดตะวันออกกลางที่มีมูลค่าสูง อาทิ

ข้าว
มูลค่าการส่งออก  776.20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.91 สัดส่วนร้อยละ 9.46
ตลาดหลัก ได้แก่  อิรัก    มูลค่า 264.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ   360.20  สัดส่วนร้อยละ 4.72

โอมาน มูลค่า 101.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4,836.70 สัดส่วนร้อยละ 1.82

เยเมน มูลค่า 55.05 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 360.20 สัดส่วนร้อยละ 4.72

ยางพารา
มูลค่าการส่งออก 142.12 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.54 สัดส่วนร้อยละ 1.73
ตลาดหลัก ได้แก่ ตุรกี มูลค่า 111.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.56 สัดส่วนร้อยละ 1.81

อิหร่าน มูลค่า 21.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.41 สัดส่วนร้อยละ 0.35

ซีเรีย มูลค่า 5.86 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.26 สัดส่วนร้อยละ 0.10

- สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร

สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรส่งออกไทยไปตลาดตะวันออกกลางที่มีมูลค่าสูง อาทิ

อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป
มูลค่าการส่งออก 230.17 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.85 สัดส่วนร้อยละ 2.80
ตลาดหลัก ได้แก่ ซาอุฯ มูลค่า 75.12 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.34 สัดส่วนร้อยละ 2.31

อิสราเอล มูลค่า 32.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.10 สัดส่วนร้อยละ 1.00

UAE มูลค่า 37.58 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 111.09 สัดส่วนร้อยละ 1.16

จอร์แดน มูลค่า 15.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 152.78 สัดส่วนร้อยละ 0.47

น้ำตาลทราย
มูลค่าการส่งออก 128.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 53.93 สัดส่วนร้อยละ 1.57
ตลาดหลัก ได้แก่ อิรัก มูลค่า 82.12 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.65 สัดส่วนร้อยละ 6.42

UAE มูลค่า 14.55 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 21.83 สัดส่วนร้อยละ 1.14

- สินค้าอุตสาหกรรม

สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไทยไปตลาดตะวันออกกลางที่มีมูลค่าสูง อาทิ

อัญมณี และเครื่องประดับ
มูลค่าการส่งออก 571.11 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.55 สัดส่วนร้อยละ 6.96
ตลาดหลัก ได้แก่ อิสราเอล มูลค่า 279.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 สัดส่วนร้อยละ 4.17

UAE มูลค่า 204.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 111.91 สัดส่วนร้อยละ 3.04

ตุรกี มูลค่า 43.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 176.13 สัดส่วนร้อยละ 0.65

เลบานอน มูลค่า 17.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.67 สัดส่วนร้อยละ 0.26

รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
มูลค่าการส่งออก 1,764.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.96 สัดส่วนร้อยละ 21.50
ตลาดหลัก ได้แก่ ซาอุฯ มูลค่า 622.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.26 สัดส่วนร้อยละ 5.14

โอมาน มูลค่า 243.20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.27 สัดส่วนร้อยละ 2.01

UAE มูลค่า 220.42 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.24 สัดส่วนร้อยละ 1.82

ตุรกี มูลค่า 186.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.02 สัดส่วนร้อยละ 1.54

จอร์แดน มูลค่า 94.12 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.23 สัดส่วนร้อยละ 0.78

เครื่องซักผ้า และเครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบ
มูลค่าการส่งออก 95.50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.65 สัดส่วนร้อยละ 1.16
ตลาดหลัก ได้แก่ ซาอุฯ มูลค่า 34.85 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.49 สัดส่วนร้อยละ 4.54

UAE มูลค่า 19.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.47 สัดส่วนร้อยละ 2.52

จอร์แดน มูลค่า 6.67 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.01 สัดส่วนร้อยละ 0.87

โอมาน มูลค่า 5.41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.96 สัดส่วนร้อยละ 0.70

เลบานอน มูลค่า 3.43 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.18 สัดส่วนร้อยละ 0.45

เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์
มูลค่าการส่งออก 496.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.82 สัดส่วนร้อยละ 6.04
ตลาดหลัก ได้แก่ โอมาน มูลค่า 2.23 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ -81.04 สัดส่วนร้อยละ 0.05

เลบานอน มูลค่า 1.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 246.96 สัดส่วนร้อยละ 0.04

ซีเรีย มูลค่า 1.13 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 29.35 สัดส่วนร้อยละ 0.02

ไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้
มูลค่าการส่งออก 91.88 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.88 สัดส่วนร้อยละ 1.12
ตลาดหลัก ได้แก่ เลบานอน มูลค่า 1.91 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.69 สัดส่วนร้อยละ 0.17

กาตาร์ มูลค่า 1.39 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.29 สัดส่วนร้อยละ 0.13

ไซปรัส มูลค่า 0.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.38 สัดส่วนร้อยละ 0.06

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดตะวันออกกลาง ปี 2551 (ม.ค.-ต.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 7 รายการ คือ
     อันดับที่ / รายการ              มูลค่า         อัตราการขยายตัว      หมายเหตุ
                             ล้านเหรียญสหรัฐ           %
 2. ข้าว                          776.20           118.91
 4. เหล็ก เหล็กกล้า                 496.13            45.82
 8. อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป     230.17            60.85
 9. เคมีภัณฑ์                       215.97           131.83
18. เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง        95.50            41.65
20. ไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้                91.88            82.88
24. สายไฟฟ้า สายเคเบิล              75.20            54.94


4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดตะวันออกกลาง ปี 2551 (ม.ค.- ต.ค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 1 รายการ คือ

อันดับที่ / รายการ        มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ     อัตราการขยายตัว%
16. น้ำตาลทราย               128.64             -53.93

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนแนวโน้มในปีหน้า ตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรปเผชิญปัญหาทั้งวิกฤตการณ์การเงินและเศรษฐกิจ ทำให้ภาคการส่งออกหันมาหาตลาดใหม่ที่มีโอกาสสดใสกว่า ทั้งแอฟริกา ตะวันออกกลาง และรัสเซีย โดยที่ตลาดตะวันออกกลางนับเป็นตลาดที่น่าสนใจตลาดหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อสูง มีศักยภาพในการค้าการลงทุน อาทิเช่น

ตลาดดูไบ : เป็นเมืองธุรกิจการค้าสำคัญในตะวันออกกลาง และถูกขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วผ่านนวัตกรรมทางด้านการก่อสร้าง ทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า ออฟฟิศทาวเวอร์ และคอนโดมิเนียมพักอาศัยจำนวนมหาศาล ปัจจุบันมีหลายประเทศได้เดินทางเข้าไปยังดูไบ มีทั้งนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุน กลุ่มคนที่เข้ามาทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หากสามารถสร้างคอนเนกชั่นในดูไบได้ ก็จะสามารถเข้าถึงช่องทางจำหน่ายสินค้าในเมืองต่าง ๆ ได้อีก 6 เมืองของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลางได้ง่ายขึ้นสำหรับธุรกิจที่ควรเข้ามาลงทุนในดูไบให้มากขึ้น ได้แก่ สินค้าทางด้านบริการ เรื่องร้านอาหาร สปา สถานพยาบาล ร้านตัดผม อู่รถยนต์ การให้บริการด้านการท่องเที่ยวรวมถึงงานให้บริการหลังการขายในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ

ตลาดอียิปต์ : โอกาสทางการตลาดในอียิปต์ถือว่ามีโอกาสมาก นอกจากอียิปต์จะเป็นประเทศที่บริโภคสินค้าไทยแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประตูการค้าเข้าไปยังประเทศรอบข้าง เช่น ลิเบีย ซูดาน และประเทศอื่นๆ ที่อยู่ตอนในของแอฟริกาด้านช่องทางการตลาดก็เปิดกว้างขึ้นมาก เนื่องจากมีห้างสรรพสินค้าเกิดใหม่ เช่น คาร์ฟูร์ Citystar, ซูเปอร์มาร์เก็ต (เช่น เมโทร แอลฟา ที่มีเครือข่าย ทั่วกรุงไคโร และเมืองสำคัญอีกกว่า 40 สาขา) การชำระเงินก็มีธนาคารหลายแห่งที่เป็นที่ยอมรับและมีเครือข่ายกับธนาคารในประเทศไทย (ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย) นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีนักศึกษาไทยมุสลิมอีก 2,500 คน ที่จะช่วยให้ข้อมูลหรือเจาะตลาดขายตรงให้กับผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้อีกทางหนึ่ง

ช่องทางการตลาด
  • การติดต่อเสนอสินค้าต่อผู้นำเข้าโดยตรง เพื่อให้นำเข้าและสามารถส่งขายกระจายสินค้าไปยังผู้จำหน่าย คือ ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เกต ร้านขายของชำ รวมทั้ง โรงงานสำหรับใช้ในการผลิตสินค้า ซึ่งผู้นำเข้าบางรายที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ จะเป็นผู้กระจายสินค้าเอง หรือส่งผ่านทางผู้แทนจำหน่ายในเครือข่ายของตน
  • ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ซึ่งมีจำนวนมาก จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าเฉพาะอย่าง ส่วนใหญ่เป็นผู้ขายส่งขายปลีกอยู่เดิม และจะมีตลาดรับซื้อที่เป็นลูกค้าของตนเองโดยเฉพาะ นับเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังผู้ใช้ผู้บริโภคโดยตรงและอย่างทั่วถึงที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่ง บางครั้งจะเป็นผู้นำเข้าเพื่อส่งออกต่อด้วย
  • จำหน่ายสินค้าโดยอาศัยเอเย่นต์หรือผู้จัดจำหน่าย ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งอาจพิจารณาบริษัทที่ติดต่อสั่งซื้อและนำเข้าสินค้าไทยาระยะหนึ่ง หากมียอดการสั่งซื้อตามเป้าหมาย
  • สินค้าไทยเหมาะสำหรับตลาดระดับกลาง โดยมีโอกาสที่สามารถจะเจาะขยายตลาด และตอบสนองความต้องการของตลาดสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้ปานกลาง-สูง โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ รูปแบบที่ทันสมัย
  • สินค้าไทยมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกสินค้าประเภท ส่วนประกอบและชิ้นส่วน ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น คอมเพรสเซอร์ เส้นใยประดิษฐ์ หลอดภาพทีวี รวมทั้งสินค้าที่จำเป็นต้องสั่งซื้อนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตไม่เพียงพอ เช่น ยางธรรมชาติ ยางรถยนต์ กุ้งสดแช่แข็ง ไมโครเวฟ เป็นต้น

ตลาดอิหร่าน : ธุรกิจไทยหลายอย่างมีโอกาสและลู่ทางการลงทุนแจ่มใสในตลาดอิหร่าน ทั้งนี้เพราะสินค้าไทยเป็นสินค้าคุณภาพและยังสามารถเจาะตลาดนี้ได้ กลุ่มผู้บริโภคในอิหร่านมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่มีฐานะปานกลางถึงระดับยากจน รัฐบาลอิหร่านให้ความช่วยเหลือในรูปของรัฐสวัสดิการ ส่วนกลุ่มที่สอง ที่มีจำนวนร้อยละ 30-40 ของประชากรทั้งประเทศเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง มักใช้สินค้าที่นำเข้าจากจีน ดังนั้นการที่ชาวอิหร่านยกระดับการซื้อสินค้าขึ้นมา ก็มองสินค้าของไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสมในตลาด นอกจากนั้นแล้วคนอิหร่านเริ่มเข้ามาเที่ยวในไทยมากขึ้น อย่างในปีที่ผ่านมาเข้ามาไทยถึง 6 หมื่นคน คาดว่าในปีนี้จะขยายตัวถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลดีกับอาหารไทย โรงแรม และการบริการต่างๆ ที่ทำให้สินค้าไทยมีภาพพจน์ที่ดีในอิหร่านและมีความต้องการสินค้าไทยมากเป็นพิเศษ อาทิเช่น

  • สินค้าเฟอร์นิเจอร์ ชาวอิหร่านเป็นชนชาติที่มีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมมาหลายพันปี ไม่ว่าจะเป็นในด้านของสถาปัตยกรรม หัตถกรรม ประติมากรรม และการแกะสลักเครื่องเรือนต่างๆ ดังนั้น ชาวอิหร่านจึงมีภูมิใจ และมีความพิถีพิถันในการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ชาวอิหร่านยังใช้เฟอร์นิเจอร์เพื่อเป็นเครื่องแสดงฐานะและบ่งบอกถึงความมั่งคั่ง ตลอดจนรสนิยมของเจ้าของบ้าน ซึ่งจะเห็นได้จากชุดรับแขกหรือโต๊ะรับประทานอาหาร และพรมปูพื้น ที่ชาวอิหร่านจะเน้นความหรูหราเป็นพิเศษ ช่วงหลายปีหลังที่ผ่านมา ชาวอิหร่านเริ่มเปลี่ยนรสนิยมมาใช้ชุดรับแขกแบบสมัยนิยมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เข้ากับภาวการณ์ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ชุดรับแขกแบบสมัยนิยมยังมีการใช้พื้นที่น้อยและน้ำหนักเบากว่าชุดรับแขกแบบคลาสสิก ตลอดจนการดูแลรักษา ช่วงเทศกาลปีใหม่อิหร่านที่ผ่านมา (มีนาคม 2551) ชาวอิหร่านซื้อชุดรับแขกสมัยนิยมมากกว่าชุดรับแขกแบบคลาสสิกโดยชุดรับแขกที่ชาวอิหร่านซื้อในช่วงที่ผ่านมาเป็นชุดรับแขกแบบที่ทำจากผ้า หนัง และไม้ หรือผ้าที่มีลวดลายต่างๆ จากต่างประเทศอาทิเช่น ตุรกี จีน อิตาลี มาเลเซีย โดยประเทศตุรกีมีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าในช่วงดังกล่าวมากที่สุด เนื่องจากการออกแบบ รูปทรง สี และคุณภาพ ทั้งนี้ บริษัทนำเข้าของตุรกีที่มีชื่อเสียงในอิหร่านได้แก่ บริษัท Estiqbal Co. บริษัท Dornat Co. และบริษัท Saray Co.
  • สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ชาวอิหร่านนิยมซื้อสินค้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นขนาดที่ใช้ในครอบ ครัว สำหรับผู้บริโภคที่มีฐานะทางการเงินสูงนิยมซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีใช้ประจำทุกครัวเรือนก็คือ เตาแก็สซึ่งเป็นเตาชนิดสามารถใช้เป็นเตาอบ(ใช้แก็ส) ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องปั่น เครื่องบดเนื้อ เครื่องบดเคื่องเทศ ซามอวัร(Samavar) หรือเครื่องต้มชาตามวัฒนธรรมของอิหร่าน
  • สินค้าสิ่งทอ หากต้องการขายเครื่องนุ่งห่มในอิหร่าน ควรขายในช่วงเทศกาลปีใหม่อิหร่าน (กุมภาพันธ์-มีนาคม) ซึ่งเป็นช่วงที่มีการซื้อหาเครื่องแต่งกายมากที่สุด นอกจากนี้ ช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-มิถุนายน) ฤดูร้อน (มิถุนายน-กันยายน) ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-ธันวาคม) ฤดูหนาว (ธันวาคม-มีนาคม) รวมทั้งการหาซื้อเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ก็มีความสำคัญ เพราะชาวอิหร่านจะซื้อหาเสื้อผ้าใหม่มาสวมใส่ อิหร่านนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากไทย จีน อินโดนิเซีย ตุรกี ไต้หวัน ทั้งนี้เนื่องจาก การปลูกฝ้ายในอิหร่านยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และเกษตรกรประสบกับปัญหานานัปการ เป็นผลให้อิหร่านจำเป็นต้องนำเข้าผ้าและเครื่องนุ่งห่มที่ทำจากผ้าฝ้ายจากต่างประเทศ ตลาดเครื่องนุ่งห่มอิหร่านจึงเป็นตลาดที่น่าจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกเสื้อผ้าวัยรุ่น สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีชาวอิหร่าน เสื้อผ้าเด็กและทารก ตลอดจนของใช้ต่างๆ ทั้งนี้ ชาวอิหร่านนิยมซื้อเสื้อผ้าและของใช้ทารกที่นำเข้าจากประเทศไทย เพราะมีคุณภาพดีกว่าสินค้าจากประเทศจีน แต่ทว่าราคาสูงกว่าจีนมาก ขณะที่อินโดนิเซียก็เป็นคู่แข่งอีกประเทศหนึ่งในด้านของราคาสินค้าที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนี้ การส่งออกผ้าฝ้ายชนิดต่างๆ ไปยังประเทศอิหร่าน และให้อิหร่านเป็นสะพานเชื่อมการส่งออกต่อไปยังประเทศในภูมิภาค ตลอดจน การส่งออกผ้าคลุมผมชนิดต่างๆ ที่ทำจากผ้าฝ้ายน่าเป็นอีกลู่ทางหนึ่งที่นักธุรกิจไทยสามารถหาทางเข้ามาบุกตลาดเครื่องนุ่งห่มอิหร่านได้เป็นอย่างดี
  • สินค้ารถยนต์และชิ้นส่วน การผลิตรถยนต์ในอิหร่านได้เปรียบประเทศอื่น ๆ ในแง่ต้นทุนที่ต่ำเนื่องจาก อิหร่านเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็ก เหล็กกล้า และสินแร่/โลหะอื่น ๆ อันดับต้น ๆ ของโลก และรัฐบาลมีนโยบายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน แต่รถยนต์ที่ผลิตเพื่อใช้ในอิหร่าน โดยเฉพาะเปอโยต์ ก็มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ โดยระบบต่าง ๆ มักจะเสียเป็นประจำเช่น เครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน กระจกไฟฟ้ามีปัญหา เบรกมีปัญหา ในขณะที่ศูนย์บริการมีน้อย ประชาชนจึงมักจะใช้บริการร้านเล็ก ๆ ข้างทางในการถ่ายน้ำมันเครื่อง เช็กเครื่องยนต์ ซึ่งก็จะเป็นช่างที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์และไม่มีอุปกรณ์ทันสมัยเพียงพอ แม้กระทั่งในกรุงเตหะรานเองก็มีศูนย์บริการที่ไม่ได้มาตรฐานนักแม้จะเป็นศูนย์ของรถยนต์ยี่ห้อที่อิหร่านผลิตเองก็ตาม ตลาดอิหร่านเป็นตลาดขนาดใหญ่มีประชากรกว่า 74 ล้านคนและยังมีโอกาสในการเปิดตลาดได้อีกมาก โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์ อุปกรณ์ประดับยนต์ ชิ้นส่วน/อะไหล่รถยนต์ เป็นต้น แต่ผู้ส่งออกควรระมัดระวังเรื่องวิธีการนำเข้าอะไหล่รถยนต์ และควรหาตัวแทนจำหน่ายชาวอิหร่านที่ไว้ใจได้ เนื่องจากกฎระเบียบการนำเข้าและภาษีของอิหร่านมักเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ในขณะที่กฎหมายกำหนดให้เฉพาะผู้นำเข้าชาวอิหร่านเท่านั้นที่จะสามารถนำเข้าสินค้าได้ ในกรณีนี้หากผู้ประกอบการไทยจะสามารถร่วมลงทุนในการผลิตอะไหล่รถยนต์ได้ก็จะได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น

ตลาดโอมาน : ในโอมานตอนนี้มีงานก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์นับสิบโครงการ ทั้งสนามบิน ท่าเรือ มูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่สำคัญการประมูลงานจะเสรีมากกว่า ไม่เคร่งครัดกฎระเบียบ ภูมิศาสตร์ในโอมานถือว่ามีศักยภาพมาก เป็นเมืองหน้าด่าน มีชายทะเลติดกับมหาสมุทรอินเดีย ในแง่โลจิสติกส์ถือว่าได้เปรียบมาก การขนส่งการกระจายสินค้าจากเอเชียไปสู่แถบตลาดตะวันออกกลางจะประหยัดและรวดเร็วกว่า สินค้าจำพวกวัสดุและตกแต่งจะสามารถแจ้งเกิดในตลาดโอมานได้ไม่ยากนัก ทั้งกระเบื้องเซรามิก วัสดุทดแทนไม้ธรรมชาติ แผ่นยิปซัมบอร์ด ฯลฯ พฤติกรรมผู้บริโภคจากประเทศในแถบนี้จะชอบสินค้าที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์สำหรับการใช้งานได้ดี และสามารถประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิตของพวกเขาได้ ฉะนั้นดีไซน์และฟังก์ชันจะสำคัญที่สุด

ตลาดตรุกี : ตุรกี เป็นประเทศคู่ค้าของไทยที่มีแนวโน้มจะเป็นตลาดที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตุรกีนำเข้าสินค้าจากไทยสูงเป็นอันดับที่ 26 จากทั่วโลก สินค้าที่ไทยส่งออกไปตุรกีสูงสุด ได้แก่ ยางพารา รถยนต์/อุปกรณ์ เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน และเหล็ก ผู้ส่งออกไทยควรให้ความสำคัญกับตลาดตุรกีเป็นพิเศษ เพราะตุรกีอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว รัฐบาลพยายามเร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ตุรกียังมีทำเลภูมิศาสตร์เศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเอเชีย ยุโรปตะวันออก และอดีตสหภาพโซเวียต ไทยจึงสามารถใช้ตลาดนี้เป็นทางผ่านของสินค้าไทยเข้าไปยังกลุ่มประเทศบอลข่าน ยุโรปตะวันออก สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ ที่มีข้อตกลงเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีกับตุรกี รวมทั้งการที่ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษ GSP ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาเกือบทุกประเภทสินค้าจากตุรกี ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ส่งออกไทย ธุรกิจไทยที่มีโอกาสเติบโตสูงในตลาดตุรกี คือ ธุรกิจการออกแบบ โดยที่ผ่านมา มีนักออกแบบหรือดีไซเนอร์จากไทยจำนวนหนึ่ง ที่มีความสามารถ มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ได้รับการว่าจ้างให้เข้ามาทำงานในบริษัทชั้นนำในตุรกีแล้วเช่นกัน การลงทุนของไทยในตุรกี ตุรกี มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมา มีการลงทุนโดยตรงจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) จำนวนมาก แต่บริษัทไทยเข้าไปลงทุนในตุรกีน้อยมาก และปัจจุบันมีเพียงบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์เท่านั้น โดยเข้าไปลงทุนด้านการเลี้ยงไก่แบบครบวงจร ปัจจุบัน ตุรกียังไม่ได้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในไทย จะมีก็แต่เพียงบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับสี่ห้าแห่งที่เข้ามาเปิดสาขาในไทย เพื่อนำเข้าวัตถุดิบจากไทยและจำหน่ายเครื่องประดับจากตุรกี อย่างไรก็ตาม ตุรกีแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างในไทย โดยหวังจะใช้ไทยเป็นประตู เข้าไปทำธุรกิจด้านนี้ในอินโดจีน โดยเฉพาะในเวียดนามและลาว ทั้งยังสนใจในกิจการต่อเรือ การรถไฟ ความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และธุรกิจให้คำปรึกษา รวมถึงการร่วมมือกับไทยด้านการค้าและการลงทุนด้านอื่นๆ ในภูมิภาคอินโดจีน และเอเชีย-แปซิฟิค

"ตลาดตุรกีเป็นตลาด ที่ผู้ส่งออกไทยควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทางผ่านของสินค้าเข้าไปยังกลุ่มประเทศบอลข่าน ยุโรปตะวันออก สหภาพยุโรป (อียู) และประเทศอื่นๆ ที่มีข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับตุรกี และเพื่อยึดครองตลาดไว้ส่วนหนึ่ง ก่อนที่ตุรกีจะเข้าเป็นสมาชิกอียูอีกประมาณสิบปีข้างหน้า เพราะเมื่อถึงตอนนั้น กฎระเบียบต่างๆ จะมีความเข้มงวดมากขึ้น" ที่ผ่านมา ตุรกีได้ลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ 10 ประเทศ คือ อิสราเอล โรมาเนีย บัลแกเรีย มาเซโดเนีย โครเอเชีย บอสเนีย และเฮเซอร์โกวินา โมร็อกโก ปาเลสไตน์ ซีเรีย และตูนิเซีย และอีก 4 ประเทศคือ อียิปต์ หมู่เกาะฟาโรห์ เลบานอน อัลบาเนีย และแอฟริกา โดยประเทศคู่ค้าสำคัญของตุรกี คือ เยอรมนี อิตาลี สหรัฐ รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และสเปน เมื่อปี 2547 รัฐบาลตุรกีได้ประกาศรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี (จีเอสพี) ซึ่งไทยก็ได้รับสิทธิพิเศษนี้ และในฐานะเป็นประเทศกำลังพัฒนาในสินค้าเกือบทุกประเภท ฉะนั้น ผู้ส่งออกไทยจึงควรให้ความสนใจตลาดตุรกีมากขึ้น เพราะขณะนี้ สินค้าไทยหลายรายการกำลังถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิจีเอสพี แต่สินค้าดังกล่าวสามารถส่งมาจำหน่ายในตุรกีได้โดยได้รับสิทธิพิเศษจีเอสพี อาทิเช่น รถยนต์และชิ้นส่วน ตลอดจนสินค้าประเภทอาหารบางรายการ

เมื่อตลาดหลักที่นำเข้าอาหารไทยล้วนได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างถ้วนหน้า "ตะวันออกกลาง" จึงกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะเครื่องเทศ และเครื่องปรุงรสที่อิงกระแสสุขภาพส่งให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ปีนี้มูลค่าอาหารเกษตร อาหารแปรรูป หรืออื่นๆ ตามปกติแล้วอัตราการเติบโตของการส่งออกอาหารอยู่ที่ 6-8% ต่อปี แต่ในปีนี้ถือว่าเป็นปีพิเศษสำหรับผู้ประกอบการอาหารส่งออกอย่างมาก เนื่องจากมีการเติบโตสูง

สถานการณ์ที่สดใสของการส่งออกอาหาร มีสาเหตุหลักมาจาก"ราคาวัตถุดิบ"ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการต้องตั้งราคาขายที่สูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะราคาข้าว ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากเมื่อช่วงต้นปี

การมองหาตลาดใหม่ เพื่อทดแทนมูลค่าการส่งออกที่อาจสูญเสียไปในอนาคตจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยเฉพาะ "กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง" ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และมีกำลังซื้อสูง "ปีหน้า การส่งออกอาหารของไทยน่าจะทรงตัวแต่ไม่ถึงกับแย่ เพราะมีตลาดในประเทศตะวันออกกลางที่น่าจะทดแทนได้บ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด" นอกจากเทรนด์อาหารสำเร็จรูปประเภท Frozen Food ที่น่าจะได้รับความสนใจในปีหน้าจากตลาดส่งออกใหม่ของไทยแล้ว เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพที่เรียกว่า Super Food Super Fruit ก็เป็นอาหารอีกประเภทที่น่าเจาะตลาดตะวันออกกลางได้ไม่ยาก มูลค่าการส่งออกส่วนผสมอาหารประมาณ 8,000 ล้านนั้น มากกว่า 90% ถูกนำไปใช้ในร้านอาหารไทย ยิ่งรัฐบาลเร่งโปรโมทและส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศมากขึ้นเท่าไร มูลค่าการส่งออกของเครื่องปรุงรสก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

บริษัท ไทยฮา จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจวุ้นเส้นและโจ๊กภายใต้แบรนด์ "ตราเกษตร" เปิดเผยว่า ปัจจัยลบทางการเมือง แม้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรง แต่โดนผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากยอดขายสินค้าส่วนหนึ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยว ซึ่งบริษัทต้องปรับแผนการดำเนินธุรกิจและโครงสร้างองค์กรรองรับปัจจัยลบในปีหน้าจากเดิมวางแผนขยายธุรกิจก็หันมาขยายตลาดส่งออกกว้างขึ้น โดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลางและเอเชีย ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง ปัจจุบันบริษัทส่งออกสินค้าทำตลาดใน 67 ประเทศ โดยส่งออกผ่านทางเรือ จึงไม่ได้รับผลกระทบกรณีปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง บริษัทมีแผนจับมือร่วมกับพันธมิตรในการเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจมากขึ้น เพราะปัจจัยลบทางการเมืองส่งผลให้ต่างชาติมองประเทศไทยในด้านลบ เราจึงต้องเพิ่มช่องทางการทำตลาดที่ไม่ใช่เป็นแค่ซัพพลายเออร์อย่างเดียว เราต้องทำกิจกรรมร่วม เพื่อกระตุ้นยอดขาย ขณะเดียวกันยังมีแผนเปิดตัวสินค้าใหม่ในกลุ่มสำเร็จรูปเข้าทำตลาดต้นปีหน้า

สำหรับรายได้ทั้งปี 2551 ยังมั่นใจว่าเป็นไปตามเป้าหมาย 2,250 ล้านบาท ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิมที่วางไว้ 1,774 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องและรายได้จากการส่งออกช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย.ที่ผ่านมายังมียอดสั่งซื้อที่ดีอย่างต่อเนื่องแม้มีปัจจัยลบเกิดขึ้น ส่วนปีหน้าคาดรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 20%

บริษัท อุตสาหกรรมพรมไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตพรม "ไทปิง" และ "Royal Thai" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทได้จับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับกลุ่ม "Couristan" (คูริสทัน) ผู้จำหน่ายพรมรายใหญ่จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการจับมือแบบวิน-วิน เนื่องจากทางคูริสทันก็ต้องการย้ายฐานการผลิตพรมแบบทอด้วยเครื่องส่วนหนึ่งมายังประเทศไทยที่มีค่าแรงต่ำ ส่วนบริษัทก็ได้รับผลดีจากการมียอดขายและกำลังผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้สิทธิ์รับจ้างผลิตพรมแบบ โออีเอ็มและรับโอนเครื่องจักรทอพรมจำนวน 14 เครื่องมาจากคูริสทันด้วย การจับมือกันครั้งนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญา 10 ปี สาระสำคัญมี 2 ส่วน คือ 1)บริษัทจะรับโอนเครื่องจักรทอพรมจาก คูริสทัน 14 เครื่อง และผ่อนจ่ายระยะยาว 10 ปี และ 2)ทางคูริสทันรับประกันการสั่งซื้อพรม 3-5 แสนตารางหลาต่อปี คิดเป็นยอดขายประมาณปีละ 6-10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นระยะเวลานาน 10 ปี จุดเริ่มต้นการดีลมาจากเราใช้แบรนด์ Royal Thai สำหรับส่งออกเข้าไปรุกตลาดอเมริกาและก็เริ่มติดต่อพูดคุยกัน ถือว่าเราค่อนข้างโชคดีที่ได้พันธมิตรเข้ามาในจังหวะนี้ อย่างน้อยก็เป็นการการันตีว่าเรามีออร์เดอร์ส่งออกตุนไว้ในมือส่วนหนึ่งสำหรับปีนี้ตั้งเป้ายอดขายเติบโตขึ้น 10% จากปี 2550 ที่ผ่านมาบริษัทมียอดขายประมาณ 700 ล้านบาท แยกเป็นยอดขายในประเทศกว่า 350 ล้านบาท และส่งออกประมาณ 300 ล้านบาท หรือมีสัดส่วน 60:40 อย่างไรก็ตามหลังจากได้คูริสทันเข้ามาเป็นพันธมิตร คาดว่าสัดส่วนยอดส่งออกในปีหน้าอาจปรับเพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 60% จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ภายใน 3 ปีข้างหน้า ดร.ชาลีกล่าวต่อว่า จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกย่อมส่งผลต่อธุรกิจพรมอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามภูมิภาคตะวันออกกลางโดยเฉพาะเมืองดูไบยังถือเป็นตลาดที่มีอนาคต เพราะมีโครงการก่อสร้างระดับเมกะโปรเจ็กต์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาเมืองดูไบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์กลางการลงทุนของโลก ดังนั้นเป้าประมาณการรายได้ในปีหน้าจะโฟกัสไปที่ตลาดส่งออกโดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลางและตลาดยุโรปตะวันออกเป็นหลัก โดยแบ่งแยกสัดส่วนเป็นตะวันออกกลาง 25% อเมริกา 30% ยุโรป 20% เอเชีย 15% และยุโรปตะวันออกซึ่งเป็นตลาดใหม่ 10%

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ