สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - เกาหลีใต้ ปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 23, 2008 14:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง          : Seoul
พื้นที่               : 99,601  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ        : Korean
ประชากร           : 48.5 ล้านคน (2007)
อัตราแลกเปลี่ยน      : KRW : US$ 0.0267 (22/12/51)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2007 ปี 2008

Real GDP growth (%)                                   5.0         4.4
Consumer price inflation (av; %)                      2.5         4.9
Budget balance (% of GDP)                             3.8         1.7
Current-account balance (% of GDP)                    0.6        -3.8
Commercial banks' prime rate (year-end; %)            6.6         7.0
Exchange rate ฅ:US$ (av)                            929.3     1,045.2

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับเกาหลีใต้
                                        มูลค่า :       สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                       2,762.74       100.00         29.28
สินค้าเกษตรกรรม                           577.18        20.89         57.69
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร                   155.79         5.64         73.57
สินค้าอุตสาหกรรม                         1,540.92        55.77          6.88
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                        488.80        17.69        110.70
สินค้าอื่นๆ                                   0.05          0.0        -99.40

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับเกาหลีใต้
                                              มูลค่า :       สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                                   5,228.47       100.00         34.00
สินค้าเชื้อเพลิง                                    81.97         1.57         46.84
สินค้าทุน                                      1,242.64        23.77         37.88
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                       3,109.99        59.48         22.17
สินค้าบริโภค                                     640.29        12.25         93.93
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                      152.55         2.92        157.18
สินค้าอื่นๆ                                         1.03         0.02        -89.42

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - เกาหลีใต้
                            2550          2551         D/%

(ม.ค.-กย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม             6,038.90        7,991.21     32.33
การนำเข้า                 2,137.01        2,762.74     29.28
การส่งออก                 3,901.89        5,228.47      0.34
ดุลการค้า                 -1,764.88       -2,465.73     39.71

2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดเกาหลีใต้ เป็นอันดับที่ 8 มูลค่า  2,762.74 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.28 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                   มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                  5,228.47          100.00         34.00
1. เหล็ก เหล็กกล้า                    924.10           17.67         37.14
2. เคมีภัณฑ์                          561.52           10.74         45.30
3. เครื่องจักรกล                      482.81            9.23         37.83
4. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                410.02            7.84         113.8
5. แผงวงจรไฟฟ้า                     375.57            7.18        -24.47
            อื่น ๆ                   260.71            4.99          8.23

3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดเกาหลีใต้ เป็นอันดับที่ 12 มูลค่า 5,228.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                  มูลค่า :          สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                 2,762.74           100.00         29.28
1. ยางพารา                        355.99            12.89         51.23
2. น้ำมันดิบ                         320.04            11.58        639.03
3. แผงวงจรไฟฟ้า                    208.06             7.53        -40.25
4. เครื่องคอมพิวเตอร์                 161.97             5.86        -11.71
5. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                122.84             4.45        280.28
           อื่น ๆ                   632.12            22.88         28.26

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเกาหลีใต้ ปี 2551 (มค.-กย.) ได้แก่

ยางพารา : เกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-8.34%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.13 29.58 และ 51.23 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

น้ำมันดิบ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง(-68.72%) ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 57.34 60.07 และ 639.03 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

แผงวงจรไฟฟ้า : เกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2551 (มค.-กย.) เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-40.25%) ในขณะที่ปี 2548 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.29 5.84 และ 22.82 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2551 (มค.-กย.) เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-11.71%) ในขณะที่ปี 2548 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.55 72.45 และ 7.51 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2548 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-19.14%) ในขณะที่ปี 2549 2550 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 41.04 82.74 และ 280.28 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเกาหลีใต้ ปี 2551 (มค.-กย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 13 รายการ คือ

    อันดับที่ / รายการ                   มูลค่า           อัตราการขยายตัว     หมายเหตุ
                                 ล้านเหรียญสหรัฐ             %
1. ยางพารา                          355.99              51.23
2. น้ำมันดิบ                           320.04             639.03
5. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                  122.84             280.28
6. ผลิตภัณฑ์ไม้                          94.30              56.05
9. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์                  72.59             109.47
10. เครื่องใช้ไฟฟ้า                      65.99              57.60
11. เคมีภัณฑ์                           57.16              88.25
12. น้ำตาลทราย                        53.30             343.05
17. ส่วนประกอบอากาศยาน                38.30             219.39
18. เครื่องสำอาง สบู่                    34.75              49.23
23. รถยนต์ อุปกรณ์                      26.43             137.01
24. ดีบุก                              25.68           2,822.71
25. ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม                    24.98             146.16

4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเกาหลีใต้ ปี 2551 (ม.ค.-กย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 9 รายการ คือ

     อันดับที่ / รายการ                     มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                    ล้านเหรียญสหรัฐ             %
3.  แผงวงจรไฟฟ้า                        208.06             -40.25
4.  เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์               161.97             -11.71
8.  น้ำมันสำเร็จรูป                         74.60             -51.59
13. ทองแดง และของทำด้วยทองแดง            52.96             -17.44
15. เหล็ก เหล็กกล้า                        49.41             -12.55
16. กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                     41.98              -8.24
19. ด้าย และเส้นใยประดิษฐ์                  33.99             -17.33
20. ผลิตภัณฑ์ยาง                           30.37              -3.44
21. เม็ดพลาสติก                           28.29              -3.79

4.4  ข้อมูลเพิ่มเติม

เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ในเอเชียและเป็นอันดับที่ 13 ของโลก โดยได้พัฒนาจากประเทศที่ยากจนที่สุด จนกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยในปัจจุบัน มีมูลค่า GDP ซึ่งเคยอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐ ในปี 2506 เพิ่มเป็น 25,000 เหรียญสหรัฐ ในปี 2550 ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ดำเนินนโยบายในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่ได้เน้นเฉพาะอุตสาหกรรมหนักแต่ส่งเสริมให้มีการตั้งธุรกิจขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้นเพื่อการแข่งขัน โดยนโยบายด้านต่างประเทศเน้นเรื่อง "เศรษฐกิจและความมั่นคงให้เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาคมโลก"

นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ยังสนับสนุนการลดกฎระเบียบด้านเศรษฐกิจและลดภาษีธุรกิจโดยให้ความสำคัญในการเปิดเสรีทางการค้า เพราะมองว่าเป็นอีกวิธีที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจโดยมีการเจรจาการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ เช่น ชิลี อเมริกา สหภาพยุโรป เป็นต้น ปัจจุบันการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเกาหลีไต้ ยังมีมูลค่าไม่มากนัก จึงมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยมูลค่าการค้าระหว่างไทย-เกาหลี เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2544 ถึงปัจจุบัน โดยในปี 2550 มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 8251 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราเติบโตจากปี 2549 ถึง 9 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบัน เขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี AKFTA เป็นโอกาสและประโยชน์ของผู้ประกอบการ SMEs ไทยไม่น้อย ผลจาก AKFTA ที่จะเกิดขึ้น ไทยจะได้ประโยชน์ในหลายด้านคือ

1. เป็นการสร้างความได้เปรียบและเพิ่มโอกาสในการขยายอัตราการเจริญเติบโตในตลาดเกาหลีใต้ให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ซึ่งเป็นผลจากการลดอุปสรรคด้านภาษีนำเข้าและไม่ใช่ภาษี เช่น การยกเว้นภาษีสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทันที ที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ โดยไม่มีการกำหนดโควตา

2. เป็นโอกาสจากการใช้ประโยชน์การสะสมถิ่นกำเนิดสินค้า ทำให้เกิดการร่วมมือกันในกลุ่มประเทศสมาชิก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและการตลาดของสินค้าลดลง ทำให้ศักยภาพการส่งออกของผู้ผลิตภายในกลุ่มประเทศสมาชิกมีมากขึ้น เช่น การร่วมมือกับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ และการร่วมมือกับประเทศเวียดนามซึ่งเป็นแหล่งแรงงานที่มีอัตราค่าจ้างต่ำ

3. เกิดแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต และการบริการจากการแข่งขันภายในกลุ่มประเทศสมาชิก

รองผู้อำนวยการรักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาที่ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้จัดทำโครงการ ศึกษาวิจัยเชิงนโยบายเรื่อง "การเข้าสู่ตลาดจากการเปิดเสรีทางการค้าสำหรับเอสเอ็มอี" (กรณีศึกษา :FTA อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี) พบว่าปัจจุบันการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ยังมีมูลค่าไม่มากนัก จึงมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าไทยได้ลงนามเข้าร่วมความตกลง เขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี AKFTA จะสร้างความได้เปรียบและเพิ่มโอกาสในการขยายอัตราการเติบโตในตลาดเกาหลีใต้ เช่น การยกเว้น ภาษีสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทันที ที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้โดยไม่มีการกำหนดโควตา เป็นต้น ทั้งนี้จึงได้คัดเลือก 4 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง และมีแนวโน้มโอกาสในการเข้าสู่ตลาด เกาหลีใต้ได้

1. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าของเกาหลีใต้ ลำดับที่ 17 คิดเป็นมูลค่า 21.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีส่วนแบ่งในตลาดอยู่ร้อยละ 0.63 เป็นส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มขึ้นจากปี 2006 ถึงร้อยละ 120.56 โดยสินค้าที่นำเข้าจากไทยมาก ที่สุดได้แก่ พลอยสี นอกจากนั้นยังมีประเภทเครื่องประดับเทียมในอันดับต้นๆ ขณะที่เครื่องประดับแท้ก็เป็นสินค้าที่มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จากการศึกษาพบว่าเกาหลีใต้แม้จะมีภาวะได้ดุลการค้า ในกลุ่มนี้แต่หากพิจารณาอัตราการเติบโตในการนำเข้าจะพบว่าเกาหลีใต้มีความต้องการนำเข้าสินค้าที่สูงมากกว่าการส่งออก โดยเกาหลีใต้มีอัตราการนำเข้ากลุ่มสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่มสูงกว่ากลุ่มสินค้าประเภทสิ่งทอ อยู่ที่ร้อยละ 16.93 ในปี 2007 ในขณะที่สินค้าสิ่งทอขยายตัวเพิ่มร้อยละ 5.65 สำหรับสินค้าสิ่งทอที่สร้างมูลค่าให้ไทยในการส่งออก คือ ฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ หรือกล่าวได้ว่าสินค้าสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มไทยที่เข้าไปในตลาดเกาหลีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สินค้าวัตถุดิบในรูปสิ่งทอและสินค้าเครื่องนุ่มห่มในรูปแบบสำเร็จรูปซึ่งการนำเข้าตลาดกลุ่มนี้จะใช้วิธีการส่งออกทางอ้อม และภายใต้ข้อตกลงทางการค้าจะสามารถลดต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเกาหลีได้ ขณะที่การส่งออกทางตรงจะช่วยให้เอสเอ็มอีไทยได้เปรียบด้านราคาที่ถูกลง ส่วนกลุ่มเป้าหมายของทั้งสองกลุ่มนี้ได้แก่ วัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อสินค้าแฟชั่น เครื่องประดับและเสื้อผ้า

3. อุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเทนต์ มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด โดยจะมีมูลค่าตลาดเป็น 470.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2011 และมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 9.6%ต่อปี จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการไทยจะมีโอกาสขยายตลาดงานรับจ้างผลิตจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจการผลิตของไทยมีการขยายรูปแบบการผลิตทั้งแบบรับจ้างผลิต ร่วมผลิต และร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศปัจจุบันผู้ประกอบการได้เข้าสู่ตลาด โดยวิธีการติดต่อกับผู้ว่าจ้างโดยตรงผ่านช่องทางการแสดงสินค้าอี-คอมเมิร์ซ และหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนั้นยังมีการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ เป็นกลยุทธ์หลักในการขยายตลาดต่างประเทศ

4. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับ 3 ของนักท่องเที่ยว ชาวเกาหลีใต้ รองจากจีน และญี่ปุ่น มีการขยายตัวค่อนข้างสูงในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาโดยในปี 2007 มีนักท่องเที่ยวเกาหลีเดินทางมาประเทศไทย 1,075,516 คน และมีค่าใช้จ่ายต่อคน 4,527 บาท ต่อวัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยววัยคานทองและกลุ่มโสด มีสัดส่วนร้อยละ 40 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง

การเจรจาทวิภาคีระดับคณะทำงานเพื่อรื้อฟื้นการทำข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA จะมีขึ้นที่กรุงโซล ของเกาหลีใต้ ในวันที่ 4 ธันวาคม ทั้งนี้ การเจรจาเอฟทีเอระหว่างเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นเริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2546 และการเจรจาดำเนินไปได้ 6 รอบก่อนที่จะถูกระงับไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 เนื่องจากญี่ปุ่นคัดค้านแผนการเปิดตลาดภาคการเกษตร ในขณะที่เกาหลีใต้ก็ไม่เต็มใจจะเปิดเสรีตลาดรถยนต์ และเกรงว่าเอฟทีเอจะทำให้เกาหลีใต้ขาดดุลการค้าต่อญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ปัจจุบันเกาหลีใต้ได้ลงนามในข้อตกลงเอฟทีเอกับชิลี สิงคโปร์ และสมาคมการค้าเสรียุโรปแล้ว นอกจากนี้ยังได้ข้อสรุปเอฟทีเอบางส่วนกับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทั้งนี้ คาดว่ารัฐสภาเกาหลีใต้จะให้ความเห็นชอบต่อข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเกาหลีใต้กับสหรัฐในเร็วๆนี้ ในขณะที่เกาหลีใต้กำลังเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป (อียู) แคนาดา อินเดีย และเม็กซิโกต่อไป

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ